การนอนหลับช่วยซ่อมแซมส่วนต่างๆ ของร่างกายให้ดีขึ้น แต่การ นอนไม่พอ ก่อให้เกิดภาวะซึมเศร้า นอนกรน ง่วงซึมมากระหว่างวัน ไม่มีสมาธิระหว่างการทำงาน โรคหลอดเลือดสมอง โรคอ้วน โรคความดันเลือดสูง โรคเบาหวาน ภาวะวิตกกังวล รวมถึงอุบัติเหตุ เป็นต้น
นอนไม่พอ อาจเกี่ยวกับจุลินทรีย์ในลำไส้
เมื่อก่อนเราจะรู้กันแค่ว่า “ลำไส้” ทำหน้าที่เกี่ยวข้องกับการ “ย่อยอาหาร” แต่จริงๆ แล้วเนี่ย ลำไส้ทำหน้าที่เกี่ยวข้องกับการนอนด้วย เนื่องจากลำไส้ของเรา สามารถสร้างสารสื่อประสาทที่ชื่อว่าสารเซโรโทนิน (Serotonin) ได้ถึง 80-90% ของ Serotonin ที่ร่างกายเราสร้างได้ในร่างกาย จึงเปรียบลำไส้เสมือนสมองที่ 2 ของเราได้เลย
โดยมีผู้อยู่เบื้องหลังก็คือจุลินทรีย์ในลำไส้นั่นเอง จุลินทรีย์ในลำไส้มีมากถึง 100 ล้านล้านตัว หรือเทียบเป็นน้ำหนักก็ประมาณ 2 กิโลกรัมเลยทีเดียว
ดังนั้น เมื่อจุลินทรีย์ในลำไส้เสียทำงานได้อย่างสมดุล ก็จะทำให้มีการสร้างสารที่ชื่อว่า Short Chain Fatty Acid หรือไขมันเส้นเล็กๆ มากระตุ้นการทำงานของเซลล์ในลำไส้ซึ่งชื่อว่า EC Cell (Enterochromaffin Cells) โดย EC Cell ก็จะทำงานในการสร้างเซลล์ภูมิคุ้มกันแล้วก็เกี่ยวกับสารสื่อประสาทที่ชื่อว่า เซโรโทนิน (Serotonin) ด้วย
เมื่อไรที่ร่างกายของเรามีความไม่สมดุลในการทำงานของจุลินทรีย์ในลำไส้ ก็จะทำให้สารเซโรโทนิน (Serotonin) ทำงานได้ไม่สมดุลได้เหมือนกัน มีผลทำให้การนอนของเรามีปัญหาได้ อย่างเช่น
- นอนไม่หลับ ตื่นกลางดึกบ่อย (หลับๆ ตื่นๆ)
- หงุดหงิดง่าย กระสับกระส่าย
- รู้สึกอ่อนเพลีย
- ไม่มีสมาธิในการทำงาน ตื่นมาไม่สดชื่น
แล้วก็นอนจากนี้จะมีผลเกี่ยวกับเรื่องของอารมณ์ด้วย อย่างเช่น
- หงุดหงิดง่าย
- ซึมเศร้า
- หรืออารมณ์แปรปรวนได้
แต่หากพบอาการอย่างใดอย่างหนึ่งมากกว่า 2 สัปดาห์ ให้สงสัยไว้ว่าเรากำลังมีภาวะนอนไม่หลับเรื้อรัง นอนไม่พอ และควรเข้ารับคำปรึกษา ที่ปลอดภัยและเหมาะสมต่อไป
เมื่อไรก็ตามที่เรามีอาการเหล่านี้ร่วมกับปัจจัยเสี่ยงที่หมอกำลังจะบอกนั่นก็คือ
- ความเครียดสะสม
- อาหาร โดยเฉพาะของหวาน สารให้ความหวานแทนน้ำตาล อาหารแปรรูป
- สารพิษ สารโลหะหนัก พลาสติก ที่ปนเปื้อนมากับอาหาร น้ำดื่ม เมคอัพ โลชั่น
- ยา โดยเฉพาะยาปฏิชีวนะ (ยาฆ่าเชื้อ) ยาลดกรด
เมื่อเราละเลยเป็นเวลานานๆ ก็จะทำให้จุลินทรีย์ในลำไส้เกิดความไม่สมดุลได้ แล้วก็จะมีผลต่อการสร้างสารสื่อประสาทที่ชื่อว่าสารเซโรโทนิน (Serotonin) ได้เหมือนกัน
และนอกจากปัญหาการนอนที่ส่งผลต่อสมดุลของจุลินทรีย์ในระบบทางเดินอาหารโดยตรงแล้ว ชนิดของอาหาร เช่น อาหารประเภทไขมัน แอลกอฮอล์ และการับประทานอาหารผิดเวลา ล้วนเป็นปัจจัยที่รบกวนสมดุลของจุลินทรีย์ในระบบทางเดินอาหาร จากการรบกวนนาฬิกาชีวิตของเรานั่นเอง
ดังนั้น ใครที่มีอาการร่วมด้วยกับปัจจัยเหล่านี้ หมอก็แนะนำให้มาตรวจเช็กความไม่สมดุลของจุลินทรีย์ในลำไส้ เพื่อที่ว่าเราจะได้วางแผนการรักษาได้อย่างถูกต้องแล้วก็ต้องจุด