ค้นหา
ปิดช่องค้นหานี้
รู้จักโพรไบโอติกส์

รู้จักโพรไบโอติกส์ แต่ละสายพันธุ์ เลือกกินยังไงให้ได้ประโยชน์สุดปัง

โพรไบโอติกส์คืออะไร

ระบบทางเดินอาหารของมนุษย์เป็นที่อยู่ของจุลินทรีย์หลายชนิด ทั้งจุลินทรีย์ชนิดดีและไม่ดี จุลินทรีย์หรือแบคทีเรียที่ดีเรียกว่า โพรไบโอติกส์ (Probiotics)  ทำหน้าที่เกี่ยวข้องกับระบบต่างๆ ของร่างกาย ทั้งระบบย่อยอาหาร ระบบประสาท ระบบขับถ่าย ซึ่ง 70% ของระบบภูมิคุ้มกัน (Immunity System) เกิดขึ้นในระบบทางเดินอาหารของเรา รวมถึงเซลล์เม็ดเลือดขาวที่สำคัญอย่าง NK Cell ก็อาศัยอยู่ที่ลำไส้คอยทำหน้าที่ป้องกันและทำลายเชื้อโรคต่างๆ เพราะกุญแจสำคัญของการมีสุขภาพที่ดีคือการรักษาสมดุลของจุลินทรีย์ในร่างกายให้มีความสมดุลและมีความหลากหลายสายพันธุ์ในร่างกาย วันนี้เราจะมาทุกท่านมา รู้จักโพรไบโอติกส์ แต่ละสายพันธุ์ว่ามีความสำคัญกับสุขภาพลำไส้อย่างไร

ทำไมโพรไบโอติสก์ถึงสำคัญต่อร่างกาย

รู้จักโพรไบโอติกส์

ในร่างกายมนุษย์มีจุลินทรีย์มากว่า 500 ชนิด มีชีวิตแบบพึ่งพาอาศัยซึ่งกันและกัน สามารถพบได้ในช่องปาก กระเพาะอาหาร ลำไส้ และระบบทางเดินปัสสาวะ ซึ่งโพรไบโอติกส์แต่ละชนิดส่งผลต่อร่างกายแตกต่างกัน บางชนิดส่งผลดี เช่น สร้างภูมิคุ้มกัน บางชนิดก็ก่อให้เกิดโรคต่อร่างกาย การรักษาสมดุลของจุลินทรีย์จึงเป็นเรื่องที่สำคัญต่อสุขภาพ เพราะหากร่างกายมีจุลินทรีย์ชนิดไม่ดีมากจนเกินไปก็อาจก่อให้เกิดโรคหรืออาการผิดปกติได้ในที่สุด

ทำความ รู้จักโพรไบโอติกส์ แต่ละสายพันธุ์ว่าสำคัญต่อสุขภาพลำไส้อย่างไร

Bifidobacterium Bifidum (B.bifidum) พบได้ทั่วไปในลำไส้ใหญ่และช่องคลอด ถือเป็นโพรไบโอติกส์ที่สำคัญ ช่วยป้องกันการเพิ่มจำนวนของเชื้อแบคทีเรียก่อโรค โดยไปยึดเกาะผนังลำไส้ คอยเพิ่มจำนวนและแย่งสารอาหารจากจุลินทรีย์ชนิดที่ไม่ดี

  • เสริมภูมิคุ้มกัน
  • ช่วยเพิ่มการดูดซึมแร่ธาตุ
  • ลดโอกาสการเกิดโรคในลำไส้
  • ลดระดับคอเลสเตอรอลในพลาสมา
  • ลดความเสียหายที่เกิดจากสารพิษในอวัยวะ
  • ผลิตกรดแล็กติก และยับยั้งการเจริญเติบโตของจุลินทรีย์ชนิดไม่ดี

Bifidobacterium breve (B.breve) พบบริเวณลำไส้ส่วนล่างของทารกและผู้ใหญ่บางราย และยังอาจพบในช่องคลอดของผู้ใหญ่ เป็นจุลินทรีย์ที่ดี สามารถช่วยส่งเสริมภูมิคุ้มกันให้กับร่างกาย ซึ่งเด็กคลอดธรรมชาติจะมีโอกาสได้รับจุลินทรีย์ชนิดนี้ตั้งแต่แรกเกิดผ่านทางช่องคลอดของแม่ ทำให้เด็กคลอดธรรมชาติมีพื้นฐานร่างกายที่แข็งแรง

  • ช่วยลดการอักเสบ
  • ช่วยในการย่อยอาหาร
  • สนับสนุนการทำงานของลำไส้
  • ช่วยเสริมภูมิคุ้มกันร่างกายให้แข็งแรง
  • ช่วยส่งเสริมการทำงานของสมองที่สองได้เป็นอย่างดี

Bifidobacterium lactis (B.lactis) เป็นโพรไบโอติกส์ที่พบมากในลำไส้ใหญ่ ทนทานต่อกรดในกระเพาะอาหาร มีชีวิตอยู่ในลำไส้ได้นาน และมีงานพบว่า B.lactis มีประโยชน์ในผู้ป่วยที่มีโรคผิวหนังอักเสบ ช่วยเพิ่มเซลล์เม็ดเลือดขาวชนิด T (T lymphocytes) และเซลล์เพชฌฆาต NK Cell (Natural Killer Cells) ทั้งหมด ส่งผลทำให้ระบบภูมิคุ้มกันดีขึ้น

  • ช่วยในการย่อยอาหาร
  • เสริมการทำงานของระบบภูมิคุ้มกัน
  • ช่วยกำจัดของเสียในร่างกาย
  • ช่วยในการดูดซึมวิตามินและแร่ธาตุในลำไส้ให้ดียิ่งขึ้น
  • ช่วยเพิ่มเซลล์เม็ดเลือดขาวชนิด T (T Lymphocytes) และเซลล์เพชฌฆาต (Natural killer Cells) 

Bifidobacterium longum (B.longum) เป็นแบคทีเรียชนิดกรดแล็กติกที่สามารถหลั่งกรดแล็กติกและกรดแอซีติกออกสู่แวดล้อม จึงมีความต้านทานต่อสภาพที่เป็นกรด มีคุณสมบัติในการซ่อมแซมเยื่อบุผนังทางเดินอาหารและควบคุมลำไส้มีความสมดุล

  • ลดระยะเวลาของอาการท้องเสีย
  • ช่วยในการรักษาเด็กอ่อนที่มีอาการแพ้แล็กโตส
  • ลดโอกาสท้องผูกจากการอั้นอุจจาระ
  • ลดความเสี่ยงการเกิดอาการแพ้

Lactobacillus acidophilus (L.acidophilus) เป็นแบคทีเรียชนิดกรดแล็กติก มีประสิทธิภาพในการยับยั้งเชื้อจุลินทรีย์ชนิดที่ทำให้เกิดโรค ช่วยเพิ่มความต้านทานต่อเชื้อโรค L.acidophilus อาจสามารถช่วยลดระดับคอเลสเตอรอลในเลือด L.acidophilus มีประสิทธิภาพในการรักษาอาการท้องเสียจากยาปฏิชีวนะ ให้ประโยชน์ต่อสุขภาพในผู้ป่วยเป็นโรคภูมิแพ้รวมถึงโรคผิวหนังอักเสบ L.acidophilus พบได้ตามธรรมชาติในโยเกิร์ต อาศัยอยู่ในลำไส้เล็ก ช่องคลอด ท่อปัสสาวะ และปากมดลูก 

  • ช่วยชะลอวัย
  • เสริมภูมิคุ้มกัน
  • ป้องกันการรุกรานจากเชื้อก่อโรค
  • ช่วยส่งเสริมการดูดซึมสารอาหารในลำไส้
  • ลดความเสี่ยงของการเกิดเซลล์มะเร็ง

Lactobacillus gasseri (L.gasseri) เป็นโพรไบโอติกส์ที่มีคุณสมบัติเด่นในเรื่องของการควบคุมน้ำหนัก ลดไขมันในช่องท้อง เส้นรอบเอวและเส้นรอบสะโพก ส่วนใหญ่พบในน้ำนมของแม่ โดยหน้าที่สำคัญหลักๆ คือ 

  • เสริมสร้างการสังเคราะห์ Growth Hormone 
  • ช่วยให้ร่างกายไม่เหนื่อยล้า และลดความกระวนกระวาย 
  • สังเคราะห์ Gassericin A ในร่างกายซึ่งมีหน้าที่ต่อสู้กับจุลินทรีย์ชนิดไม่ดี 
  • ลดความเครียดและช่วยให้การนอนมีคุณภาพขึ้น รวมถึงลดอาการท้องผูกจากสาเหตุความเครียด 
  • คุมน้ำหนัก และลดความเสี่ยงการเกิดกลุ่มอาการการเผาผลาญผิดปกติ (อ้วนลงพุง)

Lactobacillus helveticus (L.helveticus) เป็นโพรไบโอติกส์ที่มีแหล่งกำเนิดมาจากผลิตภัณฑ์นม เป็นแบคทีเรียชนิดกรดแล็กติกที่มีฤทธิ์ต้านจุลชีพ มีงานวิจัยชี้ให้เห็นว่า L.helveticus อาจมีฤทธิ์ป้องกันโรคมะเร็ง และมีประโยชน์ในผู้ป่วยโรคความดันเลือดสูง

  • กระตุ้นระบบภูมิคุ้มกัน
  • ช่วยป้องกันความดันโลหิตสูง
  • ช่วยส่งเสริมระบบการย่อยอาหาร
  • ช่วยป้องกันการแพร่กระจายของเชื้อแบคทีเรียที่ไม่แข็งแรง

Lactobacillus paracasei (L.paracasei) งานวิจัยพบว่า เชื้อ L.paracasei NCC2461 ช่วยลดการอักเสบและช่วยให้การบีบตัวในระบบทางเดินอาหารของผู้ป่วยที่เป็นโรคลำไส้แปรปรวน (irritable bowel syndrome: IBS) ให้ดีขึ้นได้

  • บรรเทาอาการท้องอืด อาการปวด
  • สุขภาพช่องปากดีขึ้น
  • ลดอาการฟันผุ
  • ป้องกันการติดเชื้อ

Lactobacillus plantarum (L.plantarum) มีต้นกำเนิดจากพืช แบคทีเรียชนิดนี้ผลิตกรดแล็กติกที่มีประโยชน์ต่อสุขภาพมาก กระตุ้นระบบภูมิคุ้มกันในร่างกาย L.plantarum อาจมีประโยชน์ในผู้ป่วยโรคภูมิแพ้ โรคไขข้ออักเสบ ระดับคอเลสเตอรอลสูงในเลือด โรคติดเชื้อ โรคลำไส้แปรปรวน ช่วยลดอาการอืดแน่นไม่สบายท้องในผู้ป่วยโรคลำไส้แปรปรวนได้ และอาจช่วยป้องกันโรคมะเร็ง

  • ยับยั้งการเติบโตของแบคทีเรียตัวร้าย
  • ช่วยการดูดซึมสารอาหารในลำไส้
  • ลดภาวะการแพ้น้ำตาลแลคโตส
  • ลดความเสี่ยงการเกิดเซลล์มะเร็ง
  • ช่วยควบคุมระบบภูมิค้มกันให้อยู่ในภาวะปกติ
  • ลดความเสี่ยงของการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือด

Lactobacillus reuteri (L.reuteri) เป็นจุลินทรีย์ที่มีประโยชน์ที่มีต้นกำเนิดมาจากน้ำนมแม่ เป็นหนึ่งในโพรไบโอติกส์สำหรับเด็ก เพราะเป็นสายพันธุ์ที่มีงานวิจัยทางการแพทย์รองรับหลายชิ้นว่า โพรไบโอติกชนิดนี้อาจช่วยให้เด็กมีร่างกายแข็งแรง และช่วยลดความเสี่ยงในการติดเชื้อได้

  • ช่วยลดอาการไขข้ออักเสบ
  • ลดอาการภูมิแพ้และโรคทางเดินหายใจ
  • ลดอาการผื่นแพ้ในเด็กเล็ก
  • ลดความเสี่ยงต่อการเกิดโรคฟันผุ

Lactobacillus rhamnosus (L.rhamnosus) เป็นแบคทีเรียที่มีความทนทานต่อกรดในกระเพาะอาหารพบได้ในลำไส้เล็กและช่องคลอด มีประสิทธิภาพในการยับยั้งเชื้อแบคทีเรียที่เกี่ยวข้องกับการติดเชื้อในช่องคลอดและทางเดินปัสสาวะ มีประสิทธิภาพในการรักษาผู้ป่วยโรคอุจจาระร่วง ช่วยลดภาวะภูมิไวเกิน (hypersensitivity) ช่วยรักษาผู้ป่วยโรคลำไส้อักเสบ โรคภูมิแพ้ ภูมิแพ้อาหาร และอื่นๆ

  • เสริมภูมิคุ้มกัน
  • ลดความเสี่ยงฟันผุ
  • เสริมความแข็งแรงของผนังลำไส้
  • ลดความเสี่ยงของอาการท้องเสีย 
  • บรรเทาอาการแพ้ และส่งเสริมสุขภาพโดยรวมให้แข็งแรง
  • ช่วยให้การย่อยและการดูดซึมสารอาหารให้ดีขึ้น

Streptococcus thermophilus เป็นแบคทีเรียที่มีการนำไปใช้ในการผลิตโยเกิร์ต โดยแบคทีเรียชนิดนี้สามารถผลิตเอนไซม์ lactase เพื่อไปสลายน้ำตาล lactose ให้กลายเป็นน้ำตาลโมเลกุลเดี่ยว ซึ่งช่วยให้คนที่มีภาวะแพ้ lactose สามารถย่อยอาหารที่มีส่วนผสมของผลิตภัณฑ์นม และลดอาการแพ้ลงได้

  • ช่วยลดอาการท้องเสีย ซึ่งเกิดจากการทานยาปฏิขีวนะ
  • ยับยั้งการเพิ่มจำนวนของแบคทีเรียชนิดไม่ดีในลำไส้
  • ช่วยลดความเข้มข้นของสารพิษในระบบทางเดินปัสสาวะ
  • ช่วยควบคุมการอักเสบของผนังลำไส้ และชะลอการเสื่อมของไตจากโรคไตเรื้อรัง

ทำไมควรตรวจจุลินทรีย์ก่อนเสริมโพรไบโอติกส์

เพราะแต่ละคนมีความต้องการโพรไบโอติกส์แต่ละชนิดที่แตกต่างกัน ทั้งพฤติกรรมการใช้ชีวิต และพันธุกรรม การกินโพรไบโอติกส์รวมๆ แล้วหวังว่าจะช่วยรักษาโรคหรืออาการที่เป็นอยู่จึงเป็นเรื่องยาก การตรวจจุลินทรีย์ Gut Microbiome DNA Test จึงเป็นการตรวจเพื่อดูว่าร่างกายของเรากำลังขาดโพรไบโอติกส์สายพันธุ์ชนิดใด เพื่อที่จะได้เสริมโพรไบโอติกส์ในสายพันธุ์ และสัดส่วนที่เหมาะสมกับร่างกายของเรามากที่สุด

รู้จักโพรไบโอติกส์

“เพราะเซลส์ 90% ในร่างกายคือเซลส์ของจุลินทรีย์ และจุลินทรีย์ในร่างกายแต่ละคนแตกต่างกัน อยากมีสุขภาพดี ควรเสริมโพรไบโอติกส์ที่ตรงกับร่างกายตัวเองมากที่สุด”

Share : 

บทความที่เกี่ยวข้อง

ปัจจุบันโรคมะเร็งในคนไทยยังมีอัตราเพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง จากทะเบียนสถิติมะเร็งประเทศไทย ปี 2566 โดยสถาบันมะเร็งแห่งชาติรายงานว่าผู้ป่วยมะเร็งรายใหม่พุ่งสูงเฉลี่ยวันละ

ประจำเดือนผิดปกติ นัดกันทุกเดือนแต่ไม่เคยมาตรงกันสักรอบ สิ่งผู้หญิงหลายคนน่าจะพบเจอปัญหานี้กันอยู่บ่อยๆ ที่ประจำเดือนมาบ้าง ไม่มาบ้าง แต่อยากจะบอกว่าอาการเบื้องต้นเหล่านี้เราไม่ควรมองข้าม เพราะอาจเป็นสัญญาณของการเกิดโรคร้าย หรืออาการผิดปกติบางอย่างของร่างกายเราอยู่ในตอนนี้ วันนี้เราเลยมีสัญาณของ ประจำเดือนผิดปกติ มาฝากกันค่ะ 8 สัญญาณเตือนอันตรายของผู้หญิง ประจำเดือนผิดปกติ อาจการที่พบบ่อยในผู้หญิงที่หลายคนไม่ควรมองข้าม หากพบว่ามีอาการดังต่อไปนี้ควรรีบไปพบแพทย์เพื่อทำการรักษาก่อนที่จะอันตรายถึงชีวิต โดยปกติประจำเดือนของคุณผู้หญิงจะมาทุก 21-35 วัน นับจากวันแรกของรอบเดือน ถึงวันแรกของรอบเดือนถัดไป แต่มีคุณผู้หญิงหลายคนที่ประจำเดือนไม่มาตามนัด กลายเป็นประจำสองเดือน ประจำสามเดือน หรือกลายเป็นประจำปีเลยก็มี บางรายมีอาการปวดท้องน้อย ในช่วงเวลา 8-48 ชั่วโมง หลังมีประจำเดือน เนื่องจากการหลั่งสารเคมี ทำให้เกิดการหดรัดตัวของกล้ามเนื้อมดลูก และหลอดเลือดแดงที่ไปเลี้ยงมดลูกมีการหดเกร็งร่วมกับอาการปวดเมื่อยหลัง อ่อนเพลีย เบื่ออาหาร คลื่นไส้ อาเจียน ถ่ายอุจจาระเหลว ปวดศีรษะ เจ็บหน้าอก และยังมีอาการหงุดหงิดง่าย วิตกกังวล ซึ่งอาการดังกล่าวจะหายไปเมื่อประจำเดือนหมด ฮอร์โมนเอสโตรเจน และฮอร์โมนโปรเจสเตอโรน เป็นตัวควบคุมการสร้างและการหลุดลอก นอกจากนี้ฮอร์โมนทั้งสองยังเกี่ยวข้องกับการตกไข่จากรังไข่ในเพศหญิง ฮอร์โมนไม่สมดุลส่งผลต่อประจำเดือนไม่ปกติ ระดับฮอร์โมนเอสโตรเจนและโปรเจสเตอโรนที่สมดุลจะช่วยสร้างเยื่อบุโพรงมดลูกขึ้นมา โดยเยื่อบุโพรงมดลูกจะลอกตัวกลายเป็นเลือดประจำเดือนในกรณีที่ไข่ไม่ได้รับการปฏิสนธิ หากฮอร์โมนในร่างกายไม่สมดุล จะส่งผลให้สร้างเยื่อบุโพรงมดลูกมากเกินไป ซึ่งทำให้มีเลือดประจำเดือนมาก ทั้งนี้ หากร่างกายไม่ตกไข่ตามปกติ […]

เป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์เลยนะคะ ที่เราทุกคน สามารถช่วยชาติ ช่วยเศรษฐกิจโลกได้โดยแค่อยู่บ้าน Work