ไม่อยากเป็น โรคอัลไซเมอร์ เป็นประโยคที่ทุกคนมักกล่าวกับเพื่อน ๆ และคนในครอบครัว แต่ในความเป็นจริงแล้ว ไม่มีใครเลือกอาการเจ็บป่วยของร่างกายได้ ขณะที่ โรคอัลไซเมอร์ เป็นสาเหตุหนึ่งของ ภาวะสมองเสื่อม ซึ่งพบได้บ่อยที่สุดในกลุ่ม ผู้สูงอายุ และกำลังเป็นปัญหาที่เพิ่มมากขึ้นในประเทศไทย
จากข้อมูล ประชากรผู้สูงอายุ ตั้งแต่ 60 ปีขึ้นไป มีจำนวนมากกว่า 20% ของประชากรประเทศทั้งหมดตั้งแต่ปี 2565
- รายงานจาก กรมการแพทย์ในปี 2563 ประมาณการว่า ผู้สูงอายุที่มีภาวะสมองเสื่อม จะมีจำนวนถึง 651,950 คน จากผู้สูงอายุ 12 ล้านคน หรือคิดเป็น 5.43% ของผู้สูงอายุทั้งหมด
ในปี 2565 สถิติผู้สูงอายุที่ป่วยด้วย ภาวะสมองเสื่อม มีจำนวน 770,000 คน หรือประมาณ 6% ของจำนวนผู้สูงอายุรวมทั้งประเทศ
- สถิติพบว่า ผู้สูงอายุที่มีภาวะสมองเสื่อม มีจำนวนสูงขึ้นในทุก ๆ ปี เฉลี่ย ปีละหนึ่งแสนราย ซึ่งเป็นแนวโน้มที่เพิ่มขึ้นตามจำนวน ผู้สูงอายุที่เพิ่มขึ้นในทุกปี
นายแพทย์พิจักษณ์ วงศ์วิศิษฎ์ แพทย์ผู้อำนวยการ W9 Wellness Center กล่าวว่า
ปัจจุบัน W9 พบผู้มีความกังวลเกี่ยวกับโรคอัลไซเมอร์ ซึ่งสามารถแบ่งได้ 3 กลุ่ม คือ
- กลุ่มที่มีผู้สูงอายุในครอบครัวเป็นโรคอัลไซเมอร์
- กลุ่มที่เป็นผู้ดูแลผู้สูงอายุ และเริ่มกังวลเกี่ยวกับ แนวโน้มการเป็นโรคอัลไซเมอร์ของผู้สูงอายุ
- กลุ่มคนที่อายุ 40 ปีขึ้นไป ที่มีความกังวลหรือต้องการทราบ ความเสี่ยงในการเกิดโรคอัลไซเมอร์ของตนเอง
แต่ละกลุ่มจะมี ความต้องการและความกังวลที่แตกต่างกัน กล่าวคือ
กลุ่มแรก ที่มี ผู้สูงอายุในครอบครัวเป็นโรคอัลไซเมอร์ มักมี 2 ประเด็นที่ต้องการทราบ คือ
- ต้องการรู้ระยะของโรค เพื่อการดูแลผู้ป่วยอัลไซเมอร์ได้ถูกต้องเหมาะสม
- ต้องการทราบว่าตนเองมีโอกาสหรือแนวโน้มที่จะเป็นโรคอัลไซเมอร์ เช่นเดียวกับคุณพ่อหรือคุณแม่ที่ป่วยเป็นโรคดังกล่าวหรือไม่ เพื่อหาแนวทาง การดูแลสุขภาพกายใจองค์รวมเชิงป้องกันก่อนเกิดโรค
สำหรับกลุ่มที่เป็นผู้ดูแลผู้สูงอายุ และเริ่ม กังวลเกี่ยวกับแนวโน้มการเป็นโรคอัลไซเมอร์ ของผู้สูงอายุ พบปัญหาเหมือนกันแทบทุกครอบครัว คือ
- ผู้สูงอายุเริ่มมีอาการแต่ปฏิเสธการมาหาแพทย์ ที่โรงพยาบาลเพื่อรับการตรวจวินิจฉัยเบื้องต้นเกี่ยวกับแนวโน้มของการเป็นโรคอัลไซเมอร์
- มาหาแพทย์เมื่อมีอาการเกินกว่าระยะแรก (Early-stage) ของโรคไปแล้ว ส่งผลให้ การดูแลรักษาผู้ป่วยค่อนข้างยากกว่าในระยะแรก
ส่วนกลุ่มคนที่อายุ 40 ปีขึ้นไป ที่มี ความกังวลหรือต้องการทราบความเสี่ยงในการเกิดโรคอัลไซเมอร์ของตนเอง
- ส่วนใหญ่เป็นกลุ่มคนที่ ให้ความสำคัญกับการดูแลสุขภาพ และมีการ ตรวจเช็คสุขภาพเป็นประจำ
- หลังจากเทรนด์ของการเป็นโรคอัลไซเมอร์เพิ่มสูงขึ้น ทำให้กลุ่มคนดังกล่าวเริ่มมองหา แนวทางการตรวจเช็คความเสี่ยงและดูแลสุขภาพ เพื่อ ป้องกันการเกิดโรคเชิงเวลเนส มากขึ้น
นายแพทย์พิจักษณ์ กล่าวว่า นวัตกรรมทางการแพทย์ในปัจจุบันสามารถ ตรวจพันธุกรรมเพื่อวิเคราะห์ความเสี่ยงการเป็นโรคอัลไซเมอร์เชิงลึกระดับ DNA ได้จากการตรวจเลือดและปัสสาวะ โดยการตรวจหาปัจจัยเสี่ยงที่อาจนำไปสู่โรคอัลไซเมอร์ เช่น การขาดวิตามินบางประเภท ความผิดปกติของยีน หรือระดับโลหะหนักในร่างกายที่สูงเกินไป ควบคู่กับการประเมินสุขภาพโดยรวมเพื่อระบุปัญหาสุขภาพอื่น ๆ ที่อาจส่งผลกระทบต่อสมอง
เมื่อทราบถึงปัจจัยเสี่ยงและสุขภาพโดยรวมแล้ว แพทย์จะสามารถวางแผนการดูแลรักษาหรือป้องกันโรคอัลไซเมอร์ที่เหมาะสมแบบเฉพาะรายบุคคล ช่วยลดความเสี่ยงที่จะเกิดโรคได้
ทั้งนี้ การตรวจวิเคราะห์ความเสี่ยงเป็นโรคอัลไซเมอร์ เหมาะกับ
- ผู้ที่มีอายุ 60 ปีขึ้นไป ทั้งที่ยังมีความจำดีและผู้ที่เริ่มต้นมีปัญหาหลงลืม
- ผู้ที่มีอายุ 40 ปีขึ้นไป ที่มีความกังวลหรือต้องการรู้ความเสี่ยงการเป็นโรคอัลไซเมอร์
- ผู้ที่มีสมาชิกในครอบครัวสายตรงเป็นโรคอัลไซเมอร์
- รวมถึง ผู้ที่มีปัญหาหลงลืมที่รบกวนชีวิตประจำวัน
สำหรับการวิเคราะห์ความเสี่ยงการเป็นโรคอัลไซเมอร์ ควรเลือกการตรวจวิเคราะห์ที่ครอบคลุมการ ตรวจความสมบูรณ์เม็ดเลือด เป็นการตรวจสอบว่ามีการติดเชื้อหรือภาวะโลหิตจางที่อาจส่งผลต่อสุขภาพสมอง
ตรวจยีนโรคอัลไซเมอร์ ด้วยการตรวจยีน ApoE ช่วยประเมินความเสี่ยงในการเกิดโรคอัลไซเมอร์ ซึ่งยีนชนิดนี้มีความเชื่อมโยงกับการสะสมของโปรตีนเบต้าอะไมลอยด์ในสมองที่เป็นลักษณะเด่นของโรค
ตรวจความเสี่ยงยีนสังเคราะห์โฟเลท ช่วยระบุความเสี่ยงการขาดโฟเลต เนื่องจากยีน MTHFR มีบทบาทสำคัญในการสังเคราะห์โฟเลต ซึ่งเป็นวิตามินบีที่จำเป็นสำหรับสุขภาพระบบสมอง
ตรวจระดับโฮโมซีสเตอีน ที่เป็นกรดอะมิโนชนิดหนึ่ง หากระดับสูงเกินไปอาจเพิ่มความเสี่ยงต่อโรคหลอดเลือดสมองและโรคหัวใจ ซึ่งส่งผลกับสุขภาพสมองเช่นกัน
ตรวจฮอร์โมนต่อมหมวกไต เป็นการประเมินสุขภาพของสมองเพราะฮอร์โมน DHEA ช่วยควบคุมการทำงานของระบบประสาท
นอกจากนี้ ควรมีการตรวจระดับ วิตามินดี ระดับโฟเลทในเม็ดเลือดแดง
เช็คระดับโลหะหนักในร่างกาย ทั้ง ทองแดง สังกะสี และอลูมิเนียม รวมทั้งระดับ วิตามิน B12 ที่ล้วนมีส่วนสำคัญต่อสมองทั้งสิ้น
ที่สำคัญคือ ปรึกษาและวางแผนการดูแลสุขภาพแบบเฉพาะบุคคล กับแพทย์ที่มีประสบการณ์ในการดูแลสุขภาพเชิงป้องกันแบบองค์รวม เพื่อการรักษาและป้องกันที่ตรงจุด
สาขาที่ให้บริการ
- สาขา โรงพยาบาลพระรามเก้า
- เบอร์โทรศัพท์: 092-9936922
- Line: @w9wellness
- เวลาเปิด-ปิด: 08.00 – 17.00 น.
- สาขา เพลินจิตเซ็นเตอร์
- เบอร์โทรศัพท์: 099-4969626
- Line: @wploenchit
- เวลาเปิด-ปิด: 10.00 – 19.00 น.