ค้นหา
ปิดช่องค้นหานี้
น้องชายไม่แข็ง, ปัญหา ED

น้องชายไม่แข็ง ปัญหา ED ที่ผู้ชายกลัวที่สุด และไม่กล้าบอกใคร

ขนาดไม่เคยกังวล แต่กังวลเรื่องไม่แข็ง

น้องชายไม่แข็ง ปัญหาหนักใจของผู้ชายหลายคน เกิดจากภาวะที่อวัยวะเพศไม่แข็งตัว หรือเรียกว่า โรคหย่อนหรือเสื่อมสมรรถภาพทางเพศ (Erectile Dysfunction) ภาษาอังกฤษใช้คำว่า Erectile Dysfunction หรือ ED ซึ่งมีได้หลายสาเหตุ เช่น การสูบบุหรี่ การดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ภาวะซึมเศร้า การที่น้องชายไม่แข็งขณะมีเพศสัมพันธ์ อาจทำให้ความมั่นใจในชายลดน้อยลง หรือบางครั้งอาจนำไปสู่ปัญหาด้านความสัมพันธ์ ดังนั้น น้องชายใครไม่แข็งเป็นเวลานานถึง 6 เดือน ควรรีบไปพบคุณหมอเพื่อขอคำแนะนำ

น้องชายไม่แข็ง ปัญหาหนักใจของผู้ชาย

ปัญหาอวัยวะเพศไม่แข็งตัว หรือแข็งไม่ดีพอ หรือไม่นานพอที่จะเกิดความพึงพอใจในเพศสัมพันธ์ เราเรียกอาการเหล่านี้ว่า โรคหย่อนหรือเสื่อมสมรรถภาพทางเพศ หรือ โรคอีดี ถือว่าเป็นโรคพบได้บ่อยและพบมากขึ้นตามอายุ ผู้ชาย 1 ใน 2 คน จะเป็นโรคนี้ไม่มากก็น้อย โรคหย่อนหรือเสื่อมสมรรถภาพทางเพศ หรือ โรคอีดี เป็นลักษณะของผู้ชายที่อวัยวะเพศไม่สามารถแข็งตัวได้เลย หรือแข็งตัวไม่สม่ำเสมอ ไม่สามารถทำกิจกรรมทางเพศจนสำเร็จได้ ซึ่งการไม่แข็งตัวก็มีหลายระดับด้วยกัน ตั้งแต่

ปัญหา ED
  • บางคนถ้าเป็นมากก็คือไม่แข็งเลย หรือไม่สามารถสอดใส่ในผู้หญิงได้
  • บางคนพอแข็งได้ พอสอดใส่ได้ แต่ก็ยาก
  • หรือบางคนสอดใส่ไปสักระยะหนึ่งก็อ่อนตัวเลย โดยที่ยังไม่มีการหลั่ง

ซึ่งไม่ว่าจะเป็นในระดับไหนก็ล้วนเกี่ยวข้องกับในโรคหย่อนหรือเสื่อมสมรรถภาพทางเพศทั้งสิ้น

กลไกการแข็งตัวของอวัยวะเพศเกิดขึ้นได้อย่างไร

กลไกการแข็งตัวของอวัยวะเพศมีความเกี่ยวข้องกับการทำงานของร่างกาย 3 ระบบ ได้แก่ ระบบหลอดเลือด ระบบประสาท และระบบฮอร์โมน ซึ่งระบบเหล่านี้ถูกกระตุ้นโดยความต้องการทางเพศ

เมื่อไหร่ที่มีการกระตุ้นทางเพศจากสมองหรือประสาทสัมผัสต่างๆ ปลายประสาทที่อยู่ในอวัยวะเพศจะหลั่งสารบางอย่าง มีผลทำให้หลอดเลือดแดงภายในอวัยวะเพศขยายตัว เลือดแดงจะไหลเข้ามาในอวัยวะเพศ ซึ่งเป็นเนื้อเยื่อพรุนคล้ายฟองน้ำมากขึ้น ทำให้อวัยวะเพศขยายโตและยาวขึ้น ขณะเดียวกันเลือดดำที่อยู่ขอบนอกจะถูกเบียดให้แฟบ ยิ่งทำให้เลือดมาคั่งในอวัยวะเพศ อวัยวะเพศจึงแข็งแตัวพร้อมที่จะมีเพศสัมพันธ์ได้

ปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดโรคหย่อนหรือเสื่อมสมรรถภาพทางเพศ

  • โรคเรื้อรังทางระบบหลอดเลือดและประสาท เช่น โรคความดันโลหิต โรคหัวใจ โรคหลอดเลือดตีบ เป็นต้น
  • โรคระบบต่อมไร้ท่อ ที่สำคัญคือ โรคเบาหวาน
  • โรคเกิดจากการผ่าตัด เช่น การผ่าตัดรักษามะเร็งต่อมลูกหมาก หรือกระเพาะปัสสาวะ โรคของไขสันหลัง
  • โรคทางจิตใจ เช่น ความเครียด ความวิตกกังวล และภาวะซึมเศร้า
  • บุหรี่และแอลกอฮอล์
  • ยาบางชนิด เช่น ยารักษาโรคความดันโลหิตสูงบางตัว ยากล่อมประสาท ยาฮอร์โมน และยาโรคกระเพาะ เป็นต้น
น้องชายไม่แข็ง

วิธีป้องกันปัญหาน้องชายไม่แข็งมีอยู่ 2 แนวทางหลักๆ

  1. ทางด้านร่างกาย คือ การสร้างเสริมสมรรถภาพทางกาย ด้วยการออกกำลังตามความเหมาะสมกับอายุอย่างสม่ำเสมอ การควบคุมน้ำหนักให้คงที่ พฤติกรรมเหล่านี้ยังช่วยให้สุขภาพโดยรวมดีขึ้นด้วย
  2. ส่วนตัวช่วยทางด้านจิตใจ คือ การสร้างความสัมพันธ์ที่ดีกับคู่ของตน สร้างความรัก ความเข้าใจ ความเอื้ออาทร และความสุขทางเพศร่วมกัน

น้องชายไม่แข็ง เกี่ยวอะไรกับฮอร์โมน

ฮอร์โมนเพศชาย (Testosterone) มีผลกระตุ้นความต้องการทางเพศในผู้ชาย ซึ่งความเข้มข้นของ Testosterone ในเลือดปกติมีค่า 300-1,000 นาโนกรัม/เดซิลิตร ดังนั้น ในผู้ชายที่มีระดับ Testosterone ต่ำกว่าเกณฑ์ปกติ จึงมักรู้สึกไม่มีแรง อารมณ์ซึมเศร้า และความต้องการทางเพศลดลง เมื่อความต้องการทางเพศลงลง ก็จะส่งผลให้น้องชายไม่แข็งตัว หรือในบางคนอาจไม่มีความต้องการทางเพศเลย

“ปรับสมดุลฮอร์โมนให้ตรงจุด เปลี่ยนเรื่องบนไปเตียงไม่ให้สะดุดอีกต่อไป”

แนวทางการรักษาน้องชายไม่แข็งตัว 

ปัญหาเรื่องบนเตียงถือเป็นเรื่องใหญ่ที่มีผลต่อการเลิกราของคู่รักหลายๆ คน ในด้านการรักษา น้องชายไม่แข็ง ปัจจุบันส่วนใหญ่จะเน้นรักษาตามสาเหตุที่เกิดขึ้น โดยเริ่มตั้งแต่การปรับไลฟ์สไตล์ การกระตุ้นด้วยการใช้ยา และการผ่าตัด ซึ่งการรักษาแต่ละวิธีก็มีข้อดีและข้อเสีย ขึ้นอยู่กับผู้ป่วยแต่ละราย ทาง W9 Wellness เราก็มีผู้เชี่ยวชาญให้คำปรึกษา เพื่อมองหาทางออกด้านชีวิตคู่ รวมถึงวิธีรักษาร่วมเชิง Wellness โดยการปรับสมดุลฮอร์โมน (Sex Health) ที่มีผลต่อระบบประสาท และสุดท้าย การแก้ปัญหาที่ดีที่สุด คือการเปิดใจคุยอย่างจริงจัง

Share : 

บทความที่เกี่ยวข้อง

• ภาวะขาดวิตามินหลายชนิด รวมทั้งภาวะขาดวิตามินดี มีความสัมพันธ์กับภาวะ ซึมเศร้า• วิตามินดีระดับต่ำ อาจส่งผลต่อการควบคุมอารมณ์ การตัดสินใจ และพฤติกรรม• วิตามินดี ไม่ใช่ยารักษาโรคซึมเศร้า แต่การชดเชยวิตามินดีในคนที่มีระดับต่ำ อาจมีส่วนช่วยในการควบคุมอารมณ์ และเพิ่มคุณภาพการนอนหลับได้ ภาวะ ซึมเศร้า เป็นโรคเรื้อรัง ที่ถือเป็นอีกหนึ่งปัญหาสังคม ที่ทวีความรุนแรงมากขึ้นทุกปี ทั้งด้านคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยเอง ภาระทางสังคมต่อคนรอบข้าง และอัตราการฆ่าตัวตายที่พุ่งสูงขึ้น การรักษาโรคซึมเศร้าโดยการใช้ยาร่วมกับจิตบำบัด มีอัตราสำเร็จ 76-85% (WHO 2020) แต่ปัญหาคือมีผู้ป่วยน้อยกว่า 25% เท่านั้นที่ได้รับการรักษา และมีอีกส่วนหนึ่งที่ไม่อยากทานยา เพราะกลัวติดการใช้ยา หรืออาจเพราะทนผลข้างเคียงไม่ไหว [1] เนื่องจากภาวะซึมเศร้าเป็นโรคเรื้อรัง ซึ่งสามารถกลับมาเป็นซ้ำได้ โดยเฉพาะคนที่รักษาไม่ต่อเนื่อง พบว่ามีอัตราการเป็นซ้ำมากขึ้น จึงเริ่มมีความพยายามที่จะมองหาปัจจัย หรือวิธีการรักษาร่วมอื่น โดยเฉพาะทางด้านของ ภาวะโภชนาการ สารอาหาร หรือวิตามินเสริม [2] เราเริ่มมีงานวิจัยจำนวนมากขึ้น ที่พบความสัมพันธ์ของภาวะขาดวิตามิน สารอาหาร หรือแร่ธาตุ หลายชนิด กับภาวะซึมเศร้า เช่น วิตามินบี 3, วิตามินบี […]

วันโรคอ้วนโลก (World Obesity Day) ถูกตั้งขึ้นมาตั้งแต่ปี 2015