โรคอัลไซเมอร์

โรคอัลไซเมอร์ รู้ทัน ป้องกันก่อน แนะดูแลสุขภาพสมองควบคู่สุขภาพกายใจลดความเสี่ยงได้

ไม่อยากเป็น โรคอัลไซเมอร์ เป็นประโยคที่ทุกคนมักกล่าวกับเพื่อน ๆ และคนในครอบครัว แต่ในความเป็นจริงแล้ว ไม่มีใครเลือกอาการเจ็บป่วยของร่างกายได้ ขณะที่ โรคอัลไซเมอร์ เป็นสาเหตุหนึ่งของ ภาวะสมองเสื่อม ซึ่งพบได้บ่อยที่สุดในกลุ่ม ผู้สูงอายุ และกำลังเป็นปัญหาที่เพิ่มมากขึ้นในประเทศไทย

จากข้อมูล ประชากรผู้สูงอายุ ตั้งแต่ 60 ปีขึ้นไป มีจำนวนมากกว่า 20% ของประชากรประเทศทั้งหมดตั้งแต่ปี 2565

  • รายงานจาก กรมการแพทย์ในปี 2563 ประมาณการว่า ผู้สูงอายุที่มีภาวะสมองเสื่อม จะมีจำนวนถึง 651,950 คน จากผู้สูงอายุ 12 ล้านคน หรือคิดเป็น 5.43% ของผู้สูงอายุทั้งหมด

ในปี 2565 สถิติผู้สูงอายุที่ป่วยด้วย ภาวะสมองเสื่อม มีจำนวน 770,000 คน หรือประมาณ 6% ของจำนวนผู้สูงอายุรวมทั้งประเทศ

  • สถิติพบว่า ผู้สูงอายุที่มีภาวะสมองเสื่อม มีจำนวนสูงขึ้นในทุก ๆ ปี เฉลี่ย ปีละหนึ่งแสนราย ซึ่งเป็นแนวโน้มที่เพิ่มขึ้นตามจำนวน ผู้สูงอายุที่เพิ่มขึ้นในทุกปี

โรคอัลไซเมอร์

นายแพทย์พิจักษณ์ วงศ์วิศิษฎ์ แพทย์ผู้อำนวยการ W9 Wellness Center กล่าวว่า


ปัจจุบัน W9 พบผู้มีความกังวลเกี่ยวกับโรคอัลไซเมอร์ ซึ่งสามารถแบ่งได้ 3 กลุ่ม คือ

  1. กลุ่มที่มีผู้สูงอายุในครอบครัวเป็นโรคอัลไซเมอร์
  2. กลุ่มที่เป็นผู้ดูแลผู้สูงอายุ และเริ่มกังวลเกี่ยวกับ แนวโน้มการเป็นโรคอัลไซเมอร์ของผู้สูงอายุ
  3. กลุ่มคนที่อายุ 40 ปีขึ้นไป ที่มีความกังวลหรือต้องการทราบ ความเสี่ยงในการเกิดโรคอัลไซเมอร์ของตนเอง

แต่ละกลุ่มจะมี ความต้องการและความกังวลที่แตกต่างกัน กล่าวคือ

กลุ่มแรก ที่มี ผู้สูงอายุในครอบครัวเป็นโรคอัลไซเมอร์ มักมี 2 ประเด็นที่ต้องการทราบ คือ

  • ต้องการรู้ระยะของโรค เพื่อการดูแลผู้ป่วยอัลไซเมอร์ได้ถูกต้องเหมาะสม
  • ต้องการทราบว่าตนเองมีโอกาสหรือแนวโน้มที่จะเป็นโรคอัลไซเมอร์ เช่นเดียวกับคุณพ่อหรือคุณแม่ที่ป่วยเป็นโรคดังกล่าวหรือไม่ เพื่อหาแนวทาง การดูแลสุขภาพกายใจองค์รวมเชิงป้องกันก่อนเกิดโรค

สำหรับกลุ่มที่เป็นผู้ดูแลผู้สูงอายุ และเริ่ม กังวลเกี่ยวกับแนวโน้มการเป็นโรคอัลไซเมอร์ ของผู้สูงอายุ พบปัญหาเหมือนกันแทบทุกครอบครัว คือ

  • ผู้สูงอายุเริ่มมีอาการแต่ปฏิเสธการมาหาแพทย์ ที่โรงพยาบาลเพื่อรับการตรวจวินิจฉัยเบื้องต้นเกี่ยวกับแนวโน้มของการเป็นโรคอัลไซเมอร์
  • มาหาแพทย์เมื่อมีอาการเกินกว่าระยะแรก (Early-stage) ของโรคไปแล้ว ส่งผลให้ การดูแลรักษาผู้ป่วยค่อนข้างยากกว่าในระยะแรก

ส่วนกลุ่มคนที่อายุ 40 ปีขึ้นไป ที่มี ความกังวลหรือต้องการทราบความเสี่ยงในการเกิดโรคอัลไซเมอร์ของตนเอง

  • ส่วนใหญ่เป็นกลุ่มคนที่ ให้ความสำคัญกับการดูแลสุขภาพ และมีการ ตรวจเช็คสุขภาพเป็นประจำ
  • หลังจากเทรนด์ของการเป็นโรคอัลไซเมอร์เพิ่มสูงขึ้น ทำให้กลุ่มคนดังกล่าวเริ่มมองหา แนวทางการตรวจเช็คความเสี่ยงและดูแลสุขภาพ ل ป้องกันการเกิดโรคเชิงเวลเนส มากขึ้น

นายแพทย์พิจักษณ์ กล่าวว่า นวัตกรรมทางการแพทย์ในปัจจุบันสามารถ ตรวจพันธุกรรมเพื่อวิเคราะห์ความเสี่ยงการเป็นโรคอัลไซเมอร์เชิงลึกระดับ DNA ได้จากการตรวจเลือดและปัสสาวะ โดยการตรวจหาปัจจัยเสี่ยงที่อาจนำไปสู่โรคอัลไซเมอร์ เช่น การขาดวิตามินบางประเภท ความผิดปกติของยีน หรือระดับโลหะหนักในร่างกายที่สูงเกินไป ควบคู่กับการประเมินสุขภาพโดยรวมเพื่อระบุปัญหาสุขภาพอื่น ๆ ที่อาจส่งผลกระทบต่อสมอง

เมื่อทราบถึงปัจจัยเสี่ยงและสุขภาพโดยรวมแล้ว แพทย์จะสามารถวางแผนการดูแลรักษาหรือป้องกันโรคอัลไซเมอร์ที่เหมาะสมแบบเฉพาะรายบุคคล ช่วยลดความเสี่ยงที่จะเกิดโรคได้

โรคอัลไซเมอร์

ทั้งนี้ การตรวจวิเคราะห์ความเสี่ยงเป็นโรคอัลไซเมอร์ เหมาะกับ

  • ผู้ที่มีอายุ 60 ปีขึ้นไป ทั้งที่ยังมีความจำดีและผู้ที่เริ่มต้นมีปัญหาหลงลืม
  • ผู้ที่มีอายุ 40 ปีขึ้นไป ที่มีความกังวลหรือต้องการรู้ความเสี่ยงการเป็นโรคอัลไซเมอร์
  • ผู้ที่มีสมาชิกในครอบครัวสายตรงเป็นโรคอัลไซเมอร์
  • รวมถึง ผู้ที่มีปัญหาหลงลืมที่รบกวนชีวิตประจำวัน

โรคอัลไซเมอร์

สำหรับการวิเคราะห์ความเสี่ยงการเป็นโรคอัลไซเมอร์ ควรเลือกการตรวจวิเคราะห์ที่ครอบคลุมการ فحص تعداد الدم الكامل เป็นการตรวจสอบว่ามีการติดเชื้อหรือภาวะโลหิตจางที่อาจส่งผลต่อสุขภาพสมอง
اختبار الجينات لمرض الزهايمر ด้วยการตรวจยีน ApoE ช่วยประเมินความเสี่ยงในการเกิดโรคอัลไซเมอร์ ซึ่งยีนชนิดนี้มีความเชื่อมโยงกับการสะสมของโปรตีนเบต้าอะไมลอยด์ในสมองที่เป็นลักษณะเด่นของโรค
التحقق من وجود خطر جينات تخليق حمض الفوليك. ช่วยระบุความเสี่ยงการขาดโฟเลต เนื่องจากยีน MTHFR มีบทบาทสำคัญในการสังเคราะห์โฟเลต ซึ่งเป็นวิตามินบีที่จำเป็นสำหรับสุขภาพระบบสมอง

ตรวจระดับโฮโมซีสเตอีน ที่เป็นกรดอะมิโนชนิดหนึ่ง หากระดับสูงเกินไปอาจเพิ่มความเสี่ยงต่อโรคหลอดเลือดสมองและโรคหัวใจ ซึ่งส่งผลกับสุขภาพสมองเช่นกัน

ตรวจฮอร์โมนต่อมหมวกไต เป็นการประเมินสุขภาพของสมองเพราะฮอร์โมน DHEA ช่วยควบคุมการทำงานของระบบประสาท

นอกจากนี้ ควรมีการตรวจระดับ วิตามินดี ระดับโฟเลทในเม็ดเลือดแดง

เช็คระดับโลหะหนักในร่างกาย ทั้ง ทองแดง สังกะสี และอลูมิเนียม รวมทั้งระดับ วิตามิน B12 ที่ล้วนมีส่วนสำคัญต่อสมองทั้งสิ้น

ที่สำคัญคือ ปรึกษาและวางแผนการดูแลสุขภาพแบบเฉพาะบุคคล กับแพทย์ที่มีประสบการณ์ในการดูแลสุขภาพเชิงป้องกันแบบองค์รวม เพื่อการรักษาและป้องกันที่ตรงจุด

فروع الخدمة

  • فرع مستشفى برارام 9
    • رقم الهاتف: 092-9936922
    • خط: @w9wellness
    • ساعات الافتتاح والإغلاق: 08.00 – 17.00.
  • فرع مركز بلونشيت
    • رقم الهاتف: 0994969626
    • خط: @wploenchit
    • ساعات الافتتاح والإغلاق: 10:00 صباحًا - 7:00 مساءً

يشارك : 

مقالات ذات صلة

وإذا سئل هل الجميع يخاف من الإصابة بالسرطان أم لا؟ قليل من الناس سوف ينكرون أنهم ليسوا خائفين. عندما كان السرطان لا يزال السبب الأول لوفاة الشعب التايلاندي اليوم ويحتل المرتبة الأولى في العالم

تعتبر "جوز الهند الصغير" فاكهة يمكن العثور عليها بسهولة في تايلاند. إذا نظرنا عن كثب، فغالبًا ما يستخدم جوز الهند الصغير كرمز للنضارة في الصيف.

في عصرنا الحالي، نقضي الكثير من الوقت في "المنافسة"، والتنافس في الدراسة، والتنافس في العمل، وحتى التنافس في الحياة المعيشية سواء في الحياة الواقعية أو في العالم الافتراضي.