ค้นหา
ปิดช่องค้นหานี้

ท้องผูก ถ่ายยาก ลำไส้แปรปรวน โพรไบโอติกส์ช่วยได้

ปัญหา ท้องผูก ถ่ายแข็ง ถ่ายยาก เกิดได้กับบุคคลทุกช่วงวัย และเมื่อเกิดปัญหาขับถ่ายไม่ออก หลายคนจะมองหา ยาถ่าย ยาระบาย แต่ในปัจจุบันเราให้ความสำคัญกับการดูแลสุขภาพกันมากยิ่งขึ้น โดยเฉพาะเรื่องของ จุลินทรีย์ที่มีประโยชน์หรือโพรไบโอติกส์ เพราะใครๆ ก็บอกว่ามีประโยชน์ช่วยได้ แต่จะจริงมั้ย วันนี้เรามีคำนแนะนำมาบอกกันค่ะ

อาการท้องผูก เป็นภาวะที่ถ่ายอุจจาระลำบาก อุจจาระเป็นก้อนแข็ง และมีขนาดใหญ่ รู้สึกเหมือนถ่ายไม่สุด อาการท้องผูกพบได้ทุกเพศและทุกวัย แต่พบมากในผู้สูงอายุ และพบในผู้หญิงมากกว่าผู้ชาย ท้องผูกหากแบ่งตามระยะเวลาที่มีอาการอาจแบ่งเป็นท้องผูกเฉียบพลันซึ่งมีอาการน้อยกว่า 3 เดือน และท้องผูกเรื้อรังซึ่งมีอาการนานกว่า 3 เดือน

 

“โพรไบโอติกส์” จุลินทรีย์ชนิดดี ที่ช่วยในการขับถ่าย

โพรไบโอติกส์ เป็นเชื้อจุลินทรีย์ที่มีชีวิต จุลินทรีย์เหล่านี้ได้รับการคัดเลือกแล้วว่าเป็นสายพันธุ์ที่มีประโยชน์ต่อร่างกาย เมื่อรับประทานเข้าไปในร่างกายแล้วจะไปตั้งรกรากอาศัยอยู่ในลำไส้ใหญ่ เพื่อช่วยปรับสมดุลของจุลินทรีย์ที่อาศัยอยู่แต่เดิมในลำไส้ ทำให้แบคทีเรียที่ดีมีจำนวนมากขึ้น และแบคทีเรียที่ไม่ดีจำนวนลดลง ทำให้สุขภาพของลำไส้ดีขึ้น และยังช่วยแก้ปัญหา ท้องผูก ได้ด้วย

 

ประโยชน์ของ โพรไบโอติกส์

  • ป้องกันอาการท้องผูกและท้องเสีย
  • ลดความเสี่ยงมะเร็งลำไส้
  • ช่วยให้อาการหลังหายจากโควิดเบาลง
  • ระบบภูมิคุ้มกันทำงานได้ดีขึ้น

โพรไบโอติกส์ เสริมตรงจุดลำไส้ชอบ

ปกติแล้วร่างกายคนเรามีจุลินทรีย์ที่ดีและไม่ดี แต่ถ้าจุลินทรีย์ในลำไส้มีความสมดุลจะช่วยส่งเสริมให้สุขภาพดีขึ้นทั้งในด้านอารมณ์ การนอน การย่อยอาหาร และการลดน้ำหนัก แต่พฤติกรรมของเราบางอย่างกลับทำให้จุลินทรีย์ในลำไส้เสียสมดุล เช่น กินอาหารที่ไม่ดี เครียด พักผ่อนน้อย อายุที่เพิ่มขึ้น โรคต่างๆ การใช้ยา เช่น ยาปฏิชีวนะ ยาคุมกำเนิด หรือการบำบัดโรคด้วยวิธีฉายรังสี การกินอาหารที่มีจุลินทรีย์โพรไบโอติกส์มีชีวิตในปริมาณที่เพียงพอ จะช่วยทำหน้าที่ปรับสมดุลของจุลินทรีย์ในทางเดินอาหารได้ และการเสริมโพรไบโอติกส์ตามที่ร่างกายขาด (Personalized Probiotics) ก็จะยิ่งช่วยแก้ปัญหาสุขภาพได้ดีมากยิ่งขึ้น

แพ็กเกจลดความเสี่ยงสารก่อมะเร็ง และท้องผูก

(GASTROINTESTINAL TRACT TOXIN TESTING PANEL)

ตรวจหาความเสี่ยง และผู้ที่มีปัญหาสุขภาพดังนี้

  • ท้องผูกหรือท้องเสีย
  • สารพิษจากแบคทีเรียตัวร้าย ซึ่งหลายๆ ตัวสามารถกลายเป็นสารก่อมะเร็ง
  • มีปัญหาภูมิคุ้มกัน
  • ทานอาหารไม่ถูกสุขลักษณะบ่อย (ไขมันสูง น้ำตาลสูง เนื้อแดง สุรา ฯลฯ)

เหมาะสำหรับใคร?

  • ผู้ที่มีอายุ 3 ปีขั้นไป
  • ผู้ที่มีอาการท้องไส้แปรปรวน Irritable Bowel Syndrome ท้องผูก ท้องเสีย ท้องอืด เรื้อรัง
  • ผู้ที่ชอบทานอาหาร หวาน มัน เผ็ด เนื้อแดง อาหารแปรรูป ฯลฯ
  • อยากทราบความเสี่ยงการเกิดมะเร็งลำไส้จากจุลินทรีย์ตัวร้าย (แนะนำตรวจร่วมกับ Core Microbiome Panel)
  • ผู้ที่กังวลเรื่องภูมิคุ้มกันทำงานผิดปกติ
  • ผู้ที่ต้องการเสริมสร้างภูมิคุ้มกัน เพื่อสู้กับ COVID-19

“เพราะเซลส์ 90% ในร่างกายคือเซลส์ของจุลินทรีย์ และจุลินทรีย์ในร่างกายแต่ละคนแตกต่างกัน อยากมีสุขภาพดี ควรเสริมโพรไบโอติกส์ที่ตรงกับร่างกายตัวเองมากที่สุด”

 

โปรแกรมแนะนำ

โปรแกรมวิเคราะห์ความเสี่ยงอัลไซเมอร์เชิงลึก ระดับ DNA จากการตรวจเลือดและปัสสาวะ ซึ่งครอบคลุมทั้งระดับฮอร์โมน วิตามินและแร่ธาตุจำเป็น ระดับสารอักเสบ การขับสารพิษโลหะหนัก สมดุลสารสื่อประสาท และยีนที่สามารถส่งต่อความเสี่ยงของโรคอัลไซเมอร์

ราคา ฿28,000.00 บาท

ปรึกษาปัญหาสุขภาพและรับสิทธิพิเศษสำหรับคุณได้ที่นี่

บทความที่เกี่ยวข้อง

อ้วนขึ้นโดยไม่มีสาเหตุ น้ำหนักลงเองโดยไม่ตั้งใจ รูปร่างเปลี่ยนไปจนคนต้องเข้ามาทัก! อาจไม่ใช่เรื่องดีสำหรับบางคน เพราะนั่นอาจหมายถึงความผิดปกติของต่อม

• ภาวะขาดวิตามินหลายชนิด รวมทั้งภาวะขาดวิตามินดี มีความสัมพันธ์กับภาวะ ซึมเศร้า• วิตามินดีระดับต่ำ อาจส่งผลต่อการควบคุมอารมณ์ การตัดสินใจ และพฤติกรรม• วิตามินดี ไม่ใช่ยารักษาโรคซึมเศร้า แต่การชดเชยวิตามินดีในคนที่มีระดับต่ำ อาจมีส่วนช่วยในการควบคุมอารมณ์ และเพิ่มคุณภาพการนอนหลับได้ ภาวะ ซึมเศร้า เป็นโรคเรื้อรัง ที่ถือเป็นอีกหนึ่งปัญหาสังคม ที่ทวีความรุนแรงมากขึ้นทุกปี ทั้งด้านคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยเอง ภาระทางสังคมต่อคนรอบข้าง และอัตราการฆ่าตัวตายที่พุ่งสูงขึ้น การรักษาโรคซึมเศร้าโดยการใช้ยาร่วมกับจิตบำบัด มีอัตราสำเร็จ 76-85% (WHO 2020) แต่ปัญหาคือมีผู้ป่วยน้อยกว่า 25% เท่านั้นที่ได้รับการรักษา และมีอีกส่วนหนึ่งที่ไม่อยากทานยา เพราะกลัวติดการใช้ยา หรืออาจเพราะทนผลข้างเคียงไม่ไหว [1] เนื่องจากภาวะซึมเศร้าเป็นโรคเรื้อรัง ซึ่งสามารถกลับมาเป็นซ้ำได้ โดยเฉพาะคนที่รักษาไม่ต่อเนื่อง พบว่ามีอัตราการเป็นซ้ำมากขึ้น จึงเริ่มมีความพยายามที่จะมองหาปัจจัย หรือวิธีการรักษาร่วมอื่น โดยเฉพาะทางด้านของ ภาวะโภชนาการ สารอาหาร หรือวิตามินเสริม [2] เราเริ่มมีงานวิจัยจำนวนมากขึ้น ที่พบความสัมพันธ์ของภาวะขาดวิตามิน สารอาหาร หรือแร่ธาตุ หลายชนิด กับภาวะซึมเศร้า เช่น วิตามินบี 3, วิตามินบี […]

หลายคนน่าจะเคยรู้กันอยู่แล้วว่า หลังจากการติดเชื้อไวรัสจะยังมีอาการเหมือนป่วยอยู่ แม้ว่าเราจะตรวจไม่พบเชื้อแล้ว รักษาหายแล้วเกิน 28