Search
Close this search box.
อดนอน

Did you know? “Sleep deprivation” is the acceleration of aging.

“อดนอน” มีทฤษฎีของความชรา ทฤษฎีหนึ่งกล่าวไว้ว่า คนเราแก่ ก็เพราะฮอร์โมนตก ทำให้การซ่อมแซม ตามไม่ทันความเสื่อม

แต่คนสมัยนี้แก่เร็วขึ้น บางคนอายุแค่ 20 ปีกว่าๆ ร่างกายเริ่มเสื่อมลงแล้ว ไหนจะโรคเส้นเลือดหัวใจอุดตัน เมื่อก่อนจะพบกับคนที่อายุมาก แต่ในปัจจุบันเรากลับมาพบว่าคนอายุน้อยๆ เริ่มเป็นโรคดังกล่าวกันมากขึ้นเพราะเหตุผลของการ อดนอน

เราชอบคิดเองว่า เดี๋ยวนอนชดเชยเอาทีหลังก็ได้ ยิ่งในช่วงวัยรุ่น เป็นวัยที่ฮอร์โมนยังพลุ่งพล่าน ร่างกายยังสามารถผลิตฮอร์โมนชดเชยความเสียหายในระยะสั้นที่เกิดจากการอดนอน ได้อยู่ทำให้เราไม่ค่อยรู้สึกถึงผลเสียของการอดนอนสักเท่าไหร่ เพราะร่างกายยังสามารถปรับตัวได้ดี แต่ถ้ายังนอนผิดเวลาต่อเนื่องเป็นนระยะเวลานาน จนเป็นนิสัย ไม่นานเกินรอ สุดท้าย ร่างกายก็จะ “พัง” ก่อนเวลาอันควรอยู่ดี

6 ผลเสียของการ “อดนอน” หรือนอนไม่เป็นเวลา

  1. ทำให้แก่เร็ว
  2. อ้วนง่ายขึ้น
  3. เสี่ยงโรคความดันสูง
  4. easily infected
  5. เป็นซึมเศร้า
  6. สมองทำงานช้าลง
อดนอน

นอกจากนี้ การอดนอนยังสัมพันธ์กับการเกิดโรคมะเร็ง ฮอร์โมนเมลาโทนินที่ลดลงจากการเปิดไฟทำงานทั้งคืน มีผลเร่งการกลายพันธุ์ของยีน เพิ่มโอกาสเกิดมะเร็งมากมาย เช่น มะเร็งเต้านม มะเร็งรังไข่ มะเร็งลำไส้ใหญ่ และมะเร็งต่อมลูกหมากในผู้ชาย การอดนอนไม่ใช่เรื่องเล่นๆ เลยนะครับ

โกรทฮอร์โมน ฮีโร่ของการนอนเร็ว

อดนอน

โกรทฮอร์โมน เป็นฮอร์โมนที่จำเป็นสำหรับทุกเพศ ทุกวัย ในchildhoodจำเป็นต่อการพัฒนาการของเด็ก ทั้งร่างกาย ความสูง สมอง ความคิดและจิตใจ ในผู้สูงอายุ โกรทฮอร์โมนจะทำหน้าที่ซ่อมแซมเนื้อเยื่อ ฟื้นฟูร่างกาย สังเคราะห์โปรตีน คอลลาเจน ทำให้กระดูกและข้อแข็งแรง ผิวเหี่ยวช้าลง และสำหรับคนทั่วไป โกรทฮอร์โมนจะช่วยสังเคราะห์ฮอร์โมน เพิ่มหรือคงมวลกล้ามเนื้อ มวลกระดูก ช่วยให้ร่างกายเผาผลาญไขมันให้เป็นพลังงานมากขึ้น ร่างกายสะสมไขมันน้อยลง คุณจึงไม่อ้วนนั่นเอง

เทคนิคเพิ่มคุณภาพการนอนหลับ ฉบับหมอบาย

  • เพิ่มกิจกรรมทางกายในช่วงบ่ายถึงเย็น
  • เพิ่มเวลาโดนแดดช่วงกลางวัน
  • กินมื้อเย็นหรือของว่างก่อนเวลานอน 3 ชม. ขึ้นไป
  • อาบน้ำอุ่น เพื่อผ่อนคลายขยายหลอดเลือด
  • ปิดหรือหรี่ไฟที่ไม่จำเป็นในเวลากลางคืน
  •  ฝึกเวลาเข้านอน ตื่นนอนให้เป็นปกติ
  • หยุดคิด หรือทำงานก่อนเข้านอนอย่างน้อย 1 ชม.
อดนอน

หมออยากให้ทุกคนตระหนักถึงความสำคัญของการนอน และคอยเตือนตัวเองเสมอว่า “การอดนอนคือการเร่งความแก่เร่งกลไกความเสื่อม เร่งการใช้ฮอร์โมนของชีวิตในอนาคต การอดนอนเปรียบเสมือนการนับเวลาถอยหลัง ซึ่งไม่ต่างอะไรกับการเอาเวลาอนาคตมาใช้แบบฟรีๆ

ไม่มีอะไรบนโลกนี้จะสำคัญกว่าการนอนแล้ว เชื่อหมอเถอะ

book Healthitude happiness (Udom)motto
Dr. Pichak Wongwisit (Dr. Bai)

Share : 

Related articles

There are many studies. It was found that there is a relationship between obesity and low vitamin D levels.

Insomnia ..is another problem that can happen to anyone, any gender, any age. The average person's insomnia symptoms are 1-2.