ค้นหา
ปิดช่องค้นหานี้

คนแก่ท้องผูก ถ่ายยาก อาจมีสาเหตุมาจากโพรไบโอติกส์ที่ลดลง

ยิ่งแก่ยิ่งท้องผูก ปัญหาท้องผูกสามารถเกิดขึ้นได้กับทุกเพศทุกวัย แต่จะพบได้บ่อยและเยอะในผู้สูงอายุ ซึ่งในประเทศไทยพบ คนแก่ท้องผูก ถึง 20-25% เลยทีเดียว ซึ่งหากสังเกตุดูคนที่อายุเยอะๆ เราจะพบว่าพวกเขาเหล่านี้มีปัญหาเรื่องลำไส้ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องการย่อยอาหาร ท้องอืด ท้องผูก แล้วสาเหตุท้องผูกในผู้สูงอายุมีอะไรบ้าง และเราจะช่วยแก้ปัญหาท้องผูกในผู้สูงอายุยังไงกันดี

แหล่งที่มาคนไทยท้องผูก กรมการแพทย์

ทำไมผู้สูงอายุถึงท้องผูก

สาเหตุที่ คนแก่ท้องผูก ไม่ใช่ว่ากินไฟเบอร์ไม่พอเพียงอย่างเดียว แต่อาจเกิดจากการที่ระบบร่างกายมันเปลี่ยน การเผาผลาญเริ่มไม่ดี สมดุลฮอร์โมนไม่สมดุล เช่น การทำงานของไทรอยด์ลดลง รวมถึงสมดุลของจุลินทรีย์ในลำไส้ที่ลดลง เพราะตั้งแต่อายุ 40+ ขึ้นไป โพรไบโอติกส์ ในลำไส้เริ่มลดลง ทำให้จุลินทรีย์ดังกล่าวทำงานได้ไม่ดี จึงเกิดอาการท้องผูกได้ง่ายขึ้นในผู้สูงอายุ

คนแก่ท้องผูก

เมื่อเรารู้อย่างนี้แล้วก็ต้องมองย้อนกลับไปถึงพฤติกรรมการใช้ชีวิต เราอาจจะเริ่มปรับอาหารการกิน ปรับการออกกำลังกาย การดื่มน้ำเปล่า และปรับสมดุลจุลินทรีย์ในลำไส้ เพราะถึงแม้เราจะคิดว่าเราทานอาหารที่เป็นออแกนิคทั้งหมด แต่อย่าลืมว่า ร่างกายของเราอาจจะไม่ได้เหมาะกับอาหารชนิดนั้นก็ได้ ยิ่งเราแก่ขึ้นร่างกายและระบบการย่อยอาหารก็ไม่เหมือนเดิมแล้ว การจะกินแบบเดิมก็อาจจะไม่ได้ผล

เพราะสมดุลจุลินทรีย์ในร่างกายได้เปลี่ยนไปแล้ว และถ้าจะให้ดีก็แนะนำว่าควรที่จะตรวจสมดุลจุลินทรีย์ จะได้รู้ว่าร่างกายขาดจุลินทรีย์ตัวไหน เราก็จะได้เสริมให้ตรงกับร่างกายและอาการที่เราเป็น เพื่อผลลัพธ์ที่ดีที่สุด

สาเหตุที่ผู้สูงอายุท้องผูกมีอะไรบ้าง

  1. การเคลื่อนไหวร่างกาย: การออกกำลังกายน้อยลงหรือการเคลื่อนไหวน้อยลงเมื่อเปรียบเทียบกับเมื่อก่อน อาจส่งผลให้ระบบทางเดินอาหารทำงานช้าลง ทำให้การย่อยอาหารและการเคลื่อนไหวของลำไส้เล็กลง
  2. การเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมน: การเปลี่ยนแปลงของระดับฮอร์โมนเมื่อเข้าสู่วัยกลางคนอาจส่งผลให้การทำงานของระบบทางเดินอาหารเปลี่ยนแปลง และทำให้เกิดปัญหาท้องผูก
  3. อารมณ์และความเครียด: ความเครียดและความกังวลอาจมีผลต่อการทำงานของระบบทางเดินอาหาร ทำให้เกิดปัญหาท้องผูกได้
  4. อาหารการกิน: ควรเลือกรับประทานอาหารที่ย่อยง่าย เพราะการบริโภคอาหารในวัยที่มากขึ้น อาจมีผลต่อการย่อยอาหารและการทำงานของลำไส้
  5. โรคประจำตัว: คนที่มีโรคเรื้อรัง เช่น โรคซึมเศร้า โรคตับ หรือโรคที่เกี่ยวข้องกับระบบทางเดินอาหารอาจมีความเสี่ยงในการท้องผูกมากขึ้น
  6. ระบบภูมิคุ้มกัน: เมื่อเข้าสู่วัยกลางคนร่างกายเกิดการเปลี่ยนแปลงในเรื่องของระบบภูมิคุ้มกัน สุขภาพลำไส้ และการย่อยอาหาร
  7. สุขภาพลำไส้: หากร่างกายมีสุขภาพลำไส้ที่ไม่ดี อาจส่งผลให้เกิดปัญหาท้องผูกได้ง่ายขึ้น

การดูแลสุขภาพลำไส้ถือว่าเป็นเรื่องที่ควรให้ความสำคัญเป็นอย่างมากในผู้สูงอายุ  โดยเฉพาะในเรื่องของอาหารการกิน การออกำลังกาย และการรักษาสมดุลจุลินทรีย์ในไล้ให้มีความสมดุล และถ้าเราสามารถรู้ได้ว่าร่างกายของเราขาดจุลินทรีย์ชนิดไหน การเสริมให้ถูกชนิดก็จะช่วยให้การขับถ่ายของผู้สูงอายุดีขึ้นได้

โพรไบโอติกส์ลดลง ส่งผลกระทบต่อสุขภาพ

  • ท้องผูก ขับถ่ายยาก
  • ภูมิคุ้มกันต่ำ ป่วยง่าย
  • การเผาผลาญลดลง
  • นอนไม่ค่อยดี
  • การย่อยอาหารไม่ดี

เคยสังเกตุมั้ยคะ ยิ่งอายุมากขึ้นก็จะยิ่งป่วยได้ง่ายขึ้น นั่นก็เป็นเพราะว่า 80% ของระบบภูมิคุ้มกันอยู่ที่ลำไส้ เพราะนอกจากปัญหาท้องผูกที่ผู้สูงอายุต้องเผชิญแล้ว ปัญหาลำไส้สุขภาพก็ยังส่งผลกระทบต่อสุขภาพในด้านอื่นๆ ตามมาด้วย ไม่ว่าจะเป็น ระบบภูมิคุ้มกัน การเผาผลาญที่ลดลง การนอนหลับ การจัดการความเครียด กระบวนการย่อย และการสร้างพลังงานระดับเซลล์ที่ช้าลง จะเห็นได้ว่าปัญหาสุขภาพลำไส้ไม่ใช่แค่เรื่องของการย่อยอาหารหรือการขับถ่ายเพียงอย่างเดียว แต่การย่อยอาหารนั่นเองที่เป็นจุดเริ่มต้นทั้งหมดของร่างกายเรา

“โพรไบโอติกส์” จุลินทรีย์ชนิดดีช่วยในการขับถ่าย

โพรไบโอติกส์ เป็นเชื้อจุลินทรีย์ที่มีชีวิต จุลินทรีย์เหล่านี้ได้รับการคัดเลือกแล้วว่าเป็นสายพันธุ์ที่มีประโยชน์ต่อร่างกาย เมื่อรับประทานเข้าไปในร่างกายแล้วจะไปตั้งรกรากอาศัยอยู่ในลำไส้ใหญ่ เพื่อช่วยปรับสมดุลของจุลินทรีย์ที่อาศัยอยู่แต่เดิมในลำไส้ ทำให้แบคทีเรียที่ดีมีจำนวนมากขึ้น และแบคทีเรียที่ไม่ดีมีจำนวนลดลง ส่งผลให้สุขภาพของลำไส้ทำงานได้ดีขึ้น และยังช่วยแก้ปัญหาท้องผูกได้อีกด้วย

ดังนั้น เพื่อสุขภาพลำไส้ที่ดีและการทานโพรไบโอติสก์ให้เห็นผล แนะนำว่าควรมีการตรวจสมดุลจุลินทรีย์ในลำไส้ (Gut Microbiome DNA Test) ก่อนเสริมโพรไบโอติกส์ เพื่อผลลัพธ์ที่ดีที่สุด

Share : 

บทความที่เกี่ยวข้อง

การรักษามะเร็งในปัจจุบันมีหลากหลายวิธีขึ้นอยู่กับชนิด ระยะ และความรุนแรงของโรค ซึ่งการรักษาทางหลักก็จะแบ่งการรักษาออกเป็น การผ่าตัด

อาหารบำรุงสมอง โรคอัลไซเมอร์ (Alzheimer’s disease) เป็นภาวะสมองเสื่อม (dementia

error: Content is protected !!