Search
Close this search box.
NK Cell

เสริมภูมิคุ้มกันต้านไวรัส ที่คนยุคนี้ต้องรู้!

หลายคนอาจจะเคยได้ยินเรื่องของ NK Cell Therapy นะคะ แต่ก็ยังมีบางคนที่ยังสงสัยว่า NK Cell มีประโยชน์กับร่างกายเรายังไง วันนี้หมอจะมาไขข้อสงสัยว่า NK Cell มีประโยชน์ต่อสุขภาพเรายังไงค่ะ

ที่มาของคำว่า “ภูมิคุ้มกัน”

ภูมิคุ้มกันมาจากภาษาลาติน คำว่า Immunis ที่แปลว่ายกเว้น ในสมัยก่อนตอนที่ หลุยส์ ปาสเตอร์ (Louis Pasteur) ค้นพบวัคซีนป้องกันโรคพิษสุนัขบ้า ตอนนั้นก็ยังไม่มีใครเข้าใจกลไกว่าสามารถป้องกันได้ยังไง จนกระทั้งในปี 1930 มีการค้นพบสารแอนติบอดี้ครั้งแรกโดย แอลวิน กาบัส ต่อมาจึงเรียกว่า ฮิวเมอรัล อิมมูนิตี้

ภูมิคุ้มกันแบ่งออกเป็น 2 ชนิด

1. ภูมิคุ้มกันที่มีมาตั้งแต่กำเนิด (Innate immunity)

เป็นภูมิคุ้มกันที่ ไม่เจาะจง ไม่จดจำ แต่ว่าจะมีการทำงานสิ่งแปลกปลอมทุกอย่างที่เข้ามาในร่างกายเรา ในด้านทางกายภาพ เช่น ผิวหนัง ผนังลำไส้ เยื่อบุต่างๆ รวมไปถึงน้ำลาย น้ำย่อย หรือว่าสารคัดหลั่งต่างๆ การหลั่งสารอักเสบที่มีการปวด บวม แดง ร้อน และเซลล์ภูมิคุ้มกันบางชนิด ไม่ว่าจะเป็น Macrophage, Neutrophil และ NK Cell

2. ภูมิคุ้มกันที่มาในภายหลัง

เป็นภูมิคุ้มกันที่มี ความเฉพาะเจาะจง จะต้องมีการจดจำ มีการเรียนรู้ สำหรับเม็ดเลือดขาว ที่รับหน้าที่หลักสำหรับภูมิคุ้มกันชนิดนี้ก็คือ ลิมโฟไซต์ (lymphocyte) โดยการทำงานก็จะต้องมีการจดจำและเรียนรู้ เพื่อตอบสนองต่อเชื้อหรือว่าสิ่งแปลกปลอมอย่างรวดเร็ว เมื่อเจอในครั้งถัดๆ ไป ร่างกายเราก็ได้นำองค์ความรู้มาประยุกต์ใช้ในเรื่องของวัคซีน ที่เปรียบเสมือนการฉีดเข้าไป เพื่อกระตุ้นให้เม็ดเลือดขาวเป็นทหาร มีการจดจำ แล้วก็เรียนรู้ที่จะทำงาน แล้วก็ตอบสนองได้อย่างมีประสิทธิภาพได้ดีมากขึ้น

สำหรับภูมิคุ้มกันที่มีมาตั้งแต่กำเนิดซึ่งถือว่าเป็นปราการด่านแรก เราจะมารู้จักกับตัวนึงที่สำคัญก็คือ NK Cell ค่ะ

ทำความรู้จัก NK Cell Therapy

NK Cell ถูกสร้างมาจากไขกระดูกชนิดเดียวกันกับที่สร้างลิมโฟไซต์ (lymphocyte) แต่ว่ารูปร่างแล้วหน้าที่เห็นแตกต่างกันค่ะ โดย NK Cell จะมีขนาดใหญ่ และไม่มีความเฉพาะเจาะจงในการทำงาน ไม่มีโปรตีนที่เคลือบอยู่บนผิวเซลล์ การทำงานของ NK Cell จะเน้นในการฆ่าเซลล์ที่แปลกปลอมโดยเฉพาะเซลล์มะเร็ง หรือก้อนเนื้อที่มีการเจริญผิดปกติ รวมไปถึงเซลล์ของไวรัสที่ซ่อนอยู่ในร่างกายของเรา เพราะโดยปกติแล้ว NK Cell ในร่างกายของเราจะมีประมาณ 2,000 ถึง 5,000 ล้านเซลล์ค่ะ 

สำหรับ NK Cell นอกจากจะทำหน้าที่เป็นภูมิคุ้มกันเป็นปราการด่านแรกในการฆ่าเซลล์มะเร็ง เมื่อร่างกายหายดีแล้ว NK Cell ยังทำหน้าที่ในการคอยป้องกันต่อ เพราะว่าจะคอยสอดส่องหาเซลล์แปลกปลอมแล้วก็เข้าทำลายทันที

สำหรับกลไกการทำงานของ NK Cell มี 4 แบบ

  1. การหลั่งสารการอักเสบ
  2. การทำลายสิ่งแปลกปลอม หรือว่าเซลล์แปลกปลอมโดยตรง โดยการหลั่งสารอักเสบเข้าไป
  3. การกระตุ้นให้เซลล์แปลกปลอมเกิดการตาย หรือที่เรียกว่า อะพอพโทซิส (apoptosis)
  4. การเข้าไปฆ่าเซลล์แปลกปลอมโดยตรง (ADCC; Antibody-dependent cellular cytotoxicity)

แม้ว่าการทำงานจะไม่มีความเฉพาะเจาะจง  แต่ว่าตัว NK Cell เองก็จะมีวิธีการแยก เซลล์ปกติของร่างกาย ออกจากเซลล์แปลกปลอม โดยมองหาตัวโปรตีนที่อยู่บนผิวเซลล์ ถ้าเกิดว่ามีการแสดงผลของโปรตีนนั้นในเซลล์แปลกปลอม NK Cell ก็จะเข้าไปจัดการ ซึ่งกลไกนี้ทำให้ NK Cell ทำลายแต่เฉพาะเซลล์แปลกปลอม แล้วก็คัดแยกเซลล์ปกติของร่างกายเรา

การมีปริมาณ NK Cell ยิ่งเยอะยิ่งดี จริงหรือไม่?

หลายๆ คนน่าจะส่งสัยว่า การมีปริมาณของ NK Cell สูงๆ ก็จะยิ่งดีถูกไหม แต่ความจริงแล้วมีงานวิจัยหลายฉบับพบว่า การมีประสิทธิภาพการทำงานของ NK Cell ต่างหากที่จะบ่งบอกถึงคุณภาพในการฆ่าสิ่งแปลกปลอมในร่างกาย ดังนั้น นอกจากการตรวจร่างกายทั่วไปแล้วในเรื่องของเม็ดเลือด การตรวจปริมาณและประสิทธิภาพของ NK Cell หรือ NK Activity ก็จะช่วยให้เราประเมินคุณภาพของระบบภูมิคุ้มกันในร่างกายเราได้ค่ะ

สำหรับ NK Cell แบ่งออกเป็น 2 ชนิด

ชนิด Dim และ Bright โดยชนิด Dim  มีปริมาณ 90% ของ NK Cell โดยการทำงานก็คือทำงานแบบ Natural Cytotoxi ก็คือเข้าไปฆ่าเซลล์มะเร็งหรือว่าสิ่งแปลกปลอม ส่วนชนิด Bright จะเป็นการทำงานช่วยเสริมในการหลั่งสารอักเสบ หรือว่าสารเคมีต่างๆ เพื่อให้มีปฏิกิริยาตอบโต้ ตอบสนองต่อภูมิคุ้มกันได้อย่างดี

การตรวจประสิทธิภาพ NK Cell หรือ NK Activity 

มีการตรวจหลายแบบ  โดยการตรวจแบบที่ใกล้เคียงกับ Gold Standard หรือการตรวจแบบมาตรฐานก็คือ การนำเอาเซลล์มะเร็ง มาย้อมด้วยสีเรืองแสงแคลซีน แล้วก็นำไปเลี้ยงกับ NK Cell เพื่อดูประสิทธิภาพการทำงาน การฆ่าเซลล์มะเร็งแบบ Natural Cytotoxicity ซึ่งเป็นการตรวจหาประสิทธิภาพ ชนิด Dim ที่มีกว่า 90 เปอร์เซ็นต์สำหรับ NK Cell ในร่างกายเรา ส่วนการตรวจอีกแบบนึงคือ การตรวจการหลักของสาร อินเตอร์เฟียรอน (Interferon) ซึ่งก็คือจะเป็น NK Cell แบบชนิด Bright ค่ะ 

สำหรับคนที่ต้องการจะตรวจวัดระดับปริมาณ และคุณภาพการทำงานของ NK Cell ก็แนะนำแบ่งเป็น 3 กลุ่ม

  1. กลุ่มที่ต้องการตรวจคัดกรอง ซึ่งก็คือกลุ่มคนไข้ที่ป่วยเป็นมะเร็ง หรือคนปกติ เนื่องจากว่า ระดับภูมิคุ้มกันของ NK Cell ที่ต่ำ นั่นหมายถึงประสิทธิภาพในการทำงานและฆ่าเซลล์แปลกปลอมลดลง
  2. ตรวจเพื่อประเมินความเสี่ยงในการเกิดมะเร็ง การที่มีระดับ NK Activity หรือประสิทธิภาพการทำงาน NK ที่ต่ำลง ก็จะมีความสัมพันธ์ที่ชัดเจนกับโอกาสที่จะเกิดมะเร็งได้
  3. การตรวจ NK Activity และปริมาณ NK Cell เพื่อติดตามผลการรักษา ไม่ว่าจะเป็นการรักษาด้วยภูมิคุ้มกันต่อการรักษาโรคมะเร็งหรือโรคติดเชื้อ หรือการติดตามการตอบสนองต่อการรักษาด้วยเคมีบำบัดก็ได้ค่ะ

ดังนั้น การตรวจประสิทธิภาพของ NK Cell ก็จะขึ้นอยู่กับคุณหมอที่จะช่วยประเมิน ว่าจะเลือกการตรวจแบบไหน เพื่อที่จะเลือกการรักษา หรือการป้องกันดูแลสุขภาพค่ะ

ปัจจัยที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพการทำงานของ NK Cell 

  • อายุ เมื่ออายุมากขึ้น ประสิทธิภาพการผลิตปริมาณ NK Cell แล้วก็การทำงานก็จะลดลง
  • ความเครียด มีการศึกษาว่า เมื่อร่างกายมีความเครียดก็จะมีการหลั่งฮอร์โมนเพื่อตอบสนองต่อความเครียดค่ะ เจ้าฮอร์โมนตัวนี้จะส่งผลต่อประสิทธิภาพการทำงานของ NK Cell ทำให้ลดลง ดังนั้น การควบคุมความเครียดหรือการจัดการความเครียดก็จะทำให้ภูมิคุ้มกันของเราแข็งแรงขึ้น
  • lifestyle หรือว่าพฤติกรรมในการดำเนินชีวิต เราก็พบว่ากลุ่มคนที่รับประทานผักทุกวันเทียบกับคนที่รับประทานผัก 1 ครั้งต่อสัปดาห์ พบว่าประสิทธิภาพการทำงานของ NK Cell สูงกว่าคนที่ทำหนึ่งครั้งต่อสัปดาห์อย่างชัดเจน แล้วก็เห็นชัดเจนในกลุ่มของผู้หญิงมากกว่าผู้ชาย นอกจากนี้ยังมีการศึกษาเพิ่มเติมอีกพบว่า การรับประทานเนื้อสัตว์ ซึ่งก็ควรจะต้องเป็นเนื้อสัตว์ที่เป็นสัตว์กินหญ้า แล้วก็ผลิตภัณฑ์จากนมถั่วเหลืองเป็นประจำทุกวัน ก็จะสามารถเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานของ NK Cell ได้ค่ะ ตรงนี้หมอก็จะขอเสริมนะคะว่า การเลือกผลิตภัณฑ์สุขภาพหรือการเลือกอาหารก็น่าจะต้องเป็นอาหารที่เป็นออกแกนิคหรือว่าปลอดสารพิษ
  • ระยะเวลาในการรับประทานอาหาร ตรงนี้ก็มีการศึกษาพบว่า คนที่รับประทานอาหารเป็นเวลาและไม่ทานอาหารระหว่างมื้อ เมื่อเทียบกับคนที่ทานอาหารไม่เป็นเวลา จะมีประสิทธิภาพของการทำงาน NK Cell ที่สูงอย่างมีนัยยะสำคัญ
  • ผู้ที่มีภาวะน้ำหนักเกิน ก็ยังมีผลต่อการทำงานของ NK Cell จากงานวิจัยพบว่า เมื่อน้ำหนักของร่างกายลดลงจะเห็นว่าการทำงานของ NK Cell โดยทั้ง 4 กลไกทำงานได้ดีขึ้น ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของ การผลิต NK Cell การหลั่งสารอักเสบ เพื่อที่จะทำให้ประสิทธิภาพการตอบสนองของภูมิคุ้มกันดีขึ้น การทำลายเซลล์แปลกปลอม หรือว่าเซลล์มะเร็งทำงานได้ดีขึ้นค่ะ
ทำความรู้จัก Nk Cell Therapy
  • การพักผ่อนที่เพียงพอ มีการวิจัยพบว่าคนที่นอนมากกว่า 7 ชั่วโมงต่อวัน มี NK Activity หรือประสิทธิภาพการทำงานของ NK Cell ที่สูงกว่าคนที่นอนน้อยกว่า 7 ชั่วโมง แต่อย่างไรก็ตาม การพักผ่อนของแต่ละคนชั่วโมงก็อาจจะไม่เท่ากัน ขึ้นอยู่กับคุณภาพของการพักผ่อนการนอนหลับให้สนิทของแต่ละคน
  • การสูบบุหรี่ พบว่าทำให้ NK Activity หรือประสิทธิภาพลดลง จากการศึกษาพบว่า การสูบบุหรี่เกินปีละ 500 ม้วน จะทำให้เป็น NK Activity ลดปริมาณลง นอกจากนี้ พบว่า การดื่มแอลกอฮอล์เพียงเล็กน้อย น้อยกว่า 1000 ML ต่อปี จะทำให้ NK Activity เพิ่มขึ้น แต่หากดื่มแอลกอฮอล์ร่วมกับสูบบุหรี่ พบว่าทำให้เป็น NK Activity หรือประสิทธิภาพลดลงอย่างเห็นได้ชัด
  • การอดอาหารเป็นเวลา หรือว่าการทำ IF (Intermittent Fasting) มีส่วนช่วยกระตุ้นการทำงานของ NK Cell โดยการศึกษาวิจัยพบว่า เวลาที่เราทำ IF หรือ  Intermittent Fasting จนจะทำให้ร่างกายเกิดกระบวนการนึงที่มีชื่อเรียกว่า Autophagy หรือการเก็บกินเซลล์ตัวเอง ซึ่งเจ้ากระบวนการ Autophagy จะไปกระตุ้นการทำงานของภูมิคุ้มกัน ให้ทำงานเก็บกินสิ่งแปลกปลอม หรือว่าต่อต้านการติดเชื้อโดยเฉพาะเชื้อไวรัส ไม่ว่าจะเป็นการส่งเสริมการทำงานของ NK Cell หรือว่า T-Cell กระบวนการ Autophagy ก็จะไปกระตุ้น และส่งเสริมประสิทธิภาพการทำงานของระบบภูมิคุ้มกันในร่างกายเรา
ทำความรู้จัก Nk Cell Therapy

  • การออกกำลังกาย ก็เป็นปัจจัยที่ส่งเสริมประสิทธิภาพการทำงานของ NK Cell จากการศึกษาวิจัยพบว่า การออกกำลังกายที่ทำให้ระบบไหลเวียนดีขึ้นก็จะเพิ่มปริมาณของ NK Cell นอกจากนั้นยังเพิ่มปริมาณของเม็ดเลือดขาวชนิด T-Cell และ B-Cell ด้วยสำหรับการออกกำลังกายในภาวะที่พอเหมาะ หรือการออกกำลังกายแบบปานกลาง ก็จะทำให้ลดกระบวนการการอักเสบของร่างกายลง และเพิ่มการทำงานของ NK Cell ทั้งประสิทธิภาพ การออกกำลังกายแบบปานกลางก็คือ การออกกำลังกายที่ทำให้อัตราการเต้นของหัวใจอยู่ที่ 64 ถึง 67% ของอัตราสูงสุด ถ้าคิดตามสูตรคำนวณก็คือ 220 ลบกับอายุ หรือจะวัดเป็น RPE อยู่ที่ระดับ 12-13 หรือถ้าจะให้วัดง่ายๆ ก็คือระหว่างออกกำลังกายเราสามารถที่จะพูดได้แต่ว่าร้องเพลงไม่ได้ สำหรับการออกกำลังกายก็จะมีหลากหลายรูปแบบไม่ว่าจะเป็น การวิ่ง การเดินลู่ การออกเซอร์กิตเทรนนิ่ง หรือจะว่ายน้ำก็ได้

ทำความรู้จัก Nk Cell Therapy
  • การเสริมจุลินทรีย์ชนิดดีในลำไส้ เรื่องของสุขภาพลำไส้ก็สำคัญไม่แพ้กัน การเสริมจุลินทรีย์ชนิดดีในลำไส้ จะทำให้ประสิทธิภาพการทำงานของ NK Cell ดีขึ้น เนื่องจาก NK Cell หลังจากผลิตมาจากไขกระดูก แล้วก็ส่งต่อเข้าไปในกระแสเลือด ก็จะถูกนำมาเก็บไว้ที่ต่อมน้ำเหลือง ซึ่งกว่า 80% ก็อยู่ในลำไส้ของเรา ดังนั้น ถ้าเรามีจุลินทรีย์ชนิดดีอยู่ในลำไส้อย่างสมดุลอย่างสมดุล ก็จะส่งเสริมให้การทำงานของ NK Cell และมีประสิทธิภาพมากขึ้น ตอบสนองต่อภูมิคุ้มกันได้ดียิ่งขึ้นค่ะ

สำหรับการเพิ่มจำนวนและประสิทธิภาพของ NK Cell ก็ได้แก่การลดปัจจัยต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของการจัดการความเครียด การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพไลฟ์สไตล์ เรื่องของอาหาร การรับประทานผัก การทานน้ำตาลที่ลดลงก็จะช่วยลดกระบวนการการอักเสบของร่างกายแล้วก็ส่งเสริมภูมิคุ้มกัน การสูบบุหรี่ การดื่มแอลกอฮอล์ การพักผ่อนที่เพียงพอ การออกกำลังกาย การเสริมจุลินทรีย์ชนิดดีในลำไส้ รวมไปถึงการอดอาหารหรือการทำ IF ก็จะส่งเสริมให้สุขภาพแข็งแรงขึ้นแล้วก็เพิ่มประสิทธิภาพการทำงานของ NK Cell

นอกจากนี้ก็ยังมีวิตามินและอาหารเสริมบางอย่างที่ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานของ NK Cell โดยมีการศึกษาวิจัยอย่างหลากหลายมากขึ้น ในการใช้อาหารเสริม ซึ่งก็ต้องพิจารณาตามความเหมาะสม

ในปัจจุบันก็มีการนำเอาเทคโนโลยีต่างๆ เข้ามาช่วยในเรื่องของการเพิ่มประสิทธิภาพ และปริมาณของ NK Cell ก็คือการนำเอาเซลล์ภูมิคุ้มกันของผู้ป่วยเอง มาเพาะเลี้ยงในห้องปฏิบัติการเพื่อเพิ่มปริมาณและคุณภาพ จากนั้นก็ฉีดกลับเข้าไปให้กับผู้ป่วยเอง ซึ่งการรักษานี้

ก็มีการทำอย่างแพร่หลาย ไม่ว่าจะเป็นในประเทศญี่ปุ่น สหรัฐอเมริกา รวมถึงในประเทศไทยเอง

จะเห็นได้ว่าการที่จะดูแลสุขภาพร่างกายตัวเอง ให้เพิ่มภูมิคุ้มกัน ทั้งคุณภาพ และปริมาณของ NK Cell จะต้องใช้ปัจจัยหลากหลายอย่าง ขึ้นอยู่กับสุขภาพของแต่ละบุคคล

เพราะฉะนั้น สุขภาพพื้นฐานของแต่ละคนนะคะแตกต่างกันไปค่ะ การดูแลสุขภาพก็ควรที่จะต้องดูแลแบบเฉพาะบุคคล เพื่อเพิ่มความแม่นยำ และประสิทธิภาพในการรักษาสูงสุดค่ะ

References:

Share : 

บทความที่เกี่ยวข้อง

มีคนถามเข้ามาเยอะว่า “หายติดเชื้อไวรัสแล้วแต่ยังมีอาการอยู่” หรือบางคนตอนเป็นติดเชื้อไวรัสมีอาการน้อย แต่พอหายแล้วกับมีอาการเยอะขึ้น ไวรัสได้ฝากลอยแผลเป็นอะไรไว้ให้กับเราบ้าง

“อยากท้อง ทำไมไม่ท้อง” เชื่อว่าคุณพ่อคุณแม่หลายคนคงหมดกันไปเยอะ ถ้าให้เปรียบเทียบก็คงเหมือนประโยคที่ว่า “เสียเป็นแสนแขนลูกไม่ได้เตะ”

thThai