สัญญาณอันตรายของการขาด Vitamin B12

Vitamin B12 กับเวชศาสตร์ชะลอวัย เสริมพลังงาน ฟื้นฟูสุขภาพจากภายใน

Vitamin B12 เป็นสารอาหารสำคัญที่จำเป็นต่อการทำงานของระบบต่าง ๆ ในร่างกาย โดยเฉพาะสมอง ระบบประสาท การผลิตเซลล์เม็ดเลือดแดง مشتملการรักษาความเสถียรของ DNA ในระดับเซลล์ นอกจากนี้ วิตามินบี 12 ยังมีบทบาทในการควบคุมระดับโฮโมซีสเตอีน (Homocysteine) ซึ่งเกี่ยวข้องกับการอักเสบของหลอดเลือด ความเสี่ยงโรคหัวใจ และหลอดเลือดสมอง (Stroke) ได้อีกด้วยการขาดวิตามินบี 12 อาจนำไปสู่ปัญหาสุขภาพ ในระยะสั้น เช่น อ่อนเพลีย ความจำเสื่อม และในระยะยาว เช่น โรคหลอดเลือดสมอง และโรคทางระบบประสาท ดังนั้น การทำความเข้าใจเกี่ยวกับแหล่งที่มา ประโยชน์ และแนวทางการดูแลระดับวิตามินบี 12 ให้อยู่ในเกณฑ์ปกติ จึงถือเป็นหัวใจสำคัญของเวชศาสตร์ป้องกันและเวชศาสตร์ชะลอวัย

วิตามินบี 12 คืออะไร

Vitamin B12 หรือ โคบาลามิน (Cobalamin) เป็นวิตามินที่ละลายในน้ำ จำเป็นต่อ

  • การสร้าง DNA และเซลล์เม็ดเลือดแดง
  • การทำงานของระบบประสาท
  • กระบวนการเผาผลาญพลังงานในระดับเซลล์ (Methionine Cycle)
  • การควบคุมระดับโฮโมซีสเตอีน (Homocysteine) ในเลือด

วิตามินบี 12 ในอาหารธรรมชาติโดยปกติจะจับอยู่กับโปรตีนจากสัตว์ เมื่อรับประทานเข้าไป จะต้องใช้กรด Hydrochloric acid และน้ำย่อยโปรตีนในกระเพาะอาหาร (Gastric Protease) ที่มากเพียงพอ เพื่อแยกวิตามินบี 12 ออกมาก่อน จึงจะสามารถดูดซึมเข้าสู่ร่างกายได้

Vitamin B12

“การขาดวิตามินบี 12 เป็นภาวะที่พบได้บ่อยในประชากรทั่วไป (Vitamin B12 deficiency is common in general population) โดยเฉพาะในกลุ่มผู้สูงอายุ และกลุ่มผู้ที่ทานมังสวิรัติอย่างเข้มงวด”

ประโยชน์ของ Vitamin B12 ต่อสุขภาพ

การได้รับวิตามินบี 12 อย่างเพียงพอ มีผลต่อสุขภาพในหลายด้าน เช่น

  • เสริมพลังงาน: ช่วยให้ร่างกายผลิตพลังงานจากการเผาผลาญอาหาร
  • เสริมภูมิคุ้มกัน: ช่วยสร้างเซลล์เม็ดเลือดขาวที่มีบทบาทในการป้องกันการติดเชื้อ
  • ดูแลระบบประสาท: ป้องกันการเสื่อมของปลายประสาทและสมอง
  • ป้องกันโรคหัวใจและหลอดเลือด: ควบคุมระดับโฮโมซีสเตอีนซึ่งเป็นปัจจัยเสี่ยงต่อโรคหัวใจ
  • ชะลอวัย: ลดความเสี่ยงของภาวะสมองเสื่อม (Dementia) และโรคอัลไซเมอร์ (Alzheimer’s)

แหล่งที่มาของวิตามินบี 12

ร่างกายของเราไม่สามารถสังเคราะห์วิตามินบี 12 ได้เอง จำเป็นต้องได้รับจากอาหารหรือผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร แหล่งอาหารที่อุดมไปด้วยวิตามินบี 12 ได้แก่

  • เนื้อแดง เช่น เนื้อวัวและเนื้อหมู
  • ปลา เช่น ปลาแซลมอน ปลาแมคเคอเรล และปลาทูน่า
  • สัตว์ปีก เช่น ไก่และเป็ด
  • ผลิตภัณฑ์จากนม เช่น นม ชีส และโยเกิร์ต
  • ไข่
  • อาหารเสริม เช่น วิตามินรวม หรืออาหารที่เสริมวิตามินบี 12 เช่น ซีเรียลและเครื่องดื่มธัญพืช
Vitamin B12

กลุ่มเสี่ยงต่อการขาดวิตามินบี 12

แม้ว่าคนทั่วไปมักได้รับวิตามินบี 12 จากอาหารที่รับประทาน แต่บางกลุ่มอาจมีความเสี่ยงต่อการขาดวิตามินบี 12 มากกว่าปกติ ได้แก่

  • ผู้ที่มีปัญหาทางเดินอาหารเรื้อรัง: เช่น ภาวะกระเพาะอาหารทำงานผิดปกติ (Chronic dyspepsia) ซึ่งส่งผลให้การดูดซึมวิตามินและสารอาหารลดลง
  • ผู้สูงอายุ (อายุมากกว่า 50 ปี): เมื่ออายุมากขึ้น ร่างกายจะดูดซึมวิตามินบี 12 ได้น้อยลง ร่วมกับการบริโภคอาหารลดลง หรือหลีกเลี่ยงการทานเนื้อสัตว์
  • ผู้ที่รับประทานยาลดกรดในกระเพาะอาหารเป็นประจำ: ยาลดกรดทำให้ปริมาณกรดในกระเพาะลดลง ส่งผลให้วิตามินบี 12 ไม่ถูกสลายออกจากอาหารอย่างเหมาะสม
  • ผู้ที่รับประทานมังสวิรัติหรือวีแกนมาเป็นเวลานาน (มากกว่า 2 ปี): เนื่องจากวิตามินบี 12 พบมากในผลิตภัณฑ์จากสัตว์ จึงควรได้รับการเสริมวิตามินบี 12 อย่างเหมาะสม
  • ผู้ป่วยเบาหวานที่ใช้ยา Metformin เป็นระยะเวลานาน: มีโอกาสสูงที่จะเกิดการขาดวิตามินบี 12 ดังนั้นควรได้รับการตรวจเลือดและเสริมวิตามินอย่างเหมาะสม

งานวิจัย Framingham Offspring Study (ปี 2000) พบว่า แม้แต่กลุ่มวัยทำงาน (อายุ 26–49 ปี) ก็มีอัตราการขาด B12 ใกล้เคียงกับผู้สูงอายุเช่นกัน [1]

4 สัญญาณอันตราย เมื่อร่างกายขาดวิตามินบี 12

หากร่างกายขาดวิตามินบี 12 อาจแสดงออกผ่านอาการทางร่างกายและระบบประสาทที่หลากหลาย โดยสามารถแบ่งได้เป็น 4 กลุ่มอาการหลัก ดังนี้

  1. อาการอ่อนเพลียเรื้อรัง และภาวะโลหิตจาง
    • เหนื่อยง่าย อ่อนเพลียโดยไม่ทราบสาเหตุ
    • กล้ามเนื้ออ่อนแรง
    • มีภาวะโลหิตจาง ทำให้หน้าซีด และหัวใจเต้นเร็ว
  2. ปัญหาทางอารมณ์และความจำ
    • มีอารมณ์หดหู่ หรือซึมเศร้า
    • สมาธิสั้น หรือมีปัญหาในการคิด วิเคราะห์ และตัดสินใจ
    • อาจมีความจำเสื่อม หรือพัฒนาไปสู่ภาวะสมองเสื่อม (Dementia)
  3. อาการทางระบบประสาทส่วนปลาย
    • ชา หรือเสียวซ่าบริเวณปลายมือปลายเท้า
    • ปวดเส้นประสาทบริเวณใบหน้า (Facial neuralgia)
    • เดินเซ หรือมีปัญหาเรื่องการทรงตัว
  4. ปัญหาทางช่องปากและผิวพรรณ
    • ลิ้นซีด เจ็บลิ้น หรือมีภาวะลิ้นอักเสบ (Glossitis)
    • มีแผลในช่องปาก หรือแผลพุพองที่ริมฝีปาก (Cold sore)
    • ผิวพรรณซีดเหลือง ดูไม่สดใส
Vitamin B12

โรคที่เกี่ยวข้องกับภาวะขาด Vitamin B12

  1. โลหิตจางจากการขาด วิตามินบี 12 (Pernicious Anemia)

ภาวะภูมิคุ้มกัน ทำลายเซลล์ในกระเพาะอาหาร (parietal cells) ทำให้หลั่งกรดได้ลดลง ดูดซึมวิตามินบี 12 ได้น้อยลง (Malabsorption) ไม่เพียงพอต่อการสร้างเม็ดเลือดแดง นำไปสู่โลหิตจาง ซึ่งนอกจากอาการالتعب المزمنจากการขาดออกซิเจนในระดับเซลล์แล้ว ยังอาจมีอาการทางระบบประสาท เช่น ได้ยินเสียงแปลกๆ ในหูได้อีกด้วย (Tinnitus) [3]

  1. สมองและการรับรู้เสื่อมถอย

การขาด B12 ส่งผลต่อความคิด ความจำ การรับรู้ และประสิทธิภาพของสมอง (Cognitive functions) รวมถึงยังมีความสัมพันธ์กับโรคความเสื่อมของระบบประสาท (Neurodegenerative diseases) เช่น สมองเสื่อม และ Alzheimer’s โดยสัมพันธ์กับระดับ Homocysteine ที่สูงขึ้นด้วย [5] การเสริมวิตามินบี 12 ในคนที่ขาด สามารถช่วยส่งเสริมกระบวนการรู้คิดของผู้ป่วยได้ [6]

  1. أمراض القلب والأوعية الدموية

ระดับโฮโมซีสเตอีนสูงขึ้นยังเป็นปัจจัยสำคัญ (Independent Risk Factor) ของโรคหัวใจและหลอดเลือด [7] ซึ่งเป็นโรคที่มีอัตราการตายสูงที่สุดในปัจจุบันนี้ แม้ว่าหลากหลายงานวิจัยเชิงป้องกัน (Prevention Trials) ยังมีข้อสรุปที่แตกต่างกันในแง่ของ การเสริมวิตามิบี เพื่อป้องกันโรคหลอดเลือดหัวใจและสมองเฉียบพลัน (Major Cardiovascular Events) และการลดอัตราตายรวม (Total Mortality Rate)  แต่สมาคมโรคหัวใจอเมริกา ก็สรุปว่า มีหลักฐานเพียงพอที่จะสนับสนุนการใช้วิตามินบี เพื่อลดความเสี่ยงโรคหัวใจและหลอดเลือดได้ (The American Heart Association has concluded that the available evidence is adequate to support a role for B vitamins in reducing cardiovascular risk) [7]

  1. ระบบประสาทผิดปกติ

ภาวะขาด Vitamin B12 ทำให้เกิดอาการทางระบบประสาทได้หลากหลายรูปแบบ ทั้งชาปลายมือปลายเท้า จากปลายประสาทอักเสบ (Peripheral Neuropathy) ปวดเส้นประสาทใบหน้าเส้นที่ 5 (Trigeminal Neuralgia) หรือแม้แต่ปวดปลายประสาทที่หน้าแบบแปลก ๆ ได้หลากหลายตำแหน่งและอาการ (Isolated Facial Neuralgia) ทั้งปวดตื้อๆ (Dull Pain) ปวดแปล๊บ ๆ (Sharp Shooting) และปวดเลื่อนเปลี่ยนที่ไปเรื่อย ๆ (Fleeting) ได้ [4]

Vitamin B12

การตรวจระดับวิตามินบี 12

การตรวจระดับวิตามินบี 12 จากเลือด (Serum B12 Level) เป็นวิธีที่ใช้กันทั่วไป แต่ความแม่นยำยังไม่สูงนัก เพราะไม่สามารถบอกได้ชัดเจนว่าร่างกายมี B12 เพียงพอในระดับเซลล์หรือไม่

นอกจากนี้ แม้การตรวจระดับ โฮโมซีสเทอีน (Homocysteine) จะช่วยให้เห็นภาพมากขึ้น แต่ก็ยังไม่จำเพาะกับภาวะขาดวิตามินบี 12 เท่านั้น อาจเกิดจากการขาดโฟเลตหรือวิตามิน B6 ได้เช่นกันวิธีที่น่าเชื่อถือและแม่นยำที่สุดคือ การตรวจระดับกรดอินทรีย์ Methylmalonic acid เพราะสะท้อนถึงการทำงานในระดับเซลล์ที่แท้จริง (Functional indicator of tissue level deficiency)  [8,9]

ปริมาณวิตามินบี 12 ที่แนะนำต่อวัน

ตามคำแนะนำของสถาบันสุขภาพแห่งชาติ (NIH) ปริมาณวิตามินบี 12 ที่ควรได้รับต่อวันคือ

  • ผู้ใหญ่ตั้งแต่อายุ 19 ปีขึ้นไป: 2.4 ไมโครกรัมต่อวัน
  • หญิงตั้งครรภ์: 2.6 ไมโครกรัมต่อวัน
  • หญิงให้นมบุตร: 2.8 ไมโครกรัมต่อวัน

สำหรับผู้ที่มีภาวะเสี่ยงขาดวิตามินบี 12 เช่น ผู้สูงอายุ ผู้ที่มีปัญหาการดูดซึม หรือผู้ที่ทานมังสวิรัติอย่างเคร่งครัด อาจต้องได้รับวิตามินบี 12 ในรูปแบบเสริมหรือปรึกษาแพทย์เฉพาะทางเพิ่มเติมในการเลือกเสริมตามปริมาณที่เหมาะสมแต่ละบุคคล

ประโยชน์ของวิตามินบี 12 ในเวชศาสตร์ป้องกัน

วิตามินบี 12 มีบทบาทสำคัญในการเสริมสร้างสุขภาพและป้องกันโรค ได้แก่

  • ช่วยชะลอวัย: ลดความเสี่ยงของโรคอัลไซเมอร์และภาวะสมองเสื่อม
  • เพิ่มพลังงานและลดความเครียด: ช่วยให้ร่างกายผลิตพลังงานและบรรเทาความเหนื่อยล้า
  • เสริมสร้างภูมิคุ้มกัน: มีบทบาทสำคัญในการสร้างเซลล์เม็ดเลือดขาวที่ช่วยป้องกันการติดเชื้อ

ช่วยลดความเสี่ยงของโรคหัวใจและหลอดเลือด: ลดระดับโฮโมซิสเทอีน (Homocysteine) ในเลือด ซึ่งเป็นปัจจัยเสี่ยงของโรคหัวใจ

Vitamin B12

การได้รับ Vitamin B12 อย่างเหมาะสมและต่อเนื่อง จะช่วยยกระดับคุณภาพชีวิตในระยะยาวได้อย่างมีนัยสำคัญ

لذا การดูแลระดับ Vitamin B12 ให้เหมาะสม ไม่เพียงช่วยเสริมพลังงานและภูมิคุ้มกัน แต่ยังมีบทบาทสำคัญในการป้องกันโรคเสื่อมของระบบประสาท หัวใจ และหลอดเลือดในระยะยาว

หากคุณมีปัจจัยเสี่ยง ควรตรวจสุขภาพอย่างสม่ำเสมอ และปรึกษาแพทย์เพื่อรับการดูแลอย่างเหมาะสม

فروع الخدمة

  • فرع مستشفى برارام 9
    • رقم الهاتف: 092-9936922
    • خط: @w9wellness
    • ساعات الافتتاح والإغلاق: 08.00 – 17.00.
  • فرع مركز بلونشيت
    • رقم الهاتف: 0994969626
    • خط: @wploenchit
    • ساعات الافتتاح والإغلاق: 10:00 صباحًا - 7:00 مساءً

مراجع:

  1. Plasma vitamin B12 concentrations related to intake source in the Framingham Offspring Study, The American Journal of Clinical Nutrition (2000).
  2. B12 Deficiency: A Look Beyond Pernicious Anemia, The Journal of Family Practice (2007).
  3. Tinnitus as a presenting symptom in Pernicious Anemia, Ann Otol Rhinol Laryngol (1979).
  4. Facial Neuralgia may be link to vitamin B12 deficiency, Neurology Review (2009).
  5. B-Vitamins and Prevention of Dementia, The Proceedings of The Nutrition Society (2008).
  6. Cognitive impairment and Vitamin B12, International Psychogeriatrics (2012).
  7. Diet and lifestyle recommendations revision 2006: a scientific statement from the American Heart Association Nutrition Committee. Circulation (2006).
  8. Cobalamin and Folate Evaluation: Measurement of Methylmalonic acid and Homocysteine VS Vitamin B12 and Folate, Clinical Chemistry (2000).
  9. Measurement of Methylmalonic acid, Homocysteine and Methionine in Cobalamin and Folate deficiencies and Homocysteinurea, Tidsskr Nor Laegeforen (2008).

يشارك : 

مقالات ذات صلة

الغذاء الملوث التلوث الهرموني في الأطعمة، وخاصة اللحوم.

"آلام الدورة الشهرية فترات غير منتظمة. قد يعتقد الكثير من الناس أن الوخز بالإبر لا يمكن استخدامه إلا لتخفيف الألم.