ค้นหา
ปิดช่องค้นหานี้
สมรรถภาพทางเพศ

เมื่อร่างกายไม่แข็ง (แรง) เหมือนเดิม…อยากมีความรักดีๆ เรื่องนี้ห้ามมองข้าม

รู้หน้าไม่รู้ใจ ยังคงเป็นคำพูดที่นิยามการทำความรู้จักใครสักคนได้เป็นอย่างดี โดยเฉพาะ “คนรัก” ที่แรกๆ น้ำต้มผักก็ว่าหวาน นานๆ ก็พบปัญหาที่มีผลต่อความสัมพันธ์ให้ขื่นขม อย่างปัญหาด้าน สมรรถภาพทางเพศ ของท่านชาย ที่มักมีความเชื่อผิดๆ ว่าเกี่ยวกับอายุที่มากขึ้น แต่แท้จริงแล้ว ปัญหาร่างกายไม่แข็ง (แรง) ของท่านชายไม่ได้เกี่ยวกับอายุเพียงอย่างเดียว แต่เกี่ยวกับระบบภายในร่างกายอีกหลายระบบ และถ้าไม่รีบแก้ ก็อาจจะแย่กับความสัมพันธ์

สมรรถภาพทางเพศ

ระดับฮอร์โมนเพศชายต่ำ

ฮอร์โมนเพศชาย หรือ เทสโทสเตอโรน (Testosterone) ฮอร์โมนแห่งความคึกคักของท่านชาย มีบทบาทสำคัญที่สุดในการกระตุ้นลักษณะการแสดงออกของความเป็นชาย รวมถึงความต้องการทางเพศ และการสร้างเชื้ออสุจิ หากเทสโทสเตอโรนต่ำลง จึงมีผลให้ สมรรถภาพทางเพศ ลดต่ำลงตามไปด้วย หรืออาจเกิดภาวะความไม่สมบูรณ์ของอวัยวะเพศ และทำให้คุณภาพ และปริมาณตัวอสุจิลดลงได้ โดยที่บางคนมีระดับเทสโทสเตอโรนต่ำตั้งแต่อายุยังไม่ถึง 30 ปี

เนื่องจากปัจจัยทาง พันธุกรรม หรือมีไลฟ์สไตล์ที่มีผลต่อการเสียสมดุลฮอร์โมนเพศ ทำให้ฮอร์โมนเพศตก หรืออย่างในผู้ที่มีน้ำหนักเกินนั้น ตามหลักการแล้วจะมีระดับฮอร์โมนเทสโทสเตอโรนสูง แต่เมื่อร่างกายรับน้ำหนักที่มากเกินไปนานๆ ก็อาจทำให้ร่างกายเกิดความเสื่อม เกิดการอักเสบ ซึ่งเหล่านี้มีผลให้ร่างกายเกิด ความเครียดสะสม และส่งผลให้ระดับเทสโทสเตอโรนต่ำลงได้

ภาวะความเครียด 

อาจเกิดได้จาก ความเครียด จากการทำงานที่คุณรู้ตัว และเกิดจากการอักเสบของร่างกาย ที่คุณไม่รู้ตัว ทั้งในรูปแบบ Physical stress, Toxic stress หรือ Mental stress เหล่านี้มีผลให้ระดับเทสโทสเตอโรนต่ำลงได้ เนื่องจากร่างกายต้องใช้ฮอร์โมนต่อมหมวกไตที่เป็นตัวตั้งต้นของฮอร์โมนเพศไปช่วยจัดการกับความเครียด โดยที่ต่อมหมวกไตมีหน้าที่ผลิตฮอร์โมนสำคัญอย่างคอร์ติซอล (Cortisol hormone) ซึ่งช่วยให้ร่างกายตื่นตัว และผลิตฮอร์โมนดีเอชอีเอ (DHEA hormone) ที่ช่วยสร้างฮอร์โมนเพศ เมื่อถูกร่างกายนำใช้ไปเรื่อยๆ จึงมีผลต่อการสร้างเทสโทสเตอโรนที่ต่ำลง แต่ในท่านชายบางคนก็อาจมีระดับเทสโทสเตอโรนต่ำโดยไม่เกี่ยวกับฮอร์โมนต่อมหมวกไตได้ เพราะอาจเกี่ยวข้องกับฮอร์โมนตัวอื่นๆ ซึ่งต้องได้รับการตรวจควบคู่กัน

ไลฟ์สไตล์และโภชนาการ

การขาดสารอาหารบางชนิดโดยที่คุณไม่รู้ตัว จากการรับประทานอาหารได้ไม่ครบถ้วน ทำให้แร่ธาตุและวิตามินบางชนิดในร่างกายลดต่ำลง อย่าง Zinc ที่มีผลต่อระดับเทสโทสเทอโรน หรือวิตามินดี สารอาหารสำคัญที่ร่างกายใช้ในการผลิตฮอร์โมนเทสโทสเทอโรน และมีผลต่อการแข็งตัวของอวัยวะเพศชาย หรืออาจเกิด

สมรรถภาพทางเพศ

จากการที่ร่างกายได้รับ toxic หรือสารปนเปื้อนจากการรับประทานอาหารมากเกินไป และไม่สามารถขับออกได้หมดจนสะสม ซึ่งมีผลให้ร่างกายเกิดการอักเสบและเกิดความเครียดได้เช่นกัน แต่อาจไม่ใช่เพราะการรับประทานอาหารเพียงอย่างเดียว อาจเกี่ยวกับไลฟ์สไตล์ที่ได้รับมลภาวะมากเกินไปได้อีกด้วย นอกจากนี้ พฤติกรรมการใช้ชีวิตที่หนักหน่วงของท่านชายหลายคน ยังมีผลให้ฮอร์โมนตัวอื่นๆ ในร่างกายไม่สมดุลและส่งผลเป็น Domino effect ได้ อย่างการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์เป็นประจำ ทำงานหนัก หรือพักผ่อนไม่เพียงพอ

เทคนิคง่ายๆ ปรับพฤติกรรมเพิ่มความสุขให้ท่านชายและคู่รัก

สมรรถภาพทางเพศ

รับประทานอาหารที่ช่วยเพิ่มฮอร์โมนเพศชาย เช่น กะหล่ำปลี ที่ช่วยให้ร่างกายผลิตฮอร์โมนต่างๆ ได้ดีมากขึ้น หรือจะรับประทานไข่ไก่ให้มากขึ้น เนื่องจากช่วยรักษาระดับฮอร์โมนเพศชาย และยังช่วยเพิ่มความแข็งแรง เสริมสมรรถภาพทางเพศให้ดีขึ้น รวมถึงเป็นอาหารบำรุงอสุจิ นอกจากนี้ การเลือกรับประทานไขมันชนิดดี หรือไขมันไม่อิ่มตัว ซึ่งพบมากในน้ำมันมะกอก น้ำมันถั่วเหลือง น้ำมันมะพร้าว น้ำมันดอกทานตะวัน และโอเมก้า 3, 6, 9 (ในเนื้อปลา ถั่ว อะโวคาโด) เนื่องจากสารอาหารเหล่านี้เป็นส่วนประกอบสำคัญของฮอร์โมนเพศชาย

ปรับไลฟ์สไตล์เลี่ยงความเครียด เช่น นอนพักผ่อนให้เพียงพอวันละ 7-8 ชั่วโมง เพราะการนอนน้อยจะทำให้ฮอร์โมนเพศลดไปถึง 30% และทำให้เกิดการสะสมไขมันเข้ามาแทนที่ และควรออกกำลังกายอย่างพอเหมาะ ไม่หักโหมจนเกินไป เพราะอาจทำให้มีพลังงานไม่พอเพียงต่อการสร้างกล้ามเนื้อและการสร้างฮอร์โมนเพศ โดยอาจหากิจกรรมกลางแจ้ง หรือวิ่งในตอนเช้าหรือช่วงเย็นอย่างน้อยวันละ 15-20 นาที เป็นประจำทุกวัน เพื่อให้ร่างกายได้ออกกำลังกายไปพร้อมการรับวิตามินดีจากแสงแดด ที่สำคัญคือควรงดเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ เพราะจะทำให้ฮอร์โมนคอร์ติซอลหลั่งออกมามากเกินไปจนทำให้ร่างกายเกิดการเก็บไขมันมากขึ้น และลดกล้ามเนื้อลง

ปัญหาสุขภาพทางเพศของท่านชายยังอาจเกิดขึ้นได้จากหลายปัจจัย ไม่ว่าจะเป็นระบบการไหลเวียนเลือดไม่ดี ทำให้เลือดไปเลี้ยงอวัยวะเพศได้ไม่ดี หรืออาจเกี่ยวข้องกับจิตใจก็เป็นไปได้ทั้งสิ้น การตรวจสมดุลฮอร์โมนที่ครอบคลุมถึงฮอร์โมนเพศ หรือการตรวจสุขภาพเชิงลึกแบบเฉพาะบุคคลโดยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ จึงเป็นทางเลือกสำคัญที่สุดที่สามารถบอกได้ว่า ปัจจัยใดบ้างในชีวิตที่ส่งผลต่อสุขภาพทางเพศของคุณ และยังช่วยปรับระดับสมดุลร่างกายพร้อมการตรวจติดตามผล เพื่อให้ท่านชายมี Sexual Well-Being พร้อมมีความสุขกับตนเองและคนที่รัก

ก็อย่างที่ว่ากันว่า รู้หน้าไม่รู้ใจ รู้นิสัย แต่ไม่รู้ว่ามีความลับอะไรหรือเปล่า…

Share : 

บทความที่เกี่ยวข้อง

• ภาวะขาดวิตามินหลายชนิด รวมทั้งภาวะขาดวิตามินดี มีความสัมพันธ์กับภาวะ ซึมเศร้า• วิตามินดีระดับต่ำ อาจส่งผลต่อการควบคุมอารมณ์ การตัดสินใจ และพฤติกรรม• วิตามินดี ไม่ใช่ยารักษาโรคซึมเศร้า แต่การชดเชยวิตามินดีในคนที่มีระดับต่ำ อาจมีส่วนช่วยในการควบคุมอารมณ์ และเพิ่มคุณภาพการนอนหลับได้ ภาวะ ซึมเศร้า เป็นโรคเรื้อรัง ที่ถือเป็นอีกหนึ่งปัญหาสังคม ที่ทวีความรุนแรงมากขึ้นทุกปี ทั้งด้านคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยเอง ภาระทางสังคมต่อคนรอบข้าง และอัตราการฆ่าตัวตายที่พุ่งสูงขึ้น การรักษาโรคซึมเศร้าโดยการใช้ยาร่วมกับจิตบำบัด มีอัตราสำเร็จ 76-85% (WHO 2020) แต่ปัญหาคือมีผู้ป่วยน้อยกว่า 25% เท่านั้นที่ได้รับการรักษา และมีอีกส่วนหนึ่งที่ไม่อยากทานยา เพราะกลัวติดการใช้ยา หรืออาจเพราะทนผลข้างเคียงไม่ไหว [1] เนื่องจากภาวะซึมเศร้าเป็นโรคเรื้อรัง ซึ่งสามารถกลับมาเป็นซ้ำได้ โดยเฉพาะคนที่รักษาไม่ต่อเนื่อง พบว่ามีอัตราการเป็นซ้ำมากขึ้น จึงเริ่มมีความพยายามที่จะมองหาปัจจัย หรือวิธีการรักษาร่วมอื่น โดยเฉพาะทางด้านของ ภาวะโภชนาการ สารอาหาร หรือวิตามินเสริม [2] เราเริ่มมีงานวิจัยจำนวนมากขึ้น ที่พบความสัมพันธ์ของภาวะขาดวิตามิน สารอาหาร หรือแร่ธาตุ หลายชนิด กับภาวะซึมเศร้า เช่น วิตามินบี 3, วิตามินบี […]

นับวันปัญหามลพิษทางอากาศส่งผลต่อสุขภาพของคนในยุคนี้ไม่น้อย โดยเฉพาะคนที่อาศัยอยู่ในเมืองที่ต้องเจอทั้งฝุ่น PM2.5 ควันรถจากท่อไอเสีย ไมโครพลาสติก