W9 Wellness Center เผยตลาดการดูแลสุขภาวะทางใจโตต่อเนื่อง GWI ระบุเป็นวาระสำคัญของสังคม ขณะที่ คนไทยป่วยจิตเวช 2.9 ล้านคน ด้านองค์กรธุรกิจหลายบริษัทเริ่มให้ความสำคัญกับพนักงาน ด้วยการสร้างสมดุลสุขภาพทั้งกายและใจ แก้ปัญหาสุขภาพจิตในระยะยาว
Dr. Pichak Wongwisit แพทย์ผู้อำนวยการ W9 Wellness Center กล่าวว่า ปัญหาสุขภาพทางจิต เป็นอีกหนึ่งวาระสำคัญที่สังคมให้ความสนใจเพราะแนวโน้มรุนแรงมากขึ้น จนองค์กรธุรกิจหลายบริษัทเริ่มหันมาให้ความสำคัญกับสุขภาพจิตของพนักงาน เพื่อป้องกันและช่วยลดปัญหาระยะยาว ทั้งดูแลสุขภาพเชิงเวลเนส เน้นสร้างสมดุลสุขภาพทั้งกายและใจ ช่วยป้องกันปัญหาสุขภาพแบบองค์รวม
จากข้อมูลของสำนักงานพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) ระบุว่า ปัญหาสุขภาพจิตในสังคมไทยก็มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นจากสภาพปัจจัยต่างๆ โดยกรมสุขภาพจิตพบว่า มีผู้ป่วยจิตเวชเข้ารับบริการเพิ่มขึ้น จาก 1.3 ล้านคน ในปี 2558 เพิ่มเป็น 2.9 ล้านคน ในปี 2566
สุขภาพจิตคือเรื่องใหญ่ สังคมให้ความสำคัญมากขึ้น
นอกจากนี้ในมิติด้านสังคม ปัญหาสุขภาพทางจิตใจยังเป็นอีกหนึ่งวาระสำคัญที่หลายภาคส่วนตระหนักถึงความสำคัญ ทำให้ตลาดธุรกิจเวลเนสและการดูแลสุขภาวะด้านจิตใจกำลังขยายตัวเพิ่มขึ้น สอดรับกับข้อมูลของสถาบันโกลบอลเวลเนส (Global Wellness Institute; GWI) ที่คาดการณ์ตลาดธุรกิจเวลเนส สุขภาพจิตทั่วโลก หรือ Global mental wellness มีมูลค่าประมาณ 121,000 ล้านดอลลาร์ ในปี 2562 และจะเติบโตประมาณ 1.5-1.6 แสนล้านดอลลาร์ ในปี 2567 คิดเป็นอัตราเฉลี่ยเติบโต 4-5%
ทั้งนี้ กลุ่มเฮลท์เทคโซลูชันเกี่ยวกับสุขภาพจิตใจ ผลิตภัณฑ์และบริการด้านเวลเนส เติบโตขึ้นอย่างรวดเร็ว โดยเฉพาะแพลตฟอร์มดิจิทัลที่ช่วยดูแลสุขภาพจิต แอปพลิเคชันฝึกสมาธิ อาหารเสริมสำหรับช่วยด้านสุขภาวะ ทางจิตใจ และบริการบำบัดแบบบูรณาการ รวมถึงอุปกรณ์สวมใส่ที่มีคุณสมบัติในการดูแลสุขภาพทางกายและใจ เช่น การตรวจสอบความเครียดและการติดตามการนอนหลับ สะท้อนถึงความตื่นตัวในการใส่ใจดูแลสุขภาพจิต และการเปิดรับทางเลือกในการดูแล ป้องกัน ตามแนวทางการดูแลสุขภาพเชิงป้องกัน และการดูแลสุขภาพแบบ องค์รวมที่เป็นการแพทย์ทางเลือกบูรณาการควบคู่ไปกับการแพทย์ปัจจุบันมากขึ้น
“ตลาดการดูแลสุขภาพจิตมีอัตราการเติบโตขึ้นอย่างมาก โดยเฉพาะในช่วง 5 ปีที่ผ่านมา ตั้งแต่เกิดโควิด-19 เป็นต้นมา อัตราการเติบโตก็ยังคงพุ่งต่อเนื่อง ปัญหาทางจิตใจถูกยกขึ้นมาเป็นหัวข้อพูดคุยมากขึ้นในวงกว้าง บริษัทต่าง ๆ เริ่มหันมาให้ความสำคัญกับสุขภาพจิตของพนักงานมากขึ้น ไม่ว่าจะเป็นภาวะซึมเศร้า วิตกกังวล ความกลัว นอนไม่หลับ จิตแพทย์ถูกจองคิวเต็มข้ามปี หลายคนต้องพึ่งพายา หลายคนไม่อยากพึ่งพายา แต่พยายามหาทางเลือกในการรักษา เพื่อช่วยควบคุมอาการโดยไม่ใช้ยา”
การมีสุขภาวะที่ดี แก้ปัญหาสุขภาพจิต
การดูแลสุขภาพเชิงเวลเนสเพื่อช่วยป้องกันปัญหาสุขภาพแบบองค์รวม จะทำให้สุขภาพกายและใจแข็งแรง โดยใส่ใจสุขภาพครบทุกด้าน คำนึงถึงทุกองค์ประกอบในร่างกาย ไม่เน้นเฉพาะโรคที่เป็นหรือส่วนใดส่วนหนึ่ง แต่มุ่งเน้นความสัมพันธ์ของร่างกาย จิตใจ อารมณ์ ให้มีภาวะสมดุล คงไว้ซึ่งการมีสุขภาวะที่ดี โดยเฉพาะปัญหาสุขภาพจิตที่พบได้บ่อยในปัจจุบัน
ได้แก่ ภาวะซึมเศร้า ภาวะความวิตกกังวล ภาวะเครียดสะสม ภาวะหมดไฟในการทำงาน (Burnout Syndrome) เป็นต้น ซึ่งสาเหตุที่เกิดมาจากหลากปัจจัย ทั้งปัจจัยจากสภาพแวดล้อมในการใช้ชีวิตประจำวัน ปัจจัยทางด้านจิตใจและอารมณ์ ที่เกิดจากการเผชิญ เหตุการณ์ที่ส่งผลกระทบต้องความคิดความรู้สึก ปัจจัยจากทางร่างกาย อาจเกิดจากความไม่สมดุลของสารเคมี ในสมอง การทำงานต่าง ๆ ของระบบในร่างกายผิดปกติ ที่อาจจะส่งผลต่อสารเคมีในสมอง ระดับฮอร์โมนต่าง ๆ ที่ไม่สมดุล รวมถึงในผู้สูงอายุที่การทำงานของร่างกายเสื่อมถอย เป็นต้น
Dr. Phichak กล่าวว่า ปัจจุบันการแพทย์องค์รวมเป็นที่รู้จักมากขึ้นในวงกว้าง เป็นอีกทางเลือกสำหรับดูแลรักษาสุขภาพจิตใจ ไม่ว่าจะเป็นการออกกำลังกายทางจิต (Mindfulness exercise) เช่น การฝึกการหายใจ ฝึกสมาธิ ฝึกความเข้มแข็ง ของจิตใจ การเปลี่ยนมุมมองความคิดและทัศนคติเชิงบวก การใช้เวชศาสตร์พลังงานเพื่อการเยียวยากายใจแบบ องค์รวม (Energy medicine) เช่น การฝังเข็ม (Acupuncture) การแพทย์มนุษยปรัชญา (Anthroposophic medicine) การแพทย์โฮมิโอพาธีย์ (Homeopathy) น้ำดอกไม้บำบัดใจ (Bach flower remedy) รวมถึงปรับ โปรแกรมอาหาร การใช้วิตามินเสริมเฉพาะบุคคล (Personalized Compounding Supplements) การใช้สมุนไพร โดยอาจเลือกเป็นการรักษาเป็นแนวทางหลัก หรือใช้ควบคู่กับการแพทย์ปัจจุบันอย่างบูรณาการ ด้วยวิถีชีวิตของคนในยุคปัจจุบัน
โดยปัญหาทางสุขภาวะทางกายและใจ อาจมีสาเหตุหลายปัจจัยซ้อนทับกันและส่งผลกระทบต่อกัน การเน้นสร้างสมดุลสุขภาพทั้งกายและใจ จะช่วยป้องกันปัญหาสุขภาพแบบองค์รวม สร้างปัจจัย ป้องกันและลดปัจจัยเสี่ยงของสาเหตุของปัญหาสุขภาพจิตด้านต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นการส่งเสริมสุขภาพร่างกาย เสริมสร้างศักยภาพให้เซลล์และอวัยวะภายในร่างกายสมบูรณ์ แข็งแรง และทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพมากที่สุด ด้วยการหมั่นออกกำลังกาย เพื่อให้ร่างกายสมบูรณ์แข็งแรง มีสมดุลฮอร์โมน
อย่างไรก็ตาม ภาวะฮอร์โมนไม่สมดุลอาจเกิดได้ทุกวัย และมักส่งผลต่อความผิดปกติ เช่น อารมณ์แปรปรวน นอนไม่ค่อยหลับ อ่อนเพลีย ไม่สดชื่น เป็นปัจจัยที่อาจนำไปสู่ภาวะซึมเศร้า เครียดสะสม สมบูรณ์ด้วยโภชนาการ วิตามินและ แร่ธาตุ สารอาหารบางชนิด เช่น กรดไขมันโอเมก้า 3 วิตามินดี วิตามินบี 12 และแร่ธาตุสังกะสี มีส่วนสำคัญใน การผลิตสารสื่อประสาท เช่น เซโรโทนิน โดพามีน และนอร์เอพิเนฟริน ซึ่งเกี่ยวข้องกับอารมณ์ความคิดด้วย