หลายคนก็คงจะเคยได้ยิน เบบี้บลู (Baby blues) หรือ มาม่าบลู (Mama blues) เป็นภาวะที่เกิดขึ้นแล้วก็พบได้บ่อยสำหรับคุณแม่หลังคลอด โดยเฉพาะคุณแม่มือใหม่ มีหลายสิ่งหลายอย่างเกิดขึ้นครั้งแรกในชีวิต ไม่ว่าจะเป็นการตั้งครรภ์ หรือว่าการคลอดลูกน้อยออกมา ก็จะมีความกังวลสำหรับภาวะนี้พบได้มากถึง 80 เปอร์เซ็นต์ สำหรับ โรคซึมเศร้า หลังคลอด
ภาวะ โรคซึมเศร้า หลังคลอด
เป็นภาวะที่พบได้บ่อย ซึ่งเกิดจากการเปลี่ยนแปลงของระดับฮอร์โมนอย่างรวดเร็วหลังคลอด เป็นภาวะที่พบได้บ่อย ซึ่งเกิดจากการเปลี่ยนแปลงของระดับฮอร์โมนอย่างรวดเร็วหลังคลอด คุณแม่หลังคลอดส่วนมากมักจะมีอาการอยู่แค่ไม่กี่วัน ก็จะสามารถหายได้เอง เมื่อกลับบ้านมาทำกิจกรรมกับลูกน้อย จะช่วยให้คุณแม่กลับมามีชีวิตชีวา โดยมักมีอาการดังต่อไปนี้
- เศร้า ท้อแท้ สิ้นหวัง
- รู้สึกว่าร้องไห้โดยที่ไม่มีสาเหตุ
- ไม่มีความรู้สึกผูกพันกับลูก กังวลว่าจะไม่สามารถเลี้ยงลูกได้
- เหนื่อย รู้สึกหมดความสนใจกับสิ่งที่ชอบรอบๆ ตัว
ถึงแม้โรคซึมเศร้าหลังคลอดจะพบได้น้อย เพียง 10-15 เปอร์เซ็นต์ของคุณแม่หลังคลอด แต่ก็เป็นโรคที่ต้องเฝ้าระวัง เพราะอันตรายมากเช่นกัน
อาการมักจะเกิดในช่วงหลังคลอดใหม่ๆ โดยพบได้มากที่สุดในช่วง 3-6 เดือนหลังคลอด
อาการของโรคซึมเศร้าหลังคลอด
ช่วงหลังคลอดใหม่ๆ โดยพบได้มากที่สุดในช่วง 3 ถึง 6 เดือนหลังคลอด คุณแม่จะรู้สึกว่าตัวเองมีอารมณ์แปรปรวน สับสน เบื่อหน่าย ท้อแท้ บางคนอาจถึงกับร้องไห้โดยไม่มีเหตุผล นอนไม่หลับ ได้ยินเสียงร้องกวนก็หงุดหงิดหรือร้องไห้ ทานอาหารไม่ลงหรือทานมากกว่าปกติ น้ำหนักเปลี่ยนแปลงมากไปมาก บางคนมีความคิดที่ไม่ดีเกี่ยวกับการเลี้ยงลูก ต้องการทอดทิ้ง หรือถึงขนาดมีความคิดทำร้ายลูกขึ้นมาได้ ซึ่งมักจะตามมาด้วยความรู้สึกผิดและทำให้อาการของโรคซึมเศร้าหนักมากขึ้นไปอีก
สาเหตุของการเกิดโรคซึมเศร้าหลังคลอด
สาเหตุหลักๆ อาจมาจากการเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมนเพศในร่างกาย เช่น เอสโตรเจน (Estrogen) โปรเจสเตอโรน (Progesterone) และอื่นๆ แต่บางครั้งก็เกิดจากความเครียดและความกังวลใจในฐานะที่เป็นคุณแม่มือใหม่
ในระหว่างที่เราตั้งครรภ์ไปจนถึงคลอด ทั้งคุณแม่และลูกน้อยต่างก็ต้องการไขมันชนิดดี เช่น Omega-3 เพราะว่ามีส่วนช่วยในการเสริมสร้างสมองของลูกน้อย แล้วเจ้าตัว Omega-3 เอง นอกจากจะเป็น สาร Anti-Inflammatory หรือว่าสารลดการอักเสบ ยังช่วยในเรื่องของการยับยั้งกระบวนการการเกิด Depression หรือภาวะซึมเศร้า และ หลังจากที่คลอดลูก สมองก็จะทำการสั่งร่างกายเร่งการผลิตฮอร์โมนโปรแลคติน (Prolactin)
เพื่อกระตุ้นการผลิตน้ำนมให้ลูกน้อย ซึ่งในขั้นตอนนี้ ร่างกายของเราก็จะดึง Omega-3 ที่ร่างกายคุณแม่สะสมไว้ ไปสร้างฮอร์โมนนี้ โดยไม่สนใจว่าร่างกายของคุณแม่จะมี Omega-3 หลงเหลืออยู่เท่าไหร่ เพราะให้ความสำคัญกับการสร้างและผลิตน้ำนมให้กับลูกน้อยของเราเท่านั้น เพราะฉะนั้นระดับ Omega-3 ก็จะลดลงอย่างรวดเร็ว มันก็เลยทำให้เกิดภาวะซึมเศร้าหลังคลอดได้ง่ายขึ้น
ผลการศึกษาของนักวิจัยจาก Imperial College กรุงลอนดอน ศาสตราจารย์ โรซี่ เพอร์กินส์ (Prof Rosie Perkins) พบว่า การร้องเพลงกล่อมลูกของแม่กับภาวะซึมเศร้ามีความสัมพันธ์กัน ซึ่งหมายความว่า เวลาที่คุณแม่ร้องเพลงให้ลูกน้อยฟัง จะช่วยลดอาการซึมเศร้าหลังคลอดของคุณแม่ได้ในระดับกลางถึงรุนแรง แถมยังช่วยให้ลูกมีพัฒนาการ นอกจากนี้ยังพบอีกว่า คุณแม่ที่มีอาการซึมเศร้าหลังคลอดแล้วร้องเพลงให้ลูกฟัง จะสามารถลดอาการซึมเศร้าหลังคลอดได้เร็วกว่าผู้ที่ไม่ได้ร้องเพลงกล่อมลูกถึงร้อยละ 35
ประสบการณ์ ซึมเศร้าหลังคลอดของคุณหมอ
มันคือครั้งแรก ครั้งแรกของการเป็นคุณแม่ ครั้งแรกของการคลอด เพราะฉะนั้นเราก็จะมีความกังวลเป็นเรื่องปกติ แต่ว่าเราตั้งใจที่จะเป็นคุณแม่สายเวลเนส เพราะฉะนั้นเนี่ย ไอซ์ก็โชคดีมาก ได้นำเอาความรู้ ไม่ว่าจะเป็นความรู้ด้านชะลอวัย Functional Medicine, Holistic Care เอามาปรับใช้กับตัวเอง ไอซ์ก็จะดูแลตัวเองมากๆ โดยเฉพาะเรื่องของ Nutrition เลยจะให้ความสำคัญมากๆ ในการเลือกรับประทานอาหาร
ตัวไอซ์เอง เพื่อจะลดความเสี่ยงซึมเศร้าหลังคลอดของตัวเอง ก็จะลองคิดว่าทำอะไรบ้างแล้วตัวเองมีความสุข ไอซ์ก็ทำค่ะ เช่น อาจจะเลือกนอนพร้อมลูกน้อยบ้าง หรือ ถ้ายังไม่ง่วงแล้วมีเวลาส่วนตัวเป็นของตัวเอง ถึงอาจจะไม่มากแค่ 10-20 นาที ก็จะ ดูละครซีรี่ย์ในYouTube หรือ ฟังเพลงที่เราชอบ เพื่อให้เราได้ relax ทั้งร่างกายและจิตใจ และ พวกเราคุณแม่ทั้งหลาย ก็ไม่จำเป็นต้องรู้สึกผิดค่ะ
สำหรับการดูแลตัวเองของไอซ์ ก็แนะนำว่า ระหว่างที่ตั้งครรภ์ การรับประทานอาหารที่มีสารอาหารกลุ่มไขมันดี และ Omega-3 จะช่วยป้องกันได้ แต่ปัญหาก็คือช่วงก่อนคลอด คุณหมอไม่แนะนำให้ทานเป็นอาหารเสริมเพราะอาจจะส่งผลต่อการแข็งตัวของเลือด แต่ไม่มีมีข้อห้ามในการรับประทานเป็นอาหาร ดังนั้น อาหารที่มี Omega-3 สูงๆ เราเริ่มทานได้ตั้งแต่ก่อนจะคลอดเลย
นอกจากนี้ ยังมีกลุ่มวิตามินและแร่ธาตุ วิตามินบี 6 โอเมก้า 3 สังกะสี ทองแดง แมกนีเซียม Polyphenol สุดท้าย สมดุลของแบคทีเรียในลำไส้เรา อย่างที่เราทราบกันว่า ลำไส้คือสมองที่ 2 ของเรา อาหารปรับสมดุลลำไส้ เช่น กิมจิ, ซุปมิโซะ (Miso soup), ซาวเคราท์ (Sauerkraut) เป็นต้น
สำหรับการดูแลตัวเองเบื้องต้นของคุณแม่สายเวลเนส ไม่มีอะไรเป็นไปไม่ได้ และไม่มีอะไรยากเกินความสามารถของมนุษย์แม่ “สุขภาพจิตเป็นเรื่องที่สำคัญ คุณแม่เบิกบานลูกน้อยสดใส”