ค้นหา
ปิดช่องค้นหานี้

ภูมิแพ้อาหารแฝง ไม่ร้ายแรง แต่เรื้อรัง

คุณคุ้นเคยกับอาการเหล่านี้บ้างหรือไม่ ⁉

  • ท้องอืดท้องเฟ้อง่าย
  • เรอหรือผายลมบ่อย
  • ท้องผูกประจำ
  • มีสิวอักเสบไม่หาย
  • มีผื่นตามจุดต่างๆของร่างกาย หรือคันผิวโดยไม่ทราบสาเหตุ
  • ปวดหัวแบบเรื้อรัง ไมเกรน
  • อ่อนเพลียเรื้อรัง
  • น้ำมูกไหลไม่ทราบสาเหตุ

อาการที่ คุณ คุ้นเคยนี้ กำลังบ่งบอกว่า “คุณมีภาวะแพ้อาหารแฝงอยู่”
อย่าปล่อยให้อาการเหล่านี้ เป็นเพียง “ความเคยชิน” นะคะ

การตรวจวิเคราะห์ภูมิแพ้อาหารแฝง “Food Inflammation Test” จำนวน 132 รายการ
เพื่อการแก้ปัญหาที่ต้นเหตุของการอักเสบที่เกิดจากอาหารโดยแท้จริง

หลายท่านคงคุ้นหูกับคำว่า “ภูมิแพ้อาหารแฝง” กันมาพอสมควร แต่ท่านทราบมั้ยคะ ว่าภูมิแพ้อาหารแฝงนี้มี 2 แบบ และแตกต่างกันอย่างไร เราควรตรวจไปพื่ออะไร มาหาคำตอบกันค่ะ

Food Inflammation Test ต่างกับ Food Intolerance Test อย่างไร ⁉

Food Intolerance Test จะเป็นการตรวจภูมิแพ้อาหารแฝงจากแอนติบอดี้ IgG ซึ่งเกิดจากอาหารที่เราทานบ่อย หรือทานเป็นประจำในช่วงนั้น จะทำให้ค่าผลการตรวจจะขึ้นสูงเป็นพิเศษ ซึ่งผลการตรวจ Food Intolerance นี้จะช่วยให้เราหมุนเวียนการรับประทานอาหารให้หลากหลายมากยิ่งขึ้นค่ะ

ส่วน Food Inflammation Test สามารถตรวจทั้งแอนติบอดี้ IgG และสารเชิงซ้อน IC-C3d ไปพร้อมๆกันค่ะ ซึ่งเป็นปัจจัยหลักที่ทำให้ได้ผลที่แม่นยำและมีประสิทธิภาพมากกว่าการตรวจภูมิแพ้อาหารแฝงปกติ ที่ตรวจเพียง IgG ได้เพียงอย่างเดียว

Food Inflammation Test จะรายงานผลถึง 132 รายการ ซึ่งจะประกอบด้วยรายการอาหารที่ก่อให้เกิดการอักเสบในร่างกาย และสีผสมอาหารรวมถึงสารกันบูดที่เราควรหลีกเลี่ยง ส่วนจะต้องเลี่ยงนานแค่ไหน อยู่ที่ผลการตรวจของเราแต่ละคน ซึ่งการตรวจ Food Inflammation Test จะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการรักษาอาการที่เกิดจากภูมิแพ้อาหารแฝง โดยการหลีกเลี่ยงการรับประทานอาหารที่เป็นผลบวกได้อย่างตรงจุดและมีประสิทธิภาพ

โดยสรุปแล้ว การตรวจภูมิแพ้อาหารแฝงด้วย Food Inflammation Test จะช่วยให้เราทราบที่มาของอาการที่คุ้นเคยเหล่านั้น และแก้ปัญหาได้อย่างตรงจุดโดยไม่ต้องเดาค่ะ ซึ่งเมื่อผลการตรวจออกมา แพทย์จะแนะนำให้ปรับการรับประทานอาหาร โดยให้หลีกเลี่ยงอาหารที่ก่อให้เกิดการอักเสบดังกล่าวค่ะ และเมื่อผ่านไป 3-6 เดือน จะนัดตรวจอีกครั้งนะคะ เพื่อเป็นการติดตามผลว่าอาหารที่เราหลีกเลี่ยงไปนั้น ต้องเลี่ยงต่อหรือรับประทานได้แล้ว และอาการต่างๆที่เคยมีดีขึ้นหรือไม่อย่างไรค่ะ

Share : 

บทความที่เกี่ยวข้อง

โรคเริมกับงูสวัด เป็นโรคที่เกิดจากการติดเชื้อไวรัส กลุ่มที่เรียกว่า ไวรัสเฮอร์ปีส์ (Herpes simplex) แม้ว่าจะเป็นคนละชนิดกัน แต่ก็อยู่ในกลุ่มเชื้อตัวเดียวกัน โดยอาการของโรคเริมจะเป็นตุ่มใส แตกหรือไม่แตกก็ได้ มีอาการค่อนข้างปวดแสบปวดร้อน จะขึ้นบ่อยๆ ที่ริมฝีปาก เนื้อเยื่อข้างในปาก หรือว่าอวัยวะเพศ ส่วนโรคงูสวัดจะเป็นตามตัว สามารถเป็นได้ทั้งร่างกายเลย ทั้งที่หน้า จมูก ตา แขน หลัง ไหล่ ส่วนใหญ่ก็จะเป็นแค่ข้างเดียว จะมีลัษณะเป็นปื้นยาวๆ แต่ที่เป็นลักษณะแบบนั้น ส่วนนึงเกิดจากการติดเชื้อไวรัสที่มันเข้าไปที่ปลายประสาท หรือเส้นประสาท มันก็เลยมีลักษณะออกไปเป็นแบบยาวๆ ในปัจจุบันมีทางเลือกในการ รักษาโรคเริม กับงูสวัด ด้วยโอโซนบำบัด อย่างที่เรารู้ว่ากันว่าเชื้อเริมหรืองูสวัด รักษาค่อนข้างยาก แล้วอยู่กับเราค่อนข้างนาน บางคนติดเชื้อมาอาจจะไม่มีอาการไปหลายปีเลยก็ได้ แล้ววันดีคืนดีที่เราแบบเครียดมาก นอนหลับพักผ่อนไม่เพียงพอ ส่งผลให้ภูมิต้านทานตก อาการดังกล่าวก็แบบโผล่ขึ้นมา กับอีกบางคนเป็นบ่อย การที่เป็นบ่อยๆ แสดงว่าภูมิต้านทานไม่ค่อยดี อันนี้ถือว่าเป็นสัญญาณที่บอกว่าร่างกายเราภูมิต้านทานเริ่มตก เพราะว่าเราเป็นเริมบ่อย ถือว่าสุขภาพเราเริ่มแย่ เป็นการสะท้อนระบบภูมิต้านทานของเราจากภายใน แนวทางการป้องกันการติดเชื้อไวรัส การป้องกันการเกิดอาการ หรือการเกิดโรคที่เกิดจากเชื้อไวรัสทุกชนิด รวมถึงไวรัสเฮอร์ปีส์ด้วย คือที่เราต้องทำให้ระบบภูมิต้านทานของเราดีขึ้น แข็งแรงขึ้น ซึ่งแนวทางการปฏิบัติตัวเบื้องต้น […]

มะเร็งลำไส้ใหญ่ มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง พบมากเป็นอันดับ 3 ในผู้ชาย อันดับ 2 ในผู้หญิง ซึ่งมีผู้ป่วยรายใหม่วันละ 44 คน หรือ 15,939 คน/ปี และมีผู้เสียชีวิตวันละ 15 คน หรือ 5,476 คน/ปี จริงๆ แล้วโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่เราสามารถป้องกันได้ด้วย การตรวจคัดกรองมะเร็ง เพราะหากเราตรวจพบตั้งแต่ระยะเริ่มต้นจะทำให้การรักษาได้ผลดี และมีโอกาสหายจากโรคสูง โดยเฉพาะผู้ที่มีอายุ 50 ปีขึ้นไป ควรตรวจคัดกรองมะเร็งทุกปี ที่มา : สถิติสาธารณสุข พ.ศ. 2562 กองยุทธศาสตร์และแผนงาน สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข โรคมะเร็งลำไส้ใหญ่ (Colon Cancer) คืออะไร โรคมะเร็งลำไส้ใหญ่ คือ การที่มีก้อนเนื้อเกิดขึ้นในลำไส้ใหญ่ และเนื่องจากลำไส้ใหญ่มีลักษณะเป็นท่อ เมื่อมีก้อนเนื้อเกิดขึ้นก็จะทำให้รูลำไส้ใหญ่ตีบลง อุจจาระที่ผ่านมาทางลำไส้ใหญ่ก็จะออกลำบากเพิ่มขึ้น จึงสะสมอยู่ข้างใน ส่งผลให้ให้ท้องอืด แน่นท้อง อึดอัดมากขึ้น เมื่อทางออกตีบ แคบลง อุจจาระที่จะผ่านออกมาจากที่เป็นก้อนก็จะเล็กลง และเนื่องจากก้อนเนื้อมะเร็งจะมีความยุ่ย ถลอกได้ง่ายกว่าเนื้อเยื่อธรรมดา […]