ค้นหา
ปิดช่องค้นหานี้
ปวดท้องประจำเดือน

ปวดท้องประจำเดือน ประจำเดือนมาไม่ปกติ บรรเทาได้ด้วยการฝังเข็ม

“ปวดท้องประจำเดือน ประจำเดือนมาไม่ปกติ” การฝังเข็ม หลายๆ คนอาจจะเข้าใจว่าใช้ได้แค่แก้ปวด แต่จริงๆ แล้วมันสามารถใช้รักษาโรคอื่นๆ ได้ วันนี้หมอจะมาอธิบายเรื่องการฝังเข็มกับประจำเดือนผิดปกติว่าสามารถช่วยได้ยังไง

ทำไมการฝังเข็มช่วยแก้ปัญหาประจำเดือนมาไม่ปกติได้

ถ้าเราจะมาพูดกันว่า การฝังเข็มสามารถไปแก้ไขเกี่ยวกับเรื่องของประจำเดือนหรือระบบสืบพันธุ์เพศหญิงได้ยังไง หมอมองว่าเราอาจจะเล่ากันประมาณนึง เลคเชอร์คาบนึง เพราะจริงๆ แล้วต้องบอกก่อนว่า ในมุมมองของแผนจีนกับแผนปัจจุบันในการอธิบายเรื่องฝังเข็มจริงๆ ต้องบอกว่าทั้งสองฝ่ายมีทฤษฎีของเขาเองทั้งคู่ ในแง่ของแผนจีน ก็จะพูดในเรื่องของสมดุลหยินหยางในเรื่องของเส้นลมปราณต่างๆ

ส่วนในฝั่งของแผนปัจจุบันก็จะมีงานวิจัยออกมาในเชิงที่เป็นเรื่องของการกระตุ้น เรื่องของระบบปลายประสาทอัตโนมัติ ที่เกี่ยวข้องกับการควบคุมเรื่องของอวัยวะภายในต่างๆ เพราะฉะนั้นแล้วเราไม่จำเป็นหรอกครับว่าเราจะเอาฝั่งของแผนจีนหรือของแผนปัจจุบันมาอธิบายนะครับ สิ่งที่สำคัญกว่าคือ มันมีงานวิจัยแล้วก็ประสบการณ์ของแพทย์หลายท่านที่พบว่าสามารถนำมาใช้ร่วมรักษาได้

การฝังเข็มกับอาการ PCOS (ภาวะถุงน้ำรังไข่หลายใบ)

จากประสบการณ์เคสที่หมอเคยฝังเข็มในการร่วมรักษา เคสที่เกี่ยวข้องกับปัญหาประจำเดือน เคสนี้เป็นผู้หญิงอายุประมาณ 35 ปี ไม่มีประจำเดือนมาประมาณ 3 ปีแล้ว ก็ไปปรึกษาคุณหมอสูตินรีเวช ได้รับการวินิจฉัยว่าเป็น ถุงน้ำในรังไข่หลายใบ หรือที่หลายๆ อาจจะเคยได้ยินผ่านๆ ที่เรียกว่า PCOS (Polycystic Ovary Syndrome) ซึ่งโดยทั่วไปแล้วการรักษาหลักๆ ของแผนปัจจุบัน คุณหมอนสูตินรีเวชก็จะให้กลุ่มยาคุมฮอร์โมนในการปรับสมดุลรอบเดือน

เคสนี้คนไข้ก็มาปรึกษาด้วยความที่ส่วนหนึ่งก็คือรู้สึกว่า เอ๊ะ ใช้ยาคุมอย่างเดียวมันจะดีไหม เอ๊ะ ใช้ยาคุมอย่างเดียวแล้วมันจะหายหรือเปล่า แล้วก็รู้สึกว่าอยากมีการรักษาอื่นๆ ที่มากกว่าการใช้ยา เคสนี้หมอก็ฝังเข็มให้ ต้องบอกว่าตอนแรกที่พูดคุยด้วยความที่ประจำเดือนไม่มาหลายปีแล้ว หมอก็บอกว่าอาจจะต้องใช้จำนวนในการฝั่ง ประมาณ 5-10 ครั้ง โดยทั่วไปเราก็อาจจะต้องดูการตอบสนองแต่ละเคส แต่เคสนี้เป็นเคสนึงที่ทำให้เรารู้สึกว่า การฝังเข็มสามารถช่วยรักษา ช่วยร่วมรักษาสภาวะหลายๆ สภาวะได้ หนึ่งในนั้นก็คือ PCOS (Polycystic Ovary Syndrome)

เพราะว่าเคสนี้หลังจากฝังไปแค่ 1 ครั้ง คนไข้ก็กลับมาเล่าให้ฟังว่ารอบเดือนต่างๆ ใน 3 ปี หลังจากที่ไม่เคยมาเลย รวมถึงอาการปวดท้องตอนเป็นประจำเดือน หลังจากฝังซ้ำไปหลายๆ ครั้ง คนไข้ก็เริ่มรู้สึกว่าอาการปวดน้อยลง แล้วก็อาการท้องอืดก็เริ่มรู้สึกว่ามันลดลง

แต่หมอจะบอกว่าในแง่อื่นๆ ด้วยมันก็ได้ประโยชน์ คือเคสนี้ไม่ได้มีปัญหาแค่ PCOS (Polycystic Ovary Syndrome) อย่างเดียว เคสนี้จริงๆ มีหลายโรคร่วมด้วย คนไข้มีปัญหาเรื่องของไทรอยด์ต่ำ มีปัญหาท้องผูก ซึ่งปัญหาทั้งหมดถ้าเรามองไปในภาพเดียวกัน มันคือปัญหาที่มีการเสียสมดุลเดียวกัน แล้วก็เลยทำให้เกิดการแสดงออกต่างๆ แล้วก็ถูกคุณหมอในแต่ละแผนกวินิจฉัยเป็นโรคต่างๆ

แต่ในแง่ของแพทย์ทางเลือกไม่ว่าจะ การฝังเข็ม หรือ Anti-Aging เราจะมองทุกอย่างเป็นปัญหาเดียวกัน เพราะว่าในการเกิดโรคต่างๆ มันมีจุดเริ่มต้นจากการเสียสมดุลเดียวกัน เพราะฉะนั้นในแง่ของการรักษาอย่างแผนจีนในการฝังเข็มเอง เราก็จะพยายามปรับสมดุลที่มันเป็นจุดเริ่มต้นตรงนี้ มันก็เลยทำให้หลายๆ ภาวะที่เราเรียกว่าหลายๆ โรคดีขึ้นได้

ฝากถึงคนที่มีปัญหาเกี่ยวกับประจำเดือนผิดปกติ

เพราะฉะนั้นแล้วกับโรคหนึ่งโรคที่เราเรียกว่า PCOS (Polycystic Ovary Syndrome) เราอาจจะมองว่ามันเป็นปัญหาของเรื่องของฮอร์โมน เรื่องของถุงน้ำในรังไข่ หรืออาการ ปวดท้องประจำเดือน ประจำเดือนมาไม่ปกติ แต่จริงๆ แล้วหมออยากจะบอกว่า ถ้าเรามองถึงพื้นฐานที่มันเกิดขึ้นจากการเสียสมดุลแล้ว การรักษาอะไรบ้างล่ะที่มันสามารถจะไปแก้การเสียสมดุลตรงนี้ได้ การฝังเข็มเลยเป็นหนึ่งในทางเลือกตรงนั้นครับ

Share : 

บทความที่เกี่ยวข้อง

Vitamin B12 มีความจำเป็นต่อการสร้างเม็ดลือดแดง การทำงานของระบบประสาททั้งส่วนกลางและส่วนปลาย มีส่วนสำคัญในกระบวนการเผาผลาญไขมันและโปรตีนในระดับเซลล์

ต่อมหมวกไตล้า ต้นเหตุของอาการอ่อนเพลียเรื้อรัง นอนเท่าไหร่ก็ไม่พอ โรคยอดฮิตในหมู่สังคมออฟฟิศ นอกเหนือจากออฟฟิศซินโดรมแล้ว

หลายท่านคงคุ้นหูกับคำว่า “ภูมิแพ้อาหารแฝง” กันมาพอสมควร แต่ท่านทราบมั้ยคะ ว่าภูมิแพ้อาหารแฝงนี้มี
error: Content is protected !!