ค้นหา
ปิดช่องค้นหานี้
วัยทองป้องกันได้

วัยทองป้องกันได้ สัญญาณเปลี่ยนของฮอร์โมน

วัยทองป้องกันได้ พอพูดถึง “วัยทอง” หลายคนคงส่ายหน้าว่าไม่ใช่ฉันแน่ๆ แต่ใครจะไปรู้ว่าอาการที่เราเป็นอยู่แท้จริงแล้วคือ สัญญาณเข้าสู่วัยทอง ก็เป็นได้ ไม่ว่าจะเป็นการเปลี่ยนแปลงทางด้านร่างกาย และจิตใจ ซึ่งเกิดจากการขาดฮอร์โมนเพศ และไม่ใช่แค่เฉพาะคุณผู้หญิงเท่านั้น คุณผู้ชายก็มีวัยทองได้เหมือนกัน แต่แแทนที่เราจะไปเครียดหรือกังวลกับอาการดังกล่าว เปลี่ยนมาทำความเข้าใจ และหาทางรับมือกับวัยทองจะดีกว่าไหม เพื่อให้ช่วงวัยทองของเรามีแต่ความสุข ทั้งสุขภาพกายและจิตใจไปพร้อมกัน แต่จะมีอะไรบ้างวันนี้เรามีคำแนะนำมาบอกกันค่ะ

วัยทองป้องกันได้ ทั้งผู้ชายและผู้หญิง

วัยทองป้องกันได้

คุณผู้หญิง และคุณผู้ชายเมื่ออายุเริ่มเข้าสู่ช่วงวัยที่ 40+ ปีขึ้นไป มักจะเจอกับภาวะวัยทอง แต่จะมาเร็วหรือช้าเท่านั้นเอง ซึ่งผู้หญิงจะเกิดจากการเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมนเพศหญิง ที่ชื่อว่า “เอสโตรเจน” เนื่องจากฮอร์โมนเอสโตรเจนมีผลต่อร่างกายหลายส่วน ไม่ว่าจะเป็นสมอง กระดูก ผิวหนัง เมื่อฮอร์โมนลดลงจึงส่งผลให้เกิดอาการต่างๆ ตามว่าที่เรียกว่า “อาการวัยทอง” นั่นเอง ส่วนในผู้ชายก็สามารถเกิดภาวะวัยทองได้เหมือนกันซึ่งเกิดจากภาวะบกพร่องฮอร์โมนเพศชาย ที่เรียกว่า “เทสโทสเตอโรน” ที่ลดต่ำลง

โดยอาการที่พบได้ใน ผู้ชายวัยทองมักจะลงพุง กล้ามเนื้อลีบเล็กลง แข็งแรงน้อยลง และผมบางมากขึ้น ซึ่งอาการดังกว่าของคุณผู้ชาย และคุณผู้หญิง สามารถของคำแนะนำจากคุณหมอผู้เชี่ยวชาญได้โดยตรง

สัญญาณเตือนอาการวัยทอง

อาการวัยทองในผู้ชาย

ผู้ชายที่อายุเริ่มมากขึ้น หรือเข้าสู่ช่วงสูงวัยที่เริ่มมีอาการผิดปกติทั้งต่อร่างกาย จิตใจ เป็นผลมาจากฮอร์โมนเพศชาย หรือ เทสโทสเทอโรน (Testosterone) ที่ลดต่ำลง ซึ่งเราเรียกภาวะว่า Andropause หรือภาวะ “ผู้ชายวัยทอง” มักจะมีอาการต่าง ๆ ดังนี้

วัยทองป้องกันได้

  • หมดแรง หมดความกระตือรือร้น อ่อนเพลีย เบื่ออาหาร ปวดเมื้อยเนื้อตัว นอนมาก หรือนอนไม่หลับสนิท ก้าวร้าว
  • อ้วน กระดูกพรุน หลังโก่ง เป็นโรคหัวใจ
  • เครียด ซึมเศร้า เบื่อ อารมณ์เสียบ่อย จู้จี้จุกจิก ไม่มั่นคงทางอารมณ์
  • ไม่อยากเข้าสังคม ปลีกตัว พูดจาไม่เข้าหูคนอื่น ไม่มีเหตุผล
  • หมดอารมณ์ทางเพศ มีปัญหาการแข็งตัวของอวัยวะเพศ

อาการวัยทองในผู้หญิง

ผู้หญิงวัยทอง หรือ วัยหมดประจำเดือน (Menopause) มักจะมีอาการความผิดปกติทั้งทางร่างกายและจิตใจต่าง ๆ มากมาย ได้แก่

วัยทองป้องกันได้

  • มีอาการร้อนวูบวาบ หนาวๆร้อนๆ
  • ชาตามปลายมือ ปลายเท้า
  • เหงื่อออกง่าย และมักจะมีเหงื่อออกในเวลาลงทาเช่นหงุดหงิดง่าย โมโหง่าย ใจน้อย ซึมเศร้า
  • บางรายมีอารมณ์ทางเพศลดลง
  • ช่องคลอดแห้ง แสบ
  • ปัสสาวะบ่อยและกลันปัสสาวะไม่อยู่
  • ระยะหลังหมดระดูไปนานแล้วปัญหาทีพบ ได้แก่ กระดูกพรุน โรคหลอดเลือดหัวใจ และสมองเสื่อม

ปัญหาเหล่านี้ เป็นผลมาจากการที่รังไข่ทำงานน้อยลง ทำให้ทั้งฮอร์โมนเอสโตรเจน(Estrogen) โปรเจสเทอโรน (Progesterone) หรือแม้แต่ฮอร์โมนเทสโทสเตอโรน (Testosterone) ลดต่ำลงนั่นเอง

อ่านมาถึงตรงนี้แล้วหลายคนน่าจะพอสำรวจตัวเองดูว่าเข้าข่ายดังกล่าวแล้วหรือไม่ หากมีอาการดังกล่าวแนะนำให้ไปตรวจสุขภาพเพื่อพูดคุยปรึกษาปัญหาสุขภาพกับคุณหมอ เพื่อวางแผนการรักษาภาวะดังกล่าว เพราะจะได้ทำให้เราได้วางแผนดูแลตัวเองได้ถูกต้องและเหมาะสมมากที่สุด

เข้าสู่วัยทองอย่างเข้าใจ ตรวจเช็คร่างกายสม่ำเสมออย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง

  • ตรวจเช็คความดันโลหิต
  • ตรวจเลือดหาระดับไขมัน
  • ตรวจภายในเช็คมะเร็งปากมดลูก
  • ตรวจหามะเร็งเต้านม
  • ตรวจหาความหนาแน่นของกระดูก
  • ตรวจระดับของฮอร์โมนที่เกี่ยวข้องกับวัยทอง
วัยทองป้องกันได้

ในปัจจุบันเราสามารถดูแลและป้องกัน “วัยทอง” ได้ด้วยการรักษาสมดุลฮอร์โมน ก็จะช่วยช่วยชะลอ และ ลดความรุนแรงของอาการวัยทองได้ และยังช่วยป้องกันโรคความเสื่อมต่างๆที่มักเกิดเมื่ออายุเพิ่มมากขึ้น ทำให้เรามีความสุขกับชีวิตได้นานขึ้น เพียงไม่มองข้ามปัญหาจากฮอร์โมนพร่องในวัยทองและรีบลงมือแก้ไข ป้องกัน บำบัด ให้ไวเท่านั้นเอง

สาขาที่ให้บริการ

  • สาขา โรงพยาบาลพระรามเก้า
    • เบอร์โทรศัพท์: 092-9936922
    • Line: @w9wellness
    • เวลาเปิด-ปิด: 08.00 – 17.00 น.
  • สาขา เพลินจิตเซ็นเตอร์
    • เบอร์โทรศัพท์: 099-4969626
    • Line: @wploenchit
    • เวลาเปิด-ปิด: 10.00 – 19.00 น.

Share : 

บทความที่เกี่ยวข้อง

ผู้คนยุคนี้ใช้เวลาอยู่กับการแข่งขันกันทำงาน เรียนหนังสือ ทำมาหากิน เราเติบโตขึ้นท่ามกลางความวุ่นวายมากมายที่มาพร้อมกับภาระหน้าที่ความรับผิดชอบที่เพิ่มขึ้น เราถูกสังคมหล่อหลอมความคิดมาให้ใช้เวลาให้มี

การสูบบุหรี่ทำให้เกิดผลกระทบต่อสุขภาพของประชากรทั่วโลก โดยในปี พ.ศ. 2560 พบว่าการสูบบุหรี่ได้คร่าชีวิตผู้คนไปเกือบ

• ภาวะขาดวิตามินหลายชนิด รวมทั้งภาวะขาดวิตามินดี มีความสัมพันธ์กับภาวะ ซึมเศร้า•

error: Content is protected !!