สิวรักษาไม่หาย อาจเป็นภูมิแพ้อาหารแฝง
ภูมิแพ้อาหารแฝง เป็นสิวอักเสบเรื้อรัง หรือมีอาการอักเสบใต้ชั้นผิวหนังตามจุดต่างๆ ของร่างกาย นอกจากจะมีสาเหตุจาก ฮอร์โมน แล้ว อาจเป็นสัญญาณของภูมิแพ้อาหารแฝง เนื่องจากร่างกายรับสารปนเปื้อนจากอาหารที่รับประทานเข้าไปโดยจะค่อย ๆ เก็บสะสมไว้ภายในร่างกายและค่อยๆ แสดงอาการออกมาในภายหลัง เช่น อาการทางผิวหนัง ผดผื่นคัน ลมพิษ และสิวเรื้อรัง หากเชื้อภูมิแพ้แฝงสะสมอยู่ในร่างกายเป็นเวลานานอาจเป็นสาเหตุของโรคร้ายต่างๆ ในอนาคตได้

ลองเช็คกันดูว่า คุณมีอาการเหล่านี้อยู่หรือเปล่า?
- ระบบย่อยอาหารมีปัญหา ท้องอืดท้องเฟ้อ จุกเสียด เกิดแก๊สในกระเพาะอาหาร ส่งผลให้เกิดการเรอหรือผายลมบ่อยครั้ง หรือบางครั้งมีอาการท้องผูกร่วมด้วย
- มีอาการคันคอไม่ทราบสาเหตุ
- มีอาการปวดหัวแบบเรื้อรัง ปวดหัวไมเกรน หรืออาการปวดตามข้อต่างๆ ของร่างกาย
- มีอาการน้ำมูกไหลเรื้อรัง เป็นไม่หาย หรือไม่ทราบสาเหตุ
- รู้สึกไม่สบายตัว ครั่นเนื้อครั่นตัวเหมือนจะไม่สบาย
- น้ำหนักตัวเพิ่มขึ้น
ภูมิแพ้อาหารแฝง แตกต่างจากภูมิแพ้ปกติอย่างไร?
ภูมิแพ้อาหารแฝง (Food Intolerance) คือ ภูมิแพ้ชนิดหนึ่งที่จะไม่แสดงอาการแพ้ออกมาทันทีเหมือนภูมิแพ้อาหารทั่วไป (Food Allergy) ที่จะแสดงอาการออกมาทันทีเมื่อรับประทานอาหารที่ร่างกายแพ้เข้าไป เช่น อาเจียน แน่นหน้าอก มีผื่นขึ้นตามตัว หายใจติดขัด แต่ภูมิแพ้อาหารแฝงจะค่อยๆ แสดงออกมา และเป็นอาการเรื้อรังที่สร้างความรบกวนในการดำเนินชีวิตได้ ผ่านการตรวจด้วยโปรแกรม Food Intolerance Package ได้
- ภูมิแพ้อาหารทั่วไป (Food Allergy) เช่น แพ้ถั่วลิสง หรือ แพ้กุ้ง เป็นอาการแพ้ที่มักจะเกิดขึ้นทันทีหลังรับประทานอาหารและมีปฎิกิริยาที่รุนแรง ได้แก่ จาม เป็นผื่น ระคายเคืองผิวหนัง บวมแดง และมีอาการเหนื่อยล้า อาหารที่เกิดขึ้นเหล่านี้มีแอนติบอดี้ชนิด IgG เข้ามาเกี่ยวข้อง
- ภูมิแพ้อาหารแฝง (Food Intolerance) มีรูปแบบที่เกิดขึ้นช้าๆ และมีแอนติบอดีชนิด IgG เข้ามาเกี่ยวข้อง อาจมีอาการปรากฎให้เห็นหลังรับประทานอาหารชนิดที่แพ้เข้าไปแล้ว 2-3 วัน จึงยากที่จะระบุชนิดอาหารที่ทำให้แพ้ได้
สาเหตุการเกิดภูมิแพ้อาหารแฝง
ภูมิแพ้อาหารแฝง เกิดจากภูมิ (antibody) ชนิด Immunoglobulin G (IgG) ที่ร่างกายสร้างมาต่อต้านอาหาร และไม่ทราบว่าได้เกิดการแพ้อาหารชนิดนั้นๆขึ้นมา กลไกของการแพ้อาหารแบบแฝงนั้น เริ่มจากเมื่อเราบริโภคอาหารที่แพ้เข้าไปเม็ดเลือดขาวจะสร้าง Antibody ที่จำเพาะต่ออาหารชนิดที่เราแพ้นั้นๆ ในทางเดินอาหารของเรา
สำหรับอาหารที่ไม่ได้แพ้ก็จะถูกดูดซึมผ่านผนังลำไส้เล็กเพื่อที่จะไปเลี้ยงส่วนต่างๆของร่างกายตามปกติ แต่อาหารที่แพ้ จะมี Antibody จับกับอาหารที่แพ้ ก่อให้เกิดการอักเสบตามจุดต่างๆ ของร่างกาย ซึ่งลักษณะอาการต่างๆที่เกิดขึ้น และชนิดของอาหารที่แพ้จะแตกต่างกันไปตามแต่ละบุคคล
สาเหตุหลักที่ทำให้เกิดโรคภูมิแพ้อาหารแฝง คือ ภาวะของลำไส้รั่ว (Leaky gut) จากการที่ลำไส้ถูกทำลาย เนื่องจากรับประทานอาหารที่ไม่มีประโยชน์ การรับประทานอาหารที่มีสารเคมีเจอปน หรือการรับประทานอาหารที่มีไขมันสูง ทำให้ตับอ่อนผลิตเอนไซม์ได้ไม่ดี ช่องว่างระหว่างเซลล์เยื่อบุลำไส้หลวม ส่งผลให้โมเลกุลที่ยังไม่ได้รับการย่อยหรือสิ่งแปลกปลอมดังกล่าวเข้าสู่กระแสเลือด ซึ่งจะไม่แสดงอาการในทันที ซึ่งมีความแตกต่างจากภูมิแพ้อาหารทั่วไป (Food Allergy)
อาหารที่ทำให้แพ้
อาหารที่คนส่วนใหญ่แพ้มักเป็นอาหารจำพวก นม ไข่ ปลา สัตว์ทะเลเปลือกแข็ง ถั่วลิสง ถั่วเหลือง ถั่วเปลือกแข็ง ข้าวสาลี กลูเตน (โปรตีนชนิดหนึ่งในข้าวสาลี) สมุนไพร แอลกอฮอล์ และยีสต์ ผู้ที่เป็นภูมิแพ้ปกติ เมื่อเกิดอาการแพ้หลังรับประทานอาหารชนิดใดให้หลีกเลี่ยงการรับประทานทันที แต่หากใครที่มีอาการภูมิแพ้แฝง การตรวจหาภูมิแพ้อาหารแฝงคือคำตอบที่ดีที่สุด เพราะนอกจากจะช่วยให้ทราบถึงอาหารที่เป็นต้นเหตุของอาการแพ้ต่างๆ ยังช่วยวางแผนปรับเมนูอาหารที่รับประทานในแต่ละมื้อได้ เพื่อการป้องกันปัญหาสุขภาพได้อีกทางหนึ่ง
กระบวนการในการตรวจและแปรผล
การตรวจภูมิแพ้อาหารแฝงจากแอนติบอดี้ IgG
เนื่องจากเป็นเรื่องยากที่จะระบุชนิดอาหารที่ทำให้เกิดอาการแพ้ โดยที่อาการเหล่านั้นสามารถปรากฎได้ในช่วงระยะเวลาสามวันหลังจากการรับประทานอาหาร หรือสามารถแสดงอาการในอีกสัปดาห์ จึงเป็นเรื่องยากมากที่จะฟันธงว่าอาหารชนิดใดที่เป็นสาเหตุของการเกิดอาการดังกล่าว
ดังนั้น การทดสอบการแพ้อาหารแฝง (Food Intolerance) จึงเป็นการสืบหาชนิดอาหารที่สามารถใช้ประโยชน์ในการประเมินระดับของแอนติบอดีต่ออาหารจากตัวอย่างเลือด เพราะการหลีกเลี่ยงอาหารที่เป็นตัวปัญหาจะช่วยป้องกันการเกิดโรคได้ดี โดยการตรวจ Food Intolerance Test นั้นจะเป็นการตรวจวัดระดับของ IgG ต่อ Allergen ชนิดนั้นๆ ซึ่งครอบคุลมถึง 222 Allergens
การแปลผลทดสอบ
ผลตรวจภูมิแพ้อาหารแฝง จะแสดงระดับสีของการแพ้ แบ่งออกเป็น 3 ระดับ คือ
- สีแดง กลุ่มอาหารที่แสดงปฏิกิริยามาก ซึ่งควรงดรับประทานเป็นเวลา 3-6 เดือน
- สีเหลือง กลุ่มอาหารที่แสดงปฏิกิริยาปานกลาง ควรจะลดการรับประทานอาหารชนิดนั้นและรับประทานไม่ควรเกินสัปดาห์ละ 1 ครั้ง
- สีเขียว กลุ่มอาหารที่ไม่แสดงปฏิกิริยา สามารถรับประทานได้

ผลการตรวจสอบภูมิแพ้อาหารแฝง จะแสดงผลเป็น สูง (Elevated) ปานกลาง (Borderline) ปกติ (Normal) โดยมีหน่วยความเข้มข้นของแอนติบอดี IgG เป็นยูนิตต่ามิลลิลิตร (U/ml)

สูง(Elevated)
แสดงว่าตรวจพบความเข้มข้นของแอนติบอดีในระดับสูง ควร “จำกัด” อาหารเหล่านี้ออกจากเมนูอาหารเป็นเวลาอย่างน้อย 3 เดือน

ปานกลาง(Borderline)
แสดงว่าตรวจพบความเข้มข้นของแอนติบอดีในระดับกลาง ควรลด หรือ หมุนเวียนรับประทานอาหารเหล่านี้เป็นเวลาอย่างน้อย 3 เดือน เพื่อหลีกเลี่ยงการแพ้ที่จะเพิ่มสูงขึ้น

ปกติ(Normal)
แสดงว่าตรวจไม่พบหรือพบแอนติบอดีที่จำเพาะต่ออาหารในระดับต่ำ สามารถรับประทานอาหารเหล่านี้ได้ตามปกติ
ใครบ้างที่ต้องตรวจภูมิแพ้อาหารแฝง
ลำไส้แปรปรวน

ลมพิษ ผื่นเรื้อรัง

สมาธิสั้น

ภาวะซึมเศร้า

สิวเรื้อรังรกษาไม่หาย

ปวดศรีษะเรื้อรัง

ปัญหาการนอนหลับ

ปัญหาลดน้ำหนักยาก
