يبحث
أغلق مربع البحث هذا.
Vitamin D

فيتامين د والاكتئاب (فيتامين د والاكتئاب)

ภาวะขาดวิตามินหลายชนิด รวมทั้งภาวะขาดวิตามินดี มีความสัมพันธ์กับภาวะ ซึมเศร้า
วิตามินดีระดับต่ำ อาจส่งผลต่อการควบคุมอารมณ์ การตัดสินใจ และพฤติกรรม
• วิตามินดี ไม่ใช่ยารักษาโรคซึมเศร้า แต่การชดเชยวิตามินดีในคนที่มีระดับต่ำ อาจมีส่วนช่วยในการควบคุมอารมณ์ وزيادة جودة النوميستطيع

ภาวะ ซึมเศร้า เป็นโรคเรื้อรัง ที่ถือเป็นอีกหนึ่งปัญหาสังคม ที่ทวีความรุนแรงมากขึ้นทุกปี ทั้งด้านคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยเอง ภาระทางสังคมต่อคนรอบข้าง และอัตราการฆ่าตัวตายที่พุ่งสูงขึ้น

การรักษาโรคซึมเศร้าโดยการใช้ยาร่วมกับจิตบำบัด มีอัตราสำเร็จ 76-85% (WHO 2020) แต่ปัญหาคือมีผู้ป่วยน้อยกว่า 25% เท่านั้นที่ได้รับการรักษา และมีอีกส่วนหนึ่งที่ไม่อยากทานยา เพราะกลัวติดการใช้ยา หรืออาจเพราะทนผลข้างเคียงไม่ไหว [1]

เนื่องจากภาวะซึมเศร้าเป็นโรคเรื้อรัง ซึ่งสามารถกลับมาเป็นซ้ำได้ โดยเฉพาะคนที่รักษาไม่ต่อเนื่อง พบว่ามีอัตราการเป็นซ้ำมากขึ้น จึงเริ่มมีความพยายามที่จะมองหาปัจจัย หรือวิธีการรักษาร่วมอื่น โดยเฉพาะทางด้านของ ภาวะโภชนาการ สารอาหาร หรือวิตามินเสริม [2]

ซึมเศร้า

เราเริ่มมีงานวิจัยจำนวนมากขึ้น ที่พบความสัมพันธ์ของภาวะขาดวิตามิน สารอาหาร หรือแร่ธาตุ หลายชนิด กับภาวะซึมเศร้า เช่น วิตามินบี 3, วิตามินบี 6, วิตามินบี 12, โฟเลท, วิตามินดี, الزنك, Copper, Magnesium รวมทั้งกรดไขมันจำเป็น เช่น Omega-3 หรือแม้แต่กรดอะมิโนบางชนิด เช่น กาบา ไกลซีน ทริปโตแฟน หรือ ไทโรซีน เป็นต้น [3,4,5,6]

ซึมเศร้า

มีงานวิจัยขนาดใหญ่ในคนกว่า 31,000 คน พบว่ากลุ่มคนที่เป็นซึมเศร้ามีระดับวิตามินดีต่ำกว่า กลุ่มควบคุมอย่างมีนัยยะสำคัญ และยังพบว่า กลุ่มที่วิตามินดีต่ำ มีคนที่เป็นซึมเศร้า มากกว่า กลุ่มที่วิตามินดีสูงถึง 121% สรุปว่า ระดับวิตามินดีที่ต่ำมีความสัมพันธ์กับภาวะซึมเศร้าจริง[7]

เนื่องจากเราพบตัวรับวิตามินดีมากมายในสมอง จึงพบว่านอกจากผลต่อสุขภาวะทางอารมณ์แล้ว ภาวะขาดวิตามินดี ยังส่งผลถึง ความคิดอ่าน ความจำ และประสิทธิภาพการทำงานของสมอง ในหลากหลายแง่มุม รวมถึงยังส่งผลต่อพฤติกรรมที่ผิดปกติ การทรงตัว (Ataxia) และความผิดปกติของการเคลื่อนไหวร่างกาย (Movement disorders) อีกหลายโรคอีกด้วย

กลไกในการทำงานของวิตามินดีกับสมอง

เนื่องจากวิตามินดีเป็นวิตามินที่เก็บสะสมในไขมัน แล้วสมองก็เป็นเนื้อเยื่อไขมันขนาดใหญ่ นอกจากนั้นเรายังพบตัวรับวิตามินดีในเซลล์สมองเกือบทุกเซลล์ โดยเฉพาะในส่วนไฮโปธาลามัส[8] ซึ่งมีความสำคัญกับระบบต่อมไร้ท่อ ซึ่งเชื่อมโยงระบบฮอร์โมนของเกือบทุกระบบในร่างกาย ถ้าดูจากทั้งโครงสร้างและการทำงาน ดังนันจึงนับได้ว่า วิตามินดี เป็นฮอร์โมน ที่สำคัญตัวนึง ต่อการทำงานของระบบประสาทและสมอง

งานวิจัยทางระบาดวิทยาพบว่า วิตามินดี ยังมีความสำคัญกับพัฒนาการของสมองตั้งแต่ในครรภ์ เด็กที่เกิดจากแม่ที่มีวิตามินดีต่ำ จะพบการเปลี่ยนแปลงทั้งโครงสร้างและการทำงานของสมอง การทำงานของสารสื่อประสาทโดปามีน และเพิ่มความเสี่ยงของโรคจิตเภทในวัยรุ่นได้[9,10]

นอกจากวิตามินดีแล้ว ทาง Functional Medicine ยังมี การตรวจสมดุลวิตามิน อีกหลายชนิด ร่วมกับการตรวจ สมดุลกรดอินทรีย์ในปัสสาวะ (Urine Organic Acids) เพื่อจะได้ข้อมูลเชิงลึก ทั้งสมดุลสารสื่อประสาท (Neurotransmitter balance) สมดุลจุลชีพในลำไส้ (Bacterial & Yeast Dysbiosis Markers) และระดับสารพิษจากสิ่งแวดล้อม (Environmental Toxicity) เพื่อนำมาวางแผนปรับทั้งอาหารหลัก และชดเชยอาหารเสริมเฉพาะบุคคล ซึ่งสามารถกำหนดขนาดวิตามิน ชนิดของโปรตีน หรือกรดอะมิโนที่จำเป็น ได้อย่างแม่นยำ เพื่อช่วยในการปรับสมดุลสารสื่อประสาทในสมองได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น


مراجع:

1. WHO Factsheet, Depression (2020)
2. Vitamin D and Depression: Where is all the Sunshine, Issues Ment Health Nurs (2010)
3. Association between folate, vitamin B (6), and vitamin B (12) intake and depression in the SUN cohort study. Journal of Human Nutrition & Dietetics (2009) PMID: 19175490
4. Dietary intake of folate, other B vitamins, and omega-3 polyunsaturated fatty acids in relation to depressive symptoms in Japanese adults. Nutrition (2008) PMID: 18061404
5. Nutrition and depression: Implications for improving mental health among childbearing-aged women. Biological Psychiatry (2005) PMID: 16040007
6. Nutritional therapies for mental disorders. Nutrition Journal (2008) PMID: 18208598
7. Vitamin D deficiency and depression in adults: systematic review and meta-analysis, The British Journal of Psychiatry (2013) PMID: 23377209
8. Distribution of the vitamin D receptor and 1 alpha-hydroxylase in human brain. Journal of Chemical Neuroanatomy (2005) PMID: 15589699
9. Developmental vitamin D deficiency causes abnormal brain development, Psycho-neuroendocrinology (2009) PMID: 19500914
10. Developmental vitamin D deficiency and risk of schizophrenia: a 10-year update, Schizophrenia Bulletin (2010) PMID: 20833696

يشارك : 

مقالات ذات صلة

ربما سمع الكثير من الناس عن خصائص "ماء الغسول" من قبل. أنه يقلل من خطر الإصابة بالسرطان والنقرس والسكري والارتجاع الحمضي.

في عصرنا الحالي، نقضي الكثير من الوقت في "المنافسة"، والتنافس في الدراسة، والتنافس في العمل، وحتى التنافس في الحياة المعيشية سواء في الحياة الواقعية أو في العالم الافتراضي.