Search
Close this search box.
อัลไซเมอร์

โรคอัลไซเมอร์ รู้ทัน ป้องกันก่อน แนะดูแลสุขภาพสมองควบคู่สุขภาพกายใจลดความเสี่ยงได้

“ไม่อยากเป็นอัลไซเมอร์” เป็นประโยคที่ทุกคนมักกล่าวกับเพื่อน ๆ และคนในครอบครัว แต่ในความเป็นจริงแล้วไม่มีใครเลือกอาการเจ็บป่วยของร่างกายได้ ขณะที่ โรคอัลไซเมอร์ เป็นสาเหตุหนึ่งของภาวะสมองเสื่อม ซึ่งพบได้บ่อยที่สุดในกลุ่มผู้สูงอายุและกำลังปัญหาที่เพิ่มมากขึ้นในประเทศไทย จากจำนวนประชากรผู้สูงอายุตั้งแต่ 60 ปีขึ้นไปมีจำนวนมากกว่า 20% ของประชากรประเทศทั้งหมดตั้งแต่ปี 2565 รายงานจากกรมการแพทย์ในปี 2563 ประมาณการผู้สูงอายุที่มีภาวะสมองเสื่อมจะมีจำนวนถึง 651,950 คน จากผู้สูงอายุ 12 ล้านคน หรือคิดเป็น 5.43% ของผู้สูงอายุทั้งหมด

ในปี 2565 สถิติผู้สูงอายุที่ป่วยด้วยโรคภาวะสมองเสื่อมมีจำนวน 770,000 คน หรือประมาณ 6% ของจำนวนผู้สูงอายุรวมทั้งประเทศ โดยจากสถิติพบว่าผู้สูงอายุที่มีภาวะสมองเสื่อมมีจำนวนสูงขึ้นในทุก ๆ ปี เฉลี่ยปีละหนึ่งแสนราย ซึ่งเป็นแนวโน้มที่เพิ่มขึ้นตามจำนวนผู้สูงอายุที่เพิ่มขึ้นในทุกปี

Dr. Pichak Wongwisit แพทย์ผู้อำนวยการ W9 Wellness Center กล่าวว่า ปัจจุบัน W9 พบผู้มีความกังวลเกี่ยวกับโรคอัลไซเมอร์ ซึ่งสามารถแบ่งได้ 3 กลุ่ม คือ

  1. กลุ่มที่มีผู้สูงอายุในครอบครัวเป็นโรคอัลไซเมอร์
  2. กลุ่มที่เป็นผู้ดูแลผู้สูงอายุและเริ่มกังวลเกี่ยวกับแนวโน้มการเป็นโรคอัลไซเมอร์ของผู้สูงอายุ และ
  3. กลุ่มคนที่อายุ 40 ปีขึ้นไปที่มีความกังวลหรือต้องการทราบความเสี่ยงในการเกิดโรคอัลไซเมอร์ของตนเอง

แต่ละกลุ่มจะมีต้องการและความกังวลที่แตกต่างกัน กล่าวคือ กลุ่มแรกที่มีผู้สูงอายุในครอบครัวเป็นโรคอัลไซเมอร์ มักมี 2 ประเด็นที่ต้องการทราบ คือ ต้องการรู้ระยะของโรคเพื่อการดูแลผู้ป่วยอัลไซเมอร์ได้ถูกต้องเหมาะสม และต้องการทราบว่าตนเองมีโอกาสหรือมีแนวโน้มที่จะเป็นโรคอัลไซเมอร์เช่นเดียวกับคุณพ่อหรือคุณแม่ที่ป่วยเป็นโรคดังกล่าวหรือไม่ เพื่อหาแนวทางการดูแลสุขภาพกายใจองค์รวมเชิงป้องกันก่อนเกิดโรค

สำหรับกลุ่มที่เป็นผู้ดูแลผู้สูงอายุและเริ่มกังวลเกี่ยวกับแนวโน้มการเป็น โรคอัลไซเมอร์ ของผู้สูงอายุ พบปัญหาเหมือนกันแทบทุกครอบครัว คือ ผู้สูงอายุเริ่มมีอาการแต่ปฏิเสธการมาหาแพทย์ที่โรงพยาบาลเพื่อรับการตรวจวินิจฉัยเบื้องต้นเกี่ยวกับแนวโน้มของการเป็นโรคอัลไซเมอร์ และมาหาแพทย์เมื่อมีอาการเกินกว่าระยะแรก (Early-stage) ของโรคไปแล้ว ส่งผลให้การดูแลรักษาผู้ป่วยค่อยข้างยากกว่าในระยะแรก

โรคอัลไซเมอร์

ส่วนกลุ่มคนที่อายุ 40 ปีขึ้นไปที่มีความกังวลหรือต้องการทราบความเสี่ยงในการเกิดโรคอัลไซเมอร์ของตนเอง ส่วนใหญ่เป็นกลุ่มคนที่ให้ความสำคัญกับการดูแลสุขภาพ และมีการตรวจเช็คสุขภาพเป็นประจำ แต่หลังจากเทรนด์ของการเป็นโรคอัลไซเมอร์เพิ่มสูงขึ้น จึงทำให้กลุ่มคนดังกล่าวเริ่มมองหาแนวทางการตรวจเช็คความเสี่ยงและดูแลสุขภาพเพื่อป้องกันการเกิดโรคเชิงเวลเนสมากขึ้น

นายแพทย์พิจักษณ์ กล่าวว่า นวัตกรรมทางการแพทย์ในปัจจุบันสามารถตรวจพันธุกรรมเพื่อวิเคราะห์ความเสี่ยงการเป็นโรคอัลไซเมอร์เชิงลึกระดับ DNA ได้จากการตรวจเลือดและปัสสาวะ โดยการตรวจหาปัจจัยเสี่ยงที่อาจนำไปสู่โรคอัลไซเมอร์ เช่น การขาดวิตามินบางประเภท ความผิดปกติของยีน หรือระดับโลหะหนักในร่างกายที่สูงเกินไป ควบคู่กับการประเมินสุขภาพโดยรวมเพื่อระบุปัญหาสุขภาพอื่น ๆ ที่อาจส่งผลกระทบต่อสมอง

เมื่อทราบถึงปัจจัยเสี่ยงและสุขภาพโดยรวมแล้ว แพทย์จะสามารถวางแผนการดูแลรักษาหรือป้องกันโรคอัลไซเมอร์ที่เหมาะสมแบบเฉพาะรายบุคคล ช่วยลดความเสี่ยงที่จะเกิดโรคได้ ทั้งนี้ การตรวจวิเคราะห์ความเสี่ยงเป็นโรคอัลไซเมอร์เหมาะกับทั้งผู้ที่มีอายุ 60 ปีขึ้นไปทั้งที่ยังมีความจำดีและผู้ที่เริ่มต้นมีปัญหาหลงลืม ผู้ที่มีอายุ 40 ปีขึ้นไปที่มีความกังวลหรือต้องการรู้ความเสี่ยงการเป็นโรคอัลไซเมอร์ ผู้ที่มีสมาชิกในครอบครัวสายตรงเป็นโรคอัลไซเมอร์ รวมถึงผู้ที่มีปัญหาหลงลืมที่รบกวนชีวิตประจำวัน

สำหรับการวิเคราะห์ความเสี่ยงการเป็นโรคอัลไซเมอร์ ควรเลือกการตรวจวิเคราะห์ที่ครอบคลุมการ Check complete blood count เป็นการตรวจสอบว่ามีการติดเชื้อหรือภาวะโลหิตจางที่อาจส่งผลต่อสุขภาพสมอง Alzheimer's disease gene test ด้วยการตรวจยีน ApoE ช่วยประเมินความเสี่ยงในการเกิดโรคอัลไซเมอร์ซึ่งยีนชนิดนี้มีความเชื่อมโยงกับการสะสมของโปรตีนเบต้าอะไมลอยด์ในสมองที่เป็นลักษณะเด่นของโรค Check for risk of folate synthesis genes. ช่วยระบุความเสี่ยงการขาดโฟเลต เนื่องจากยีน MTHFR มีบทบาทสำคัญในการสังเคราะห์โฟเลตซึ่งเป็นวิตามินบีที่จำเป็นสำหรับสุขภาพระบบสมอง

โรคอัลไซเมอร์

ตรวจระดับโฮโมซีสเตอีน ที่เป็นกรดอะมิโนชนิดหนึ่ง หากระดับสูงเกินไปอาจเพิ่มความเสี่ยงต่อโรคหลอดเลือดสมองและโรคหัวใจซึ่งส่งผลกับสุขภาพสมองเช่นกัน ตรวจฮอร์โมนต่อมหมวกไต เป็นการประเมินสุขภาพของสมองเพราะฮอร์โมน DHEA ช่วยควบคุมการทำงานของระบบประสาท นอกจากนี้ ควรมีการCheck vitamin D levels Folate levels in red blood cells เช็คระดับโลหะหนักในร่างกาย ทั้งทองแดง สังกะสี และอลูมิเนียม รวมทั้งระดับวิตามิน B12 ที่ล้วนมีส่วนสำคัญต่อสมองทั้งสิ้น ที่สำคัญคือปรึกษาและวางแผนการดูแลสุขภาพแบบเฉพาะบุคคลกับแพทย์ที่มีประสบการณ์ในการดูแลสุขภาพเชิงป้องกันแบบองค์รวม เพื่อการรักษาและป้องกันที่ตรงจุด

Service branches

  • Praram 9 Hospital Branch
    • Phone number: 092-9936922
    • Line: @w9wellness
    • Opening-closing hours: 08.00 – 17.00 hrs.
  • Ploenchit Center branch
    • Phone number: 099-4969626
    • Line: @wploenchit
    • Opening-closing hours: 10:00 a.m. - 7:00 p.m.

Share : 

Related articles

เหนื่อยไหมกับการลดน้ำหนักไม่ลง แม้จะพยายามควบคุมอาหาร ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ แต่ทำไมน้ำหนักก็ยังไม่ลดลงสักที? คำตอบอาจไม่ได้อยู่ที่แค่ความพยายามของคุณเพียงอย่างเดียว

Stressed until the body is in trouble Without coffee, you have no energy? “Adrenal Fatigue” believes that many working people have had to deal with the problem of accumulated stress to the point where the body is unable to take anything else. Can't concentrate on work

NAD+ is a derivative of vitamin B3. Helps strengthen energy at the cellular level When our body can repair it, it will make the cells work better. And the truth

error: Content is protected !!