ไขมันในเลือดสูง (High Cholesterol) เป็นหนึ่งในปัญหาสุขภาพเรื้อรังที่พบได้บ่อยในคนไทย โดยเฉพาะในกลุ่มวัยทำงานที่ใช้ชีวิตเร่งรีบ พฤติกรรมการกินอาหารที่มีไขมันสูง ขาดการออกกำลังกาย และความเครียดสะสม ล้วนเป็นปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้ระดับไขมันในเลือดสูงขึ้นโดยไม่รู้ตัว
จากข้อมูลของกรมควบคุมโรค โรคหลอดเลือดสมองเป็นสาเหตุการเสียชีวิตอันดับ 2 ของคนไทย และยังเป็นหนึ่งในสาเหตุของการเสียชีวิตก่อนวัยอันควร โดยผู้เสียชีวิตส่วนใหญ่อายุน้อยกว่า 70 ปี
ข้อมูลจากระบบรายงานฐานข้อมูลสุขภาพ (HDC) ของกระทรวงสาธารณสุข ปี 2567 พบว่า
- มีผู้ป่วยสะสมโรคหลอดเลือดสมองจำนวน 358,062 ราย
- และมีผู้เสียชีวิตจากโรคนี้จำนวน 39,086 ราย
หนึ่งในปัจจัยเสี่ยงที่สำคัญคือ “ไขมันในเลือดสูง” ซึ่งคนส่วนใหญ่มักไม่รู้ตัว เพราะไม่มีอาการแสดงชัดเจน จนกระทั่งเกิดภาวะแทรกซ้อนรุนแรง เช่น หลอดเลือดหัวใจอุดตัน หรือหลอดเลือดสมองตีบไปแล้ว
ไขมันในเลือดคืออะไร?
ไขมันในเลือด (Blood Lipids) คือ กลุ่มไขมันที่ไหลเวียนอยู่ในกระแสเลือด ทำหน้าที่เป็นแหล่งพลังงาน ให้ความอบอุ่น มีบทบาทต่อการเจริญเติบโต การทำงานของสมอง และระบบเผาผลาญของร่างกาย
ไขมันในเลือดส่วนหนึ่งร่างกายสามารถสร้างได้เอง และอีกส่วนมาจากอาหารที่เรารับประทาน โดยเฉพาะอาหารประเภทเนื้อสัตว์ติดมัน เนย ไขมันทรานส์ และอาหารที่มีรสหวาน มัน หรือเค็มจัดอย่างไรก็ตาม หากระดับไขมันในเลือดสูงหรือต่ำเกินไป อาจเพิ่มความเสี่ยงต่อโรคหัวใจ หลอดเลือด และโรคเรื้อรังอื่น ๆ ได้
ประเภทของไขมันในเลือด
- คอเลสเตอรอล (Cholesterol): เป็นไขมันที่ร่างกายสร้างขึ้นและได้รับจากอาหาร มีสองประเภท
- LDL (Low-Density Lipoprotein): called “ไขมัน LDL” เพราะสามารถสะสมในผนังหลอดเลือด ทำให้หลอดเลือดตีบและแข็งตัว เพิ่มความเสี่ยงต่อโรคหัวใจและหลอดเลือด
- HDL (High-Density Lipoprotein): called “ไขมัน HDL” เพราะช่วยนำคอเลสเตอรอลส่วนเกินจากหลอดเลือดกลับไปยังตับเพื่อกำจัด ลดความเสี่ยงต่อโรคหัวใจและหลอดเลือด
- LDL (Low-Density Lipoprotein): called “ไขมัน LDL” เพราะสามารถสะสมในผนังหลอดเลือด ทำให้หลอดเลือดตีบและแข็งตัว เพิ่มความเสี่ยงต่อโรคหัวใจและหลอดเลือด
- ไตรกลีเซอไรด์ (Triglycerides): เป็นไขมันที่ร่างกายใช้เป็นแหล่งพลังงาน ได้จากการรับประทานอาหารประเภทแป้ง น้ำตาล มีประโยชน์ในการดูดซึมวิตามินเอ วิตามินดี วิตามินอี และวิตามินเค แต่หากมีระดับไตรกลีเซอไรด์ที่สูงร่วมกับระดับไขมัน LDL สูง เสี่ยงต่อการเกิดโรคหลอดเลือดหัวใจและโรคหลอดเลือดสมอง
ตารางค่าไขมันในเลือด (mg/dl)
ผลตรวจ | ค่าปกติ | ระดับอันตราย |
Cholesterol หรือ Total Cholesterol | <200 mg/dL | ค่าสูงกว่า 240 mg/dL |
Triglyceride (TG) | <150 mg/dL | ค่าสูงกว่า 200 mg/dL |
HDL – Cholesterol | ผู้ชาย : 40-50 mg/dL ผู้หญิง : 50-59 mg/dL | ค่าต่ำกว่าเกณฑ์ ที่กำหนด |
LDL – Cholesterol | <100 mg/dL | ค่าสูงกว่า 130 mg/dL |
ไขมันในเลือดสูงอันตรายอย่างไร?
หลายคนสงสัยว่า “คอเลสเตอรอล 250 อันตรายไหม?” คำตอบคือ “ใช่” โดยเฉพาะหากเป็น ไขมัน LDL ที่สูงเกิน 160 mg/dL เพราะจะเพิ่มความเสี่ยงต่อ โรคหัวใจขาดเลือด หลอดเลือดสมองตีบ และ หลอดเลือดแดงแข็งตัว ซึ่งเป็นสาเหตุการเสียชีวิตอันดับต้น ๆ ของคนไทย
- คอเลสเตอรอลรวม > 240 mg/dL มีความเสี่ยงสูงต่อโรคหลอดเลือดหัวใจ
- LDL > 160 mg/dL จัดว่าอันตราย โดยเฉพาะหากมีโรคประจำตัวร่วม
- คอเลสเตอรอลสูง 250 ถือว่าอยู่ในระดับอันตราย ต้องได้รับคำแนะนำจากแพทย์
ในบางราย แม้ค่าไขมันดูไม่สูงมาก แต่หากมีปัจจัยเสี่ยงทางพันธุกรรมหรือมีค่า Lipoprotein(a) สูง อาจต้องรับการตรวจไขมันในเลือดเชิงลึก เพื่อดูขนาดและจำนวนอนุภาคไขมัน ก็จะช่วยประเมินความเสี่ยงได้แม่นยำยิ่งขึ้น
อาการของไขมันในเลือดสูง
สิ่งที่หลายคนมักเข้าใจผิดคือ “ต้องมีอาการก่อนถึงจะรู้” แต่ความจริงคือ ไขมันในเลือดสูง มักไม่แสดงอาการใด ๆ ในระยะเริ่มต้น รู้ตัวอีกทีก็มีภาวะหัวใจขาดเลือดเฉียบพลัน หรือหลอดเลือดสมองตีบแล้ว
แต่ในบางรายอาจสังเกตเห็นสัญญาณเล็ก ๆ เช่น
- เหนื่อยง่าย
- เวียนศีรษะบ่อย
- เจ็บหน้าอกขณะออกแรง
- ปลายมือ ปลายเท้าชา หรือเย็นผิดปกติ
การตรวจเลือดประจำปีเป็นวิธีที่ดีที่สุดในการเฝ้าระวังและป้องกัน
ไขมันในเลือดสูงเท่าไหร่ถึงต้องกินยา?
หากปรับพฤติกรรมแล้วไขมันยังไม่ลด แพทย์อาจพิจารณาใช้ยาในกลุ่ม Statins เพื่อควบคุมระดับไขมัน โดยเฉพาะในผู้ที่มีความเสี่ยงสูง เช่น ผู้ที่เป็นเบาหวาน ความดัน หรือโรคหัวใจ เช่น
- LDL > 160 mg/dL ร่วมกับมีโรคประจำตัว เช่น เบาหวาน ความดัน
- มีค่า Total Cholesterol > 240 mg/dL ติดต่อกันหลายครั้ง
- มีภาวะเสี่ยงสูง เช่น เคยมีโรคหัวใจ หรือหลอดเลือดสมองมาก่อน
ดังนั้น การใช้ยาลดไขมันไม่สามารถใช้สูตรเดียวกับทุกคนได้ เพราะปริมาณและความจำเป็นในการใช้ยาจะขึ้นอยู่กับสุขภาพของแต่ละคน รวมถึงการประเมินจากคุณหมอว่าควรใช้หรือไม่ และใช้ในขนาดเท่าไหร่จึงจะเหมาะสมที่สุด
วิธีลดไขมันในเลือดแบบปลอดภัยและยั่งยืน
- เปลี่ยนพฤติกรรมการกิน
- ลดของทอด อาหารแปรรูป ไขมันอิ่มตัว และไขมันทรานส์
- หันมากินผักสด ธัญพืช ข้าวกล้อง ถั่ว และปลาทะเลน้ำลึก
- Exercise regularly
- เดินเร็ว ว่ายน้ำ หรือปั่นจักรยาน วันละ 30 นาที อย่างน้อย 5 วัน/สัปดาห์
- เดินเร็ว ว่ายน้ำ หรือปั่นจักรยาน วันละ 30 นาที อย่างน้อย 5 วัน/สัปดาห์
- ควบคุมน้ำหนัก
- น้ำหนักเกินส่งผลต่อค่า Triglyceride และ LDL โดยตรง
- น้ำหนักเกินส่งผลต่อค่า Triglyceride และ LDL โดยตรง
- งดการสูบบุหรี่และดื่มแอลกอฮอล์
- ช่วยเพิ่ม HDL และลดโอกาสหลอดเลือดอักเสบ
- ช่วยเพิ่ม HDL และลดโอกาสหลอดเลือดอักเสบ
- ตรวจเลือดอย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง
- โดยเฉพาะผู้มีอายุ 35 ปีขึ้นไป หรือมีประวัติครอบครัวเป็นโรคหัวใจ
ไขมันในเลือดสูงกินอะไรดี
อาหารที่ช่วยลดไขมันในเลือด
- ข้าวโอ๊ต เมล็ดแฟลกซ์ อะโวคาโด
- ปลาทะเล เช่น แซลมอน ซาร์ดีน
- ถั่วเปลือกแข็ง เช่น อัลมอนด์ วอลนัท
- ผักใบเขียว เบอร์รี่ มะเขือเทศ
- น้ำมันมะกอก และน้ำมันคาโนลา
อาหารที่ควรหลีกเลี่ยง
- ของทอด ไก่ทอด หนังเป็ด/ไก่
- เบเกอรี่ที่มีมาการีน
- นมข้นหวาน ครีมเทียม
- เนื้อสัตว์ติดมัน และเครื่องใน

ไขมันในเลือดสูง รู้ทัน ป้องกันได้
แม้ไขมันในเลือดสูงจะดูเหมือนไม่มีอาการ แต่หากปล่อยไว้โดยไม่จัดการ อาจนำไปสู่โรคร้ายแรงได้อย่างไม่คาดคิด ทางออกที่ดีที่สุดคือ
- ออกกำลังกายสม่ำเสมอ อย่างน้อย 150 นาที/สัปดาห์
- ควบคุมน้ำหนัก และลดรอบเอว
- กินอาหารดีต่อหัวใจ (Heart-Healthy Diet)
- ลดเครียด และนอนหลับให้เพียงพอ
- การทำคีเลชั่น (Chelation Therapy) ช่วยลดการอุดตันของหลอดเลือด
- ปรึกษาแพทย์เพื่อวางแผนสุขภาพเฉพาะบุคคล
หากคุณมีความกังวลเรื่องระดับไขมันในเลือด หรือเคยตรวจแล้วค่าขึ้นสูงแต่ยังไม่แน่ใจว่าอันตรายแค่ไหน แนะนำให้ปรึกษาแพทย์เฉพาะทางเวชศาสตร์ชะลอวัยที่ W9 Wellness Center เพื่อประเมินสุขภาพแบบเจาะลึก พร้อมแนวทางดูแลเฉพาะบุคคลอย่างปลอดภัย
Service branches
- Praram 9 Hospital Branch
- Phone number: 092-9936922
- Line: @w9wellness
- Opening-closing hours: 08.00 – 17.00 hrs.
- Ploenchit Center branch
- Phone number: 099-4969626
- Line: @wploenchit
- Opening-closing hours: 10:00 a.m. - 7:00 p.m.