Search
Close this search box.

มะเร็งบางชนิดมีการถ่ายทอดทางพันธุกรรม โดยปกติแล้วทุกคนมียีนก่อมะเร็งที่ติดตัวมาตั้งแต่กำเนิดเป็นพื้นฐานอยู่แล้ว แต่ไม่ได้ทำให้เป็นมะเร็ง ขึ้นอยู่ที่ว่ายีนนั้นจะกลายพันธุ์จนก่อให้เกิดมะเร็งหรือไม่ ปัจจุบันการตรวจยีนหรือ

จากสถิติปี 2563 พบมะเร็งปากมดลูกในสตรีไทยเป็นอันดับ 2 รองจากมะเร็งเต้านม

มะเร็งตับและท่อน้ำดี ถือเป็นมะเร็งที่พบเป็นอันดับ 1 ในเพศชาย และอันดับ

มะเร็งลำไส้ใหญ่ มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง พบมากเป็นอันดับ 3 ในผู้ชาย อันดับ 2 ในผู้หญิง ซึ่งมีผู้ป่วยรายใหม่วันละ 44 คน หรือ 15,939 คน/ปี และมีผู้เสียชีวิตวันละ 15 คน หรือ 5,476 คน/ปี จริงๆ แล้วโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่เราสามารถป้องกันได้ด้วย การตรวจคัดกรองมะเร็ง เพราะหากเราตรวจพบตั้งแต่ระยะเริ่มต้นจะทำให้การรักษาได้ผลดี และมีโอกาสหายจากโรคสูง โดยเฉพาะผู้ที่มีอายุ 50 ปีขึ้นไป ควรตรวจคัดกรองมะเร็งทุกปี ที่มา : สถิติสาธารณสุข พ.ศ. 2562 กองยุทธศาสตร์และแผนงาน สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข โรคมะเร็งลำไส้ใหญ่ (Colon Cancer) คืออะไร โรคมะเร็งลำไส้ใหญ่ คือ การที่มีก้อนเนื้อเกิดขึ้นในลำไส้ใหญ่ และเนื่องจากลำไส้ใหญ่มีลักษณะเป็นท่อ เมื่อมีก้อนเนื้อเกิดขึ้นก็จะทำให้รูลำไส้ใหญ่ตีบลง อุจจาระที่ผ่านมาทางลำไส้ใหญ่ก็จะออกลำบากเพิ่มขึ้น จึงสะสมอยู่ข้างใน ส่งผลให้ให้ท้องอืด แน่นท้อง อึดอัดมากขึ้น เมื่อทางออกตีบ แคบลง อุจจาระที่จะผ่านออกมาจากที่เป็นก้อนก็จะเล็กลง และเนื่องจากก้อนเนื้อมะเร็งจะมีความยุ่ย ถลอกได้ง่ายกว่าเนื้อเยื่อธรรมดา […]

โรคมะเร็งเต้านม คือสาเหตุการเสียชีวิตอันดับ 1 ของผู้หญิงไทย โดยในช่วงชีวิตของผู้หญิงไทย 1 ใน 10 คน จะมีโอกาสเป็น “โรคมะเร็งเต้านม” และมีผู้หญิงไทยตายด้วยโรคมะเร็งเต้มนมเฉลี่ยวันละ 12 คน แต่หากได้รับการตรวจเช็กและรักษา แต่หากได้รับการตรวจเช็กและรักษาในช่วงระยะเวลาเริ่มต้นจะมีโอกาสรักษาให้กลับมาปกติได้สูง ซึ่งเราสามารถทำการตรวจคัดกรอง มะเร็งเต้านม ได้ตั้งแต่เนิ่นๆ เพื่อจะได้วินิจฉัยและสามารถรักษาได้ทันท่วงที รู้จักและเข้าใจ มะเร็งเต้านม ขึ้นชื่อว่ามะเร็งพอใครได้ยินก็มีความกลัวกันทั้งนั้น โดยเฉพาะ มะเร็งเต้านม ในผู้หญิงที่ถือเป็นภัยเงียบที่พบได้มากที่สุด โดยมะเร็งเต้านมนั้นเกิดจากเซลล์ของเต้านมที่มีการแบ่งตัวอย่างผิดปกติ เหนือการควบคุมของร่างกายและเปลี่ยนแปลงเป็นเซลล์มะเร็ง ส่วนใหญ่มักเกิดที่ภายในท่อน้ำนม และสามารถกระจายออกจากท่อน้ำนม ไปที่ต่อมน้ำเหลืองที่รักแร้และอวัยวะอื่นๆ ที่ไกลออกไป ฮอร์โมนเพศหญิงมีความสัมพันธ์กับมะเร็งเต้านม แม้ว่าโรคมะเร็งเต้านมยังไม่มีข้อมูลแน่ชัดว่ามีสาเหตุมาจากอะไร แต่ฮอร์โมนเพศหญิงเองก็มีความสัมพันธ์ในการเกิดมะเร็งเต้านมได้เหมือนกัน ผู้หญิงเป็นมะเร็งเต้านมมากกว่าผู้ชายถึง 100 เท่า ช่วงเวลาในการมีประจำเดือน โดยพบว่าผู้ที่มีประจำเดือนครั้งแรกเมื่ออายุน้อย หรือหมดประจำเดือนช้า มีความเสี่ยงมากขึ้นในการเกิดมะเร็งเต้านม ผู้หญิงที่ไม่เคยมีบุตรหรือตั้งครรภ์ครั้งแรก เมื่ออายุมากกว่า 30 ปี มีความเสี่ยงในการเกิดมะเร็งเต้านมมากกว่าคนที่ตั้งครรภ์เมื่ออายุยังน้อย ผู้หญิงที่ใช้ยาคุมกำเนิดมากกว่า 5 ปี หรือได้รับฮอร์โมนเอสโตรเจนทดแทนหลังหมดประจำเดือนเป็นระยะเวลานานกว่า 2 ปี จะเพิ่มความเสี่ยงของมะเร็งเต้านมมากขึ้น ใครมีความเสี่ยงสูงในการเป็นมะเร็งเต้านมมากกว่าผู้หญิงทั่วไป […]

การสูบบุหรี่ทำให้เกิดผลกระทบต่อสุขภาพของประชากรทั่วโลก โดยในปี พ.ศ. 2560 พบว่าการสูบบุหรี่ได้คร่าชีวิตผู้คนไปเกือบ

โรคมะเร็ง เป็นโรคที่พบมากและเป็นสาเหตุการเสียชีวิตอันดับต้นๆ ของคนทั่วโลก และมีแนวโน้มว่าจำนวนเพิ่มขึ้นทุกปี องค์การอนามัยโลกคาดการณ์ว่าในปี ค.ศ.2030 จะมีผู้ป่วยโรคมะเร็งเพิ่มขึ้น 21.4 ล้านคน และคาดว่าจะมีผู้เสียชีวิตราว 13 ล้านคน สำหรับประเทศไทย โรคมะเร็งเป็นสาเหตุการเสียชีวิตอันดับ 1 รองลงมาคือ โรคหลอดเลือดในสมอง เราสามารถลดความเสี่ยงได้ด้วยการ เช็กความเสี่ยงโรคมะเร็ง ทุกปี เอกสารอ้างอิง : วารสารกรมการแพยท์  โรคมะเร็งที่พบมาก 5 อันดับแรกในเพศชาย ได้แก่ มะเร็งตับและท่อน้ำดี มะเร็งปอด มะเร็งลำไส้ใหญ่และทวารหนัก มะเร็งต่อมลูกหมาก และมะเร็งต่อมน้ำเหลือง ส่วนมะเร็งที่พบมาก 5 อันดับแรกในเพศหญิง ได้แก่ มะเร็งเต้านม มะเร็งตับและท่อน้ำดี มะเร็งปากมดลูก มะเร็งลำไส้ใหญ่และทวารหนัก และมะเร็งปอด เช็กความเสี่ยงโรคมะเร็ง สาเหตุของการเกิดมะเร็ง ปัจจุบันยังไม่ทราบสาเหตุที่แน่ชัด แต่พบว่าปัจจัยที่ก่อให้เกิดโรคมะเร็งส่วนใหญ่มาจากปัจจัยภายนอก ไม่ใช่เรื่องของพันธุกรรมในครอบครัวเพียงอย่างเดียว เพราะในปัจจุบันเราพบว่าการใช้ชีวิตของคนเปลี่ยนไป โดยเฉพาะคนในเมืองที่มีความเครียดเพิ่มมากขึ้น พักผ่อนน้อย รับประทานอาหารไขมันสูง ขาดการออกกำลังกาย สูบบุหรี่และดื่มแอลกอฮอล์เป็นประจำ จึงทำให้มีกลุ่มคนที่เป็นโรคมะเร็งเพิ่มจำนวนขึ้นทุกปี สัญญาณอันตรายเสี่ยงมะเร็ง ระบบขับถ่ายที่เปลี่ยนไป […]

เราเข้าใจกันมาโดยตลอดว่า “พันธุกรรม” เป็นตัวกำหนดที่ทำให้เรามีรูปร่างหน้าตาคล้ายคลึงกับพ่อแม่ แต่ทำไมฝาแฝดแท้ๆ กลับมีนิสัยที่ต่างกัน

thThai