Chelation Therapy
5,000.00 ฿
“คีเลชั่นบำบัด” คือการให้ยาหรือสารเคมีเข้าไปในร่างกายเพื่อกำจัดสารโลหะหนัก เช่น สารตะกั่ว สารปรอท สารหนู และสารโลหะที่เป็นประโยชน์ต่อร่างกาย แต่ไม่อยู่ในตำแหน่ง ที่ควรจะเป็น เช่น ธาตุเหล็กทองแดง สังกะสีที่จับอยู่ในผนังหลอดเลือดและอวัยวะต่างๆ ให้ออกจากร่างกาย
คีเลชันบําบัด เป็นการรักษาทีได้รับการรับรองมาตรฐาน จากสมาคมการแพทย์คีเลชั่นไทย ซึ่งมีงานวิจัยรองรับโดยองคการอาหารและยาสหรัฐอเมริกา
รายละเอียด
กลุ่มเสี่ยงที่ห้ามทำคีเลชั่นบำบัด
- ผู้ป่วยไตวาย
- หญิงตั้งครรภ์
- ผู้แพ้สาร EDTA
- ผู้ที่มีภาวะสมองผิดปกติจากตะกั่วเฉียบพลัน
- ผู้ที่มีภาวะต่อมไทรอยด์ทำงานต่ำกว่าปกติ
- ผู้ที่ได้รับการผ่าตัดต่อมไทรอยด์
ข้อควรระวังในการทำคีเลชั่นบำบัด
- ควรเข้ารับการปรึกษาจากแพทย์อย่างใกล้ชิดก่อนทำคีเลชั่น
- ผู้ที่รับประทานยาต้านการแข็งตัวของเลือด
- ผู้ที่มีภาวะหัวใจล้มเหลว
- ผู้ที่มีภาวะไตบกพร่อง
- โรคตับ
- โรคความดันโลหิตสูงที่ไม่สามารถควบคุมให้อยู่ในระดับปกติได้
- ผู้ที่มีโรคเกี่ยวกับความผิดปกติในการแข็งตัวของเลือด เช่น G6PD
การเตรียมตัวก่อนและระหว่างคีเลชั่นบำบัด
1. ระยะเวลาในการบริการ ต่อครั้ง ประมาณ 2.5-3 ชม.
2. ระหว่างที่ให้น้ำเกลือสามารถผักผ่อน ดูโทรทัศน์ อ่านหนังสือ หรือฟังเพลง ได้ตามปกติหลังจากนั้น
สามารถประกอบกิจกรรมได้ตามปกติไม่จำเป็นต้องนอนพัก
3. ควรพบแพทย์ตรวจร่างกายเพื่อประเมินปัญหาที่เป็น โดยเฉพาะอย่างยิ่ง
การตรวจประสิทธิภาพการทำงานของไต ก่อนการเข้ารับบริการในครั้งแรก
4. ระหว่างการรักษา ควรพักผ่อนให้เพียงพอ ดื่มน้ำมากขึ้น แนะนำให้ดื่มน้ำผลไม้
เพราะระหว่างทำอาจทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดลดลง
5. รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ มีวิตามิน แร่ธาตุ พอเพียงต่อการเสริมสร้างและซ่อมแซมร่างกาย

สารพิษ คุณได้รับสารพิษโดยไม่รู้ตัว จากภาชนะใกล้ตัวไปแล้วเท่าไร ?
สารพิษ (Toxic) ในช่วงเวลาที่ใครต่อใครต่างหันมาใส่ใจสุขภาพกันมากขึ้น โดยการเพิ่มความระมัดระวังเพื่อป้องกันสิ่งแปลกปลอม หรือ สารพิษ (Toxic) ต่างๆ ทั้งจา […]

อัลไซเมอร์ รู้ก่อน ป้องกันได้ (Functional Medicine approach for Alzheimer’s Prevention)
เนื่องจากโรคอัลไซเมอร์ สามารถถ่ายทอดทางพันธุกรรมได้ และปัจจัยทางพันธุกรรม อาจมีผลมากถึง 80%