ค้นหา
ปิดช่องค้นหานี้
ตรวจฮอร์โมนผู้ชาย

ตรวจฮอร์โมนผู้ชาย ต้องตรวจอะไรบ้าง และควรเริ่มตรวจเมื่อไหร่

ฮอร์โมนเพศชาย ถือว่ามีความสำคัญต่อการทำงานในระบบอื่นๆ ของร่างกาย ซึ่งผู้ชายส่วนใหญ่จะทราบกันดีว่าฮอร์โมนชนิดนี้มีส่วนช่วยในเรื่องของสมรรถภาพทางเพศ และอารมณ์ความต้องการทางเพศ แต่ในความเป็นจริงแล้วฮอร์โมนเพศชายยังมีบทบาทสำคัญในการทำงานของร่างกายส่วนอื่นด้วย เช่น ช่วยสร้างมวลกล้ามเนื้อ ช่วยสร้างเม็ดเลือดแดง ช่วยให้รู้สึกสดชื่นกระฉับกระเฉง กระปรี้กระเปร่า แต่เมื่อไหร่ที่เริ่มมีอาการ หงุดหงิดง่าย ขี้โมโห เบื่อหน่าย เหนื่อยเพลีย นอนหลับยาก ขาดความกระตือรือร้น อารมณ์ทางเพศที่ลดลง หรือน้อยชายไม่แข็ง อาจเป็นสัญญาณที่บ่งบอกว่าฮอร์โมนเพศชายเริ่มต่ำลง ดังนั้นการ ตรวจฮอร์โมนผู้ชาย จึงช่วยวางแผนการรักษาให้ระบบต่างๆ ของร่างกายกลับมาทำงานได้ดียิ่งขึ้น

ฮอร์โมนไม่สมดุล เกิดจากอะไร

ตรวจฮอร์โมนผู้หญิง

ฮอร์โมนไม่สมดุลในผู้ชาย คือ ความไม่สมดุลของฮอร์โมนสามารถเกิดขึ้นได้ในช่วงใดช่วงหนึ่งของชีวิต ความไม่สมดุลของฮอร์โมนเพศชายอาจเกิดจากความเครียด อาการเจ็บป่วย การกินอาหารที่ไม่ดีพอ ขาดการออกกำลัง รวมถึงการเป็นโรคอ้วน โรคตับ ไขมันสะสมในร่างกายมากเกินไป โรคเบาหวาน อายุที่มากขึ้น และผลข้างเคียงจากยาบางชนิด ซึ่งอาการความไม่สมดุลของฮอร์โมนเพศชายอาจไม่ชัดเจนมากนัก ในบางคนอาจมีปัญหาอ้วนลงพุงง่าย มีเต้านมคล้ายผู้หญิง มีปัญหาต่อมลูกหมากโต มีอาการเหนื่อยเพลียง่าย ออกกำลังกายไม่ค่อยไหว กล้ามเนื้อลีบ รวมถึงมีปัญหาเรื่องเซ็กส์เสื่อมได้ ซึ่งล้วนเกี่ยวข้องกับฮอร์โมนไม่สมดุล

ยกตัวอย่างเช่น ในตอนเช้าปกติแล้วเวลาผู้ชายตื่นนอนจะเกิดการแข็งตัวขององคชาตเองอัตโนมัติ แต่ถ้าเมื่อไหร่ที่การแข็งตัวขององคชาตเปลี่ยนไปจากทุกวันเหลือ 5 วัน หรือ 3 วัน อาจเป็นสัญญาณเตือนได้ว่าระดับฮอร์โมนเทสโทสเตอโรนเริ่มไม่สมดุล หรือกำลังต่ำลงแล้วก็ได้

อาการสัญญาณเตือนฮอร์โมนเพศชายไม่สมดุล

  • หงุดหงิดง่าย
  • ไม่กระฉับกระเฉง
  • มองโลกในแง่ร้าย 
  • สมองไม่เฉียบคม 
  • มวลกระดูกและกล้ามเนื้อลดลง
  • อ้วนลงผุง
  • นอนไม่หลับ
  • ความต้องการทางเพศลดลง
  • อวัยวะเพศแข็งตัวได้ไม่เต็มที่
  • ขาดความมั่นใจ
ตรวจฮอร์โมนผู้ชาย

ใครที่ควรตรวจฮอร์โมนเพศชาย

จริงๆ แล้วการตรวจฮอร์โมนสามารถตรวจได้ทุกช่วงอายุ ขึ้นอยู่กับปัญหาของแต่ละวัย เช่น วัยเด็กๆ อาจจะมีมาตรวจฮอร์โมนด้วยปัญหาพัฒนาการไม่ตรงไปตามวัย อาจจะพัฒนาการช้า ตัวสูงช้า หรือว่ามีการเรียนรู้ที่ช้า หรือมีระบบการเผาผลาญที่ผิดปกติ พอโตขึ้นมาเป็นวัยรุ่น วัยเรียน ก็จะเริ่มมีปัญหา เช่น เรื่องของการควบคุมอารมณ์ หรือพฤติกรรม การโฟกัส การตั้งใจในการเรียนรู้ พออายุเยอะขึ้นมาในวัยทำงานหรือว่าวัยกลางคน ก็จะมีปัญหาทางเพศ (Sex Health) ความรู้สึกที่ผิดปกติไป เปลี่ยนไป น้อยลงหรือว่ามากขึ้น รวมถึงอาการเหนื่อยเพลียมากผิดปกติ และสุดท้ายมีปัญหาเรื่องของฮอร์โมนที่ลดลง ก็จะเร่งความเสื่อม ความแก่ ในฝั่งของแอนไทเอจจิ้ง (Anti-aging) ก็จะมาตรวจดูสมดุลฮอร์โมนแล้วก็ปรับสมดุลฮอร์โมนกลับมาทำงานได้ดีขึ้น

ช่วงหลังๆ คนไข้ที่มาปรึกษาเรื่องนอนไม่หลับ กับ ปัญหา ED ที่ W9 Wellness เยอะมากขึ้น เพราะรู้สึกว่าปัญหาดังกล่าวเริ่มส่งผลกระทบต่อการใช้ชีวิตประจำวัน ซึ่งการมาตรวจฮอร์โมนก็จะช่วยวางแผนได้

ฮอร์โมนเพศชายต่ำ สัมพันธ์กับภาวะอ้วนลงพุง

ตรวจฮอร์โมนผู้ชาย

ผู้ชายหลายคนที่อ้วนลงพุง ส่วนใหญ่แล้วไม่รู้ว่าตัวเองกำลังมีปัญหาเรื่องของ ฮอร์โมนเพศชายที่ต่ำลง หรือถ้าใครเคยได้ยินคำว่า Metabolic Syndrome ซึ่งภาวะนี้จะทำให้มีไขมันสะสมในร่างกายมากขึ้นโดยเฉพาะบริเวณเอวและหน้าท้อง น้ำหนักตัวที่เพิ่มขึ้นและมักมีภาวะไขมันในเลือดสูง น้ำตาลในเลือดสูง และความดันโลหิตสูงร่วมด้วย ซึ่งโรคต่างๆ เหล่านี้เป็นปัจจัยเสี่ยงของโรคหัวใจและหลอดเลือด ภาวะนี้มักเริ่มพบในวัย 40-50 ปีขึ้นไป ซึ่งเป็นวัยที่การสร้างฮอร์โมนเทสโทสเตอโรนเริ่มลดลงนั่นเอง

ผู้ชายหน้าอกใหญ่ เกี่ยวกับความผิดปกติของฮอร์โมนไหม

จริงๆ เจอได้ค่อนข้างบ่อยเลย แล้วก็อาจจะมีความผิดปกติของฮอร์โมนหรือไม่มีก็ได้ ครึ่งนึงอาจจะมีความผิดปกติของฮอร์โมน เพราะฮอร์โมนเพศชาย (Testosterone ) สามารถสามารถที่จะเปลี่ยนเป็นฮอร์โมนเอสโตรเจน (Estrogen) เป็นฮอร์โมนเพศหญิงได้ ซึ่งในบางคนอาจจะมีการเปลี่ยนแปลงฮอร์โมนเพศชายเป็นเพศหญิงมากกว่าคนอื่น ด้วยเอนไซม์บางชนิดที่ทำให้เรามีเอสโตรเจนสูงขึ้น ซึ่งอาจจะเป็นสาเหตุที่ทำให้เรามีเนื้อเยื่อเต้านมเยอะขึ้นก็ได้ หรือว่าเราลดน้ำหนักยาก อ้วนง่ายขึ้น โดยเฉพาะผู้ชายที่กินเบียร์เยอะๆ จะค่อนข้างสังเกตได้ว่าจะอ้วนลงพุง เพราะว่าแอลกอฮอล์ในเบียร์ก็ถือว่าเป็นปัจจัยหนึ่งที่จะกระตุ้นเอนไซม์นี้ ที่จะทำให้เทสโทสเตอโรน ถูกเปลี่ยนเป็นเอสโตรเจนมากขึ้น รวมถึงอาหารบางชนิดที่มีโมเลกุลคล้ายเอสโตรเจน เช่น อาหารที่เป็นถั่วเหลือง น้ำมะพร้าว อันนี้ก็ถือว่ามีโมเลกุลคล้ายเอสโตรเจน

ไม่ได้บอกว่ากินไม่ได้นะ แต่ว่าบางครั้งเรากินแต่อาหารชนิดนั้นเพียงอย่างเดียวเลยเป็นเวลานานๆ ทุกวัน ในบางคนที่พันธุกรรมในการขับฮอร์โมน หรือเปลี่ยนแปลงฮอร์โมนที่ไม่ดีอาจจะมีผลได้ แล้วก็ต้นเหตุอันนึงซึ่งเราเจอบ่อยเลยก็คือ พลาสติก มีลักษณะคล้ายกับฮอร์โมนเอสโตรเจน หรือว่าเรียกว่า ซีโนเอสโทรเจนเทียม (Xenoestrogens) ที่เข้ามาปนเปื้อนในอาหาร แล้วก็สามารถเข้าสู่ร่างกาย แล้วก็ส่งผลกระทบต่อระบบฮอร์โมนของร่างกายได้เช่นกัน

ตรวจฮอร์โมนผู้ชาย

ผู้ชายส่วนใหญ่ตรวจฮอร์โมนเพราะอะไร

ผู้ชายส่วนใหญ่ก็จะเป็นปัญหาสุขภาพทางเพศนะ Sex Health ความเครียดเรื้อรัง มีหรือไม่มีอาการก็ได้  เพราะว่าการชดเชยความเครียดหรือว่าความผิดปกติในแต่ละคนไม่เหมือนกัน ไหนจะเรื่องของพันธุกรรม สารอาหาร โรคประจำตัว และสมดุลร่างกายอื่นๆ ด้วย ที่เข้ามาเป็นองค์ประกอบว่าทำให้คนคนนึงมีปัญหาหรือมีปัญหาเกี่ยวกับเรื่องฮอร์โมน

ตรวจฮอร์โมนเพศชาย ต้องตรวจอะไรบ้าง

สำหรับรายการตรวจฮอร์โมนของผู้ชายจะแตกต่างกันไป ขึ้นอยู่กับปัญหาของแต่ละบุคคล แต่หลักๆ ที่แนะนำให้ตรวจ เพื่อดูหาความไม่สมดุลของร่างกาย ได้แก่

  • ตรวจระดับฮอร์โมนเทสโทสเตอโรน เพื่อประเมินสมรรถภาพร่างกาย กล้ามเนื้อ ความเสี่ยงต่อโรคหัวใจรวมถึงสมรรถภาพทางเพศ
  • ตรวจระดับฮอร์โมนไทรอยด์ เพื่อตรวจดูระบบเผาผลาญของร่างกาย หาสาเหตุของน้ำหนักที่เพิ่มขึ้น หรือลดลงอย่างผิดปกติ
  • ตรวจระดับฮอร์โมนทั่วไป ทั้งฮอร์โมนเพศ ฮอร์โมนไทรอยด์ ฮอร์โมนต่อมหมวกไต และโกรทฮอร์โมน (Growth hormone) เพื่อตรวจดูสุขภาพร่างกายโดยรวม หาสาเหตุของภาวะซึมเศร้า ร่างกายไม่กระชับกระเฉง นอนไม่หลับ อ่อนเพลีย หรืออ้วนลงพุง เป็นต้น
ตรวจฮอร์โมนผู้ชาย

การเตรียมตัวก่อนตรวจฮอร์โมนเพศชาย

  • ตรวจร่างกายและซักประวัติโดยแพทย์ เพื่อให้รู้สาเหตุของปัญหาอย่างชัดเจน โดยจะมีการตรวจร่างกายทั่วไป ชั่งน้ำหนัก วัดส่วนสูง วัดความดันโลหิต
  • ตรวจเลือดเพื่อค้นหาความผิดปกติของฮอร์โมนต่างๆ เช่น ตรวจโรคความผิดปกติทางฮอร์โมน, ตรวจการทำงานของต่อมไทรอยด์, ต่อมหมวกไต, ตรวจระดับฮอร์โมนเพศหญิงและฮอร์โมนเพศชาย, ตรวจสารตั้งต้นของฮอร์โมนเพศ และตรวจหาระดับโปรตีนที่จับกับฮอร์โมนเพศ เป็นต้น

ตรวจฮอร์โมนเพศชายที่ไหนดี

ที่ W9 Wellness เรามีทีมแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้านการปรับสมดุลฮอร์โมนแบบองค์รวม พร้อมให้คำแนะนำคุณทั้งในด้านการปรับพฤติกรรมการใช้ชีวิต การรับประทานอาหาร การออกกำลังกายอย่างถูกต้อง รวมถึงการใช้วิตามินเสริม และการใช้ฮอร์โมนทดแทน อย่างปลอดภัย (Bio-identical Hormone Replacement therapy) เพื่อคืนความสมดุลให้แก่สุขภาพคุณ

Share : 

บทความที่เกี่ยวข้อง

ช่วงนี้มี อาหารเพื่อสุขภาพ (Healthy Diet) หลากหลายสูตรที่มีกระแสว่าช่วยในการลดน้ำหนักออกมามากมาย ทั้งที่มีการศึกษาวิจัยรองรับ มีการรีวิวตามอินเตอร์เนต

มะเร็งตับและท่อน้ำดี ถือเป็นมะเร็งที่พบเป็นอันดับ 1 ในเพศชาย และอันดับ

ภาวะสมองเสื่อม หรือ อัลไซเมอร์ คือ สภาวะที่สมรรถภาพทางสมองมีการทำงานที่บกพร่องไป เช่น ด้านความจำ การตัดสินใจ การบริหารจัดการต่างๆ เป็นต้น ซึ่งโรคอัลไซเมอร์เป็นโรคที่เจอได้บ่อยของกลุ่มภาวะ สมองเสื่อม อย่างเช่น บางคนที่เป็นสโตรก (Stroke) โรคหลอดเลือดสมองตีบ ก็ทำให้มีอาการของสมองเสื่อมได้เช่นกัน สำหรับในคนไทยเราก็พบว่า ผู้ที่มีอายุ 65 ปีขึ้นไปก็จะมีความเสี่ยง โรคสมองเสื่อม ได้ถึงร้อยละ 5 แล้วเมื่อเรามีอายุเพิ่มขึ้นทุกๆ 5 ปีขึ้นไป ก็จะมีความเสี่ยงที่จะเป็นภาวะสมองเสื่อมถึงสองเท่า และเมื่อเราอายุ 80 ปี ก็จะมีโอกาสที่จะเกิดภาวะสมองเสื่อมได้ถึงร้อยละ 20 หรือว่า 1 ใน 5 เลยทีเดียว สาเหตุของภาวะสมองเสื่อม หรืออัลไซเมอร์ ภาวะ สมองเสื่อม ก็เกิดได้จากหลายสาเหตุ มีทั้งสาเหตุที่สามารถรักษาให้หายขาดได้ แล้วก็สาเหตุที่รักษาให้หายขาดได้ยาก สาเหตุที่รักษาให้หายขาดได้ เช่น การขาดวิตามินบี 12 โรคที่เกี่ยวกับฮอร์โมนไทรอยด์ หรือภาวะที่มีน้ำคั่งในสมอง สาเหตุสมองเสื่อมจากการดื่มแอลกอฮอล์ เป็นต้น ส่วนสาเหตุที่รักษาให้หายขาดได้ยาก เช่น […]

thThai