ค้นหา
ปิดช่องค้นหานี้
Probiotics

Probiotics กินมาเป็นปี ทำไมไม่เห็นผล

วิธีเลือก Probiotics กินอย่างไรให้ตอบโจทย์สุขภาพมากที่สุด

ช่วงนี้หลายคนน่าจะได้ยินคำว่า “Probiotics” กันอยู่ไม่น้อย เพราะถือเป็นอาหารเสริมที่มาแรงในตอนนี้ ไหนจะโฆษณาชวนเชื่อที่บอกว่ามีประสิทธิภาพช่วยในเรื่องการขับถ่าย ช่วยปรับสมดุลลำไส้ ช่วยลดอาการลำไส้แปรปรวน ช่วยเรื่องสิวและผิวพรรณให้ดีขึ้น แต่ทั้งนี้หากเราเลือกรับประทานโพรไบโอติกส์ที่ไม่เหมาะสม หรือไม่ตรงกับสุขภาพลำไส้ของตัวเอง ก็อาจะส่งผลให้กินแล้วไม่เห็นผลก็เป็นได้

กิน Probiotics อย่างไรให้ได้ผล

การกินโพรไบโอติกส์ให้ได้ผลต้องกินคู่กับพรีไบโอติกส์ พอได้ฟังแบบนี้หลายคนก็จะสงสัยแล้วว่ามันเกี่ยวข้องกันยังไง เพราะจริงๆ โพรไบโอติกส์เปรียบเสมือนทหารที่พร้อมรบกับเชื้อโรคที่ปะปนเข้ามาในร่างกาย แต่ทหารจะมีแรงสู้รบก็ต้องมีเสบียงอาหารหรือพรีไบโอติกส์ด้วยจะได้มีแรงไปสู้รบกับเชื้อโรค เมื่อมีทั้งทหาร (โพรไบโอติกส์) กับเสบียงอาหาร (พรีไบโอติกส์) รวมกันแล้วจะเรียกว่า ซินไบโอติกส์ เมื่อกินคู่กันก็จะทำให้กองกำลังทหารของเราทำงานได้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น

เลือกโพรไบโอติกส์ที่ใช่กับร่างกายตัวเอง

Probiotics

จุลินทรีย์ในร่างกายแต่ละคนนั้นแตกต่างกัน ซึ่งความแตกต่างกันของจุลินทรีย์ได้รับผลจากปัจจัยต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นการรับประทานอาหาร ความเครียด การพักผ่อน การออกกำลังกาย วิธีคลอด ฯลฯ จุลินทรีย์ในร่างกายที่แตกต่างกันหรือกล่าวได้ว่า ความไม่สมดุลที่ไม่เหมือนกันจึงเป็นผลต่อปัญหาสุขภาพที่แตกต่างกันในแต่ละบุคคล การเลือกรับประทานโพรไบโอติกส์โดยไม่ทราบสายพันธุ์ หรือไม่ตรงกับสมดุลจุลินทรีย์ของตัวเอง อาจทำให้กินแล้วไม่เห็นผล ดังนั้น การตรวจเพื่อรู้ชื่อสายพันธุ์จุลินทรีย์จึงเป็นประโยชน์ในการช่วยเสริมโพรไบโอติกส์ให้ตรงกับร่างกายตัวเอง รวมถึงสัดส่วนที่ควรบริโภคในแต่ละบุคคลจึงเป็นสิ่งสำคัญ

Bifidobacterium bifidum ถูกพบทั่วไปในลำไส้ของคน และถือเป็นโพรไบโอติกส์ที่สำคัญ โดยมีประโยชน์ ดังนี้

  1. เสริมภูมิคุ้มกัน
  2. ผลิตกรดแล็กติก และยับยั้งการเจริญเติบโตของจุลินทรีย์ชนิดไม่ดี
  3. ลดระดับคลอเรสตอรอลในพลาสมา (ส่วนประกอบของเลือด)
  4. รวมเข้ากับสารพิษที่ผลิตโดยเชื้อก่อโรค ซึ่งลดความเสียหายที่เกิดจากสารพิษในอวัยวะของคน
  5. ลดอากสเกิดโรคในลำไส้ เช่น ulcerative colitis (เยื่อบุผนังลำไส้ใหญ่อักเสบ)

Lactobacillus gasser ส่วนใหญ่พบในน้ำนมของแม่ โดยหน้าที่สำคัญหลักๆ คือ

  1. สังเคราะห์ gassericin A ในร่างกายซึ่งมีหน้าที่ต่อสู้กับจุลินทรีย์ชนิดไม่ดี
  2. เสริมสร้างการสังเคราะห์ growth hormones
  3. ช่วยให้ร่างกายไม่เหนื่อยล้า และลดความกระวนกระวาย
  4. ลดความเครียดและช่วยให้การนอนมีคุณภาพขึ้น รวมถึงลดอาการท้องผูกจากสาเหตุความเครียด
  5. คุมน้ำหนัก และลดความเสี่ยงการเกิดกลุ่มอาการการเผาผลาญผิดปกติ (อ้วนลงพุง)

Lactobacillus plantarum สามารถผลิตสารที่ระงับการเติบโตของแบคทีเรียได้หลายชนิด เช่น กรดอินทรีย์ไดแอซิทิล แบคเทริโอซิน ไฮโดรเจนเพอร์ออกไซด์ แบคทีเรียนี้มีหน้าที่หลักคือ

  1. ช่วยควบคุมระบบภูมิคุ้มกันให้อยู่ในภาวะปกติ
  2. ยับยั้งการเติบโตของแบคทีเรียตัวร้าย
  3. ลดความเสี่ยงของการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือด
  4. ช่วยการดูดซึมสารอาหารในลำไส้
  5. ลดภาวะการแพ้น้ำตาลแลคโตส
  6. ลดความเสี่ยงการเกิดเซลล์มะเร็ง

Lactobacillus rhamnosus เป็นแบคทีเรียชนิดที่ยืดเกาะผนังลำไส้และขยายพันธุ์ได้ง่าย พบได้มากที่สุดในทางเดินอาหารของมนุษย์ โดยมีหน้าที่หลัก คือ

  1. ลดความเสี่ยงของอาการท้องเสีย และปรับปรุงการย่อยและดูดซึมสารอาหารให้ดีขึ้น
  2. เสริมสร้างภูมิคุ้มกัน
  3. เสริมความแข็งแรงของผนังลำไส้
  4. บรรเทาอาการแพ้และส่งเสริมสุขภาพโดยรวมให้แข็งแรง
  5. ลดความเสี่ยงฟันผุ

Streptococcus thermophilus จะเป็นแบคทีเรียในสกุล Streptococcus ซึ่งประกอบด้วยเชื้อก่อโรคหลายๆ ชนิด เช่น Streptococcus pneumoniae อย่างไรก็ตาม แบคทีเรียชนิดนี้ไม่มีผลร้ายกับคน ในปัจจุบันมีการนำไปใช้ในการผลิตโยเกิร์ต ซึ่ง Streptococcus thermophilus เองก็ยังช่วยลดอาการท้องเสีย ซึ่งเกิดจากการทานยาปฎิชีวนะ, การยับยั้งการเพิ่มจำนวนของแบคทีเรียชนิดไม่ดีในลำไส้ เสริมสร้างการเติบโตของ cortical cells ลดความเข้มข้นของสารพิษในระบบทางเดินปัสสาวะ ช่วยควบคุมการอักเสบของผนังลำไส้ และชะลอการเสื่อมของไตจากโรคไตเรื้อรัง

จะรู้ได้อย่างไรว่าโพรไบโอติกส์ที่กินไปได้ผล

จริงๆ แล้วเราสามารถสังเกตตัวเองได้ง่ายๆ จากอาการที่เรามี เช่น ท้องผูกเรื้อรัง ท้องเสีย ท้องอืด หากร่างกายได้รับโพรไบโอติกส์เข้าแล้วจะต้องช่วยแก้ปัญหาดังกล่าวให้เราได้ หรือทำให้อาการดังกล่าวดีขึ้น

โพรใบโอติก (Probiotics) เป็นจุลินทรีย์ที่มีประโยชน์ต่อร่างกาย ทั้งชนิดแบคทีเรียและยีสต์ ซึ่งมีวางจำหน่ายทั่วไป แต่อาจเป็นโพรไบโอติกสายพันธุ์ที่ไม่ตรงกับความต้องการของแต่ละบุคคล การตรวจจุลินทรีย์จึงเป็นการตรวจเพื่อดูว่าร่างกายของเรากำลังขาดโพรไบโอติกส์สายพันธุ์ชนิดใด Gut Microbiome DNA จึงเป็นการตรวจเพื่อวัดระดับจุลินทรีย์ในร่างกาย เพื่อที่จะได้เสริมโพรไบโอติกส์ในสายพันธุ์ และสัดส่วนที่เหมาะสมกับร่างกายของเรามากที่สุด

“เพราะร่างกายแต่ละคนไม่เหมือนกัน การเสริมโพรไบโอติกส์จึงต่างกัน”

Share : 

บทความที่เกี่ยวข้อง

เนื่องจากโรคอัลไซเมอร์ สามารถถ่ายทอดทางพันธุกรรมได้ และปัจจัยทางพันธุกรรม อาจมีผลมากถึง 80%

เป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์เลยนะคะ ที่เราทุกคน สามารถช่วยชาติ ช่วยเศรษฐกิจโลกได้โดยแค่อยู่บ้าน Work

error: Content is protected !!