Search
Close this search box.
มะเร็งปากมดลูก

Cervical cancer can be prevented, get tested before symptoms appear.

จากสถิติปี 2563 พบมะเร็งปากมดลูกในสตรีไทยเป็นอันดับ 2 รองจากมะเร็งเต้านม โดยพบผู้ป่วยใหม่ปีละกว่า 9,000 ราย และเสียชีวิตปีละ 4,700 ราย หรือในแต่ละวันจะมีสตรีไทยเสียชีวิตจากมะเร็งปากมดลูกสูงถึง 13 คน ทั้งๆ ที่มะเร็งปากมดลูกเป็นมะเร็งที่สามารถป้องกันได้ และส่วนใหญ่โรคนี้มักพบในหญิงอายุประมาณ 40 ปี 

Source: SIRIRAJ ONLINE

มะเร็ง

อาย อายุยังน้อย ร่างกายยังแข็งแรงดี มีคู่นอนคนเดียว” เชื่อว่าผู้หญิงหลายคนอาจกำลังคิดแบบนี้ และคิดว่าตัวเองไม่ใช่กลุ่มเสี่ยงที่จะเป็นโรคมะเร็งปากมดลูก และไม่น่ามีโอกาสจะเป็นโรคนี้ได้ แต่รู้หรือไม่ว่าสาเหตุสำคัญของ มะเร็งปากมดลูก คือการติดเชื้อไวรัสเอชพีวี ซึ่งพบได้ทั้งในเพศชายและหญิง ทั้งนี้ ร้อยละ 80 ของผู้หญิงไทยเคยมีเชื้อเอชพีวีหรือกำลังมีแต่ไม่รู้ตัว เนื่องจากการติดเชื้อเอชพีวีมักจะไม่มีอาการแสดงให้เห็น และการตรวจทั่วไปทางการแพทย์ก็ไม่พบความผิดปกติ

ใครบ้างที่เสี่ยงจะเป็นมะเร็งปากมดลูก

สาเหตุส่วนใหญ่ของมะเร็งปากมดลูกเกิดจากการติดเชื้อ HPV (Human Papilloma virus) ซึ่งติดต่อไปยังบุคคลอื่นๆ ได้จากการมีเพศสัมพันธ์ ในชีวิตของผู้หญิงคนหนึ่งอาจจะเคยได้รับเชื้อนี้ แต่ร่างกายสามารถกำจัดไปได้ และมีบางส่วนที่ไม่สามารถกำจัดเชื้อได้ รวมถึงมีปัจจัยเสี่ยงอื่นๆ ที่ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของเนื้อเยื่อบริเวณปากมดลูกและทำให้เกิดโรคต่างๆ เช่น หูดหงอนไก่ มะเร็งปากมดลูก และอื่นๆ

ปัจจัยเสี่ยงที่สำคัญของมะเร็งปากมดลูก

  • การติดเชื้อไวรัส HPV (Human Papillomavirus) สายพันธุ์หลัก ชนิดสายพันธุ์ 16 และ 18
  •  มีคู่นอนหลายคน
  • มีเพศสัมพันธ์ตั้งแต่อายุน้อย
  • การสูบบุหรี่ทำให้เพิ่มความเสี่ยง
มะเร็งปากมดลูก

ผู้ป่วยมะเร็งปากมดลูกจะมีอาการอย่างไรบ้าง

โดยปกติผู้ป่วยมะเร็งปากมดลูกชนิดก่อนลุกลามส่วนใหญ่จะไม่มีอาการใด ๆ แสดงออกมาเลย ในบางรายอาจมีตกขาวมากกว่าปกติ ดังนั้นจึงจำเป็นต้องตรวจภายใน และรับการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูก สำหรับผู้ที่สมควรได้รับการตรวจ คือ สตรีที่เคยมีเพศสัมพันธ์ โดยควรรับการตรวจปีละ 1 ครั้ง ส่วนผู้ที่ไม่เคยมีเพศสัมพันธ์ควรรับการตรวจเมื่อมีอายุ 35 ปีขึ้นไป สำหรับผู้ป่วยมะเร็งปากมดลูกชนิดลุกลาม จะมีอาการ เช่น ตกขาวมาก บางครั้งอาจมีกลิ่น และมีเลือดออกกะปริบกะปรอย นอกจากนี้อาจมีเลือดออกภายหลังการมีเพศสัมพันธ์ เป็นต้น หากมีอาการเหล่านี้ ควรปรึกษาสูตินรีแพทย์เพื่อตรวจหาความผิดปกติโดยเร็ว

สัญญาณมะเร็งปากมดลูก

มะเร็งปากมดลูก
  • มีตกขาว เลือด ของเหลวออกทางช่องคลอดผิดปกติ
  • มีประจำเดือนมามาก หรือนานกว่าปกติ
  • มีเลือดออกทางช่องคลอด หลังมีเพศสัมพันธ์หรือเจ็บปวดขณะมีเพศสัมพันธ์
  • ในระยะลุกลามอาจมีอาการปวดถ่วงบริเวณท้องน้อย ปัสสาวะขัด หรือถ่ายอุจจาระลำบาก ขาบวม เบื่ออาหาร หน้ำหนักลด

การป้องกันมะเร็งปากมดลูก แบ่งออกเป็น 2 ระดับ

  1. การป้องกันระดับแรก (Primary prevention) การป้องกันไม่ให้เชื้อไวรัสเข้าสู่ร่างกาย การป้องกันระดับนี้มีหลายวิธี เช่น ไม่มีคู่นอนหลายคน ไม่มีเพศสัมพันธ์ตั้งแต่อายุน้อยเกินไป เนื่องจากเยื่อบุของปากมดลูกยังไม่แข็งแรง ทำให้เชื้อ HPV เปลี่ยนแปลงปากมดลูกให้กลายเป็นระยะก่อนมะเร็งและมะเร็งได้ง่าย งดการสูบบุหรี่ ฉีดวัคซีนป้องกันเชื้อไวรัส HPV ซึ่งสามารถฉีดได้ทั้งในผู้หญิงและในผู้ชาย ตั้งแต่อายุ 9-45 ปี หากได้รับการฉีดวัคซีนก่อนการมีเพศสัมพันธ์ครั้งแรก และร่างกายอยู่ในวัยที่สร้างภูมิคุ้มกันได้ดี จะทำให้ได้รับประสิทธิภาพทางวัคซีนได้สูงสุด
  2. การป้องกันระดับที่ 2 (Secondary prevention) โชคดีที่มะเร็งปากมดลูกไม่ได้เป็นชั่วข้ามคืน แต่จะผ่านการเป็นระยะก่อนมะเร็งปากมดลูกก่อน เป็นเวลาหลายปีก่อนเป็นมะเร็ง ดังนั้นหากตรวจคัดกรองตั้งแต่ระยะก่อนมะเร็งและให้การรักษาอย่างเหมาะสม ก็จะหายและไม่กลายเป็นมะเร็งปากมดลูก และการป้องกันระดับที่ 2 ได้แก่ การตรวจหาเซลล์ผิดปกติบริเวณปากมดลูก หรือที่เรียกว่า “แปบสเมียร์” เป็นการตรวจที่ใช้ตรวจมาเป็นระยะเวลานาน ซึ่งมีความแม่นยำ นอกจากนั้น มีวิธีการตรวจหาเชื้อไวรัส HPV โดยอาศัยหลักการที่ว่า ถ้าไม่มีเชื้อไวรัสก็จะไม่กลายเป็นมะเร็ง

ทำไมต้องตรวจมะเร็งปากมดลูก

มะเร็งปากมดลูก

ปัจจุบัน มะเร็งปากมดลูกและรอยโรคก่อนมะเร็งที่เกิดจากการติดเชื้อเอชพีวี สามารถป้องกันได้ด้วยการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูก เพราะการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกอย่างสม่ำเสมอจะช่วยลดการลุกลามของเซลล์วิทยาที่ผิดปกติ ซึ่งอาจจะกลายเป็นมะเร็งที่ปากมดลูกได้ โดยที่ไม่แสดงอาการเจ็บป่วยแต่อย่างใด การตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูก เริ่มตรวจอายุ 25 ปีในสตรีที่มีเพศสัมพันธ์แล้ว หรือ 30 ปี ในสตรีที่ไม่เคยมีเพศสัมพันธ์

การตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูก

  • การตรวจ Pap smear ความถี่ ทุก 2 ปี อายุที่หยุดตรวจ มากกว่า 65 ปี ถ้าผลตรวจไม่พบความผิดปกติติดต่อกัน 5 ครั้ง
  • HPV DNA testing (ร่วมกับการตรวจเซลล์ วิทยา(co-testing) ความถี่ ทุก 5 ปี อายุที่หยุดตรวจ มากกว่า 65 ปี ถ้าผลตรวจไม่พบความผิดปกติติดต่อกัน 2 ครั้ง
  • HPV DNA testing (Primary HPV testing) ความถี่ ทุก 5 ปี อายุที่หยุดตรวจ มากกว่า 65 ปี ถ้าผลตรวจไม่พบความผิดปกติติดต่อกัน 2 ครั้ง
  • การตรวจคัดกรองมะเร็งตั้งแต่ระยะศูนย์ (W9 Advanced Cancer Screening Test ) ตรวจหารอยโรคก่อนเป็นตั้งแต่ระยะเริ่มแรก เพื่อลดความเสี่ยงต่อการเกิดโรคร้าย และสามารถให้การรักษาให้หายขาดได้
  • การตรวจวิเคราะห์ความเสี่ยง 13 โรคร้าย และ 21 โรคที่พบบ่อยจากกรรมพันธุ์ (W9 Care Series) ตรวจหาความเสี่ยงโรคร้ายแต่ละชนิดที่ส่งต่อมาทางพันธุกรรม และโรคเรื้อรังอื่นๆ เพื่อจะได้วางแผนจัดการกับความเสี่ยงในอนาคตได้ดียิ่งขึ้น

รู้หรือไม่ ส่วนใหญ่ประมาณร้อยละ 80 ของผู้ที่ติดเชื้อไวรัสนี้จะหายได้เองภายใน 2 ปี โดยภูมิต้านทานของร่างกาย แต่ในกรณีที่เชื้อไวรัสนี้ไม่หายไปหรือกำจัดไม่ได้ การติดเชื้อดังกล่าวอาจก่อให้เกิดระยะก่อนมะเร็ง และพัฒนาต่อไปจนเป็นมะเร็งได้ ดังนั้น การตรวจคัดกรองมะเร็งตั้งแต่ระยะศูนย์ จึงเป็นการป้องกันการเกิดโรคได้

เมื่อเราป้องกันการติดเชื้อไวรัส HPV ได้ เท่ากับเราสามารถป้องกันมะเร็งปากมดลูกได้”

Share : 

Related articles

Vitamin D is not just for bones and teeth. but boosts the immune system (immunity) of the body

Eat clean, exercise, but don't lose any weight! Are you experiencing this kind of problem? Whatever one says is good, we try it all.

Brain nourishing food Alzheimer's disease is a form of dementia.