วิธีเลือก Probiotics กินอย่างไรให้ตอบโจทย์สุขภาพมากที่สุด
ช่วงนี้หลายคนน่าจะได้ยินคำว่า “Probiotics” กันอยู่ไม่น้อย เพราะถือเป็นอาหารเสริมที่มาแรงในตอนนี้ ไหนจะโฆษณาชวนเชื่อที่บอกว่ามีประสิทธิภาพช่วยในเรื่องการขับถ่าย ช่วยปรับสมดุลลำไส้ ช่วยลดอาการลำไส้แปรปรวน ช่วยเรื่องสิวและผิวพรรณให้ดีขึ้น แต่ทั้งนี้หากเราเลือกรับประทานโพรไบโอติกส์ที่ไม่เหมาะสม หรือไม่ตรงกับสุขภาพลำไส้ของตัวเอง ก็อาจะส่งผลให้กินแล้วไม่เห็นผลก็เป็นได้
กิน Probiotics อย่างไรให้ได้ผล
การกินโพรไบโอติกส์ให้ได้ผลต้องกินคู่กับพรีไบโอติกส์ พอได้ฟังแบบนี้หลายคนก็จะสงสัยแล้วว่ามันเกี่ยวข้องกันยังไง เพราะจริงๆ โพรไบโอติกส์เปรียบเสมือนทหารที่พร้อมรบกับเชื้อโรคที่ปะปนเข้ามาในร่างกาย แต่ทหารจะมีแรงสู้รบก็ต้องมีเสบียงอาหารหรือพรีไบโอติกส์ด้วยจะได้มีแรงไปสู้รบกับเชื้อโรค เมื่อมีทั้งทหาร (โพรไบโอติกส์) กับเสบียงอาหาร (พรีไบโอติกส์) รวมกันแล้วจะเรียกว่า ซินไบโอติกส์ เมื่อกินคู่กันก็จะทำให้กองกำลังทหารของเราทำงานได้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น
เลือกโพรไบโอติกส์ที่ใช่กับร่างกายตัวเอง
จุลินทรีย์ในร่างกายแต่ละคนนั้นแตกต่างกัน ซึ่งความแตกต่างกันของจุลินทรีย์ได้รับผลจากปัจจัยต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นการรับประทานอาหาร ความเครียด การพักผ่อน การออกกำลังกาย วิธีคลอด ฯลฯ จุลินทรีย์ในร่างกายที่แตกต่างกันหรือกล่าวได้ว่า ความไม่สมดุลที่ไม่เหมือนกันจึงเป็นผลต่อปัญหาสุขภาพที่แตกต่างกันในแต่ละบุคคล การเลือกรับประทานโพรไบโอติกส์โดยไม่ทราบสายพันธุ์ หรือไม่ตรงกับสมดุลจุลินทรีย์ของตัวเอง อาจทำให้กินแล้วไม่เห็นผล ดังนั้น การตรวจเพื่อรู้ชื่อสายพันธุ์จุลินทรีย์จึงเป็นประโยชน์ในการช่วยเสริมโพรไบโอติกส์ให้ตรงกับร่างกายตัวเอง รวมถึงสัดส่วนที่ควรบริโภคในแต่ละบุคคลจึงเป็นสิ่งสำคัญ
Bifidobacterium bifidum ถูกพบทั่วไปในลำไส้ของคน และถือเป็นโพรไบโอติกส์ที่สำคัญ โดยมีประโยชน์ ดังนี้
- เสริมภูมิคุ้มกัน
- ผลิตกรดแล็กติก และยับยั้งการเจริญเติบโตของจุลินทรีย์ชนิดไม่ดี
- ลดระดับคลอเรสตอรอลในพลาสมา (ส่วนประกอบของเลือด)
- รวมเข้ากับสารพิษที่ผลิตโดยเชื้อก่อโรค ซึ่งลดความเสียหายที่เกิดจากสารพิษในอวัยวะของคน
- ลดอากสเกิดโรคในลำไส้ เช่น ulcerative colitis (เยื่อบุผนังลำไส้ใหญ่อักเสบ)
Lactobacillus gasser ส่วนใหญ่พบในน้ำนมของแม่ โดยหน้าที่สำคัญหลักๆ คือ
- สังเคราะห์ gassericin A ในร่างกายซึ่งมีหน้าที่ต่อสู้กับจุลินทรีย์ชนิดไม่ดี
- เสริมสร้างการสังเคราะห์ growth hormones
- ช่วยให้ร่างกายไม่เหนื่อยล้า และลดความกระวนกระวาย
- ลดความเครียดและช่วยให้การนอนมีคุณภาพขึ้น รวมถึงลดอาการท้องผูกจากสาเหตุความเครียด
- คุมน้ำหนัก และลดความเสี่ยงการเกิดกลุ่มอาการการเผาผลาญผิดปกติ (อ้วนลงพุง)
Lactobacillus plantarum สามารถผลิตสารที่ระงับการเติบโตของแบคทีเรียได้หลายชนิด เช่น กรดอินทรีย์ไดแอซิทิล แบคเทริโอซิน ไฮโดรเจนเพอร์ออกไซด์ แบคทีเรียนี้มีหน้าที่หลักคือ
- ช่วยควบคุมระบบภูมิคุ้มกันให้อยู่ในภาวะปกติ
- ยับยั้งการเติบโตของแบคทีเรียตัวร้าย
- ลดความเสี่ยงของการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือด
- ช่วยการดูดซึมสารอาหารในลำไส้
- ลดภาวะการแพ้น้ำตาลแลคโตส
- ลดความเสี่ยงการเกิดเซลล์มะเร็ง
Lactobacillus rhamnosus เป็นแบคทีเรียชนิดที่ยืดเกาะผนังลำไส้และขยายพันธุ์ได้ง่าย พบได้มากที่สุดในทางเดินอาหารของมนุษย์ โดยมีหน้าที่หลัก คือ
- ลดความเสี่ยงของอาการท้องเสีย และปรับปรุงการย่อยและดูดซึมสารอาหารให้ดีขึ้น
- เสริมสร้างภูมิคุ้มกัน
- เสริมความแข็งแรงของผนังลำไส้
- บรรเทาอาการแพ้และส่งเสริมสุขภาพโดยรวมให้แข็งแรง
- ลดความเสี่ยงฟันผุ
Streptococcus thermophilus จะเป็นแบคทีเรียในสกุล Streptococcus ซึ่งประกอบด้วยเชื้อก่อโรคหลายๆ ชนิด เช่น Streptococcus pneumoniae อย่างไรก็ตาม แบคทีเรียชนิดนี้ไม่มีผลร้ายกับคน ในปัจจุบันมีการนำไปใช้ในการผลิตโยเกิร์ต ซึ่ง Streptococcus thermophilus เองก็ยังช่วยลดอาการท้องเสีย ซึ่งเกิดจากการทานยาปฎิชีวนะ, การยับยั้งการเพิ่มจำนวนของแบคทีเรียชนิดไม่ดีในลำไส้ เสริมสร้างการเติบโตของ cortical cells ลดความเข้มข้นของสารพิษในระบบทางเดินปัสสาวะ ช่วยควบคุมการอักเสบของผนังลำไส้ และชะลอการเสื่อมของไตจากโรคไตเรื้อรัง
จะรู้ได้อย่างไรว่าโพรไบโอติกส์ที่กินไปได้ผล
จริงๆ แล้วเราสามารถสังเกตตัวเองได้ง่ายๆ จากอาการที่เรามี เช่น ท้องผูกเรื้อรัง ท้องเสีย ท้องอืด หากร่างกายได้รับโพรไบโอติกส์เข้าแล้วจะต้องช่วยแก้ปัญหาดังกล่าวให้เราได้ หรือทำให้อาการดังกล่าวดีขึ้น
โพรใบโอติก (Probiotics) เป็นจุลินทรีย์ที่มีประโยชน์ต่อร่างกาย ทั้งชนิดแบคทีเรียและยีสต์ ซึ่งมีวางจำหน่ายทั่วไป แต่อาจเป็นโพรไบโอติกสายพันธุ์ที่ไม่ตรงกับความต้องการของแต่ละบุคคล การตรวจจุลินทรีย์จึงเป็นการตรวจเพื่อดูว่าร่างกายของเรากำลังขาดโพรไบโอติกส์สายพันธุ์ชนิดใด Gut Microbiome DNA จึงเป็นการตรวจเพื่อวัดระดับจุลินทรีย์ในร่างกาย เพื่อที่จะได้เสริมโพรไบโอติกส์ในสายพันธุ์ และสัดส่วนที่เหมาะสมกับร่างกายของเรามากที่สุด
“เพราะร่างกายแต่ละคนไม่เหมือนกัน การเสริมโพรไบโอติกส์จึงต่างกัน”