เคยสงสัยไหมว่า บางวันรู้สึกสดชื่น กระปรี้กระเปร่า แต่บางวันกลับรู้สึกเหนื่อยล้า อ่อนเพลีย หรือแม้แต่ปัญหาผิวพรรณต่างๆ คำตอบอาจอยู่ที่ “ลำไส้” เพราะลำไส้ไม่ได้ทำหน้าที่ย่อยอาหารเพียงอย่างเดียว แต่ยังมีส่วนเชื่อมโยงกับสมองของเราอย่างใกล้ชิด จนเรียกได้ว่าเป็น “สมองที่สอง” เลยทีเดียว ดังนั้นเราควรให้ความสำคัญกับการกินอาหารที่ดี เพราะ สุขภาพดีเริ่มต้นที่ลำไส้
ความเชื่อมโยงระหว่างลำไส้กับสมอง
ลำไส้ของเรามีเซลล์ประสาทจำนวนมากที่เชื่อมต่อกับสมองผ่านเส้นประสาทเวกัส (Vagus nerve) ทำให้ทั้งสองอวัยวะสามารถสื่อสารกันได้อย่างมีประสิทธิภาพ นอกจากนี้ ลำไส้ยังเป็นที่อยู่ของจุลินทรีย์จำนวนมาก ซึ่งมีบทบาทสำคัญในการผลิตสารสื่อประสาท เช่น เซโรโทนิน (Serotonin) และ โดปามีน (Dopamine) ที่ควบคุมอารมณ์ ความสุข และการเรียนรู้ของเรา แล้วสุขภาพลำไส้ก็ส่งผลกับหลายระบบในร่างกาย ไม่ว่าจะเป็น ปัญหาการลดน้ำหนัก ที่หลายคนพยายามลดเท่าไหร่ก็ลดไม่ลง สาเหตุอาจเป็นเพราะการเสียสมดุลของจุลินทรีลำไส้ก็ได้
การเสียสมดุลของจุลินทรีย์ในลำไส้มีอะไรบ้าง
- สมองล้า
- การเสียสมดุลของฮอร์โมน
- ภูมิคุ้มกันลดลง
- การดูดซึมไม่ดี
- การย่อยหาไม่ดี
- การขับถ่ายไม่ดี
ทำไมความเครียดถึงส่งผลต่อลำไส้?
เคยเครียดมากๆ แล้วมีอาการปวดท้อง ท้องเสีย หรือท้องผูก กันบ้างไหม จะบอกว่านั่นไม่ใช่เรื่องบังเอิญ แต่เป็นเพราะความเครียดนั้นส่งผลต่อร่างกายของเราโดยตรง รวมถึงระบบย่อยอาหารด้วย
สมองของเราเชื่อมโยงกับลำไส้อย่างใกล้ชิด เมื่อเราเกิดความเครียด สมองจะส่งสัญญาณไปยังลำไส้ ทำให้การทำงานของลำไส้เปลี่ยนแปลงไป ส่งผลให้เกิดการผลิตสารที่ช่วยให้เรารู้สึกดีลดลง เช่น เซโรโทนิน (Serotonin) ซึ่งเป็นสารที่ช่วยให้เรารู้สึกผ่อนคลายและมีความสุข เมื่อระดับเซโรโทนินลดลง เราจึงรู้สึกหงุดหงิด เครียด และอาจมีอาการทางกายอื่นๆ ตามมา เช่น ผิวพรรณหมองคล้ำ ผมร่วง หรือปัญหาการนอนหลับ เป็นต้น
นอกจากนี้ ความเครียดยังส่งผลต่อการเจริญเติบโตของแบคทีเรียดีในลำไส้ ทำให้เกิดการอักเสบและส่งผลเสียต่อสุขภาพโดยรวมของเราได้
- ควบคุมอารมณ์: เมื่อเราทานอาหารที่มีประโยชน์ ลำไส้จะส่งสัญญาณไปยังสมอง ทำให้เรารู้สึกดีและผ่อนคลาย ในทางกลับกัน หากเรากินอาหารที่ไม่ดีต่อสุขภาพ อาจทำให้เกิดการอักเสบในลำไส้ ซึ่งส่งผลต่ออารมณ์ของเรา เช่น รู้สึกหงุดหงิด เครียด หรือซึมเศร้า
- การย่อยอาหาร: สมองควบคุมการทำงานของระบบย่อยอาหาร เช่น การหลั่งน้ำย่อย การบีบตัวของลำไส้ ในขณะเดียวกัน ลำไส้ก็ส่งสัญญาณกลับไปยังสมองเพื่อบอกว่าเราอิ่มหรือหิว
- ระบบภูมิคุ้มกัน: ลำไส้เป็นอวัยวะที่สำคัญของระบบภูมิคุ้มกัน เมื่อลำไส้สุขภาพดี ระบบภูมิคุ้มกันของเราก็จะแข็งแรงตามไปด้วย
สุขภาพดีเริ่มต้นที่ลำไส้
ฟื้นฟูลำไส้เริ่มต้นง่ายๆ ที่อาหาร การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการกินเป็นจุดเริ่มต้นที่ดีที่สุด ลองมาดูกันว่าเราควรทานอะไรบ้างเพื่อฟื้นฟูลำไส้ให้กลับมาแข็งแรง
อาหารที่เป็นมิตรต่อลำไส้
- ผักและผลไม้หลากสี: อุดมไปด้วยใยอาหารที่ช่วยบำรุงจุลินทรีย์ดีในลำไส้ ช่วยให้ระบบขับถ่ายทำงานได้ดีขึ้น เช่น บรอกโคลี กะหล่ำปลี แครอท อะโวคาโด เบอร์รี่
- ธัญพืชไม่ขัดสี: เช่น ข้าวบาร์เลย์ ข้าวกล้อง ควินัว และข้าวโอ๊ต อุดมไปด้วยใยอาหารและวิตามิน ช่วยให้รู้สึกอิ่มนานและควบคุมน้ำหนัก
- โปรตีนจากพืช: เช่น เนยถั่ว ถั่วเหลือง ถั่วแดง งาดำ ควินัว บัควีท เต้าหู้ เป็นแหล่งโปรตีนที่ดีและไม่ก่อให้เกิดการอักเสบในลำไส้
- อาหารหมักดอง: เช่น กิมจิ มิโซะ โยเกิร์ต อุดมไปด้วยจุลินทรีย์ดีที่ช่วยปรับสมดุลของแบคทีเรียในลำไส้
อาหารที่ควรหลีกเลี่ยง
- อาหารแปรรูป: อาหารสำเร็จรูป อาหารกึ่งสำเร็จรูป อาหารทอด อาหารที่มีน้ำตาลสูง เพราะอาหารเหล่านี้มีสารเคมีและสารกันบูด ซึ่งอาจทำลายจุลินทรีย์ดีในลำไส้
- เนื้อแดง: ควรบริโภคในปริมาณที่พอเหมาะ เพราะอาจก่อให้เกิดการอักเสบในลำไส้
- อาหารรสจัด: อาหารรสจัดอาจกระตุ้นให้เกิดอาการปวดท้อง หรือท้องเสียในบางคน
เคล็ดลับเพิ่มเติม
- ดื่มน้ำให้เพียงพอ: น้ำช่วยในการย่อยอาหารและขับถ่ายของเสีย
- ออกกำลังกายสม่ำเสมอ: การออกกำลังกายช่วยกระตุ้นการทำงานของลำไส้
- จัดการความเครียด: ความเครียดเป็นปัจจัยสำคัญที่ส่งผลต่อสุขภาพลำไส้
ผลลัพธ์ที่คุณจะได้รับเมื่อดูแลสุขภาพลำไส้
- ผิวพรรณเปล่งปลั่ง: ลำไส้สุขภาพดีจะช่วยให้ผิวพรรณดูอ่อนเยาว์และมีสุขภาพดี
- อารมณ์ดีขึ้น: เซโรโทนินที่ผลิตจากลำไส้จะช่วยให้คุณรู้สึกผ่อนคลายและมีความสุขมากขึ้น
- ระบบภูมิคุ้มกันแข็งแรง: ลำไส้เป็นอวัยวะที่สำคัญของระบบภูมิคุ้มกัน การดูแลลำไส้จึงช่วยป้องกันโรคต่างๆ ได้
การดูแลสุขภาพลำไส้เป็นสิ่งสำคัญมาก เพราะมีผลต่อสุขภาพโดยรวมของร่างกาย ไม่ว่าจะเป็นสุขภาพกาย หรือ สุขภาพจิต การเลือกทานอาหารที่ดี การออกกำลังกาย และการพักผ่อนให้เพียงพอ จะช่วยให้ลำไส้ของคุณแข็งแรงและทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ อย่าลืมนะคะ “สุขภาพดีเริ่มต้นที่ลำไส้”
สาขาที่ให้บริการ
- สาขา โรงพยาบาลพระรามเก้า
- เบอร์โทรศัพท์: 092-9936922
- Line: @w9wellness
- เวลาเปิด-ปิด: 08.00 – 17.00 น.
- สาขา เพลินจิตเซ็นเตอร์
- เบอร์โทรศัพท์: 099-4969626
- Line: @wploenchit
- เวลาเปิด-ปิด: 10.00 – 19.00 น.