ฮอร์โมน ถือว่าเป็นกุญแจสำคัญของร่างกายเลยก็ว่าได้ เพราะเมื่อไหร่ที่ร่างกายหรือฮอร์โมนในร่างกายตัวใดตัวนึงมีการเสียสมดุล จะส่งผลต่อทุกระบบในร่างกายของเรา ไม่ว่าจะเป็นการนอนไม่หลับ เป็นสิวเยอะ อ้วนง่าย ลดน้ำหนักยาก ระบบเผาผลาญผิดปกติ ซึมเศร้า และอื่นๆ อีกมากมาย ล้วนแล้วแต่มีสาเหตุมาจากฮอร์โมนที่ไม่สมดุล โดยเฉพาะคุณผู้หญิงที่ประจำเดือนมาไม่เป็นปกติ หรือมาไม่สม่ำเสมอ การมาปรับสมดุลฮอร์โมน หรือ ตรวจฮอร์โมนผู้หญิง จึงช่วยให้ระบบต่างๆ ของร่างกายกลับมาทำงานได้ดียิ่งขึ้น
ฮอร์โมนไม่สมดุล เกิดจากอะไร
สำหรับปัจจัยที่ทำให้เกิดการไม่สมดุลของฮอร์โมนในเพศหญิง ก็มีตั้งแต่เรื่องของ สารอาหาร สารพิษในร่างกาย การที่เราได้รับฮอร์โมนจากสิ่งแวดล้อมโดยที่เราไม่เคยรู้ตัว เช่น ผลิตภัณฑ์พลาสติกต่างๆ ที่เราไม่เคยรู้ว่าจริงๆ เป็นฮอร์โมน Disruptors รวมถึงการใช้ยาหรือผลิตภัณฑ์บางตัว เช่น บางคนใช้ยาคุมกำเนิด หรือว่าใช้ฮอร์โมน ก็มีผลที่จะทำให้ฮอร์โมนไม่สมดุลได้
ยกตัวอย่างเช่น เวลาที่เราจะเป็นประจำเดือน บางคนก็จะมีอารมณ์ค่อนข้างขี้น้อยใจ หรือว่าอารมณ์เหวี่ยงวีน เซนซิทีฟง่าย ตรงนี้ก็ถือว่าเป็นการเปลี่ยนแปลงของระดับฮอร์โมนที่ไม่สมดุล หรือคุณแม่หลังคลอด ก็จะมีปัญหาเรื่อง มาม่าบลู (Mama blues) หรือ เบบี้บลู (Baby blues) ก็ล้วนเกี่ยวข้องกับเรื่องของฮอร์โมนไม่สมดุล
ทำไมต้องตรวจฮอร์โมนเพศหญิง
สำหรับเรื่องของฮอร์โมนกับผู้หญิงเรียกได้ว่าเป็นของคู่กันเลย โดยในแต่ละช่วงวัยก็จะมีความเกี่ยวข้องกับฮอร์โมน การตรวจฮอร์โมน เป็นการตรวจสมดุลและการเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมน เพื่อประเมินความผิดปกติของเหล่าอาการไม่พึงประสงค์ที่เกิดขึ้นก่อนการเกิดโรค ทั้งระบบเผาผลาญ การเสริมสร้างกล้ามเนื้อ การควบคุมอารมณ์ ความเครียด ความรู้สึกทางเพศ และการเจริญพันธุ์ เพื่อหาแนวทางการปรับให้ฮอร์โมนกลับมาสมดุลอีกครั้ง
- ช่วงเด็ก-วัยรุ่น จะเริ่มมีปัญหาเรื่องการเป็นสิว การมีประจำเดือน บางครั้งก็เกี่ยวข้องกับฮอร์โมน หรือช่วงก่อนมีประจำเดือนจะมีเรื่องของอารมณ์ เรื่องของความเหวี่ยงเกิดขึ้นได้
- ช่วงของวัยเจริญพันธุ์ ก็จะเกี่ยวข้องกับการที่จะอยากมีบุตร หรือมีบุตรยาก
- หรือบางคนมีเรื่องของน้ำหนักตัว ระบบเผาผลาญผิดปกติ
ช่วงหลังๆ คนไข้ที่มาปรึกษาเรื่องฮอร์โมนวัยทอง ที่ W9 Wellness เกี่ยวกับเรื่องของการหมดประจำเดือน ถ้าจะหมดประจำเดือนแล้วเราจะป้องกันอาการในช่วงวัยหมดประจำเดือนยังไงได้บ้าง การมาตรวจฮอร์โมนก็จะช่วยวางแผนได้
อาการสัญญาณเตือนฮอร์โมนเพศหญิงไม่สมดุล
- รอบเดือนมาไม่ปกติ
- นอนไม่ค่อยหลับในเวลากลางคืน แต่กลางวันนอนหลับดี
- เป็นสิวเยอะ รักษาแล้วไม่หาย
- มักหลงๆ ลืมๆ
- ปวดท้อง ท้องเสีย คลื่นไส้ อาเจียน มีอาการรุนแรงก่อนหรือในช่วงมีประจำเดือน
- เหนื่อยและอ่อนเพลียตลอดเวลา
- เครียดและอารมณ์แปรปรวน
- หิวบ่อย กินจุ น้ำหนักเพิ่ม ตัวบวม
- ปวดศีรษะ
- ช่องคลอดแห้ง ขาดน้ำหล่อลื่น
- มีความต้องการทางเพศลดลง
ใครที่ควรตรวจฮอร์โมนเพศหญิง
ในแง่ของทางเวชศาสตร์ชะลอวัยและเวชศาสตร์ป้องกัน สามารถตรวจได้ทุกช่วงอายุขึ้นอยู่กับปัญหาของแต่ละวัยเช่น
- วัยเด็ก อาจจะมีมาตรวจฮอร์โมนด้วยปัญหาพัฒนาการไม่ตรงไปตามวัย อาจจะพัฒนาการช้า ตัวสูงช้า หรือว่ามีการเรียนรู้ที่ช้า มีการเผาผลาญผิดปกติ
- วัยรุ่น วัยเรียน ก็จะเริ่มมีปัญหา เช่น สิวขึ้นเยอะมากเกินปกติ หรือว่าประจำเดือนมาผิดปกติ มาช้ามาเร็ว อาจจะมีปัญหาในเรื่องของการควบคุมอารมณ์ หรือพฤติกรรม การโฟกัสการตั้งใจในการเรียนรู้
- วัยทำงานหรือวัยกลางคน ก็จะ อาจจะมีปัญหาอีกกลุ่มนึง เช่น ปัญหาทางเพศ (Sex Health) ความรู้สึกที่ผิดปกติไป รู้สึกเปลี่ยนไป มีน้อยลง หรือว่ามากขึ้น หรือว่ามีปัญหาเรื่องของมีบุตรยาก รวมถึงจะมีอาการเหนื่อยเพลียมากผิดปกติก็ได้
- วัยสูงอายุ พอเริ่มอายุเยอะขึ้นในวัยเริ่มใกล้จะหมดประจำเดือนนี้ก็มีปัญหาอีก มีปัญหาเรื่องของฮอร์โมนที่ลดลง ก็จะเร่งความเสื่อม ความแก่ ในฝั่งของ Anti-aging ก็จะมาตรวจดูสมดุลฮอร์โมนแล้วก็ปรับสมดุลฮอร์โมนให้ปกติให้ให้สมดุลดีขึ้น เพื่อจะเพิ่มคุณภาพชีวิต
ตรวจฮอร์โมนเพศหญิง ต้องตรวจอะไรบ้าง
สำหรับรายการตรวจฮอร์โมนของผู้หญิง หลักๆ ที่แนะนำให้ตรวจ เพื่อดูหาความไม่สมดุลของร่างกาย ได้แก่
- Estradiol Hormone (E2) เป็นฮอร์โมนส์หลักในกลุ่มฮอร์โมนส์ Estrogen ที่มีความสำคัญด้านการเจริญเติบโต การปรับเปลี่ยนทางร่างกาย การตกไข่ วงรอบของประจำเดือน หากฮอร์โมนส์ E2 มีความผิดปกติจะส่งผลถึงวงรอบของประจำเดือน การมีบุตรยาก ไปจนถึงภาวะวัยทอง
- Sex Hormone Binding Globulin หรือ SHBG มีปริมาณต่ำกว่าปกติ SHBG คือโปรตีนในเลือดชนิดหนึ่ง มีหน้าที่ช่วยควบคุมปฏิกิริยาของฮอร์โมนเทสโทสเทอโรนที่มีต่อร่างกาย ปริมาณ SHBG ที่ต่ำลงจึงส่งผลให้ร่างกายผิดปกติจากฮอร์โมนเพศชายที่สูงขึ้น
- DHEAs (Dehydroepiandrosterone sulfate) เป็นฮอร์โมนที่ผลิตขึ้นจากต่อมหมวกไต ซึ่งเป็นฮอร์โมนตั้งต้นที่ร่างกายนำมาผลิตฮอร์โมนสำคัญๆ หลายชนิด เช่น ฮอร์โมนเพศ อย่าง เทสโทสเทอโรน หรือเอสโตรเจน โดยพบว่าระดับของฮอร์โมน DHEAs นั้น จะผลิตได้สูงสุดในช่วงอายุประมาณ 25 ปี และจะค่อยๆ ลดลงเมื่ออายุเพิ่มมากขึ้น
- Cortisol คือ ฮอร์โมนความเครียดตัวหลักของร่างกาย (Stress Hormone) ปกติร่างกายจะหลั่งออกมาปริมาณมากที่สุดในตอนเช้า ช่วยให้เรารู้สึกสดชื่นและมีพลังต่อสู้ในวันใหม่ของทุกวัน และจะลดลงเหลือเพียง 10% ในช่วงเย็น
- Parathyroid Hormone (PTH) หรือ พาราทอร์โมน เป็นฮอร์โมนที่ถูกหลั่งจากต่อมพาราไทรอยด์เป็นโพลีเพปไทด์ซึ่งมีกรดอะมิโน 84 ตัว ทำหน้าที่ในการเพิ่มระดับความเข้มข้นของแคลเซียมในเลือด ในขณะที่ฮอร์โมนแคลซิโตนิน (หลั่งจากต่อมไทรอยด์) ทำหน้าที่ลดความเข้มข้นของแคลเซียม
- Testosterone เป็นฮอร์โมนที่พบได้ทั้งในเพศชายและเพศหญิง ในส่วนของเพศหญิงนั้นทำหน้าที่สำคัญคือช่วยสร้างกล้ามเนื้อและมวลกระดูก เพิ่มประสิทธิภาพการทำงานของสมอง
- Luteinizing hormone: LH เป็นฮอร์โมนธรรมชาติที่ร่างกายสร้างขึ้นจากต่อมใต้สมอง (Pituitary gland) ฮอร์โมนดังกล่าวอยู่ในกลุ่มของฮอร์โมนที่เรียกว่าโกนาโดโทรฟิน (Gonadotropin) โดยฮอร์โมนลูทิไนซิงจะทำหน้าที่กระตุ้นอัณฑะในเพศชายและรังไข่ในเพศหญิง
- Progesterone คือฮอร์โมนเพศหญิงที่มีส่วนสำคัญในการควบคุมภาวะไข่ตกและการมีประจำเดือน ในปัจจุบันมีการสังเคราะห์ฮอร์โมนชนิดนี้ขึ้นเพื่อรักษาผู้หญิงที่ยังไม่เข้าสู่วัยทองแต่มีภาวะประจำเดือนขาดเนื่องจากร่างกายขาดฮอร์โมนดังกล่าว และยังใช้ควบคู่กับฮอร์โมนเอสโตรเจนเพื่อป้องกันเยื่อบุโพรงมดลูกหนาตัวจนเกินไปในผู้หญิงวัยหมดประจำเดือน
- Follicle Stimulating Hormone (FSH) คือ ฮอร์โมนกระตุ้นการเจริญของไข่ เป็นฮอร์โมนที่มีผลโดยตรงต่อวงจรของประจำเดือน หากมีระดับ FSH ต่ำเกินไป (มักจะพบในผู้หญิงที่มีอาการของโรค PCOS) หรือสูงเกินไป (อาจพบในผู้หญิงที่เข้าสู่ภาวะหมดประจำเดือนก่อนกำหนด) จะสามารถทำให้เป็นผู้มีบุตรยากได้
จริงๆ ผู้หญิงก็ต้องตรวจฮอร์โมนผู้ชาย ส่วนผู้ชายก็ต้อง ตรวจฮอร์โมนผู้หญิง ด้วยเพื่อดูความผิดปกติของฮอร์โมนที่ส่งผลต่อร่างกาย
- เอสโตรเจน (Estrogen) สำหรับผู้หญิงเป็นฮอร์โมนที่สำคัญมาก เพราะเป็นตัวที่ช่วยควบคุมระบบสืบพันธุ์ โดยส่วนมากเมื่ออายุเพิ่มขึ้น การผลิตฮอร์โมนเอสโตรเจนจะลดลง และส่งผลให้เกิดอาการที่เป็นสัญญาณของการเข้าสู่วัยทอง เช่น ร้อนวูบวาบ เหงื่อออกมาก วิงเวียนศีรษะง่าย หรือ หนาวสั่น บางคนที่เป็น Early Menopause ก็เพราะ ฮอร์โมนตัวนี้น้อยเกินไป
- เทสโทสเตอโรน (Testosterone) ก็ส่งผลต่อความแข็งแรงของกระดูก กล้ามเนื้อ และอารมณ์ทางเพศของผู้หญิงเช่นเดียวกัน ถ้าผู้หญิงมีเทสโทสเตอโรนมากเกินไป ก็อาจมีปัญหาประจำเดือนไม่สม่ำเสมอ ผิวมัน สิวขึ้น ขนดก ตรวจพบถุงน้ำที่รังไข่
การเตรียมตัวก่อนตรวจฮอร์โมนเพศหญิง
- ตรวจร่างกายและซักประวัติโดยแพทย์ เพื่อให้รู้สาเหตุของปัญหาอย่างชัดเจน โดยจะมีการตรวจร่างกายทั่วไป ชั่งน้ำหนัก วัดส่วนสูง วัดความดันโลหิต
- ตรวจเลือดเพื่อค้นหาความผิดปกติของฮอร์โมนต่างๆ เช่น ตรวจโรคความผิดปกติทางฮอร์โมน, ตรวจการทำงานของต่อมไทรอยด์, ต่อมหมวกไต, ตรวจระดับฮอร์โมนเพศหญิงและฮอร์โมนเพศชาย, ตรวจสารตั้งต้นของฮอร์โมนเพศ และตรวจหาระดับโปรตีนที่จับกับฮอร์โมนเพศ เป็นต้น
ตรวจฮอร์โมนเพศหญิงที่ไหนดี
ที่ W9 Wellness เรามีทีมแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้านการปรับสมดุลฮอร์โมนแบบองค์รวม พร้อมให้คำแนะนำคุณทั้งในด้านการปรับพฤติกรรมการใช้ชีวิต การรับประทานอาหาร การออกกำลังกายอย่างถูกต้อง รวมถึงการใช้วิตามินเสริม และการใช้ฮอร์โมนทดแทน อย่างปลอดภัย (Bio-identical Hormone Replacement therapy) เพื่อคืนความสมดุลให้แก่สุขภาพคุณ