รู้หรือไม่ การ WFH ที่ทุกคนทำกันอยู่ทุกวันนี้ ทุกคนกำลังอาศัยอยู่กับตัวร้ายที่เรามองไม่เห็น เพราะฉะนั้น วันนี้หมอจะมาเล่าให้ฟัง ว่าตัวนั้นคืออะไรครับ!
Climate Change กับผลกระทบต่อสุขภาพ

ต้องบอกว่าจริงๆ แล้ว ประเด็น Climate Change หรือว่าโลกร้อน จริงๆ ต้องบอกว่า เป็นประเด็นที่หลายๆ หน่วยงาน ไม่ได้เป็นแค่เรื่องของการแพทย์และพูดถึงกันนะครับ ซึ่งหมอต้องบอกว่าวันนี้ที่หมออยากจะนำเสนอ หรือว่าอยากจะเล่าให้ทุกคนก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ ภายในบ้านฟังนะครับคงเป็นเรื่องของ เหตุผลเพราะว่าตอนนี้เนี่ย หลายๆ คนอาจจะต้องทำงาน WFH แล้วรูปแบบ WFH ที่ทุกคนทำกัน ส่วนใหญ่เราจะมีการปิดประตู ปิดหน้าต่าง แล้วก็เปิดแอร์ เพื่อไม่ให้อากาศเย็นมันออกไป แล้วก็ไม่ให้อากาศร้อนเข้ามา
สิ่งที่เกิดขึ้นคือมันเลยไม่มีการแลกเปลี่ยนของอากาศภายในภายในอาคาร หรือบ้านกับภายนอกบ้าน โดยที่ออกซิเจนจะค่อยๆ ลดลงไปทีละนิด ทีละนิด แต่ไม่ถึงขั้นว่าทำให้เราขาดออกซิเจนตาย แต่สิ่งที่เกิดขึ้นคือ ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ มันจะเพิ่มขึ้นทีละนิดไปด้วยเหมือนกัน
ระดับก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ไม่ควรเกินเท่าไหร่?
หมอต้องบอกก่อนว่า โดยทั่วไปแล้วเนี่ย ระดับก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ ที่องค์การอนามัยโลกแนะนำว่า น่าจะไม่ได้มีผลกระทบกับสุขภาพของมนุษย์ โดยทั่วไปควรที่จะไม่เกิน 800 PM
จากวิจัยที่ลงไปสำรวจระดับก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ ไม่ว่าจะเป็น ภายในบ้าน ห้องประชุม หรืองห้องเรียนของเด็กอนุบาล เมื่อเวลาผ่านไปครึ่งวัน หรือประมาณ 4-6 ชั่วโมง ระดับก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์มีการเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ จนเกินถึงระดับมาตรฐานที่องค์การอนามัยโลกกำหนดไว้
ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์กับผลกระทบต่อสุขภาพ
หมอเชื่อว่าทุกคนน่าจะเริ่มสนใจแล้วว่าระดับก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ที่มันเกิน จะส่งผลอะไรกับร่างกายเราได้บ้าง

มีงานวิจัยพบว่า ระดับที่เวลาเราอยู่ในภาวะที่มี ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ เกินมาตรฐาน 800- 1000 PM ไปนานๆ มันจะส่งผลต่อสุขภาพทางอ้อม ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของการเสื่อมของร่างกายจากการทำให้เกิดสารอนุมูลอิสระ จากการที่ทำให้เกิดภาวะการอักเสบเรื้อรัง และมีงานวิจัยเกี่ยวทางคลินิกค่อนข้างเยอะ ว่ามีสัมพันธ์กับคุณภาพการนอน มีผลกระทบเรื่องภูมิแพ้ เพราะว่าระดับก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ที่มันคั่งในอากาศมากๆ เนี่ย ก็จะส่งผลทางอ้อม ในการระคายเคืองของเยื่อบุทางเดินหายใจ แล้วก็การทำงานของระบบภูมิคุ้มกันเองด้วย
เพราะฉะนั้นจริงๆ หมอจะบอกว่า ปัญหาก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ ภายในบ้านเนี่ยที่หลายๆ คนอาจจะยังไม่ทราบ หรือแม้แต่วงการแพทย์เรากันเองอาจจะยังไม่ค่อยพูดพูดถึงกัน เหตุผลเพราะว่า
- ไม่มีสี ไม่มีกลิ่น ตัวก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ มันไม่มีสี ไม่มีกลิ่น เราถึงไม่รับรู้ ถ้าเราไม่วัดเราจะไม่รู้เลย
- อาการไม่จำเพาะ ด้วยความที่อาการมันไม่จำเพาะ มันทำให้เราไม่เกิดความตระหนักนั้นเอง
เพราะฉะนั้นสิ่งที่หมอต้องการที่จะเล่าให้ทุกคนฟัง เหตุผลเดียวเลยก็คือว่า อยากให้ทุกคนร่วมกันในการจัดการหรือว่าลดคาร์บอนไดออกไซด์ภายในบ้าน นั่นเอง
3 วิธีลดก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ภายในบ้าน
1. เปิดหน้าต่างหรือเปิดประตู
ให้อากาศภายนอกเข้ามา ต้องบอกว่าเป็นวิธีที่ง่ายที่สุด แต่เราก็ต้องบอกว่ามีจุดอ่อน จุดอ่อนแรกเลยก็คือเรื่องของ PM 2.5 ในวันที่ PM 2.5 มันเยอะๆ เราอาจจะทำไม่ได้ใช่ไหมครับ อาจจะผ่อนหนักเป็นเบาได้ ถ้าเราเปิดเครื่องฟอกอากาศไว้มันก็จะช่วยได้


2. การปลูกพืชภายในบ้าน
มีต้นไม้หลายตัวเลย ไม่ว่าจะเป็น กวักมรกต ซาน่าดู ลิลลี่ หรือเดหลี่ ซึ่งต้องบอกว่าพืชพวกนี้มีงานวิจัยรองรับ ว่าสามารถที่จะดึงก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ เข้าไปทำปฎิกริริยาในกระบวนการสังเคราะห์แสงของมันได้ แต่เราก็ต้องบอกก่อนว่า ตัวมันเองมันก็ไม่ได้ทำงานที่จะดูดก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ ได้เยอะทันกับเรา ยิ่งในบ้านที่อยู่กันหลายๆ คนด้วยแล้ว เพราะว่าตัวต้นไม้เองก็มีอยู่ต้นเดียว ยกเว้นว่าเราจะปลูกเป็นสวนทั้งบ้านเลย อันนี้อาจจะรอดนะ
3. การติดเครื่องฟอกอากาศ
ต้องเป็นเครื่องฟอกอากาศแบบเจาะผนัง ข้อดีของวิธีนี้ก็คือ เราสามารถเปิดไปได้เลยตามปกติ สองมันก็สามารถลดก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ได้จริง จากที่หมอเคยได้ทดลองใช้หรือติดตั้งที่บ้าน แต่มันมีจุดอ่อนคือ ค่อนข้างมีราคา สองคือในพื้นที่ของห้องไม่สามารถใช้ได้ทั้งพื้นที่หรือทั้งบ้าน

ปัจจุบันเนี่ยต้องบอกว่าก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ มันก็มีวิธีจัดการที่อาจจะยังไม่ได้มีวิธีไหนที่ดีที่สุด เพียงแต่หมออยากจะแนะนำว่า ให้ทุกคนเริ่มมีความตระหนักถึงความสำคัญ แล้วหลังจากนั้นคือเราจะเลือกวิธีไหนเนี่ยมันก็ขึ้นอยู่กับแต่ละบุคคล แล้วก็อยากไปทุกคนรู้ในบทสรุปพี่หมอจะพูดว่า
สิ่งที่เรามองไม่เห็น หรือสิ่งที่เราไม่ได้กลิ่น โดยเฉพาะในสิ่งแวดล้อมในบ้านเรา ยังมีอีกมากมายเลยที่อาจจะทำให้เกิดปัญหาสุขภาพได้
ดร. นพ. วัชรินทร์ ศิริทรัพย์สมบัติ (หมอเอ)