ค้นหา
ปิดช่องค้นหานี้
นอนไม่หลับ

นอนไม่หลับ นอนหลับยาก วิกฤตสุขภาพคนยุคใหม่!

นอนไม่หลับ ..เป็นอีกหนึ่งปัญหาที่เกิดขึ้นได้กับทุกคนทุกเพศ ทุกวัย  โดนอาการนอนไม่หลับของคนทั่วไปจะเฉลี่ยอยู่ที่ 1-2 คืนต่อสัปดาห์ หากนอนไม่หลับ หรือนอนหลับยากติดต่อกันอย่างน้อย 2 สัปดาห์ ให้สงสัยไว้ว่าร่างกายกำลังมีความผิดปกติบางอย่าง ซึ่งหากปล่อยทิ้งไว้นานอาจพัฒนาไปสู่ภาวะอื่นๆ ที่มีผลต่อสุขภาพระยะยาวได้

“คุณภาพการนอน มีมูลค่า
เงินตรา.. ไม่สามารถชดเชยได้”

นอนไม่หลับ

นายแพทย์พิจักษณ์ วงศ์วิศิษฎ์ ผู้อำนวยการ W9 Wellness Center โรงพยาบาลพระรามเก้าได้พูดถึงปัญหาการ นอนไม่หลับ ของคนยุคนี้ไว้อย่างน่าสนใจว่า “ปัญหาการนอนไม่หลับกำลังแทรกซึมทำลายสุขภาพของประชากรทั่วโลก สำหรับในประเทศไทยพบว่าคนไทยมีปัญหานอนไม่หลับ มากถึง 30-40% ของประชากรไทย หรือราวๆ 19 ล้านคน”

อะไรทำให้คนยุคใหม่.. นอนไม่หลับ ?

นอนไม่หลับ (Insomnia) ถือเป็นโรคความผิดปกติด้านการนอน หรือเรียกได้ว่าเป็นปัญหาที่เกิดจากการนอนที่ไม่ได้คุณภาพ ซึ่งหากย้อนกลับไปราวหสิบปีก่อนเชื่อว่าหลายคนคงยกให้ “ความเครียด” เป็นสาเหตุตั้งต้นของปัญหาด้านการนอน แต่สำหรับผู้คนในยุคปัจจุบัน ความเครียดอย่างเดียวคงไม่สามารถทำให้เข้าสู่ภาวะนอนไม่หลับเรื้อรังได้ สาเหตุหลักๆ ที่ทำให้คนยุคดิจิตัลนอนไม่หลับ มาจากอะไรได้บ้าง..

  • พฤติกรรมการทำงาน (Work behavior) ด้วยความสะดวกรวดเร็วที่มีตลอดเวลา ทำให้ขีดจำกัดในการทำงานถูกทลายลง จากสถิติพบว่าประชากรกว่า 20% ทั่วโลก มีพฤติกรรมการทำงานตอนกลางคืน ทั้งจากการประชุมหรือการทำงานที่ติดพัน จนเผลอทำเวลาการนอนหล่นหาย
  • เทคโนโลยี (Smart technology) สาเหตุสำคัญที่ทำให้เราก้มหน้าคุยกันจนทุกวันนี้ จากอุปกรณ์สมาร์ทโฟน แท็บเล็ต หรือหน้าจอต่างๆ ที่พร้อมจะสาดแสงเข้าดวงตาเราแบบทั้งวันทั้งคืน บวกกับเสียงรบกวนจากภาพนอก จนเกิดเป็น Light Pollution ที่เข้าไปรบกวนร่างกาย เหมือน Lightmare ไม่ใช่ Nightmare (ฝันร้าย) ทำให้มีอาการหลับๆ ตื่นๆ หรือนอนไม่หลับ
  • ไลฟ์สไตล์ที่เร่งรีบ (Lifestyle) วิถีชีวิตที่เปลี่ยนไป จนคนส่วนใหญ่มีพฤติกรรมการใช้ชีวิตที่เร่งรีบ ความรวดเร็วที่เพิ่มขึ้นในทุกๆ กิจกรรม โดยเฉพาะการรับประทานอาหารจานด่วน มื้อใหญ่ มื้อดึก รวมถึงเครื่องดื่มที่มีคาเฟอีนอยู่มาก ทำให้นอนหลับยาก หรือนอนไม่หลับได้ในที่สุด

“นอนหลับดี.. โชคดีมาก
นอนหลับยาก.. โชคดีน้อย”

นอนไม่หลับ

นอนไม่หลับ หรือนอนหลับยาก.. กระทบสุขภาพขนาดไหน ?

การนอนหลับ ถูกจัดให้เป็นหนึ่งในความโชคดีของการนำไปสู่สุขภาพที่ดีในระยะยาว เพราะนอกเหนือจากพฤติกรรมสุ่มเสี่ยง เช่น การดื่มแอลกอฮอล์ สูดรับควันเขม่า หรือการรับประทารอาหารที่ไม่เป็นประโยชน์ต่อร่างกายแล้ว “คุณภาพการนอน” เป็นแรงขับเคลื่อนชิ้นสำคัญต่อระบบต่างๆ ทั่วทั้วร่างกาย จริงอยู่ที่เราทุกคนอาจมีอาการ นอนไม่หลับ หรือหลับได้ยากในบางคืน แต่ในผู้ที่มีภาวะนอนหลับยากเรื้อรัง อาจต้องเฝ้าระวังอาการต่างๆ เช่น

  • หลับไม่สนิท ตื่นกลางดึกบ่อย (หลับๆ ตื่นๆ)
  • หงุดหงิดง่าย กระสับกระส่าย
  • รู้สึกอ่อนเพลีย
  • ไม่มีสมาธิในการทำงาน ตื่นมาไม่สดชื่น

หากพบอาการอย่างใดอย่างหนึ่งมากกว่า 2 สัปดาห์ ให้สงสัยไว้ว่าเรากำลังมีภาวะนอนไม่หลับเรื้อรัง และควรเข้ารับคำปรึกษา ที่ปลอดภัยและเหมาะสมต่อไป แต่สิ่งที่เกิดขึ้นส่วนใหญ่กลับพบว่า หลายคนเลือกที่จะซื้อยานอนหลับมากินเอง ซึ่งเสี่ยงเป็นอันตรายต่อตนเองค่อนข้างมาก ด้วยเพราะลักษณะตัวยาที่ใช้จะเหมาะกับลักษณะอาการที่แตกต่างกัน แม้จะมาด้วยอาการนอนไม่หลับเหมือนกันก็ตาม แต่ทุกๆ การรักษาควรอยู่ภายใต้ความดูแลจากแพทย์ผู้เชี่ยวชาญอย่างใกล้ชิด เพราะหากปล่อยทิ้งไว้นานอาจนำมาสู่ภาวะผิดปกติบางอย่างได้ ดังนี้

  • ความสามารถและทักษะลดลง เช่น สมองตอบสนองช้า สมาธิลดลง ซึ่งส่งผลต่อกิจกรรมในชีวิตประจำวันได้ (ขับรถ, ทำงาน, การตัดสินใจ ,การใช้เหตุผล)
  • ความเสี่ยงจากโรคเรื้อรัง เช่น โรคหลอดเลือดหัวใจและหลอดเลือด โรคอ้วน โรคเบาหวาน มะเร็ง ไปจนถึงความเสี่ยงของภาวะสมองเสื่อมได้ง่ายกว่าคนทั่วไป โดยเฉพาะคนที่นอนไม่หลับเพราะความเครียด ที่มีโอกาสพัฒนาไปเป็นโรคซึมเศร้าได้ง่ายกว่าคนปกติถึง 2 เท่า รวมถึงโรคทางจิตอื่นๆ ร่วมด้วยได้ เช่น ประสาทหลอน และไบโพลาร์
  • นาฬิกาชีวิต (Biological Clock) เสียสมดุล ซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญที่อาศัยอยู่ในสมองส่วนไฮโปทามามัส คอยทำหน้าที่ควบคุมการทำงานของระบบต่างๆ ตามเวลาของร่างกาย

หลับ-ตื่น ให้เป็นเวลา รักษานาฬิกาชีวิตให้ดี!

นอนไม่หลับ

นอกจากการปรับความคิด และพฤติกรรมที่เป็นตัวการแห่งความเครียด จนทำให้นอนหลับได้ยากแล้ว การรีเซ็ทนาฬิกาชีวิต (Biological Clock) ให้กลับมาเดินเป็นปกติตามเวลาของร่างกาย ยังเป็นสิ่งสำคัญที่ควรทำเป็นอันดับแรกๆ เพราะนาฬิกาชีวิตมีหน้าที่กำหนดพฤติกรรม อุณหภูมิในร่างกาย สร้างเซลล์ใหม่ ดูแลระบบภูมิคุ้มกัน และฮอร์โมนต่างๆ ที่มีทั่วร่างกายให้ทำงานเวลาเดิมในรอบ 1 วัน (เช้า-กลางคืน) เรียกได้ว่า “ทำงานทั้งวันทั้งคืน” การที่เรานอนไม่เป็นเวลา จึงเป็นปัญหาที่กระทบกับเวลาทำงานของฮอร์โมนชนิดอื่นๆ เช่น

  • หิวตอนดึก เพราะฮอร์โมนเกอร์ลิน (Ghrelin Hormone) หลั่งมากขึ้น
  • กระบวนการซ่อมแซมร่างกายไม่ดี เพราะโกรทฮอร์โมน (Growth Hormone) หลั่งได้ไม่เต็มที่ (เที่ยงคืน-ตีหนึ่ง)
  • นอนหลับยาก เพราะแสงจอคอม หรือโทรศัพท์ ที่มีผลต่อการหลั่งฮอร์โมนเมลาโทนิน (Melatonin) ที่ช่วยควบคุมเวลานอนของร่างกาย
  • ความเครียดเพิ่มขึ้น ยิ่งนอนไม่หลับ เพราะฮอร์โมนคอร์ติซอล (Cortisol Hormone) ถูกกระตุ้นให้หลั่งมากขึ้น
  • ต่อมหมวกไตล้า เพราะฮอร์โมนต่อมหมวกไตทำงานหนักเกินไป

ดีที่สุดคือ การรักษาสมดุลนาฬิกาชีวิตของร่างกายให้ดี เริ่มจากหยุดเล่นโทรศัพท์ประมาณ 30 นาที ถึง 1 ชั่วโมง ก่อนที่จะเข้านอน งดดื่มกาแฟหรือเครื่อมดื่มรสหวาน ฝึกผ่อนคลาย เลิกคิดเรื่องวุ่นวายช่วงก่อนนอนให้ได้ รวมถึงการใช้โปรแกรมตรวจสมดุลฮอร์โมนที่จำเป็นต่อประสิทธิภาพการทำงานของร่างกาย ช่วยคืนสมดุลฮอร์โมนที่ส่งผลต่อการนอนหลับที่ดี และมีคุณภาพ

Share : 

บทความที่เกี่ยวข้อง

ความอ้วนกับสารพิษสัมพันธ์กันอย่างไร ? “ความอ้วน” เป็นปัญหาที่หลายๆ คนกำลังเผชิญอยู่ และมีแนวโน้มว่า“โรคอ้วน” พบเพิ่มมากขึ้นในทุกปี

การนอนหลับช่วยซ่อมแซมส่วนต่างๆ ของร่างกายให้ดีขึ้น แต่การ นอนไม่พอ ก่อให้เกิดภาวะซึมเศร้า

“ปวดท้องประจำเดือน ประจำเดือนมาไม่ปกติ” การฝังเข็ม หลายๆ คนอาจจะเข้าใจว่าใช้ได้แค่แก้ปวด

error: Content is protected !!