โปรแกรมตรวจคอเลสเตอรอลเชิงลึก Advanced Lipid Profile

ที่ W9 เราเชื่อว่า “การดูแลหัวใจ” ควรเริ่มจากความเข้าใจ และการวิเคราะห์อย่างแม่นยำ

เช็กด่วน หัวใจคุณเสี่ยงแค่ไหน ตรวจคอเลสเตอรอลเชิงลึก รู้ทันความเสี่ยงสุขภาพหัวใจ

ในปัจจุบัน โรคหัวใจและหลอดเลือด กลายเป็นสาเหตุการเสียชีวิตอันดับต้น ๆ ของคนไทย โดยข้อมูลจาก กรมควบคุมโรค ระบุว่ามีแนวโน้มผู้ป่วยเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ส่วนหนึ่งมีสาเหตุมาจากระดับ คอเลสเตอรอล (Cholesterol) เพราะถึงแม้ผลเลือดบางรายการจะดู “ปกติ” แต่คุณอาจมีความเสี่ยงซ่อนอยู่ก็เป็นได้ การตรวจคอเลสเตอรอลเชิงลึก (Advanced Lipid Profile) จึงเป็นสิ่งสำคัญอย่างยิ่ง ที่จะช่วยประเมินความเสี่ยงล่วงหน้า ให้คุณได้วางแผนการดูแลสุขภาพ และป้องกันโรคหัวใจในระยะยาวได้อย่างมีประสิทธิภาพ

คอเลสเตอรอล คืออะไร? ทำไมเราควรใส่ใจ

เมื่อพูดถึงคอเลสเตอรอล (Cholesterol) หลายคนมักคิดว่าเป็นสิ่งที่ไม่ดีกับร่างกาย แต่จริงๆ แล้วคอเลสเตอรอลถือว่าเป็นไขมันชนิดหนึ่งที่จำเป็นต่อร่างกาย เพื่อสร้างฮอร์โมน วิตามิน D หรือช่วยย่อยอาหาร เช่น น้ำดี เป็นต้น 

แต่จะเริ่มมีปัญหา เมื่อร่างกายสะสมคอเลสเตอรอล โดยเฉพาะ LDL (Low-Density Lipoprotein) เยอะเกินไป ก็จะเพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดภาวะหลอดเลือดแข็งตัว ตีบ หรืออุดตัน ซึ่งเป็นสาเหตุสำคัญของการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือด

อย่างไรก็ตาม คอเลสเตอรอลไม่ได้มีแต่ชนิดที่ไม่ดีเท่านั้น ยังมีคอเลสเตอรอลชนิดดี HDL (High-Density Lipoprotein) ที่ทำหน้าที่สำคัญในการช่วยลดความเสี่ยงของโรคหัวใจและหลอดเลือด โดย HDL จะทำหน้าที่เก็บคอเลสเตอรอลส่วนเกินจากกระแสเลือดและนำกลับไปยังตับเพื่อกำจัดออกจากร่างกาย ทำให้ปริมาณคอลเลสเตอรอลชนิดไม่ดีในกระแสเลือดลดลง ก็จะส่งผลให้หลอดเลือดสะอาดและแข็งแรงขึ้น

ตรวจคอเลสเตอรอลเชิงลึก
  • Low-density lipoprotein (LDL) มีหน้าที่หลักในการขนส่งคอลเลสเตอรอลและสารประเภทไขมันอื่นๆ ในร่างกาย การมีระดับ LDL ในเลือดที่สูงแสดงให้เห็นถึงการมีระดับคอลเลสเตอรอลในเลือดที่สูงและสัมพันธ์กับการเกิดโรคที่คุ้นหูกันดี ได้แก่ โรคกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลัน (heart attack) โรคหลอดเลือดสมอง (stroke) และโรคหลอดเลือดแดงส่วนปลายตีบ (peripheral arterial disease) ดังนั้น LDL ในบางครั้งจึงถูกเรียกว่าเป็น “ไขมันชนิดเลว”
  • High-density lipoprotein (HDL) มีหน้าที่ในการขนส่งคอลเลสเตอรอลจากกระแสเลือดและอวัยวะต่างๆ กลับไปยังตับเพื่อกำจัดออกจากร่างกายทำให้ปริมาณโคเลสเตอรอลในกระแสเลือดลดลง ด้วยเหตุนี้เอง HDL จึงมักได้รับการขนานนามว่าเป็น “ไขมันชนิดดี” นอกจากนี้ข้อมูลจากการศึกษายังชี้ให้เห็นว่าหากร่างกายมีระดับ HDL ที่ต่ำจะมีความสัมพันธ์กับการเกิดโรคหลอดเลือดหัวใจได้เช่นกัน

ไขมันในเลือดสูง มีอาการอย่างไร

เรื่องที่น่ากลัวอีกอย่างหนึ่งก็คือ ไขมันในเลือดสูง มันไม่แสดงอาการอะไรเลย จึงมักถูกเรียกว่า “ภัยเงียบ” ของสุขภาพ คนส่วนใหญ่ที่มี คอเลสเตอรอลสูง มักไม่รู้ตัวว่ามีภาวะไขมันในเลือดสูง จนกระทั้งร่างกายเกิดภาวะแทรกซ้อนบางอย่าง เช่น โรคหัวใจขาดเลือด หลอดเลือดสมองตีบ หรือหลอดเลือดแข็งตัว ทำให้เกิดอาการเจ็บแน่นหน้าอก หายใจไม่อิ่ม เหนื่อยง่าย อ่อนเพลียโดยไม่ทราบสาเหตุ ทั้งๆ ที่บางคนตรวจสุขภาพทุกปี แต่ไม่เคยรู้ว่าค่าไขมันในเลือดแบบไหนที่ควรจะต้องเฝ้าระวัง ในการเกิดโรคได้ในอนาคต

ดังนั้น การตรวจระดับไขมันเชิงลึก (Advanced Lipid Profile) เป็นรายการตรวจที่ลึกมากกว่าการตรวจค่าปกติทั่วไป แต่จะดูถึงองค์ประกอบของไขมัน และโปรตีนที่เกี่ยวข้องกับการขนส่งไขมันในเลือดไปยังเนื้อเยื่อต่างๆ เพื่อให้ทราบข้อมูลที่แน่ชัดในการเกิดโรคหัวใจ และหลอดเลือดได้ดีกว่าการตรวจแค่ LDL เพียงอย่างเดียว

สาเหตุที่ทำให้คอเลสเตอรอลสูง

  • พันธุกรรม ไขมันในเลือดสูงถ่ายทอดทางพันธุกรรมได้ หากคนในครอบครัวมีคอเลสเตอรอลสูง คุณก็มีแนวโน้มสูงเช่นกัน
  • พฤติกรรมการกิน การใช้ชีวิต รับประทานอาหารไขมันสูง เนื้อแดง ของทอด ของหวานมากเกินไป รวมถึงพฤติกรรมการสูบบุหรี่ ดื่มแอลกอฮอล์บ่อยๆ และขาดการออกกำลังกาย 
  • ความเครียดเรื้อรัง ร่างกายจะถูกกระตุ้นให้สร้างคอเลสเตอรอลเพิ่มมากขึ้น เพื่อใช้ในการจัดการความเครียด
  • อายุที่มากขึ้น การเผาผลาญในร่างกายลดลง โดยเฉพาะผู้หญิงวัยใกล้หมดประจำเดือน มักมีความเสี่ยงไขมันคอเลสเตอรอลสูงกว่าผู้ชาย

ตรวจคอเลสเตอรอลเชิงลึก ดีกว่าการตรวจสุขภาพทั่วไปอย่างไร?

การตรวจไขมันแบบทั่วไปจะบอกเพียงระดับ คอเลสเตอรอลรวม, LDL, HDL, ไตรกลีเซอไรด์ ซึ่งดีแล้วแต่ยังไม่พอ Advanced Lipid Profile คือ การตรวจไขมันในเลือดเชิงลึก ที่สามารถมองเห็น “คุณภาพ” และ “โครงสร้าง” ของไขมัน ไม่ใช่แค่ปริมาณเท่านั้น และช่วยให้แพทย์สามารถประเมินความเสี่ยงโรคหัวใจและหลอดเลือดได้ตั้งแต่ยังไม่มีอาการ โดยเฉพาะในกลุ่มที่ดูภายนอกสุขภาพดี แต่มีความเสี่ยงแฝง

รายการตรวจไขมันในเลือดเชิงลึก Advanced Lipid Profile

1. Lipoprotein (a)

ไขมันชนิดหนึ่งที่มีพันธุกรรมเป็นปัจจัยหลัก หากมีระดับสูงจะเพิ่มความเสี่ยงของ โรคหัวใจขาดเลือด และ หลอดเลือดสมอง แม้ว่าค่าคอเลสเตอรอลโดยรวมจะอยู่ในเกณฑ์ปกติก็ตาม

  • ค่าสูง: เสี่ยงสูงต่อโรคหัวใจและหลอดเลือด แม้ค่า LDL จะไม่สูง
  • ค่าต่ำ: ความเสี่ยงต่อโรคหัวใจต่ำลง

ปัจจัยอื่นๆ ที่อาจส่งผลต่อระดับ Lp(a) ได้แก่ วัยหมดประจำเดือน โรคเรื้อรังบางชนิด การอักเสบ โรคตับ-ไต อาหาร และการออกำลังกาย

2. Apolipoprotein A1 (Apo A1)

เป็นโปรตีนที่อยู่ใน ไขมันดี (HDL) ช่วยในการขนส่งคอเลสเตอรอลออกจากหลอดเลือดกลับไปยังตับ หากมีอยู่ในระดับต่ำ อาจเสี่ยงต่อการเกิด หลอดเลือดอุดตัน

  • ค่าสูง: มักสัมพันธ์กับสุขภาพหลอดเลือดที่ดี
  • ค่าต่ำ: อาจบ่งบอกถึงความเสี่ยงของโรคหัวใจและภาวะอักเสบเรื้อรัง

3. Apolipoprotein B (Apo B)

เป็นโปรตีนที่อยู่ในไขมันเลว (LDL) และไขมันตัวร้ายอื่น ๆ ใช้ดูว่าในเลือดมีอนุภาคไขมันเลวอยู่มากแค่ไหน ซึ่งบอกความเสี่ยง หลอดเลือดตีบ ได้ชัดกว่าการดูแค่ LDL อย่างเดียว

  • ค่าสูง: หมายถึงมี “จำนวนอนุภาคไขมันเลว” ในกระแสเลือดมาก เสี่ยงหลอดเลือดอุดตัน
  • ค่าต่ำ: ดีต่อสุขภาพหลอดเลือด

เป็นค่าที่แม่นยำกว่า LDL ทั่วไปในการประเมินความเสี่ยงโรคหัวใจ

4. Fibrinogen Level 

เป็นโปรตีนที่ช่วยให้เลือดแข็งตัว ถ้ามีระดับสูงเกินไป เลือดจะข้นหนืด เสี่ยงต่อการ เกิดลิ่มเลือดอุดตัน ในหลอดเลือดหัวใจหรือสมอง

  • ค่าสูง: เพิ่มความเสี่ยงลิ่มเลือดอุดตัน หัวใจขาดเลือด หรือ stroke
  • ค่าต่ำ: อาจเสี่ยงเลือดออกง่าย (แต่พบได้น้อย)

5. Homocysteine

กรดอะมิโนในเลือด หากสะสมมากจะทำลายผนังหลอดเลือดและกระตุ้นการอักเสบในหลอดเลือด เพิ่มความเสี่ยง โรคหัวใจ และ สมองเสื่อม

  • ค่าสูง: เพิ่มความเสี่ยงหลอดเลือดแข็ง โรคความดันสูง โรคหัวใจ อัมพฤกษ์ อัมพาต และโรคเรื้อรังอื่น ๆ (ป้องกันได้ด้วยวิตามิน B6, B9, B12 และโฟเลต)
  • ค่าต่ำ: อาจเกิจากภาวะขาดสารอาหาร ขาดโปรตีน หรือเกิดจากโรคเรื้อรังบางชนิดได้

มีผลต่อทั้งระบบหลอดเลือดหัวใจ และสมอง

6. Ferritin

โปรตีนสะสมธาตุเหล็กในร่างกาย ถ้าระดับสูงผิดปกติ อาจสะท้อนถึง ภาวะการอักเสบเรื้อรัง

  • ค่าสูง: ผู้ป่วยอาจมีโรคบางโรคที่ทำให้ร่างกายสะสมธาตุเหล็กในเม็ดเลือดแดงสูงขึ้น เช่น โรคตับ โรค ภาวะต่อมไทรอยด์ทำงานเกิน
  • ค่าต่ำ: อาจสัมพันธ์กับภาวะโลหิตจางจากการขาดธาตุเหล็ก

7. C-Reactive Protein (CRP)

เป็นค่าที่บอกว่าในร่างกายมี “การอักเสบเรื้อรัง” หรือไม่ โดยเฉพาะการอักเสบในผนังหลอดเลือด ซึ่งเป็นจุดเริ่มของ โรคหัวใจ

  • ค่าสูง: มีการอักเสบในร่างกาย เสี่ยงโรคหัวใจและหลอดเลือดในระยะยาว
  • ค่าต่ำ: ดี สะท้อนร่างกายไม่มีการอักเสบ

8. CT Calcium score 

เป็นการตรวจวัดปริมาณ แคลเซียมที่สะสมในหลอดเลือดหัวใจ ด้วยเครื่อง CT Scan ยิ่งพบมาก ยิ่งเสี่ยงต่อการมี หลอดเลือดหัวใจตีบ แม้จะยังไม่แสดงอาการ

  • ค่าสูง: มีการสะสมของแคลเซียม แปลว่าเริ่มมีหลอดเลือดแข็งตัว เสี่ยงหัวใจขาดเลือด
  • ค่าต่ำ: ดีมาก ความเสี่ยงโรคหัวใจต่ำ

9. Oxidized LDL

คือไขมันเลว (LDL) ที่ถูกออกซิไดซ์ ทำให้กลายเป็น ไขมันชนิดอันตรายที่สุด กระตุ้นการอักเสบของผนังหลอดเลือด  ทำให้ หลอดเลือดแข็งและตีบเร็วขึ้น

  • ค่าสูง: เสี่ยงสูงต่อภาวะอักเสบและการอุดตันของหลอดเลือด สัมพันธ์กับโรคหัวใจ เบาหวาน และภาวะดื้ออินซูลิน
  • ค่าต่ำ: ดี ลดความเสี่ยงต่อโรคหัวใจ

ดังนั้นหากคุณต้องการ รู้ให้ลึกก่อนเกิดโรค และดูแลหัวใจแบบองค์รวม

Advanced Lipid Profile คือคำตอบของการตรวจสุขภาพยุคใหม่ ที่เน้นการป้องกันก่อนรักษา

แนะนำสำหรับใครที่ควรตรวจ Advanced Lipid Profile

  • มีประวัติคนในครอบครัวเป็นโรคหัวใจและหลอดเลือด
  • วางแผนดูแลตัวเองก่อนวัย 40 หรือช่วงวัยหมดประจำเดือน
  • ผู้ที่มี คอเลสเตอรอลสูง แต่ยังไม่มีอาการใด ๆ
  • ผู้ที่มีพฤติกรรมเสี่ยง เช่น สูบบุหรี่ รับประทานอาหารไขมันสูง ไม่ออกกำลังกาย
  • ต้องการดูแลหัวใจแบบองค์รวมอย่างแท้จริง

ทำไมการลดคอเลสเตอรอล ถึงไม่ควรหยุดแค่การกินยา?

ในอดีต เวลาหมอตรวจพบว่ามี คอเลสเตอรอลสูง แนวทางการรักษามักจะจบที่การ “กินยา ลดไขมัน” ร่วมกับแนะนำให้ออกกำลังกาย และควบคุมอาหาร ซึ่งล้วนเป็นสิ่งที่ถูกต้องและควรทำ แต่ในปัจจุบัน แนวทางการดูแลสุขภาพแบบเวลเนส (Wellness Medicine) และ การแพทย์เชิงป้องกัน (Preventive Medicine) มองลึกไปกว่านั้น

เพราะแท้จริงแล้ว “คอเลสเตอรอลสูง” ไม่ใช่สาเหตุโดยตรงของโรคหัวใจและหลอดเลือดเสมอไปแต่เกิดจาก ภาวะอักเสบเรื้อรังในหลอดเลือด ภาวะดื้ออินซูลิน หรือ สารพิษและโลหะหนักที่สะสมในร่างกาย มาอย่างยาวนาน

ตรวจคอเลสเตอรอลเชิงลึก

คีเลชั่นบำบัด (Chelation Therapy) ทางเลือกเสริมที่มากกว่าการลดไขมัน

หนึ่งในวิธีที่ได้รับความสนใจในการดูแลระบบหลอดเลือด คือ Chelation Therapy หรือ การล้างพิษหลอดเลือดด้วยสาร EDTA โดยการให้ผ่าน IV Drip ร่วมกับวิตามินและสารต้านอนุมูลอิสระ โดย EDTA จะทำหน้าที่ จับโลหะหนัก เช่น ตะกั่ว ปรอท แคดเมียม สารหนู ที่ตกค้างอยู่ในหลอดเลือด และขับออกทางปัสสาวะ

นอกจากนี้ ยังมีสมมุติฐานและงานวิจัยบางส่วน เช่น TACT Study (Trial to Assess Chelation Therapy) ที่พบว่า การให้ Chelation อาจมีประโยชน์ในกลุ่มผู้ป่วยที่มีโรคหลอดเลือดหัวใจ โดยเฉพาะผู้ที่เป็นเบาหวานร่วมด้วย

  1. ลดการอุดตันของหลอดเลือด : มีสมมุติฐานว่า EDTA อาจช่วยดึงแคลเซียมออกจากคราบไขมันที่จับตัวบนผนังหลอดเลือด ซึ่งอาจช่วยให้หลอดเลือดยืดหยุ่นขึ้น (แต่ผลลัพธ์ขึ้นกับแต่ละบุคคล)
  2. ลดการอักเสบในผนังหลอดเลือด : การอักเสบเป็นต้นเหตุสำคัญที่ทำให้คอเลสเตอรอลเข้าไปเกาะหลอดเลือดได้ง่ายขึ้น
  3. กระตุ้นการซ่อมแซมหลอดเลือดจากภายใน : ช่วยให้หลอดเลือดแข็งแรง ยืดหยุ่น และไหลเวียนดีขึ้น
  4. ลดสารอนุมูลอิสระ : ซึ่งเป็นตัวเร่งให้หลอดเลือดเสื่อมเร็ว

ทำไมต้องตรวจที่ W9 Wellness Center?

“เพราะเราดูแลคุณมากกว่าผลแล็บ” ที่ W9 เราเชื่อว่า “การดูแลหัวใจ” ควรเริ่มจากความเข้าใจ

และการวิเคราะห์อย่างแม่นยำ

  • เราให้บริการตรวจ Advanced Lipid Profile โดยทีมแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ
  • ใช้เทคโนโลยีทางการแพทย์ที่ทันสมัย วิเคราะห์ผลเชิงลึก
  • ศูนย์สุขภาพแบบองค์รวม ที่ดูแลคุณทั้งร่างกาย จิตใจ และพฤติกรรม
  • ให้คำแนะนำแบบเฉพาะบุคคล พร้อมวางแผนฟื้นฟูสุขภาพอย่างยั่งยืน

หากคุณต้องการรู้ลึกถึงระดับคอเลสเตอรอลและความเสี่ยงของโรคหัวใจตั้งแต่วันนี้
W9 Wellness Center พร้อมดูแลหัวใจคุณแบบองค์รวมแบบเฉพาะบุคคล

โปรแกรมทางเลือกรักษาออฟฟิศซินโดรม

Sale!

“เริ่มขายวันที่ 21 เม.ย. 68 นี้พร้อมกันทั้ง 2 สาขา”

*สอบถามทักหาแอดมินได้เลย*

ปกป้องหัวใจของคุณก่อนสายเกินไป

จองคิวตรวจไขมันในเลือดเชิงลึก Advanced Lipid Profile กับทีมแพทย์ W9 วันนี้ เพื่อสุขภาพหัวใจที่แข็งแรงในระยะยาว

ราคา ราคาเดิมคือ: ฿9,990.00ราคาปัจจุบันคือ: ฿7,990.00 บาท

วิตามินสูตรขวัญใจของใครหลายๆคน ช่วยเพิ่มการเผาผลาญไขมัน เพิ่มประสิทธิภาพในการลดน้ำหนักให้ดียิ่งขึ้น

ราคา ฿5,000.00 บาท

ปรึกษาปัญหาสุขภาพและรับสิทธิพิเศษสำหรับคุณได้ที่นี่

บทความที่เกี่ยวข้อง

• ภาวะขาดวิตามินหลายชนิด รวมทั้งภาวะขาดวิตามินดี มีความสัมพันธ์กับภาวะ ซึมเศร้า•

รักที่ไร้อารมณ์จะสุขสมได้อย่างไร? เพราะความสุขบนเตียงถือเป็นเรื่องใหญ่ของชีวิตคู่ และปัญหาที่เกิดขึ้นได้กับสาวๆ ทุกคน แต่ส่วนใหญ่ไม่กล้าที่จะเปิดเผยก็คือ

ภาวะสมองเสื่อม หรือ อัลไซเมอร์ คือ สภาวะที่สมรรถภาพทางสมองมีการทำงานที่บกพร่องไป