ค้นหา
ปิดช่องค้นหานี้
ภูมิคุ้มกัน

วิตามินดี ตัวช่วยเสริมภูมิคุ้มกันให้แข็งแรง ป้องกันไวรัส

รู้หรือไม่ครับว่า วิตามินดี เกี่ยวข้องอะไรกับภูมิคุ้มกัน

วิตามินดี มีส่วนช่วยสร้างและควบคุมการทำงานของเม็ดเลือดขาวทุกชนิด ในระบบภูมิต้านทาน โดยมีความสัมพันธ์กับโรคติดเชื้อ โรคภูมิแพ้ โรคแพ้ภูมิตัวเองในระบบต่างๆ รวมไปถึงโรคมะเร็ง และยังมีงานวิจัยระบุไว้ว่า ภาวะขาดวิตามินดี จะส่งผลให้เพิ่มความเสี่ยงการเสียชีวิตทุกสาเหตุ และการเสียชีวิตจากโรคติดเชื้อในคนทั่วไปอีกด้วย การเสริมวิตามินดีจึงเป็นเหมือนการช่วยเสริม ภูมิคุ้มกัน

วิตามินดีกับภูมิแพ้ (Vitamin D & Allergy)

โรคภูมิแพ้และโรคหอบหืด ถือเป็นโรคที่พบได้บ่อยถึง 20-40% ในประชากรไทย โดยเฉพาะอย่างยิ่งในผู้ป่วยเด็กเล็ก และที่หมอสังเกตเด็กสมัยนี้เป็นภูมิแพ้กันบ่อยขึ้น กินนมก็ไม่ได้ กินไข่ก็แพ้ ลมพิษขึ้น หอบง่าย แพ้ง่ายไปหมด จนทำให้เด็กสมัยนี้ล้างจมูกกันเก่งมาก 

มีงานวิจัยระบุว่าในเด็กอายุน้อยกว่า 16 ปี จำนวน 2,350 คน เด็กที่เป็นภูมิแพ้ หอบหืด มักจะมีระดับวิตามินดีต่ำ และยังชี้ให้เห็นว่ายิ่งมีระดับวิตามินมินดีที่ต่ำยิ่งเพิ่มอาการหนักขึ้นอีกด้วย (ความรุนแรงของโรคสัมพันธ์กับระดับวิตามินดี) โดยการให้วิตามินดีเสริมก็สามารถลดอาการภูมิแพ้ทางจมูก (แน่นจมูก น้ำมูกไหล) ได้อย่างชัดเจน

วิตามินดีช่วยป้องกัน การแพ้อาหารในเด็กได้?

วิตามินดีนอกจากจะช่วยลดการผลิตสารก่อภูมิแพ้ และสารกระตุ้นการอักเสบได้ วิตามินดียังควบคุมผ่านกลไกในระดับพันธุกรรม (Genetic level) และกลไกเหนือพันธุกรรม (Epigenetic level) อีกด้วย โดยมีปัจจัยเสี่ยง เช่น ระยะเวลาการได้รับนมแม่ การสัมผัสสัตว์เลี้ยง และการติดเชื้อในวัยเด็ก ล้วนพบว่ามีผลกับความไวต่อการแพ้อาหาร

และยังมีงานวิจัยของออสเตรเลีย สังเกตพบว่า เด็กที่อาศัยอยู่ทางตอนใต้ของประเทศ แพ้อาหารมากกว่าเด็กที่อาศัยอยู่ทางตอนเหนือ กว่าเท่าตัว ซึ่งสัมพันธ์กับฤดูกาลและปริมาณความเข้มของแสงแดด

ภูมิคุ้มกัน

วิตามินดีกับโรคภูมิแพ้ตัวเอง (Vitamin D & Autoimmunity)

ภูมิคุ้มกัน

การขาดวิตามินดีสัมพันธ์กับโรคแพ้ภูมิตัวเองในระบบต่างๆ เช่น โรคข้ออักเสบ รูมาตอยด์ และโรคที่ส่งผลกับอวัยวะหลายส่วน เช่น โรคลูปัส หรือ SLE ที่มักพบได้บ่อยในผู้หญิงวัยเจริญพันธุ์ อายุ 14 – 45 ปี

การเสริมวิตามินดีขนาดสูง ในคนไข้ที่เป็นโรคแพ้ภูมิตัวเอง ที่มีระดับวิตามินดีต่ำ พบว่าช่วยให้ การควบคุมโรคดีขึ้น เพิ่มอัตราการสงบของโรคได้

วิตามินดีกับการติดเชื้อ (Vitamin D & Infection)

กลุ่มคนที่มีวิตามินดีต่ำจะมีโอกาสติดเชื้อง่ายกว่าคนทั่วไป โดยเฉพาะการติดเชื้อทางเดินหายใจ ไข้หวัด หลอดลมอักเสบ ปอดอักเสบ และวัณโรค โดยวิตามินดีจะไปกระตุ้นการสร้าง และกระตุ้นการทำงานของเม็ดเลือดขาวแมคโครฟาจ (Macrophage) ในการจับกินเชื้อโรค (Phagocytosis) และยังไปกระตุ้นการสร้างสารฆ่าเชื้อโรค (Antimicrobial peptides) ซึ่งสามารถยับยั้งการเพิ่มจำนวนได้ทั้งเชื้อแบคทีเรีย เชื้อไวรัส และเชื้อรา

นอกจากนี้ยังมีงานวิจัยเกี่ยวกับวิตามินดีกับไวรัส COVID-19 ที่ออกมามากมายในปี 2020 ที่ยืนยันถึงความสำคัญของวิตามินดีกับการป้องกันการติดเชื้อ ช่วยต้านไวรัส (Antiviral activity) ช่วยลดความรุนแรง (Severity) และลดอัตราการเสียชีวิต (Mortality) ของคนไข้ที่ติดเชื้อ COVID-19 แล้ว

ดังนั้น คนที่มีวิตามินดีต่ำ มีโอกาสเสียชีวิตสูงกว่าคนที่มีระดับวิตามินดีปกติ และการเสริมวิตามินดีในคนทั่วไป มีประโยชน์ในการป้องกันการติดเชื้อ และอัตราการตายจากไวรัส COVID-19 

ภูมิคุ้มกัน

วิตามินดีต่ำไม่ใช่เรื่องเล่นๆ เลยเห็นไหมครับ เราอาจชะล่าใจอยู่เมืองร้อน แดดดีทั้งปีไม่เป็นไรหรอกน่า แต่หากร่างกายเรามีวิตามินดีต่ำเมื่อไร ก็ทำให้เราเสี่ยงทั้งโรคภูมิแพ้ โรคติดเชื้อ รวมไปถึงโรคไวรัส COVID-19 ด้วยเช่นกัน และเราก็ไม่สามารถเลี่ยงเชื้อโรค แต่เราสามารถปกป้องได้ด้วยการทำให้ระบบ ภูมิคุ้มกัน แข็งแรง ซึ่งหนึ่งในปัจจัยที่ส่งผลอย่างมากก็คือ วิตามินดีที่มักถูกมองข้ามนั่นเองครับ

หนังสือ Healthitude สุข(อุดม)คติ
นพ.พิจักษณ์ วงศ์วิศิษฎ์ (หมอบาย)

Share : 

บทความที่เกี่ยวข้อง

มะเร็งลำไส้ใหญ่ มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง พบมากเป็นอันดับ 3 ในผู้ชาย อันดับ 2 ในผู้หญิง ซึ่งมีผู้ป่วยรายใหม่วันละ 44 คน หรือ 15,939 คน/ปี และมีผู้เสียชีวิตวันละ 15 คน หรือ 5,476 คน/ปี จริงๆ แล้วโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่เราสามารถป้องกันได้ด้วย การตรวจคัดกรองมะเร็ง เพราะหากเราตรวจพบตั้งแต่ระยะเริ่มต้นจะทำให้การรักษาได้ผลดี และมีโอกาสหายจากโรคสูง โดยเฉพาะผู้ที่มีอายุ 50 ปีขึ้นไป ควรตรวจคัดกรองมะเร็งทุกปี ที่มา : สถิติสาธารณสุข พ.ศ. 2562 กองยุทธศาสตร์และแผนงาน สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข โรคมะเร็งลำไส้ใหญ่ (Colon Cancer) คืออะไร โรคมะเร็งลำไส้ใหญ่ คือ การที่มีก้อนเนื้อเกิดขึ้นในลำไส้ใหญ่ และเนื่องจากลำไส้ใหญ่มีลักษณะเป็นท่อ เมื่อมีก้อนเนื้อเกิดขึ้นก็จะทำให้รูลำไส้ใหญ่ตีบลง อุจจาระที่ผ่านมาทางลำไส้ใหญ่ก็จะออกลำบากเพิ่มขึ้น จึงสะสมอยู่ข้างใน ส่งผลให้ให้ท้องอืด แน่นท้อง อึดอัดมากขึ้น เมื่อทางออกตีบ แคบลง อุจจาระที่จะผ่านออกมาจากที่เป็นก้อนก็จะเล็กลง และเนื่องจากก้อนเนื้อมะเร็งจะมีความยุ่ย ถลอกได้ง่ายกว่าเนื้อเยื่อธรรมดา […]

ปัจจุบันโรคมะเร็งในคนไทยยังมีอัตราเพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง จากทะเบียนสถิติมะเร็งประเทศไทย ปี 2566 โดยสถาบันมะเร็งแห่งชาติรายงานว่าผู้ป่วยมะเร็งรายใหม่พุ่งสูงเฉลี่ยวันละ

thThai