ค้นหา
ปิดช่องค้นหานี้
ต่อมหมวกไตล้า

ต่อมหมวกไตล้า ต้นเหตุของอาการอ่อนเพลียเรื้อรัง นอนเท่าไหร่ก็ไม่พอ

ต่อมหมวกไตล้า ต้นเหตุของอาการอ่อนเพลียเรื้อรัง นอนเท่าไหร่ก็ไม่พอ โรคยอดฮิตในหมู่สังคมออฟฟิศ นอกเหนือจากออฟฟิศซินโดรมแล้ว มักเผชิญอาการเหล่านี้อยู่หรือเปล่า? “เช้าขี้เกียจตื่น รู้สึกไม่สดชื่น ตกบ่ายง่วง กลางคืนดีดตาสว่าง” อาการดังกล่าวเป็นกันมากในกลุ่มวัยทำงาน บางคนอาจคิดว่าเป็นอาการของ ภาวะหมดไฟ (Burnout Syndrome) ในการทำงาน ซึ่งสาเหตุดังกล่าวไม่ใช่การหมดไฟ แต่เป็นอาการของ ต่อมหมวกไตล้า หากปล่อยทิ้งไว้นานอาจส่งผลต่อสุขภาพในระยะยาว และส่งผลกระทบต่อการทำงานได้

เช็กลิสต์อาการชวนเสี่ยงเป็นต่อมหมวกไตล้า

  • ตื่นยาก ตื่นแล้วไม่สดชื่น กลางคืนไม่อยากนอน ตาสว่าง
  • อ่อนเพลีย ไม่มีแรง อยากงีบหลับตอนกลางวัน
  • ง่วงแต่นอนไม่หลับ คุณภาพการนอนไม่ดี
  • ความรู้สึกทางเพศลดลง
  • หงุดหงิดง่าย โมโหกับเรื่องเล็กน้อย
  • รู้สึกสดชื่น เมื่อได้ทานของหวาน
  • ความจำแย่ลง ขี้หลงขี้ลืม
  • ปัสสาวะบ่อยผิดปกติ
  • คุมอาหาร ออกกำลังกายเป็นประจำ แต่น้ำหนักไม่ลดลง
  • หมกมุ่นกับเรื่องเครียดๆ กังวล ซึมเศร้า ไม่มีความสุข
  • ผิวแห้ง เป็นผื่นแพ้ง่าย
ต่อมหมวกไตล้า

ฮอร์โมนตัวสำคัญในต่อมหมวกไต

ต่อมหมวกไตเป็นอวัยวะที่มีบทบาทหน้าที่สำคัญในการผลิตฮอร์โมนให้ร่างกายหลักๆ 2 ชนิด เพื่อให้เราพร้อมรับมือจัดการกับความเครียดในแต่ละวัน ได้แก่

  • ฮอร์โมนคอร์ติซอล (Cortisol) เป็นฮอร์โมนความเครียดตัวหลักของร่างกาย มักจะผลิตขึ้นเป็นปริมาณมากในตอนเช้า ช่วยให้ร่างกายตื่นตัวกระปรี้กระเปร่า มีพลังพร้อมลุยกับการทำงาน แต่ถ้าหากร่างกายของเราหักโหมทำงานหนัก หรือมีเรื่องวิตกกังวลมากจนเกินไป จนเกิดภาวะเครียดสะสมเรื้อรัง ก็จะยิ่งทำให้ไปกระตุ้นการหลั่งของฮอร์โมนคอร์ติซอลเพิ่มมากขึ้น ยิ่งหลั่งเยอะร่างกายก็ยิ่งเสื่อมโทรมและแก่เร็ว แต่ถ้าน้อยไปก็จะส่งผลให้ร่างกายไม่สดชื่น อ่อนเพลีย ไม่มีแรง ไม่อยากลุกจากที่นอน ขาดความกระตือรือร้น
  • ฮอร์โมนดีเอชอีเอ (DHEA) เป็นฮอร์โมนตั้งต้นของฮอร์โมนเพศหญิงและเพศชาย มีส่วนช่วยต้านความเครียด ช่วยต้านความชรา เพิ่มภูมิคุ้มกันให้แก่ร่างกาย ช่วยฟื้นฟูระดับฮอร์โมนคอร์ติซอลให้กลับมามีสมดุลจากภาวะความเครียด และยังช่วยกระตุ้นความรู้สึกทางเพศ

สาเหตุที่ทำให้ต่อมหมวกไตล้า

ต่อมหมวกไตล้า (Adrenal Fatique) เป็นอาการผิดปกติของร่างกาย เกิดจากฮอร์โมนต่างๆที่ผลิตจากต่อมหมวกไตขาดสมดุล โดยตัวการสำคัญคือ “ความเครียด” ที่เป็นตัวกระตุ้น ด้วยวิถีชีวิต Lifestyle ของคนเมืองในปัจจุบันยิ่งเป็นตัวกระตุ้นให้เกิดภาวะ ต่อมหมวกไตล้า ได้เร็วขึ้น โดยเฉพาะคนที่ชอบใช้ชีวิตเหมือนเกมการแข่งขัน ทั้งด้านการเรียน การทำงาน เร่งทำงานให้เสร็จทันกำหนด

หรือความจำเป็นในสายอาชีพ สภาวะเศรษฐกิจ จนถึงขั้นเสพติดความเครียดแบบไม่รู้ตัว รวมถึงพฤติกรรมที่หักโหมใช้ร่างกายมากจนเกินไป เช่น นอนดึก ทำให้การนอนหลับไม่เพียงพอ หรือผู้ที่มีปัญหานอนหลับยาก ไม่ทานมื้อเช้า กินของหวาน ของทอดมากจนเกินไป ปล่อยให้ร่างกายขาดวิตามิน หรือแม้กระทั่งผู้ที่มีอาการเจ็บป่วยเรื้อรัง โรคภูมิแพ้ เบาหวาน

ต่อมหมวกไตล้า

ดังนั้นอย่าปล่อยให้ต่อมหมวกไตล้าทำสุขภาพพัง แม้ว่าบางคนจะไม่ได้มีอาการรุนแรงถึงขั้นกระทบชีวิตประจำวัน แต่ก็ไม่ควรมองข้าม เพราะถ้าหากร่างกายถูกสะสมไว้เป็นระยะเวลานาน ก็อาจเกิดโรคแทรกซ้อนอื่นๆตามมา ควรได้รับการรักษาโดยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ ช่วยปรับฮอร์โมนคอร์ติซอล และฮอร์โมนดีเอชอีเอ กลุ่มฮอร์โมนความเครียดให้อยู่ในระดับที่สมดุล เพิ่มประสิทธิภาพ พร้อมต่อสู้กับความเครียดในแต่ละวันได้ดียิ่งขึ้น

ต่อมหมวกไตล้า

“ต้นเหตุของความแก่ ความเสื่อมโทรม และปัญหาสุขภาพของคนเมือง นำไปสู่โรคเสื่อมต่างๆหลายต่อหลายโรค สาเหตุมาจากความเครียด เป็นตัวกระตุ้นเพิ่มกระบวนการอักเสบ บ่อเกิดแห่งการไม่มีสมดุลฮอร์โมน”

เคล็ดลับวิธีฟื้นฟูเมื่อต่อมหมวกไตล้า ทำสุขภาพพัง

  • การนอนดี ควรนอนหลับอย่างน้อย 6-8 ชั่วโมง
  • ปรับเวลาเข้านอน ควรเข้านอนก่อน 4 ทุ่ม
  • ปรับอาหารการกิน หลีกเลี่ยงอาหารหวานและเค็มจัด
  • ทานอาหารเสริมและวิตามิน
  • การออกกำลังกาย
  • การจัดการความเครียด ลดความวิตกกังวล

ฮอร์โมนเสียสมดุล ปรับพฤติกรรมอาจไม่เพียงพอ

การเสียสมดุลของฮอร์โมนอาจมีได้หลายสาเหตุ ซึ่งหากทดลองปรับเปลี่ยนพฤติกรรมและการใช้ชีวิตดังกล่าวแล้วแต่ยังไม่ดีขึ้น อาการอ่อนเพลียเรื้อรัง นอนไม่หลับ ตื่นนอนไม่สดชื่นก็ยังมีอยู่ แนะนำให้ปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ W9 Wellness Center เพื่อช่วยหาสาเหตุของฮอร์โมนไม่สมดุล ที่เป็นบ่อเกิดของอาการ ต่อมหมวกไตล้า ได้อย่างตรงจุด

Share : 

บทความที่เกี่ยวข้อง

ช่วงนี้เข้ามาดูแลตัวเองที่ W9 Wellness ในโปรแกรม “การดูแลสุขภาพผู้หญิงวัย

นับวันปัญหามลพิษทางอากาศส่งผลต่อสุขภาพของคนในยุคนี้ไม่น้อย โดยเฉพาะคนที่อาศัยอยู่ในเมืองที่ต้องเจอทั้งฝุ่น PM2.5 ควันรถจากท่อไอเสีย ไมโครพลาสติก

Vitamin B12 มีความจำเป็นต่อการสร้างเม็ดลือดแดง การทำงานของระบบประสาททั้งส่วนกลางและส่วนปลาย มีส่วนสำคัญในกระบวนการเผาผลาญไขมันและโปรตีนในระดับเซลล์