ค้นหา
ปิดช่องค้นหานี้

ตรวจหามะเร็ง มีความสำคัญอย่างไร?

โดยทั่วไปหากร่างกายมีเนื้อร้ายซ่อนอยู่ก็จะใช้เวลานานพอสมควรกว่าจะพัฒนามาเป็นเนื้องอกหรือมะเร็ง การ ตรวจหามะเร็ง หรือตรวจหาความผิดปกติตั้งแต่ระยะแรกจึงมีความสำคัญมาก เพื่อลดความเสี่ยงการเกิดเนื้องอกหรือมะเร็งที่อาจแฝงอยู่ในตัวคุณ และมีโอกาสเลี่ยงการรักษาที่อาจมีผลข้างเคียงรุนแรง รวมทั้งเป็นประโยชน์ต่อการติดตามผลการรักษาอีกด้วย

 

ตรวจหามะเร็ง Cancer Screening (EDIM Technology)

เป็นการตรวจคัดกรองเนื้องอกหรือมะเร็งเพียงการทดสอบเดียว สามารถ ตรวจหามะเร็ง ได้ตั้งแต่ระยะเริ่มแรก ซึ่งตรวจคัดกรองได้เร็วกว่าการตรวจสารบ่งชี้มะเร็ง (Tumor marker) ด้วยเทคโนโลยีการตรวจหาเนื้อร้ายที่ผิดปกติ หรือที่มีโอกาสกลายเป็นเนื้องอกหรือมะเร็งในร่างกาย โดยใช้ตัวบ่งชี้ APO10 และ TKTL1 ในแมคโครฟาจ (เม็ดเลือดขาวชนิดหนึ่งทำหน้าที่จับกินสิ่งแปลกปลอมในร่างกาย รวมถึงเนื้อร้าย เปรียบเสมือนรถขยะของร่างกาย)

  • ตรวจวินิจฉัยได้ตั้งแต่ระยะเเรกจากการเจาะเลือด แทนการตรวจด้วยตัวอย่างชิ้นเนื้อเยื่อ ไม่ต้องเจ็บตัวจากกระบวนการผ่าตัด
  • มีความแม่นยำของการตรวจ มีความจำเพาะและความไวในการตรวจสูง
  • ตรวจหาเนื้องอกหรือมะเร็งที่เป็นก้อนได้ทุกชนิด แม้เนื้องอกขนาดเล็กก็สามารถตรวจพบได้
  • ตรวจติดตามหลังการรักษา หรือตรวจเฝ้าระวังการเกิดซ้ำ

จุดตรวจจับมะเร็งที่สำคัญ

ตรวจคักกรองมะเร็ง W9 Advanced Cancer Screening Test (EDIM Technology)

สามารถตรวจวัดระดับความผิดปกติในช่วงก่อนที่จะกลายเป็นเนื้องอกหรือมะเร็งได้ ซึ่งความผิดปกติระดับนี้มีโอกาสสูงที่จะควบคุม และเพิ่มโอกาสในการป้องกันไม่ให้พัฒนาไปเป็นเนื้อร้ายได้มากกว่า 51 ชนิด แต่เราสามารถป้องกันได้โดยการปรับพฤติกรรมดูแลสุขภาพ ลดความเสี่ยงที่จะส่งผลต่อการเกิดเนื้องอกหรือมะเร็ง ส่งเสริมระบบภูมิคุ้มกันให้แข็งแรงด้วยวิตามินและทรีทเม้นท์ ให้เข้าไปจัดการกับเนื้อร้ายที่ผิดปกติได้ทันท่วงที 

  • กลุ่มมะเร็งสมอง (Brain cancer)
  • กลุ่มมะเร็งเต้านม (Breast cancer)
  • กลุ่มมะเร็งในระบบทางเดินอาหาร (Gastrointestinal cancer)
  • กลุ่มมะเร็งลําไส้ใหญ่และทวารหนัก (Colorectal cancer)
  • กลุ่มมะเร็งในระบบสืบพันธุ์ (Gynecologic cancers)
  • กลุ่มมะเร็งต่อมลูกหมาก (Prostate cancer)
  • กลุ่มมะเร็งของศีรษะและลําคอ (Head and Neck cancer)
  • กลุ่มมะเร็งปอด (Lung cancer)
  • กลุ่มมะเร็งของระบบทางเดินปัสสาวะ (Urinary tract cancer)
  • มะเร็งชนิดอื่นๆ

“ตรวจคัดกรองตั้งแต่วันนี้ เพื่อคุณภาพชีวิตที่ดีอย่างยั่งยืน”

ตรวจหาความผิดปกติก่อน

ครอบคลุมเนื้องอกและมะเร็งชนิดก้อน

ตรวจเจอก่อน เพิ่มโอกาสการรักษา

ตรวจสม่ำเสมอมีประโยชน์ต่อการติดตาม

สะดวก รวดเร็ว จากตัวอย่างเลือด

ไม่ต้องงดน้ำ อาหาร ทราบผลภายใน 10 วัน

ใครบ้างที่ควรตรวจ?

  • ผู้ที่ต้องการตรวจเช็คสุขภาพประจำปี
  • ผู้ที่มีความเสี่ยงโรคมะเร็งทางพันธุกรรม
  • ผู้ที่มีความเสี่ยงสูงจากการได้รับหรือสัมผัสสารก่อมะเร็งเป็นประจำ
  • ผู้ที่อยู่ในระหว่างการรักษา สามารถตรวจเพื่อประเมินการตอบสนองต่อการรักษา และติดตามพัฒนาการของเนื้องอกหรือมะเร็งได้  
  • ผู้ที่ต้องการตรวจเพื่อเฝ้าระวังการกลับมาเป็นซ้ำ หลังจากได้รับการรักษาจนหายเป็นปกติ

โปรแกรมแนะนำ

W9 Health Package โปรแกรมตรวจหาความเสี่ยงของการเกิดโรค เช่น โรคหัวใจและหลอดเลือด ระบบประสาทและสมอง โรคมะเร็ง และอื่นๆ จำนวน 277+ รายการ

ราคา ฿29,000.00 บาท

พันธุกรรมถ่ายทอดมะเร็งจากรุ่นสู่รุ่น อย่าปล่อยให้ความเสี่ยงจากน้อยกลายเป็นสูง โปรแกรมตรวจคัดกรองมะเร็งขั้นสูง 51 ชนิด ตั้งแต่ระยะเริ่มแรก

ราคา ฿18,000.00 บาท

โปรแกรมวิเคราะห์ความเสี่ยง 13 โรคมะเร็ง และ 21 โรคที่พบบ่อย จากสารพันธุกรรม (DNA) โดยใช้การตรวจจากน้ำลาย

เหมาะสำหรับ : ผู้ที่มีประวัติคนในครอบครัวป่วยเป็นโรคมะเร็ง, โรคอัลไซเมอร์, โรคความจำเสื่อม และโรคหัวใจและหลอดเลือด

ราคา ฿29,000.00 บาท

ปรึกษาปัญหาสุขภาพและรับสิทธิพิเศษสำหรับคุณได้ที่นี่

บทความที่เกี่ยวข้อง

• ภาวะขาดวิตามินหลายชนิด รวมทั้งภาวะขาดวิตามินดี มีความสัมพันธ์กับภาวะ ซึมเศร้า• วิตามินดีระดับต่ำ อาจส่งผลต่อการควบคุมอารมณ์ การตัดสินใจ และพฤติกรรม• วิตามินดี ไม่ใช่ยารักษาโรคซึมเศร้า แต่การชดเชยวิตามินดีในคนที่มีระดับต่ำ อาจมีส่วนช่วยในการควบคุมอารมณ์ และเพิ่มคุณภาพการนอนหลับได้ ภาวะ ซึมเศร้า เป็นโรคเรื้อรัง ที่ถือเป็นอีกหนึ่งปัญหาสังคม ที่ทวีความรุนแรงมากขึ้นทุกปี ทั้งด้านคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยเอง ภาระทางสังคมต่อคนรอบข้าง และอัตราการฆ่าตัวตายที่พุ่งสูงขึ้น การรักษาโรคซึมเศร้าโดยการใช้ยาร่วมกับจิตบำบัด มีอัตราสำเร็จ 76-85% (WHO 2020) แต่ปัญหาคือมีผู้ป่วยน้อยกว่า 25% เท่านั้นที่ได้รับการรักษา และมีอีกส่วนหนึ่งที่ไม่อยากทานยา เพราะกลัวติดการใช้ยา หรืออาจเพราะทนผลข้างเคียงไม่ไหว [1] เนื่องจากภาวะซึมเศร้าเป็นโรคเรื้อรัง ซึ่งสามารถกลับมาเป็นซ้ำได้ โดยเฉพาะคนที่รักษาไม่ต่อเนื่อง พบว่ามีอัตราการเป็นซ้ำมากขึ้น จึงเริ่มมีความพยายามที่จะมองหาปัจจัย หรือวิธีการรักษาร่วมอื่น โดยเฉพาะทางด้านของ ภาวะโภชนาการ สารอาหาร หรือวิตามินเสริม [2] เราเริ่มมีงานวิจัยจำนวนมากขึ้น ที่พบความสัมพันธ์ของภาวะขาดวิตามิน สารอาหาร หรือแร่ธาตุ หลายชนิด กับภาวะซึมเศร้า เช่น วิตามินบี 3, วิตามินบี […]

รู้หรือไม่ การ WFH ที่ทุกคนทำกันอยู่ทุกวันนี้ ทุกคนกำลังอาศัยอยู่กับตัวร้ายที่เรามองไม่เห็น