ค้นหา
ปิดช่องค้นหานี้
นอนไม่พอ

นอนไม่พอ นอนไม่หลับ อาจเกี่ยวกับจุลินทรีย์ในลำไส้

การนอนหลับช่วยซ่อมแซมส่วนต่างๆ ของร่างกายให้ดีขึ้น แต่การ นอนไม่พอ ก่อให้เกิดภาวะซึมเศร้า นอนกรน ง่วงซึมมากระหว่างวัน ไม่มีสมาธิระหว่างการทำงาน โรคหลอดเลือดสมอง โรคอ้วน โรคความดันเลือดสูง โรคเบาหวาน ภาวะวิตกกังวล รวมถึงอุบัติเหตุ เป็นต้น

นอนไม่พอ อาจเกี่ยวกับจุลินทรีย์ในลำไส้

เมื่อก่อนเราจะรู้กันแค่ว่า “ลำไส้” ทำหน้าที่เกี่ยวข้องกับการ “ย่อยอาหาร” แต่จริงๆ แล้วเนี่ย ลำไส้ทำหน้าที่เกี่ยวข้องกับการนอนด้วย เนื่องจากลำไส้ของเรา สามารถสร้างสารสื่อประสาทที่ชื่อว่าสารเซโรโทนิน (Serotonin) ได้ถึง 80-90% ของ Serotonin ที่ร่างกายเราสร้างได้ในร่างกาย จึงเปรียบลำไส้เสมือนสมองที่ 2 ของเราได้เลย

โดยมีผู้อยู่เบื้องหลังก็คือจุลินทรีย์ในลำไส้นั่นเอง จุลินทรีย์ในลำไส้มีมากถึง 100 ล้านล้านตัว หรือเทียบเป็นน้ำหนักก็ประมาณ 2 กิโลกรัมเลยทีเดียว

นอนไม่พอ

ดังนั้น เมื่อจุลินทรีย์ในลำไส้เสียทำงานได้อย่างสมดุล ก็จะทำให้มีการสร้างสารที่ชื่อว่า Short Chain Fatty Acid  หรือไขมันเส้นเล็กๆ มากระตุ้นการทำงานของเซลล์ในลำไส้ซึ่งชื่อว่า  EC Cell (Enterochromaffin Cells) โดย EC Cell ก็จะทำงานในการสร้างเซลล์ภูมิคุ้มกันแล้วก็เกี่ยวกับสารสื่อประสาทที่ชื่อว่า เซโรโทนิน (Serotonin) ด้วย

เมื่อไรที่ร่างกายของเรามีความไม่สมดุลในการทำงานของจุลินทรีย์ในลำไส้ ก็จะทำให้สารเซโรโทนิน (Serotonin) ทำงานได้ไม่สมดุลได้เหมือนกัน มีผลทำให้การนอนของเรามีปัญหาได้ อย่างเช่น

  • นอนไม่หลับ ตื่นกลางดึกบ่อย (หลับๆ ตื่นๆ)
  • หงุดหงิดง่าย กระสับกระส่าย
  • รู้สึกอ่อนเพลีย
  • ไม่มีสมาธิในการทำงาน ตื่นมาไม่สดชื่น

แล้วก็นอนจากนี้จะมีผลเกี่ยวกับเรื่องของอารมณ์ด้วย อย่างเช่น 

  • หงุดหงิดง่าย 
  • ซึมเศร้า 
  • หรืออารมณ์แปรปรวนได้
นอนไม่พอ

แต่หากพบอาการอย่างใดอย่างหนึ่งมากกว่า 2 สัปดาห์ ให้สงสัยไว้ว่าเรากำลังมีภาวะนอนไม่หลับเรื้อรัง นอนไม่พอ และควรเข้ารับคำปรึกษา ที่ปลอดภัยและเหมาะสมต่อไป

เมื่อไรก็ตามที่เรามีอาการเหล่านี้ร่วมกับปัจจัยเสี่ยงที่หมอกำลังจะบอกนั่นก็คือ

  1. ความเครียดสะสม
  2. อาหาร โดยเฉพาะของหวาน สารให้ความหวานแทนน้ำตาล อาหารแปรรูป
  3. สารพิษ สารโลหะหนัก พลาสติก ที่ปนเปื้อนมากับอาหาร น้ำดื่ม เมคอัพ โลชั่น
  4. ยา โดยเฉพาะยาปฏิชีวนะ (ยาฆ่าเชื้อ) ยาลดกรด

เมื่อเราละเลยเป็นเวลานานๆ ก็จะทำให้จุลินทรีย์ในลำไส้เกิดความไม่สมดุลได้ แล้วก็จะมีผลต่อการสร้างสารสื่อประสาทที่ชื่อว่าสารเซโรโทนิน (Serotonin) ได้เหมือนกัน

และนอกจากปัญหาการนอนที่ส่งผลต่อสมดุลของจุลินทรีย์ในระบบทางเดินอาหารโดยตรงแล้ว ชนิดของอาหาร เช่น อาหารประเภทไขมัน แอลกอฮอล์ และการับประทานอาหารผิดเวลา ล้วนเป็นปัจจัยที่รบกวนสมดุลของจุลินทรีย์ในระบบทางเดินอาหาร จากการรบกวนนาฬิกาชีวิตของเรานั่นเอง

นอนไม่พอ

ดังนั้น ใครที่มีอาการร่วมด้วยกับปัจจัยเหล่านี้ หมอก็แนะนำให้มาตรวจเช็กความไม่สมดุลของจุลินทรีย์ในลำไส้ เพื่อที่ว่าเราจะได้วางแผนการรักษาได้อย่างถูกต้องแล้วก็ต้องจุด

Share : 

บทความที่เกี่ยวข้อง

หลายคนคงเคยประสบปัญหาเกี่ยวกับการ ลดน้ำหนัก ไม่ว่าจะเป็น ลดน้ำหนักยาก หรือ

เหนื่อยไหมกับการลดน้ำหนักไม่ลง แม้จะพยายามควบคุมอาหาร ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ แต่ทำไมน้ำหนักก็ยังไม่ลดลงสักที? คำตอบอาจไม่ได้อยู่ที่แค่ความพยายามของคุณเพียงอย่างเดียว

error: Content is protected !!