ค้นหา
ปิดช่องค้นหานี้
Alzheimer

อัลไซเมอร์ รู้ก่อน ป้องกันได้ (Functional Medicine approach for Alzheimer’s Prevention)

โรคอัลไซเมอร์ (Alzheimer’s Disease) เป็นโรคที่เกิดจากความเสื่อม ของการทำงาน (Functional) และโครงสร้าง (Structural) ของเนื้อเยื่อสมอง ซึ่งมักพบในผู้สูงอายุ

“ ไม่ใช่ความเสื่อมตามธรรมชาติ เพราะผู้สูงอายุไม่จำเป็นต้องเป็นอัลไซเมอร์ทุกคน ”

แต่เป็นความเสื่อมที่เกิดจากของเสีย (Toxic Protein) ชนิดหนึ่งที่เรียกว่า Beta-Amyloid หรือหลายชนิด สะสมคั่งค้างในสมอง และไปทำลายเซลล์สมอง ทำให้เนื้อสมองฝ่อ ทำให้สารสื่อประสาท Acetylcholine ที่มีผลโดยตรงต่อความทรงจำ (Memory) ลดลง ทำให้เซลล์สมองเสียหาย และทำให้เกิดอาการสมองเสื่อม (Dementia)

80% ของภาวะสมองเสื่อมยังรักษาไม่หายขาด
อีก 
20% มีสาเหตุที่สามารถรักษาหายได้ เช่น ขาดวิตามินบี 12

50% ของกลุ่มที่รักษาไม่หาย เกิดจาก โรคอัลไซเมอร์
อีก 
50% เป็นโรคอื่นที่มีลักษณะคล้ายอัลไซเมอร์

โดยจะค่อยๆ เริ่มจากสมองส่วน Hippocampus ที่มีบทบาทในการจดจำข้อมูลใหม่ๆ (ความจำระยะสั้น) จากนั้นจะแพร่กระจายไปยังสมองส่วนอื่นๆ ส่งผลต่อการเรียนรู้ ความรู้สึกนึกคิด ภาษา และพฤติกรรม โดยระยะเวลาทั้งหมดตั้งแต่แรกวินิจฉัยจนเสียชีวิตโดยเฉลี่ยจะอยู่ที่ประมาณ 8-10 ปี

ในยุคปัจจุบัน อัตราการเกิดโรคอัลไซเมอร์ มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง และเป็นในคนที่อายุเฉลี่ยน้อยลง ซึ่งผู้ป่วยกลุ่มนี้ตั้งแต่ระยะกลางเป็นต้นไป ต้องการการพึ่งพาของสมาชิกในครอบครัวสูงมาก ถือเป็นปัญหาสังคม

“ เนื่องจากโรคอัลไซเมอร์ สามารถถ่ายทอดทางพันธุกรรมได้ และปัจจัยทางพันธุกรรม อาจมีผลมากถึง 80% ”

การตรวจพันธุกรรม (Single Nucleotide Polymorphism) จึงมีความสำคัญ การตรวจ Apolipoprotein E (AopE) สามารถใช้ทำนายความเสี่ยง (1) ก่อนจะมีอาการ (predictive testing) ในสมาชิกครอบครัวของผู้ป่วย อัลไซเมอร์ เพื่อประเมินระดับความเสี่ยง เพื่อวางแผนการป้องกัน เฝ้าระวัง ความถี่ในการตรวจคัดกรอง และปรับคำแนะนำในการปฏิบัติตัวได้อย่าง เหมาะสมมากขึ้น

นอกจากปัจจัยทางด้านพันธุกรรมแล้ว การสะสมของสารที่เป็นพิษต่อสมอง เช่น ปรอท อลูมิเนียม แอมโมเนีย (2) หรือความผิดปกติในระบบขับของเสียในสมอง (Brain Detoxification) หรือแม้แต่ภาวะขาดวิตามินบางชนิด เช่น วิตามินดี (3) (Vitamin D deficiency) ในระยะยาว ก็อาจเป็นปัจจัยร่วม ในการก่อโรคสมองเสื่อมได้เช่นกัน

คำแนะนำเบื้องต้นเพื่อห่างไกลจากอัลไซเมอร์ก็คือ ฝึกสมองให้ได้คิดบ่อยๆ ผ่านการอ่านหนังสือ การเรียนรู้สิ่งใหม่ หัดประกอบหรือใช้อุปกรณ์ใหม่ๆ หรือเล่นเกมส์ก็ได้ มองโลกในแง่ดี ทำจิตใจให้มีความสุขในทุกวัน ฝึกจิต ทำสมาธิ ปล่อยวางเรื่องเครียด ออกกำลังกายสม่ำเสมอ และดูแลสุขภาพไม่ให้ป่วย ไม่ปล่อยให้เป็นโรคอ้วน

สมดุลสารอาหาร (Nutritional balance) มีงานวิจัยมากขึ้นในเชิงป้องกัน ทั้งโปรแกรมอาหาร MIND diet ที่ออกแบบมาเพื่อป้องกันโรคสมองเสื่อม โดยเน้นให้ทานถั่ว ธัญพืช ผักสดหลากสี ผลไม้จำพวกเบอร์รี่ ไข่และปลา และหลีกเลี่ยงการรับประทานทานอาหารแปรรูป (Processed food) หรือเพิ่มการรับประทานอาหารที่มีกลิ่นฉุน ซึ่งทำให้สมองสร้างสาร Hydrogen Sulfide หรือสารไข่เน่า ในปริมาณสูง จะช่วยเร่งการขับสารพิษออกจากสมอง พบว่าช่วยป้องกันความเสียหายต่อเซลล์สมอง (Neuroprotective effect) และอาจลดความเสี่ยง ต่อโรคอัลไซเมอร์ได้ (4)

ทาง Functional Medicine จึงได้มีการตรวจสมดุลเชิงลึก ซึ่งสามารถที่จะให้ข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับ ระดับการอักเสบเรื้อรังในสมอง (Chronic Brain Inflammation) ผ่านการตรวจกรดอินทรย์ในปัสสาวะ (Organic Acid Testing) และตรวจระดับโลหะหนักสะสม (Toxic Heavy Metals) สำหรับคัดกรองในคนที่สนใจ โดยเฉพาะผู้ที่มีความเสี่ยงสูง หรือมีประวัติในครอบครัวใกล้ชิด เพื่อวางแผนการปรับสมดุล เพื่อป้องกันโรค (Prevention) หรือแม้แต่ช่วยร่วมรักษาโรค (Complementary Treatment) เพื่อลดความรุนแรงและการดำเนินโรคได้

สาขาที่ให้บริการ

  • สาขา โรงพยาบาลพระรามเก้า
    • เบอร์โทรศัพท์: 092-9936922
    • Line: @w9wellness
    • เวลาเปิด-ปิด: 08.00 – 17.00 น.
  • สาขา เพลินจิตเซ็นเตอร์
    • เบอร์โทรศัพท์: 099-4969626
    • Line: @wploenchit
    • เวลาเปิด-ปิด: 10.00 – 19.00 น.

References:

1.Apolipoprotein E and oxidative stress in brain with relevance to Alzheimer’s disease. Neurobiol Dis. (2020)
2.A Hypothesis and Evidence that Mercury may be an etiological factor in Alzheimer’s disease. Int J. Environ Res Public Health (2019)
3.Vitamin D and the risk of dementia and Alzheimer Disease. American Academy of Neurology (2014)
4.A diet rich in taurine, cysteine, folate, B12 and betaine may lessen risk for Alzheimer’s disease by boosting brain synthesis of hydrogen sulfide. Med Hypothesis (2019)

Share : 

บทความที่เกี่ยวข้อง

ทำไมคนเมืองถึงผิวแพ้ง่ายกว่า? สาวเมืองอย่างเราๆ อาจจะได้เปรียบเรื่องความสะดวกสบาย แต่ก็ต้องแลกมาด้วยปัญหาสุขภาพที่ตามมา โดยเฉพาะเรื่องผิวพรรณ

“ปวดท้องประจำเดือน ประจำเดือนมาไม่ปกติ” การฝังเข็ม หลายๆ คนอาจจะเข้าใจว่าใช้ได้แค่แก้ปวด

ยิ่งแก่ยิ่งท้องผูก ปัญหาท้องผูกสามารถเกิดขึ้นได้กับทุกเพศทุกวัย แต่จะพบได้บ่อยและเยอะในผู้สูงอายุ ซึ่งในประเทศไทยพบ คนแก่ท้องผูก

error: Content is protected !!