ค้นหา
ปิดช่องค้นหานี้

W9 Wellness Center ครบรอบ 1 ปี เผย 6 ปัญหาสุขภาพยอดฮิตของคนไทย

W9 Wellness Center ศูนย์ดูแลสุขภาพแบบองค์รวม (Holistic) ในโรงพยาบาลพระรามเก้า มุ่งเน้นการดูแลสุขภาพเพื่อป้องกันก่อนการเกิดโรค โดยทีมแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านเวชศาสตร์ป้องกัน ครบรอบ 1 ปี เผย 4 เทรนด์กระตุ้น Wellness ในประเทศไทย

จากสถิติผู้เข้ารับการปรึกษาส่วนใหญ่กว่า 80-90% มาใช้บริการเมื่อมีปัญหาสุขภาพอยู่แล้ว ซึ่ง 6 ปัญหาสุขภาพยอดฮิต ได้แก่
1. ปัญหานอนไม่หลับและมีความเครียด 19.34%
2. ปัญหาผิวและริ้วรอย 19.34%
3. ปัญหาน้ำหนักตัว 18.4%
4. การเสริมภูมิคุ้มกัน 15.57%
5. ปัญหาฮอร์โมน 14.62%
6. ความกังวลเกี่ยวกับมะเร็ง 12.73%

อาการยอดฮิตคนไทย

ในช่วงที่ไวรัสโควิด–19 แพร่ระบาด พบสถิติคนไทยมาปรึกษาเกี่ยวกับการเสริมภูมิคุ้มกันเพิ่มขึ้นเป็น 20.65% แสดงให้เห็นว่าคนไทยตระหนักถึงการดูแลสุขภาพมากขึ้น และมาปรึกษาด้วยปัญหานอนไม่หลับและมีความเครียดเพิ่มขึ้น 20.05% สองปัญหาสุขภาพขยับขึ้นมาเป็น 2 อันดับแรกที่ผู้มาใช้บริการเข้ามารับคำปรึกษาในช่วงนี้ ขณะที่ มีผู้มาใช้บริการเพียง 10-20% ที่เข้ามารับบริการดูแลสุขภาพเพื่อดูแลปัญหาริ้วรอยหรือเพื่อการชะลอวัย ทั้งนี้จากสถานการณ์การแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 ส่งผลให้พฤติกรรมด้านสุขภาพของคนไทยเปลี่ยนไป และเป็นปัจจัยเร่งให้ผู้คนหันมาให้ความสำคัญกับการดูแลสุขภาพเชิงป้องกันมากขึ้น ข้อมูลจากจีไอเอสคาดว่าตลาด Health and Wellness จะเติบโตถึง 6.30%* แต่สำหรับเราคาดจะโตอีกเท่าตัวราว 8-10% ในปี 2563

W9 Wellness Center มุ่งสร้างความสมดุลให้สุขภาพของผู้มาใช้บริการ ภายใต้แนวคิด “Healthitude” ยกระดับ “การป้องกัน” และดูแลสุขภาพผ่านการตรวจสุขภาพเชิงลึก ให้ทราบถึงความสมดุลระบบพื้นฐานที่สำคัญของร่างกาย และจัดโปรแกรมการดูแลสุขภาพองค์รวมแบบ เฉพาะบุคคลเพื่อร่วมรักษาโรค ลดความเสี่ยงของการเกิดโรค ชะลอวัยและเพื่อการมีสุขภาพที่ดีอย่างยั่งยืน

นายแพทย์พิจักษณ์

นายแพทย์พิจักษณ์ วงศ์วิศิษฎ์ ผู้อำนวยการ ศูนย์ดูแลสุขภาพแบบองค์รวม เผยเกี่ยวกับ 4 เทรนด์ Wellness หรือเทรนด์การสร้างสมดุลความสุขชีวิตทุกด้าน ประกอบด้วย

เทรนด์สังคมสูงวัย ปัจจุบันประเทศไทยได้ก้าวสู่สังคมสูงวัยเต็มรูปแบบแล้ว โดยประชาชนอายุ 60 ปีขึ้นไป 20% ของจำนวนประชากรในประเทศ ในขณะที่ประชากรวัยทำงานมีอัตราลดลงอย่างต่อเนื่องเช่นเดียวกับอัตราการเกิดใหม่มีอัตรา
เทรนด์อายุยืนด้วยคุณภาพชีวิตที่ดี (Life span VS Health span) ผู้คนสุขภาพดีอายุยืน สามารถใช้ร่างกายได้ดีตามวัย สามารถทำงานและช่วยเหลือตัวเองได้ โดยได้หันมาให้ความสำคัญกับการดูแลสุขภาพ ความเป็นอยู่ และจิตใจของตัวเอง เนื่องจากตระหนักว่าการมีอายุยืนแต่อุดมไปด้วยโรคเป็นสิ่งไม่พึ่งปรารถนา เนื่องจากจะเป็นภาระต่อครอบครัวและสังคม
เทรนด์โภชนาเฉพาะบุคคล (Personalized nutrition) มีความรู้และให้ความสำคัญกับการดูแลโภชนาการ เลือกรับประทานอาหารสร้างความสมดุลเฉพาะบุคคลมากขึ้น
เทรนด์ผู้บริโภคสนใจและใส่ใจสุขภาพเชิงรุก (More consumer engagement & proactive) โดยเฉพาะคนยุคใหม่กลุ่มยุคมิลเลนเนียล และเจเนอเรชั่นวาย มีการหาข้อมูลเกี่ยวกับการดูแลสุขภาพเชิงลึก ทั้งในเรื่องการบริโภคอาหาร การออกกำลังกาย การควบคุมน้ำหนัก ฯลฯ มากขึ้น ประกอบกับปัญหามลภาวะฝุ่น PM 2.5 และการเกิดโรคอุบัติใหม่เชื้อไวรัสโคโรนา (โควิด-19) เป็นอีกตัวแปรสำคัญที่เข้ามากระตุ้นผู้คนให้หันมาให้ความสำคัญกับเรื่องดังกล่าวมากยิ่งขึ้น

“จากเทรนด์ด้าน Wellness มองเห็นทิศทางของการสร้างชีวิตที่สุขสมดุล เพื่อให้คนไทยมีคุณภาพชีวิตที่ดีจำเป็นต้องมีการสร้างความตระหนักรู้เกี่ยวกับการสร้างทางเลือกของการมีสุขภาพที่ดี การเติมเต็มชีวิตในเชิงรุก การมุ่งเน้นดูแลสุขภาพในภาพรวมของแต่ละคน และใช้ทุกรูปแบบของวิธีการบำบัดรักษาที่เหมาะสม เพื่อสุขภาพและการรักษาที่ได้ผลดีที่สุด แทนการรักษาที่ปลายเหตุด้วยการจ่ายยา รวมทั้งการดูแลที่ออกแบบเฉพาะบุคคล เพราะ Wellness ของแต่ละคนให้คุณค่าที่ต่างกัน ทั้งนี้ ในช่วง 1 ปีที่ W9 Wellness Center ใกล้ชิดสุขภาพผู้บริโภค พบว่าผู้ที่มาใช้บริการ 80-90% มาใช้บริการเนื่องจากมีปัญหาสุขภาพ โดยเบื้องต้นพบสาเหตุจากการใช้ชีวิตที่ไม่ถูกต้อง ทั้งจากการรับประทานอาหาร การทำงานหนัก การพักผ่อนไม่เพียงพอ มีความเครียดสะสม ฯลฯ ซึ่งล้วนแต่มีผลไปกระตุ้นให้เซลล์ อวัยวะ และระบบต่าง ๆ ของร่างกายแปรปรวนและเสื่อมสภาพก่อนเวลาอันควร ในทางการแพทย์  มีการดูแลสุขภาพ 2 รูปแบบ คือ การดูแลสุขภาพเชิงรักษาโรค คือเมื่อมีอาการป่วยแล้วจึงเข้ามาปรึกษาและทำการรักษา และการดูแลสุขภาพเชิงป้องกันโรค ด้วยการดูแลสุขภาพให้สมบูรณ์แข็งแรงอยู่เสมอ และก่อนที่ร่างกายจะส่งสัญญาณหรือก่อนที่จะเริ่มมีปัญหาสุขภาพ”

นายแพทย์พิจักษณ์ กล่าว

นายขันธ์พลร์ ซื่อภาคย์ กรรมการบริหาร ศูนย์ดูแลสุขภาพแบบองค์รวม W9 Wellness Center กล่าวว่า ได้ทิศทางธุรกิจไปพร้อมกับกระแสสังคมผู้สูงอายุ สอดรับกับการใช้ชีวิตแบบ New normal ดูแลรักษาสุขภาพ ไวรัสโควิด -19 และจากมลพิษต่างๆโดยเฉพาะPM2.5 ด้วยมุ่งขยายฐานลูกค้าไปยังกลุ่มเจนเนอร์เรชั่นวาย มากขึ้นและเน้นการเข้าถึงคนในสังคมมากขึ้นด้วยราคาสมเหตุสมผล (Value for money)  

คุณขันธ์พลร์

ซึ่งสอดคล้องกับ4 เทรนด์ Wellness โดยการสร้างสุขภาพที่ดีอย่างยั่งยืนต้องเริ่มต้นที่ทัศนคติที่ถูกต้อง จากแพทย์ผู้เชียวชาญการออกแบบโปรแกรมดูแลสุขภาพเฉพาะบุคคล ผ่านการตรวจสุขภาพเชิงลึก ทั้งด้านพันธุกรรม ฮอร์โมน วิตามิน และสารพิษ พร้อมให้คำแนะนำในการช่วยหาสมดุลการใช้ชีวิตเฉพาะบุคคล ปรับเปลี่ยนทัศนคติว่าการดูแลสุขภาพก่อนเกิดโรคเป็นเรื่องที่ทำได้เอง ทำได้ง่าย และทำได้จริง เพื่อให้ทุกคนมีสุขภาพที่ดีอย่างยั่งยืนทั้งร่างกายและจิตใจ

“จากแนวโน้มด้านสุขภาพคนไทย ซึ่งแม้จะพบคนไทยที่ดูแลสุขภาพเชิงป้องกันมีเพียง 10-20% แต่ด้วยพฤติกรรมสุขภาพที่เปลี่ยนไป ทำให้เห็นถึงโอกาสการเติบโตในตลาดที่มีถึง 80-90% โดยในช่วงครึ่งปีหลังจะมุ่งเน้นแนวทางของการบริหารงานด้านสุขภาพในแง่สร้างการรับรู้ให้คนไทยได้ตระหนักถึงเรื่องของแนวคิดการดูแลสุขภาพเชิงป้องกันเพิ่มมากขึ้น ด้วยกลยุทธ์การตลาดเชิงรุก การให้ความรู้ เสริมสร้างความเข้าใจด้านสุขภาพเชิงลึกที่เข้าใจง่าย นอกจากนี้ ยังรวมไปถึงการมุ่งพัฒนาเทคโนโลยีทางการแพทย์ และคิดค้นนวัตกรรม ผลิตภัณฑ์ใหม่ ๆ ออกมาเพื่อขานรับไลฟ์สไตล์ผู้บริโภคยุค New normal ในปัจจุบันและอนาคต ควบคู่กับการให้บริการ Wellness ที่ดูแลสุขภาพแบบองค์รวม (Holistic) ที่ประกอบด้วย 4 Ps คือ Preventive มุ่งเน้นที่การป้องกันก่อนการเกิดโรค, Predictive ใช้การตรวจวิเคราะห์ทางห้องปฏิบัติการที่แม่นยำในระดับเซลล์ โดยคำนึงถึงปัจจัยทางพันธุกรรมและสิ่งแวดล้อมร่วมกัน นำมาวิเคราะห์หาต้นตอปัญหาที่แท้จริง, Personalized ออกแบบสุขภาพเฉพาะบุคคล โดยใช้ข้อมูลเชิงลึก และ Participatory ประกอบกับการให้คำปรึกษาโดยทีมแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านเวชศาสตร์ป้องกัน (Preventive Medicine) ที่เน้นการมีส่วนร่วมระหว่างกันกับคนไข้ เพื่อทำให้เกิดประสิทธิภาพการดูแลรักษาสูงสุด” 

คุณขันธ์พลร์ กล่าว
W9 Press

ซึ่งในงานนี้ได้รับความสนใจจากสื่อมวลชนหลายสำนัก เช่น หนังสือพิมพ์ผู้จัดการ, กรุงเทพธุรกิจ, ประชาชาติ และฐานเศรษกิจ เป็นต้น สามารถติดตามอ่านข่าวแต่ละสำนักได้ที่

เปิด 6 ปัญหา ‘สุขภาพ’ ฮิตคนไทย
ครบรอบ 1 ปี เผย 4 เทรนด์ กระตุ้นตลาด Wellness ไทย พบ 6 ปัญหาสุขภาพฮิตคนไทย
“W9” เผยโควิด-19 คนรักสุขภาพมากขึ้น พร้อมรุกหนักตลาด Wellness
“W9” เปิดเกมรุกเจาะตลาด Wellness เมืองไทย 6.5 หมื่นล้าน
เปิด 6 ปัญหาสุขภาพฮิตคนไทย สถิติปรึกษาการเสริมภูมิคุ้มกันเพิ่มขึ้น
“W9” ชี้ 4 เทรนด์ส่งผลธุรกิจเวลเนสบูม
เมกะเทรนด์ ‘อายุยืน-โควิด’ หนุนตลาดสุขภาพโต 6.5 หมื่นล้าน
เผย 4 เทรนด์ปลุกตลาด Wellness ไทย หวังชิงมูลค่าตลาด 6.5 หมื่นล้าน

Share : 

บทความที่เกี่ยวข้อง

• ภาวะขาดวิตามินหลายชนิด รวมทั้งภาวะขาดวิตามินดี มีความสัมพันธ์กับภาวะ ซึมเศร้า• วิตามินดีระดับต่ำ อาจส่งผลต่อการควบคุมอารมณ์ การตัดสินใจ และพฤติกรรม• วิตามินดี ไม่ใช่ยารักษาโรคซึมเศร้า แต่การชดเชยวิตามินดีในคนที่มีระดับต่ำ อาจมีส่วนช่วยในการควบคุมอารมณ์ และเพิ่มคุณภาพการนอนหลับได้ ภาวะ ซึมเศร้า เป็นโรคเรื้อรัง ที่ถือเป็นอีกหนึ่งปัญหาสังคม ที่ทวีความรุนแรงมากขึ้นทุกปี ทั้งด้านคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยเอง ภาระทางสังคมต่อคนรอบข้าง และอัตราการฆ่าตัวตายที่พุ่งสูงขึ้น การรักษาโรคซึมเศร้าโดยการใช้ยาร่วมกับจิตบำบัด มีอัตราสำเร็จ 76-85% (WHO 2020) แต่ปัญหาคือมีผู้ป่วยน้อยกว่า 25% เท่านั้นที่ได้รับการรักษา และมีอีกส่วนหนึ่งที่ไม่อยากทานยา เพราะกลัวติดการใช้ยา หรืออาจเพราะทนผลข้างเคียงไม่ไหว [1] เนื่องจากภาวะซึมเศร้าเป็นโรคเรื้อรัง ซึ่งสามารถกลับมาเป็นซ้ำได้ โดยเฉพาะคนที่รักษาไม่ต่อเนื่อง พบว่ามีอัตราการเป็นซ้ำมากขึ้น จึงเริ่มมีความพยายามที่จะมองหาปัจจัย หรือวิธีการรักษาร่วมอื่น โดยเฉพาะทางด้านของ ภาวะโภชนาการ สารอาหาร หรือวิตามินเสริม [2] เราเริ่มมีงานวิจัยจำนวนมากขึ้น ที่พบความสัมพันธ์ของภาวะขาดวิตามิน สารอาหาร หรือแร่ธาตุ หลายชนิด กับภาวะซึมเศร้า เช่น วิตามินบี 3, วิตามินบี […]

รู้หรือไม่ มะเร็ง ถือเป็นสาเหตุการสูญเสียอันดับ 1 ของคนไทย