ค้นหา
ปิดช่องค้นหานี้

วิตามินดี กับโรคอ้วน สัมพันธ์กันจริงหรือ??

มีงานวิจัยหลายฉบับ พบว่าความอ้วนกับระดับ วิตามินดี ต่ำมีความสัมพันธ์กัน (Obesity is conversely related with serum Vitamin D) ซึ่งพบเพิ่มมากขึ้นอย่างต่อเนื่อง ทั้งเด็กและผู้ใหญ่ ในทุกๆชนชาติ

คำถามที่ตามมาคือ

  • ภาวะขาดวิตามินดี เป็นต้นเหตุ หรือว่าเป็นผลของโรคอ้วนกันแน่?
  • อะไรเป็นต้นเหตุของวิตามินดีต่ำในคนอ้วน?
  • การเสริมวิตามินดีในคนอ้วนจะช่วยลดน้ำหนักได้มั้ย?]

วิตามินดี เป็นวิตามินที่ละลายในไขมัน ซึ่งกระจายตัวอยู่ในเนื้อเยื่อต่างๆทั่วร่างกาย ทั้งเนื้อเยื่อไขมัน กล้ามเนื้อ ตับ และ ในกระแสเลือด คนอ้วนมักมีระดับวิตามินดีต่ำกว่าคนไม่อ้วนประมาณ 20% (Serum Vitamin D is about 20% lower in obese people than normal weight) ทั้งๆที่คนอ้วนก็ได้รับวิตามินดีจากอาหารและแสงแดด ในปริมาณไม่ได้น้อยกว่าคนไม่อ้วน แต่เนื่องจากคนอ้วนมีปริมาณเนื้อเยื่อไขมันมากกว่า วิตามินดีจึงถูกกระจายตัว ไปอยู่ตามเนื้อเยื่อต่างๆมากกว่า (whole body volumetric dilution effect) ทำให้ระดับวิตามินดีในเลือดต่ำลง นอกจากนั้น เนื้อเยื่อไขมันที่ดื้อต่ออินซูลินยังสามารถผลิตเอนไซม์ที่มีผลต่อกระบวนการสังเคราะห์วิตามินดีอีกด้วย จึงสรุปได้ว่าวิตามินดีต่ำ ส่วนหนึ่งเป็นผลจากความอ้วน

เป็นที่ทราบกันดีว่า วิตามินดี ช่วยลดระดับการอักเสบในเนื้อเยื่อไขมัน และมีความสำคัญต่อการทำงานของอินซูลิน ทั้งทางตรงและทางอ้อม แต่จากการรวบรวมศึกษาขนาดใหญ่ที่มีจนถึงปัจจุบันนี้ มีเพียงแค่ 4-5 งานวิจัยคุณภาพดี ที่สรุปว่าการเสริมวิตามินดีในคนอ้วนที่ขาดวิตามินดี มีส่วนช่วยในโปรแกรมลดน้ำหนัก โดยมีผลช่วยลดมวลไขมัน (fat mass) ไขมันช่องท้อง (visceral fat) ลดรอบเอว ลดไตรกลีเซอไรด์ เพิ่มไขมันดี และลดการตอบสนองต่อน้ำตาล (oral glucose tolerance) แต่ไม่ได้มีส่วนช่วยลดน้ำหนักโดยตรง และไม่ได้ทำให้ค่าการอักเสบลดลงด้วย

อย่างไรก็ตาม จากการรวบรวมงานวิจัยขนาดใหญ่จนถึงวันนี้ ยังคงสรุปไม่ได้ว่าการเสริมวิตามินดีช่วยลดน้ำหนักได้

คนอ้วนที่วิตามินดีต่ำ มักจะต้องการการเสริมวิตามินดีในขนาดที่สูงกว่าคนไม่อ้วน และระดับวิตามินดีอาจเพิ่มขึ้น ระหว่างลดน้ำหนักได้ จึงต้องระวังภาวะเป็นพิษจากวิตามินดีเกินด้วย ดังนั้นหากต้องการเสริมวิตามินดี จึงควรตรวจระดับวิตามินดี และปรึกษาแพทย์เพื่อเสริมวิตามินดีในขนาดที่เหมาะสมต่อไป

References

  • Is Vitamin D Supplementation Useful for Weight loss program? A Systematic Review and Meta-analysis of Ranomized Controlled Trials. Medicina(Kaunas) 2019
  • Vitamin D in Obesity, Current Opinion in Endocrinology, Diabetes and Obesity, 2017
  • Association between obesity and Vitamin D deficiency, Obesity Review, 2015
  • Vitamin D and Obesity, Annuals of Nutrition and Metabolism, 2013
  • Investigations of anti-inflammatory effects of Vitamin D in adipose tissue: Result from an in vitro study and A randomized controlled trial. Horm. Metab. Res. 2013
  • Calcium plus Vitamin D3 supplementation facilitated fat loss in overweight and obese college students with very-low calcium consumption: a ranomized controlled trial. Nutrition J. 2013
  • Expression of Vitamin D Metabolizing enzymes in human adipose tissue – The effect of obesity and diet-induced weight loss. Int. J. Obese. 2012

Share : 

บทความที่เกี่ยวข้อง

หาไม่ได้บนโลกใบนี้ค่ะ คือคุณจะไปหากินที่ไหนก็ไม่ได้ เพราะมันเป็นสิ่งที่แม่มอบให้กับลูก เป็นสมบัติชิ้นสุดท้ายจากร่างกายของเราเอง มอบไปสู่ลูก “กินโพรไบโอติกส์ ตอนไหนให้เห็นผล” จุลินทรีย์กับความเป็นแม่ สำหรับแม้ว จุลินทรีย์กับความเป็นแม่เป็นสิ่งที่สำคัญมาก แม้วเริ่มต้นจากตอนที่ท้องลูกสาว แม้วเป็นคนกลัวเจ็บมากที่สุดบนโลกใบนี้ ตอนที่รู้ว่าท้องเนี่ย บอกคุณหมอว่า ทำยังไงก็ได้นะคะที่ไม่ให้เจ็บ จะบล็อคหลัง ฉีดยาอะไรให้เราคลอด โดยที่เราไม่รู้สึกเจ็บเลย แต่คุณหมอบอกว่าการคลอดธรรมชาติเนี่ย มันจะมีจุลินทรีย์ที่ดีมากๆ เลย ที่เราจะมอบให้ลูก ซึ่งเป็นของขวัญชิ้นสุดท้ายที่เราจะให้ลูกก่อนที่เค้าจะออกมาบนโลกใบนี้ค่ะ นอกจากที่จุลินทรีย์ตอนคลอดแล้วก็ยังมีจุลินทรีย์ในน้ำนมแม่ ซึ่งมีส่วนสำคัญมากสำหรับลูกของเรานะคะ คือแม้วให้นมแม่กับลูก 5 ปีเต็ม (ร้อยเปอร์เซ็นต์) แล้วลูกสาวก็เป็นเด็กที่แข็งแรงมากๆ เลยค่ะ สิ่งที่สามที่แม้วโฟกัสหลังจากนั้นก็คือ โภชนาการ หลังจากเค้าเริ่มอาหารเสริม คือโภชนาการเนี่ยมันจะควบคู่กันระหว่าง Educational กับ Lifestyle น้ำตาลเนี่ยคือศัตรูตัวร้ายฉกาจสุดๆ สำหรับจุลินทรีย์เลย เพราะมนุษย์เรามีอวัยวะ 32 ครบ แต่ใน 32 นั้นเนี่ย มันก็สอดแทรกด้วยจุลินทรีย์ทั้งหมดเนี่ย 90% เพราะฉะนั้นก็ค่อยๆ สอดแทรกให้เค้าไป ให้เค้าเรียนรู้จากการที่เราทำให้เค้าดูค่ะ แล้วก็อีกอย่างคือแม้วจะเลือกทำอาหารที่สด เราจะไม่ให้เค้าทานพวกอาหารแปรรูปทั้งหลายแหล่ เพราะว่ากว่าจะออกมาเป็นอาหารแปรรูปได้ขนาดนี้ มันก็ต้องผ่านกระบวนการเยอะ […]

ระบบภูมิคุ้มกัน (Immune System) ทำหน้าที่คอยต้านและกำจัดเชื้อโรคหรือสิ่งแปลกปลอมที่เข้าสู่ร่างกาย การดูแลรักษาระบบภูมิคุ้มกันให้พร้อมสู้เอาไว้

ฮอร์โมน ถือว่าเป็นกุญแจสำคัญของร่างกายเลยก็ว่าได้ เพราะเมื่อไหร่ที่ร่างกายหรือฮอร์โมนในร่างกายตัวใดตัวนึงมีการเสียสมดุล จะส่งผลต่อทุกระบบในร่างกายของเรา ไม่ว่าจะเป็นการนอนไม่หลับ