ค้นหา
ปิดช่องค้นหานี้

Vitamin B12 in Wellness & Preventive Medicine

Vitamin B12 มีความจำเป็นต่อการสร้างเม็ดลือดแดง การทำงานของระบบประสาททั้งส่วนกลางและส่วนปลาย มีส่วนสำคัญในกระบวนการเผาผลาญไขมันและโปรตีนในระดับเซลล์ (Methionine cycle) การกำจัดของเสีย การสังเคราะห์ DNA RNA โปรตีน และฮอร์โมนต่างๆ  

Vitamin B12 ในอาหารธรรมชาติโดยปกติจะจับอยู่กับโปรตีนจากสัตว์ เมื่อรับประทานเข้าไป จะต้องใช้กรด Hydrochloric acid และน้ำย่อยโปรตีนในกระเพาะอาหาร (Gastric Protease) ที่มากเพียงพอ เพื่อแยกวิตามินบี 12 ออกมาก่อน จึงจะสามารถดูดซึมเข้าสู่ร่างกายได้

Vitamin B12

การขาดวิตามินบี 12 เป็นภาวะที่พบได้บ่อยในประชากรทั่วไป (Vitamin B12 deficiency is common in general population) โดยเฉพาะในกลุ่มผู้สูงอายุ และกลุ่มผู้ที่ทานมังสวิรัติอย่างเข้มงวด

แต่จากงานวิจัย Framingham Offspring Study ที่ตีพิมพ์ในปี 2000 กลับพบว่า ในปัจจุบัน กลุ่มคนที่อายุน้อย (26-49 ปี) ก็พบภาวะขาดวิตามินบี 12 ได้ในอัตราที่ไม่แตกต่างกันกับกลุ่มผู้สูงอายุ [1]

อาการที่ขาดวิตามิบี 12

อาการของคนที่ขาดวิตามินบี 12 ค่อนข้างมีความหลากหลาย (highly polymorphic) ทั้งในแง่ความรุนแรง และพบความผิดปกติร่วมกันได้ในหลายระบบ หลายอวัยวะ อาจพบได้ตั้งแต่อาการชาปลายประสาทเล็กน้อย หรือพบความผิดปกติของเม็ดเลือดแดง โดยไม่มีอาการเลยก็ได้ บางคนอาจมาด้วยอาการเหนื่อยง่าย อ่อนเพลีย หดหู่ ซึมเศร้า จนถึงอาการรุนแรงมาก เช่น เดินเซ (Ataxia) กระดูกสันหลังคด (sclerosis of the spinal cord) เม็ดเลือดแดงแตก (hemolytic anemia) หรือ ไขกระดูกไม่ผลิตเม็ดเลือด (pancytopenia) ก็ได้ [2]

เสี่ยงโรคโลหิตจาง

โรคโลหิตจางที่เกิดจากการขาดวิตามินบี 12 (Pernicious Anemia) เป็นโรค Autoimmune ที่เกิดการทำลาย เซลล์กระเพาะอาหาร (parietal cells) ทำให้หลั่งกรดได้ลดลง ดูดซึมวิตามินบี 12 ได้น้อยลง (Malabsorption) ไม่เพียงพอต่อการสร้างเม็ดเลือดแดง ซึ่งนอกจากอาการอ่อนเพลียเรื้อรังจากการขาดออกซิเจนในระดับเซลล์แล้ว ยังอาจมีอาการทางระบบประสาท เช่นได้ยินเสียงแปลกๆในหูได้อีกด้วย (Tinnitus) [3]

ชาปลายมือปลายเท้า

ภาวะขาด Vitamin B12 ทำให้เกิดอาการทางระบบประสาทได้หลากหลายรูปแบบ ทั้งชาปลายมือปลายเท้า จากปลายประสาทอักเสบ (peripheral neuropathy) ปวดเส้นประสาทใบหน้าเส้นที่ 5 (trigeminal neuralgia) หรือแม้แต่ปวดปลายประสาทที่หน้าแบบแปลกๆได้หลากหลายตำแหน่งและอาการ (isolated facial neuralgia) ทั้งปวดตื้อๆ (dull pain) ปวดแปล๊บๆ (sharp shooting) และปวดเลื่อนเปลี่ยนที่ไปเรื่อยๆ (Fleeting) ได้ [4]

ระบบประสาทและสมอง

การขาด Vitamin B12 ส่งผลต่อความคิด ความจำ การรับรู้ และประสิทธิภาพของสมอง (Cognitive functions) รวมถึงยังมีความสัมพันธ์กับโรคความเสื่อมของระบบประสาท (Neurodegenerative diseases) เช่น สมองเสื่อม และ Alzheimer’s โดยสัมพันธ์กับระดับ Homocysteine ที่สูงขึ้นด้วย [5] การเสริมวิตามินบี 12 ในคนที่ขาด สามารถช่วย Improve Cognition ของผู้ป่วยได้ [6]

เสี่ยงโรคหัวใจและหลอดเลือด

ระดับ Homocysteine ที่สูงขึ้นยังเป็นปัจจัยสำคัญ (Independent Risk Factor) ของโรคหัวใจและหลอดเลือด [7] ซึ่งเป็นโรคที่มีอัตราการตายสูงที่สุดในปัจจุบันนี้ แม้ว่าหลากหลายงานวิจัยเชิงป้องกัน (Prevention Trials) ยังมีข้อสรุปที่แตกต่างกันในแง่ของ การเสริมวิตามิบี เพื่อป้องกันโรคหลอดเลือดหัวใจและสมองเฉียบพลัน (Major Cardiovascular Events) และการลดอัตราตายรวม (Total Mortality Rate)  แต่สมาคมโรคหัวใจอเมริกา ก็สรุปว่า มีหลักฐานเพียงพอที่จะสนับสนุนการใช้วิตามินบี เพื่อลดความเสี่ยงโรคหัวใจและหลอดเลือดได้ (The American Heart Association has concluded that the available evidence is adequate to support a role for B vitamins in reducing cardiovascular risk) [7]

ตรวจเช็กระดับขาดวิตมินบี 12

การประเมินภาวะขาดวิตามินบี 12 จากการตรวจวัดระดับวิตามินบี 12 จากเลือดโดยตรง (Serum B12 Level) พบว่าไม่ค่อยแม่นยำ และไม่สะท้อนถึงระดับวิตามินบี 12 ในระดับเซลล์ (Intracellular B12 Concentrations) การตรวจระดับโฮโมซีสเทอีน อาจช่วยให้ข้อมูลเพิ่มขึ้น แต่ก็ยังไม่ค่อยจำเพาะเจาะจง ต่อภาวะขาดวิตามินบี 12 อย่างเดียว (Poor Specificity) การตรวจระดับกรดอินทรีย์ Methylmalonic acid ถือว่าเป็นตัวชี้วัดที่แม่นยำ และน่าเชื่อถือที่สุด [8,9] เพราะสะท้อนถึงการทำงานในระดับเซลล์ที่แท้จริง (Functional indicator of tissue level deficiency)

สรุป 4 กลุ่มอาการหลัก ของผู้ที่ขาดวิตามินบี 12

  • อ่อนเพลียไม่ทราบสาเหตุ (malaise and fatigue) เหนื่อยง่าย ร่างกายอ่อนแอ กล้ามเนื้ออ่อนแรง โลหิตจาง
  • หดหู่ ซึมเศร้า (depression) มีปัญหาเรื่องการเรียนรู้ การตัดสินใจ และความจำเสื่อมได้ (dementia)
  • ชาตามปลายมือปลายเท้า เจ็บเส้นประสาทบริเวณใบหน้า (facial neuralgia) มีปัญหาเรื่องการทรงตัว
  • ผิวและลิ้นซีดเหลือง เจ็บลิ้น ลิ้นอักเสบ (glossitis) มีแผลในปาก หรือแผลพุพองที่ริมฝีปาก (cold sore)

สรุป 5 กลุ่มเสี่ยง ต่อการขาดวิตามินบี 12  

  • ผู้ที่มีอาการทางระบบทางเดินอาหารเรื้อรัง (chronic dyspepsia) ซึ่งส่งผลต่อการดูดซึมวิตามินและสารอาหาร
  • ผู้สูงอายุ มากกว่า 50 ปี พบว่าดูดซึมวิตามินบี 12 ได้ลดลง ร่วมกับทานอาหารได้น้อย และหลีกเลี่ยงเนื้อสัตว์
  • ผู้ที่รับประทานยาลดกรดเป็นประจำ ทำให้กรดออกมาน้อย ทำให้วิตามินบี 12 ไม่ถูกสลายออกจากอาหาร
  • ผู้ที่ทานมังสวิรัติอย่างเข้มงวดมาแล้วตั้งแต่ 2 ปีขึ้นไป จำเป็นต้องได้รับวิตามินบี 12 เสริม
  • ผู้ป่วยเบาหวานที่รับประทานยา Metformin เป็นระยะเวลานาน ควรได้รับการตรวจ และชดเชยวิตามินบี 12

References:
[1] Plasma vitamin B12 concentrations related to intake source in the Framingham Offspring Study, The American Journal of Clinical Nutrition (2000)
[2] B12 Deficiency: A Look Beyond Pernicious Anemia, The Journal of Family Practice (2007)
[3] Tinnitus as a presenting symptom in Pernicious Anemia, Ann Otol Rhinol Laryngol (1979)
[4] Facial Neuralgia may be link to vitamin B12 deficiency, Neurology Review (2009)
[5] B-Vitamins and Prevention of Dementia, The Proceedings of The Nutrition Society (2008)
[6] Cognitive impairment and Vitamin B12, International Psychogeriatrics (2012)
[7] Diet and lifestyle recommendations revision 2006: a scientific statement from the American Heart Association Nutrition Committee. Circulation (2006)
[8] Cobalamin and Folate Evaluation: Measurement of Methylmalonic acid and Homocysteine VS Vitamin B12 and Folate, Clinical Chemistry (2000)
[9] Measurement of Methylmalonic acid, Homocysteine and Methionine in Cobalamin and Folate deficiencies and Homocysteinurea, Tidsskr Nor Laegeforen (2008)

Share : 

บทความที่เกี่ยวข้อง

ยิ่งแก่ยิ่งท้องผูก ปัญหาท้องผูกสามารถเกิดขึ้นได้กับทุกเพศทุกวัย แต่จะพบได้บ่อยและเยอะในผู้สูงอายุ ซึ่งในประเทศไทยพบ คนแก่ท้องผูก

อ้วนขึ้นโดยไม่มีสาเหตุ น้ำหนักลงเองโดยไม่ตั้งใจ รูปร่างเปลี่ยนไปจนคนต้องเข้ามาทัก! อาจไม่ใช่เรื่องดีสำหรับบางคน เพราะนั่นอาจหมายถึงความผิดปกติของต่อม

อ้วนลงพุง อย่ามองว่าเป็นเรื่องปกติ “อ้วนลงพุง” ผู้หญิงหลายคนคงไม่มีใครชอบ แต่รู้หรือไม่ว่าที่จริงแล้วสาเหตุที่อ้วนลงพุงอยู่นี้อาจเสี่ยงภาวะโรคถุงน้ำรังไข่หลายใบ

error: Content is protected !!