ค้นหา
ปิดช่องค้นหานี้
มีลูกยาก

มีลูกยาก! ชาย vs หญิง ใครมีโอกาสมีลูก(ยาก)กว่ากัน ?

แม้กระแสการครองโสดจะทะยานสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง คนรุ่นใหม่ไม่ต้องการมีลูก หรืออยากมีลูกกันน้อยลง แต่ยังมีอีกหลายคู่ หลายคนที่ประสบปัญหา “อยากมีลูก แต่…มีลูกยาก!” ต่อให้นับวันทำทุกอย่างๆ ตั้งใจ แต่ทำไมถึงไม่ประสบความสำเร็จเรื่องนี้เสียที ปัญหาเหล่านี้ผู้ชาย vs ผู้หญิง ใครมีโอกาสมีลูกได้ยากกว่ากัน.. มาหาคำตอบไปพร้อมกันที่นี่!

อยากมีลูก..แต่ มีลูกยาก ร่างกายพลาดอะไรไป ?

ถือเป็นประเด็นชวนหนักใจสำหรับคู่รักที่ต้องการสร้างครอบครัวอย่างจริงจัง เมื่อในหลายๆ ครั้งความหวังในการมีลูกดูจะลดน้อยลงไปทุกที แล้วสาเหตุอะไรที่ทำให้ผู้ชาย หรือผู้หญิงบางคนมีลูกยาก ขึ้นอยู่กับอะไรได้บ้าง ..มาดูกัน

ผู้ชาย
ปัจจัย
ผู้หญิง

ฮอร์โมนเทสโทสเตอโรน (Testosterone) ที่ถูกผลิตขึ้นจากลูกอัณฑะ ซึ่งเป็นตัวช่วยสร้างและเพิ่มความแข็งแรงให้อสุจิ

ฮอร์โมน
ฮอร์โมนเอสโตรเจน (Estrogen) ทำหน้าที่ควบคุมการทำงานของระบบสืบพันธุ์ของผู้หญิง เช่น รอบเดือน และการตกไข่ (LH)

คุณภาพอสุจิ (Sprerm) เช่น ความแข็งแรง ความเร็ว ความสามารถในการเจาะไข่
ระบบสืบพันธุ์
ฮอร์โมน
ควรมีจำนวนอสุจิ (Sprerm) อย่างน้อย 20 ล้านตัวต่อหนึ่งมิลลิลิตร ซึ่งเป็นค่ามาตรฐานเริ่มต้นที่ทำให้ประสบความสำเร็จในารตั้งครรภ์
ปริมาณ
ตามธรรมชาติของผู้หญิงจะมีจำนวนไข่อยู่ที่ 5-6 ล้านใบ และลดลงเหลือ 400,000 ใบ เมื่อสู่ในวัยประจำเดือน และลดลงตามช่วงอายุที่มากขึ้น ซึ่งปริมาณอาจมีความสำคัญไม่มากเท่าคุณภาพไข่ที่มีอยู่


อายุ 30-35 ปี คือ ช่วงอายุที่อสุจิแข็งแรงที่สุด จนอายุมากขึ้นเข้าสู่ช่วงวัย 50-55 ปี คุณภาพอสุจิก็จะลดลงด้วยเช่นเดียวกัน และแม้จะประสบความสำเร็จในการตั้งครรภ์ แต่ก็เป็นการเพิ่มโอกาสต่อการแท้ง อัตราการคลอดที่ผิดปกติ และความผิดปกติของทารกในครรภ์ได้

อายุ
อายุ 20 ปีขึ้นไป คือ ช่วงที่เหมาะกับการตั้งครรภ์มากที่สุด จนเข้าสู่ช่วงวัย 35 ปีขึ้นไป แม้จะยังมีจำนวนไข่พอต่อการปฏิสนธิ แต่คุณภาพไข่อาจไม่เป็นผลต่อภาวะเจริญพันธุ์

การสูบบุหรี่, การดื่มแอลกอฮอล์, คุณภาพการนอน, ความเครียด, รูปร่าง(น้ำหนัก) และโรคประจำตัวบางอย่าง

ไลฟ์สไตล์
การสูบบุหรี่, การดื่มแอลกอฮอล์, คุณภาพการนอน, ความเครียด, รูปร่าง(น้ำหนัก) และโรคประจำตัวบางอย่าง

อยากมีลูกต้องเข้าใจ! เช็คความพร้อมร่างกาย ตรวจภาวะการมีลูก

การตรวจภาวะการมีลูก เป็นการตรวจเชิงลึกเพื่อสาเหตุที่แท้จริงของภาวะมีลูกยาก แบ่งออกเป็น

การตรวจภาวะมีบุตรยากสำหรับผู้ชาย โดยเน้นการตรวจความสมบูรณ์ของเชื้ออสุจิ (Semen analysis) หรือการตรวจสเปิร์ม สิ่งที่แพทย์จะตรวจ คือ

  • ปริมาณตัวอสุจิในน้ำเชื้อ
  • ความเร็วในการเคลื่อนไหวของอสุจิ
  • ขนาด รูปร่าง ความสมบูรณ์ของอสุจิ
มีลูกยาก

การตรวจภาวะมีบุตรยากสำหรับผู้หญิง เน้นการตรวจประสิทธิภาพส่วนที่เกี่ยวข้องกับการปฏิสนธิและฝังตัวอ่อนว่าปกติหรือไม่ มีการอุดตัน หรือภาวะไม่เอื้อต่อการฝังตัวหรือไม่

  • ตรวจอัลตราซาวด์ช่องคลอด เพื่อหาความผิดปกติในถุงน้ำรังไข่ เนื้องอกรังไข่ เนื้องอกมดลูก เยื่อบุโพรงมดลูก หรือก้อนเนื้อภายในอุ้งเชิงกราน
  • การใช้กล้องขนาดเล็กเพื่อตรวจมดลูก ท่อนำไข่ 
  • ตรวจฮอร์โมน AMH จากเลือด เพื่อดูจำนวนไข่สำหรับการเจริญพันธุ์

ทางเลือก-ทางออก ของคนอยากมีลูก!

ปัจจุบันได้มีเทคโนโลยีทางเลือก เพื่อช่วยให้การมีลูกไม่ใช่แค่เรื่องของธรรมชาติเพียงอย่างเดียว ในวงการแพทย์ได้มีการต่อยอดเทคนิคการปฏิสนธิใหม่ๆ พร้อมช่วยให้คู่รักที่ต้องการมีลูก แต่มีลูกยาก มีทางเลือกช่วยเพิ่มโอกาสได้มากขึ้น ดังนี้

  • การฉีดน้ำเชื้อเข้าสู่โพรงมดลูก (Intra Uterine Insemination : IUI) ซึ่งเป็นวิธีปฏิสนธิที่ใกล้เคียงธรรมชาติมากที่สุด โดยแพทย์จะทำการคัดแยกเอาน้ำเชื้อที่แข็งแรงที่สุดของฝ่ายชาย มาฉีดเข้าสู่โพรงมดลูกฝ่ายหญิง ช่วยลดระยะการวิ่งของอสุจิ และโอกาสเชื้ออสุจิตายก่อนปฏิสนธิให้น้อยลง

การทำเด็กหลอดแก้ว (In Vitro Fertilization : IVF) เหมาะสำหรับผู้ที่มีอายุมากกว่า 35 ปี ขึ้นไป เป็นการนำไข่และอสุจิมาผสมภายในหลอดแก้ว จนกลายเป็นตัวอ่อน ก่อนนำกลับไปฉีดฝังภายในโพรงมดลูกของฝ่ายหญิง

มีลูกยาก
  • การทำเด็กหลอดแก้วขั้นสูง หรือ อิ๊กซี่ (Intracytoplasmic sperm injection : ICSI) คล้ายการทำเด็กหลอดแก้วแบบ IVF แต่เป็นการคัดเชื้ออสุจิที่แข็งแรงและดีที่สุดเพียงตัวเดียวมาฉีดเข้าสู่ไข่โดยตรง โดยไม่ต้องผ่านการปฏิสนธิภายนอก การทำ ICSI จึงเหมาะกับฝ่ายชายที่มีปัญหาเชื้ออสุจิน้อย หรือเคลื่อนที่ได้ไม่ดี
  • การทำเด็กหลอดแก้วด้วยการขยายกำลังสูงสุด (Intracytoplasmic Morphologically Selected Sperm Injection : IMSI) เทคนิคที่ต่อยอดจากการทำ ICSI โดยการใช้กล้องจุลทรรศ์ที่มีกำลังขยาย 6600x เท่า เข้ามาช่วยคัดเลือดเชื้ออสสุจิที่มีความแข็งแรง ลักษณะดี และเหมาะสมต่อการปฏิสนธิได้อย่างมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น 

การใช้เทคโนโลยีช่วยฝากไข่ (Egg Freezing) สำหรับผู้ที่ต้องการวางแผนอยากมีลูกในอนาคต ให้สามารถนำมาใช้ผสมเทียมได้เมื่อพร้อมในภายภาคหน้าได้

มีลูกยาก

การเข้ารับคำปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านฮอร์โมน ซึ่งถือเป็นเทคนิครักษาร่วมเพื่อช่วยให้ร่างกายกลับมามีสมดุลตามปกติ เพราะการคืนสมดุลฮอร์โมนให้ร่างกาย สามารถช่วยเพิ่มโอกาสการมีลูกให้คุณได้ ไม่ว่าจะในผู้ชายหรือผู้หญิง อีกหนึ่งทางเลือกที่ช่วยเสริมวิธีการข้างต้นมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น คือการสร้างสมดุลของระดับฮอร์โมน โดยสามารถเข้ารับคำปรึกษาจากผู้เชี่ยวชาญด้านการดูแลสุขภาพแบบองค์รวมได้โดยตรง

Share : 

บทความที่เกี่ยวข้อง

อ้วนลงพุง อย่ามองว่าเป็นเรื่องปกติ “อ้วนลงพุง” ผู้หญิงหลายคนคงไม่มีใครชอบ แต่รู้หรือไม่ว่าที่จริงแล้วสาเหตุที่อ้วนลงพุงอยู่นี้อาจเสี่ยงภาวะโรคถุงน้ำรังไข่หลายใบ

มะเร็งบางชนิดมีการถ่ายทอดทางพันธุกรรม โดยปกติแล้วทุกคนมียีนก่อมะเร็งที่ติดตัวมาตั้งแต่กำเนิดเป็นพื้นฐานอยู่แล้ว แต่ไม่ได้ทำให้เป็นมะเร็ง ขึ้นอยู่ที่ว่ายีนนั้นจะกลายพันธุ์จนก่อให้เกิดมะเร็งหรือไม่ ปัจจุบันการตรวจยีนหรือ

มีคนไข้หลายคนเข้ามาปรึกษาหมอว่า ทำไมบางครั้ง กินโพรไบโอติกส์ แล้วไม่เห็นผล เพราะเห็นโฆษณาว่าช่วยให้การขับถ่ายดีขึ้น ช่วยเรื่องลดน้ำหนัก และยังช่วยเรื่องภูมิแพ้ แต่กินไปแล้วกลับกลายเป็นว่าไม่ช่วยอะไรเลย หมอต้องบอกก่อนว่า เราต้องอย่าลืมว่าโพรไบโอติกส์มันมีชีวิต และโพรไบโอติกส์ไม่ใช่ยา ดังนั้นเราจึงไม่สามารถควบคุมอาการมันได้ทุกอย่างได้ มันจึงมีปัจจัยหลายๆ อย่างเข้ามาเกี่ยวข้อง หนึ่งในนั้นก็คือ ชนิด และจำนวนของโพรไบโอติกส์ที่ต้องรีบประทาน วันนี้หมอมีคำแนะนำว่าจริงๆ แล้ว เราควร กินโพรไบโอติกส์ตอนไหน กันแน่ถึงจะเห็นผล เราควรเลือก กินโพรไบโอติกส์ตอนไหน ถึงจะเห็นผล? ก็ต้องบอกว่าจริงๆ แล้วในการศึกษาเกี่ยวกับเรื่องของโพรไบโอติกส์ในปัจจุบันมีค่อนข้างมากเลย แล้วส่วนใหญ่ก็จะพบว่า มีประโยชน์กับร่างกายของเราจริงๆ เพียงแต่ว่าเราต้องไม่ลืมว่า พอพูดถึงจุลินทรีย์มันมีหลากหลาย หลายพัน หลายหมื่น หลายแสนล้านชนิดอยู่ในร่างกาย มีชนิดย่อยๆ เต็มไปหมดเลย ทุกวันนี้เรายังศึกษาได้แค่บางส่วน มันก็จะมีเชื้อจำนวนนึงที่อยู่ในลิสต์ว่ามันเป็นเชื้อที่ดี ในเชื้อแต่ละตัวเองก็จะมีคุณสมบัติที่แตกต่างกันไป มีคุณสมบัติที่คาบเกี่ยวกันไป เพราะฉะนั้นการจะเลือกโพรไบโอติกส์กับปัญหานึงเนี่ย จริงๆ หมอมองว่ามันไม่ใช่เรื่องง่าย บางทีมันไม่อาจจะสามารถใช้เชื้อรวมๆ เหมือนว่าเอา 10 ตัวนี้มาแล้วมาใช้กับทุกสภาวะได้ เพราะว่าในแต่ละคนเองก็มีความหลากหลายของชนิดเชื้อที่แตกต่างกันอีกเหมือนกัน การกินโพรไบโอติกส์ที่มากเกินไป หรือว่าชนิดที่อาจจะไม่ได้เหมาะสมกับเรา บางทีอาจจะนำมาสู่การเสียสมดุลของจุลินทรีย์ในทางเดินอาหาร หรือว่าทำให้โพรไบโอติกส์ในท้องของเรา จากที่มันดีอยู่แล้วกลับแย่ลงด้วยซ้ำ เพราะฉะนั้นแล้ว การกินโพรไบโอติกส์ให้เหมาะสมกับบุคคล […]