ค้นหา
ปิดช่องค้นหานี้
อยากหายจาก Long Covid

อยากหายจาก Long Covid คำแนะนำในการฟื้นฟูเชิงเวลเนส

อยากหายจาก Long Covid คำแนะนำในการฟื้นฟูหลังติดเชื้อไวรัส

จริงๆ ทุกคนน่าจะค่อนข้างรู้อยู่แล้ว แต่จะทำได้หรือทำไม่ได้มีความสำคัญมาก การปฏิบัติตัวมันไม่ใช่เรื่องง่ายในคนยุคสมัยนี้ และสิ่งที่ทำให้ดีขึ้นได้ หรือ อยากหายจาก Long Covid โดยที่ทุกงานวิจัยพูดตรงกันคือ 

  1. นอนให้มากขึ้น การพักผ่อนให้มากขึ้น นอนให้ดี นอนให้พอ นอนให้ตรงเวลา ซึ่งอันนี้มันสำคัญที่สุด เนื่องจาก Growth Hormone อย่างที่เรารู้อยู่แล้วว่ามันจะถูกหลั่งมาจากตอนนอน มันคือ king of hormone ในการซ่อมแซม มันคือหัวหน้าทีมในการซ่อมแซมเนื้อเยื่อทั้งหลาย ถ้าเกิดคุณนอนได้ไม่ดี ยังนอนดึกอยู่ คุณก็ซ่อมแซมได้ช้า  
  2. การดื่มน้ำให้เยอะขึ้น นี่เป็นปัญหาระดับโลก เพราะคนคิดว่าตัวเองกินน้ำพอ แต่จริงๆ คือไม่พอ ยิ่งหลังการซ่อมแซม การฟื้นฟู ทุกกลไกลต้องใช้น้ำปริมาณมาก เพราะฉะนั้นต้องกินน้ำเยอะขึ้นต่อเนื่องทั้งวัน 
  3. ออกไปตากแดด การที่เอาตัวเองไปโดนแดดพบว่า คนที่โดนแดดเยอะจะหายเร็ว คนที่โดนหนักน้อยจะหายช้า วิตามินดีมีคนพูดเยอะแยะเต็มไปหมด ทุกคนกินวิตามินเสริมกันทั่วบ้านทั่วเมือง แต่วิตามินดีที่เสริมมันสู้แดดไม่ได้ ยังไงคุณก็ต้องไปโดนแดด 
  4. การกิน ปรับอาหารการกินอาหารให้หลากหลายครบถ้วน ผัก ผลไม้ธัญพืชที่หลากหลาย เพื่อให้ได้วิตามินและแร่ธาตุให้ครบถือว่ามีความสำคัญมาก ยิ่งในยุคนี้เรากินกันไม่ถูก กินกันไม่ครบค่อนข้างเยอะ คนที่กินไม่ครบก็มีงานวิจัยว่า การเสริมวิตามินหรือแร่ธาตุที่จำเป็นถือว่ามีความสำคัญ ยิ่งถ้าคุณยังปรับพฤติกรรมการกินไม่ได้ คุณยังกินมีข้อจำกัดเยอะแยะ ไม่กินผัก ไม่กินผลไม้ กินได้น้อย กินไม่หลากหลาย ทำให้ได้วิตามินและแร่ธาตุไม่ครบ การกินเสริมให้ครบถือว่ามีงานวิจัยรองรับว่าจะช่วยและมีประโยชน์ได้จริง
อยากหายจาก Long Covid

และยิ่งงานวิจัยในช่วงสองปีหลังนี้มีเยอะขึ้น ที่เริ่มมีการประเมินนิวทรีชั่นในคนไข้ที่ติดเชื้อไวรัส ในจำนวนมากพบว่าเกิน 50% ยัง Under Nutrition มีทั้งขาดแล้วก็เกิน เพราะฉะนั้นการเสริมวิตามินในหลายตัวในขนาดสูงกว่าปกติ แสดงถึงว่ามีประโยชน์ก็คือ ช่วยเร่งการหาย ช่วยเร่งการฟื้นตัว ช่วยเพิ่มภูมิต้านทาน หรืออะไรก็ตาม คือสรุปว่ามีประโยชน์มากกว่าไม่เสริมในคนที่ยังปรับอาหารไม่ได้นะครับ

วิตามินที่ควรเสริม หมอบายมีแนะนำอะไรบ้าง

วิตามินมีคำถามเยอะมาก เนื่องจากเวลเนสเราดูเรื่องวิตามินเสริมเป็นหลักเลย  เพราะฉะนั้นคนก็จะเข้ามาหาวิตามิน เพราะ อยากหายจาก Long Covid ยิ่งงานวิจัยในช่วง 2 ปีหลังนี้เยอะมากเกี่ยวกับวิตามินในการช่วยต้าน เชื้อไวรัส ทั้งในแง่ของการป้องกัน การรักษา และการฟื้นฟู อาการหลังติดเชื้อไวรัส คืออาการหลังจากที่หายแล้วแต่ยังมีอาการอยู่ วิตามินส่วนใหญ่ที่เราให้จะมี 3 กลุ่มใหญ่ๆ โดยที่อาจจะแล้วแต่ตามแต่อาการของคนไข้ หรือตามผลเลือดที่ออกมา 

1. วิตามินต้านการอักเสบ จริงๆ ก็มีหลายตัว แล้วแต่ว่าแต่ละคนต้องการตัวไหนมากน้อยต่างกัน หลักๆ ก็อย่างเช่น วิตามินอี, วิตามินซี, เซเลเนียม, โอเมก้า 3, ขมิ้นชัน เป็นกลุ่มที่ช่วยต้านการอักเสบในหลอดเลือด 

2. วิตามินเพิ่มภูมิต้านทาน เพิ่มภูมิคุ้มกันหรือว่าลดการติดเชื้อซ้ำ ลดการติดเชื้อซ้ำของทางเดินหายใจส่วนบนและส่วนล่าง จะเป็นกลุ่มที่ป้องกันเนื้อเยื่อบุผนังของทางเดินหายใจ รวมถึงปอด ได้แก่ วิตามินเอ, วิตามินซี, วิตามินดี, เอ็น-อะเซทิลซิสเทอิน, แคโรทีนอยด์,ก็มีงานวิจัยรองรับว่าช่วยได้

3. วิตามินเร่งการฟื้นฟูของเนื้อเยื่อที่สูญเสียไปแล้ว หลักๆ ก็จะมี โปรตีน, ธาตุเหล็ก, สังกะสี, วิตามินดี, วิตามินบี ที่เราเอามาใช้ร่วมกันในการฟื้นฟู ส่วนสังกะสีก็มีงานวิจัยเกี่ยวกับเรื่องการได้กลิ่น กับการรับรสที่ลดลงไป ในบางคนอาจจะเป็นเพราะว่าคนนั้นจะต้องการ สังกะสี ในปริมาณที่สูงขึ้นกว่าปกติถึง 2-3 เท่าของสภาวะร่างกายปกติ ติดต่อกันนานพอสมควรกว่าจะฟื้นฟูเรื่องของเส้นประสาทหรือปลายประสาทให้กลับคืนมาได้

การเสริมวิตามินจำเป็นต้องตรวจก่อนหรือไม่?

เดี๋ยวนี้งานวิจัยจากการติดเชื้อไวรัสมีต่อเนื่องมาถึงเรื่องของการตรวจวิตามิน เนื่องจากพบว่าวิตามินมีประโยชน์เพิ่มขึ้นทั้งในแง่ของการรักษา การป้องกัน และการฟื้นฟู จึงเริ่มหากลุ่มที่มีความเสี่ยงอย่างเช่น คนที่ลำไส้ดูดซึมไม่ค่อยดี หรือว่าผู้สูงอายุที่มีโอกาสมากขึ้นในแง่ของการขาดไมโครนิวเทรียนหรือว่าแร่ธาตุรอง วิตามินและแร่ธาตุพวกนี้ หลายๆ ประเทศยังแนะนำว่าควรจะตรวจระดับวิตามินที่จำเป็นปีละครั้งด้วยซ้ำในคนสูงอายุ (ในงานวิจัยของออสเตเลียนะ) ก็ขึ้นอยู่กับการนำไปปรับใช้แล้วก็ขึ้นอยู่แต่ละบุคคล ซึ่งตอนนี้ยังไม่ได้ถือว่าเป็นการตรวจแบบมาตรฐานนะครับ 

แต่ถ้าเกิดมีอาการเรื้อรัง ก็มีประโยชน์ที่จะตรวจ เพราะค่อนข้างคุ้มค่าในเชิงป้องกัน การฟื้นฟูร่างกาย เพราะบางตัวเสริมไปอาจจะมีพิษก็ได้ บางทีอาจจะเสริมในปริมาณที่สูงเกินไป เพราะว่าเราไม่รู้ว่า บางคนก็กินเสริมอยู่แล้วแต่พอตรวจแล้วก็พบว่าไม่พอก็มี เพราะคิดว่าก็กินอยู่แล้ว ฉันกิน Zinc ทุกวันอยู่แล้ว แต่พอตรวจออกมาดันต่ำ เพราะว่าร่างกายคุณอาจจะใช้เยอะกว่าคนอื่นเขา ช่วงเวลานี้คุณอาจจะต้องเสริมโดสขนาดสูงขึ้น ขนาดก็มีความสำคัญ เพราะฉะนั้นการตรวจก็เริ่มมีความสำคัญมากขึ้น

สุดท้าย การใช้ oxygen ความดันสูง (HBOT)

เวลเนสเราจะมีเรื่องของการใช้เครื่อง ไฮเปอร์แบริคออกซิเจน การใช้ออกซิเจนในการรักษา จริงๆ ก็มีใช้มานานแล้ว ในพวกแผลผ่าตัด หรือว่าแผลเบาหวาน พวกศัลยกรรมก็เอาไปใช้ เพราะทำให้แผลหายเร็วขึ้น หรือในพวกนักกีฬามืออาชีพ พวกนักฟุตบอลที่มีค่าตัวสูงๆ เขาก็จะลดระยะเวลาการบาดเจ็บ หรือการอักเสบของกล้ามเนื้อเส้นเอ็น ก็เข้าเครื่องไฮเปอร์แบริคออกซิเจน ซึ่งจริงๆ ไฮเปอร์แบริค ก็ถูกนำมาใช้ในการวิจัย ทั้งในแง่ของการร่วมการรักษาหลังติดเชื้อไวรัส ในแง่ของการฟื้นฟูหลังติดเชื้อไวรัสด้วย เพราะว่าเนื้อเยื่อปอดโดนทำลาย เนื้อเยื่อกล้ามเนื้อโดนทำลาย สิ่งที่มันอยู่ข้างในที่เป็นแผล หรือที่โดนทำลายไปแล้วในการฟื้นฟูโดยการใช้ออกซิเจนขนาดสูงก็ถือว่าเริ่มมีงานวิจัยรองรับแล้ว และก็ยังเป็นตัวเลือกที่ดีที่จะพิจารณาใช้กับผู้ป่วยในบางราย

เชื้อไวรัส จะอยู่กับเราไปอีกนานไหม?

อยากหายจาก Long Covid

เราอยู่กันมา 2 ปีกว่าแล้ว แล้วก็คิดว่ามันจะอยู่กับเราไปอีกนาน มันจะกลายเป็นการติดเชื้อประจำถิ่น เหมือนไข้หวัดใหญ่ชนิดหนึ่ง สังเกตไหมว่าหลังๆ เริ่มมีไวรัสแปลกๆ มาเรื่อยๆ เหมือนเป็น Fire Alarm ที่เป็นสัญญาณเตือนให้กับมนุษยชาติต้องเกิดการเปลี่ยนแปลงในเรื่องของวิถีชีวิต อะไรที่สำคัญ หรือเทคโนโลยีไหนที่มันสะดวกสบายเกินไปแล้วมันทำให้สุขภาพเราแย่จะต้องโดนตัดทิ้งไป ไม่ใช่คิดแต่จะเอาแต่สะดวกสบาย  เพราะจริงๆ มันต้องมีความสมดุลของการใช้ชีวิต ต่อไปไม่ใครว่าจะทำอาชีพไหนก็ตามจะต้องมารู้จักตัวเองมากขึ้น

รู้จักภูมิต้านทานมากขึ้น ต้องมาเรียน Immunology กับภูมิต้านทานทั้งที่ไม่ใช่หมอ นี่คือสิ่งที่เปลี่ยนไปทั้งโลก ทุกคนเข้ามารู้จัก Antibody, IgG, IgE วัคซีน หรือแม้กระทั้งการทำงานของ mRNA ซึ่งมันลึกมากเลย แต่ทุกคนรู้ ทุกคนต้องเรียนรู้ แล้วก็ต้องเรียนรู้ที่จะปรับตัว ต้องเรียนรู้วิธีการทำตัวเองไม่ให้เป็นกลุ่มเสี่ยง เพราะยังไงกลุ่มเสี่ยงคุณก็เสี่ยงอยู่ดี คุณจะไปรอวัคซีนขนานไหนดี ฉีดไปเรื่อยๆ ก็ซื้อเวลาไปเรื่อยๆ แต่สุดท้ายไวรัสก็กลายพันธุ์ ตัวใหม่ก็มา คุณก็ตามไม่ทันอยู่ดี

อยากหายจาก Long Covid

สุดท้าย ถ้าคุณยังเป็นกลุ่มเสี่ยงอยู่ ยังใช้ชีวิตเกินขอบตกขอบอยู่ คุณยังมีโรคเรื้อรัง โรคอ้วน โรคเบาหวาน โรคความดัน โรคไขมัน โรคหัวใจ คุณก็ยังเป็นกลุ่มเสี่ยง เพราะฉะนั้นทุกคนต้องต้องรู้จักปรับตัว แล้วก็อยู่กับเชื้อไวรัสได้อย่างมีความสุขทั้งกายและใจครับ 

นพ. พิจักษณ์ วงศ์วิศิษฎ์ (หมอบาย)

Share : 

บทความที่เกี่ยวข้อง

NAD+ เป็นอนุพันธ์ของวิตามินบี3 ช่วยเสริมสร้างในพลังงานระดับเซลล์ เมื่อร่างกายเราสามารถซ่อมแซมได้ก็จะทำให้เซลล์ทำงานได้ดีขึ้น และความจริงแล้ว

ฮอร์โมน (Hormones) คือสารเคมีที่ร่างกายใช้สื่อสารกัน เพื่อควบคุมสมดุลร่างกายในทุกระบบ รวมทั้งระบบเผาผลาญด้วย

การรักษามะเร็งในปัจจุบันมีหลากหลายวิธีขึ้นอยู่กับชนิด ระยะ และความรุนแรงของโรค ซึ่งการรักษาทางหลักก็จะแบ่งการรักษาออกเป็น การผ่าตัด

error: Content is protected !!