ค้นหา
ปิดช่องค้นหานี้
มะเร็งลำไส้ใหญ่

มะเร็งลำไส้ใหญ่ รู้เร็ว รักษาได้ เช็กความเสี่ยงก่อนเกิดโรค

มะเร็งลำไส้ใหญ่ มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง พบมากเป็นอันดับ 3 ในผู้ชาย อันดับ 2 ในผู้หญิง ซึ่งมีผู้ป่วยรายใหม่วันละ 44 คน หรือ 15,939 คน/ปี และมีผู้เสียชีวิตวันละ 15 คน หรือ 5,476 คน/ปี จริงๆ แล้วโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่เราสามารถป้องกันได้ด้วย การตรวจคัดกรองมะเร็ง เพราะหากเราตรวจพบตั้งแต่ระยะเริ่มต้นจะทำให้การรักษาได้ผลดี และมีโอกาสหายจากโรคสูง โดยเฉพาะผู้ที่มีอายุ 50 ปีขึ้นไป ควรตรวจคัดกรองมะเร็งทุกปี

ที่มา : สถิติสาธารณสุข พ.ศ. 2562 กองยุทธศาสตร์และแผนงาน สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข

โรคมะเร็งลำไส้ใหญ่ (Colon Cancer) คืออะไร

มะเร็งลำไส้ใหญ่

โรคมะเร็งลำไส้ใหญ่ คือ การที่มีก้อนเนื้อเกิดขึ้นในลำไส้ใหญ่ และเนื่องจากลำไส้ใหญ่มีลักษณะเป็นท่อ เมื่อมีก้อนเนื้อเกิดขึ้นก็จะทำให้รูลำไส้ใหญ่ตีบลง อุจจาระที่ผ่านมาทางลำไส้ใหญ่ก็จะออกลำบากเพิ่มขึ้น จึงสะสมอยู่ข้างใน ส่งผลให้ให้ท้องอืด แน่นท้อง อึดอัดมากขึ้น เมื่อทางออกตีบ แคบลง อุจจาระที่จะผ่านออกมาจากที่เป็นก้อนก็จะเล็กลง และเนื่องจากก้อนเนื้อมะเร็งจะมีความยุ่ย ถลอกได้ง่ายกว่าเนื้อเยื่อธรรมดา ฉะนั้นจึงมีเลือดปนออกมาในอุจจาระ ทำให้ผู้ป่วยสามารถสังเหตุเห็นความผิดปกติที่เกิดขึ้นได้

สาเหตุของการเกิดโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่และทวารหนัก

สาเหตุของมะเร็งลำไส้ใหญ่ที่แท้จริงยังไม่ทราบ ส่วนใหญ่แล้ว 80-90% ไม่รู้สาเหตุ มีส่วนน้อยไม่ถึง 10% ที่เป็นความผิดปกติทางพันธุกรรม เช่น มีบุคคลในครอบครัว โดยเฉพาะ พ่อ แม่ พี่น้อง หรือลูก เป็นมะเร็งลำไส้ใหญ่ ทำให้คนเหล่านี้มีความเสี่ยงมากกว่าคนปกติ หรือคนไข้บางคนที่มีภาวะลำไส้ใหญ่อักเสบเรื้อรัง คนกลุ่มนี้ก็จะมีความเสี่ยงมากกว่าคนปกติ ส่วนน้อยจะเป็นลักษณะของลำไส้มีติ่งเยอะๆ เป็นหลักร้อย หลักพัน กลุ่มนี้ก็จะเป็นกลุ่มที่มีความเสี่ยงมากกว่าคนปกติ สำหรับคนปกติยังไม่ทราบสาเหตุ

มะเร็งลำไส้ใหญ่

กว่า 90% ของผู้ที่เป็นมะเร็งลำไส้ใหญ่ ยังไม่ทราบสาเหตุที่แน่ชัด”

กลุ่มเสี่ยงในการเกิดมะเร็งลำไส้ใหญ่

ปัจจุบันยังไม่ทราบสาเหตุการเกิดแน่ชัด  แต่มีปัจจัยบางอย่างเกี่ยวข้องกับการเกิดมะเร็งลำไส้ใหญ่ ดังนี้ คือ

  • อายุ ผู้สูงอายุมีโอกาสเป็นโรคนี้ได้มากกว่าผู้ที่มีอายุน้อย และร้อยละ 90 ของผู้ป่วยมะเร็งลำไส้ใหญ่มีอายุมากกว่า 50 ปี
  • ประวัติมะเร็งในครอบครัว ถ้าบุคคลในครอบครัว ญาติสายตรงลำดับแรก ได้แก่ พ่อ แม่ พี่น้อง มีประวัติเป็นมะเร็งลำไส้ใหญ่ โดยเฉพาะเมื่อเกิดโรคในอายุน้อยกว่า 60 ปี จะมีโอกาสเป็นมะเร็งลำไส้ใหญ่ได้มากกว่าคนทั่วไป
  • ผู้ที่เคยเป็นโรคลำไส้อักเสบเรื้อรัง (inflammatory bowel disease) หรือมีติ่งเนื้อในลำไส้ใหญ่ (polyps)
  • โรคทางพันธุกรรมบางชนิด เช่น Hereditary nonpolyposis colon cancer ( HNPCC หรือLynch syndrome ) และ Familial adenomatous polyposis ( FAP ) เพิ่มความเสี่ยงในการเกิดโรคมะเร็งลำไส้มากขึ้น
  • ผู้ที่เคยมีประวัติเป็นมะเร็งรังไข่ มดลูก หรือเต้านม จะมีโอกาสเป็นมะเร็งลำไส้ใหญ่ได้มากกว่าคนปกติ
  • ปัจจัยเสี่ยงอื่นๆ เช่น การรับประทานอาหารที่มีไขมันสูงจะกระตุ้นให้เกิดการหลั่งกรดน้ำดีมากขึ้น ซึ่งจะทำให้เกิดการระคายเคืองเยื่อบุของผนังลำไส้ และทำให้เกิดการแบ่งตัวของเยื่อบุผนังลำไส้มากขึ้น นอกจากนี้ อาหาร ปิ้งย่าง รมควัน จะมีสารก่อมะเร็ง การรับประทานผัก ผลไม้น้อย สูบบุหรี่และดื่มสุราจัด

ระยะของมะเร็งลำไส้ใหญ่และทวารหนักมีอยู่ 4 ระยะเหมือนกับมะเร็งอื่นๆ

  • มะเร็งลำไส้ใหญ่ยังไม่ลุกลาม คือ ก้อนมะเร็งยังอยู่เฉพาะที่อยู่ในผนังของลำไส้ ยังไม่กระจายไปไหน
  • เริ่มลุกลามเข้าไปที่กล้ามเนื้อชั้นลึก คือ ก้อนมะเร็งยังอยู่ที่ผนังลำไส้ แต่ลุกลามไปที่กล้ามเนื้อชั้นลึก
  • เริ่มลุกลามไปที่ต่อมน้ำเหลือง คือ มะเร็งกระจายไปที่ต่อมน้ำเหลืองข้างเคียง
  • เริ่มลุกลามไปที่อวัยวะต่างๆ คือ เริ่มกระจายไปที่อวัยวะอื่นๆ เช่น ตับ ปอด

คนไข้ส่วนใหญ่จะมาหาด้วยอาการท้องผูก หรือบางคนก็มาท้องเสีย หรือบางคนการขับถ่ายผิดปกติ

มะเร็งลำไส้ใหญ่

การขับถ่ายผิดปกติที่ว่าก็คือ บางคนท้องผูก ท้องเสีย สลับกัน หรือบางคนท้องเสียถ่ายไม่ออก กินยาระบายไม่ดีขึ้น บางครั้งอุจจาระลีบเป็นเส้นก็มี ถ่ายไม่สุด ปวดเบ่ง ก็เป็นอีกอาการหนึ่ง หรือคนไข้บางคนมาด้วยอาการถ่ายเป็นเลือด หรือถ่ายเป็นมูก เป็นเลือด ส่วนน้อยจะมาด้วยภาวะซีดก็ได้ หรือคลำก้อนได้ในช่องท้อง

ส่วนใหญ่แล้วเรามักจะรอให้มีอาการแล้วค่อยมาหาหมอ แต่การที่มีอาการแสดงว่าก้อนมะเร็งนั้นต้องมีขนาดใหญ่พอสมควร หรือว่ามีแผลลึกพอสมควร จริงๆ แล้วในทางเวลเนสเองเราแนะนำให้ตรวจโดยที่ไม่มีอาการ หรือเรียกว่า การตรวจคัดกรองมะเร็ง ซึ่งแนะนำให้คนไข้ที่มีอายุ 50 ปีขึ้นไป เพราะถ้าเรารอให้มีอาการมักจะมีระยะของโรคที่เพิ่มมากขึ้น

อาการของมะเร็งลำไส้ใหญ่

  1. ท้องผูก หรือ ท้องเสีย
  2. ถ่ายอุจจาระเป็นเลือด
  3. ถ่ายอุจจาระมีมูกเลือด
  4. ปวดเบ่ง ถ่ายไม่สุด
  5. ลักษณะอุจจาระเป็นลำเล็ก
  6. ซีด หรือ คลำก้อนได้ในช่องท้อง

วิธีการรักษามะเร็งลำไส้ใหญ่

การรักษามะเร็งลำไส้ใหญ่มี 4 วิธีหลักที่สำคัญได้แก่ การผ่าตัด รังสีรักษา เคมีบำบัด และการรักษามะเร็งแบบทางเลือก

การผ่าตัด การรักษาหลักของมะเร็งลำไส้ใหญ่คือ การผ่าตัด เอาลำไส้ส่วนที่เป็นโรคและต่อมน้ำเหลืองออกไป ในบางครั้งถ้าเป็นมะเร็งที่ลุกลามมาก หรือมะเร็งของลำไส้ใหญ่ส่วนปลายที่อยู่ติดกับทวารหนัก การผ่าตัดอาจมีความจำเป็นต้องทำทวารเทียมเอาปลายลำไส้ส่วนที่เหลืออยู่เปิดออกทางหน้าท้องเป็นทางให้อุจจาระออก

รังสีรักษา เป็นการรักษาร่วมกับการผ่าตัด อาจฉายรังสีก่อนหรือหลังการผ่าตัด ทั้งนี้ขึ้นกับข้อบ่งชี้ทางการแพทย์เป็นรายๆ ไป โดยแพทย์จะประเมินจากลักษณะการลุกลามของก้อนมะเร็งและโอกาสการแพร่กระจายไปต่อมน้ำเหลือง

โดยทั่วไป การฉายรังสีรักษามักใช้ระยะเวลาประมาณ 5-6 สัปดาห์ โดยฉายวันละ 1 ครั้ง ฉายติดต่อกัน 5 วันใน 1 สัปดาห์หรือหยุดตามวันราชการและวันเสาร์-อาทิตย์ เป็นต้น

มะเร็งลำไส้ใหญ่

เคมีบำบัด คือการให้ยาสารเคมี ซึ่งอาจให้ก่อนการผ่าตัดและ/หรือหลังผ่าตัดร่วมกับรังสีรักษาหรือไม่ก็ได้ การใช้เคมีบำบัดก็จะขึ้นกับข้อบ่งชี้ทางการแพทย์ไม่จำเป็นต้องให้ในผู้ป่วยทุกราย แพทย์จะพิจารณาเป็นรายๆ ไป

การตรวจคัดกรองและการรักษาแบบทางเลือก W9 Wellness ได้แก่ การตรวจคัดกรองเนื้องอกและมะเร็ง 51 ชนิด (W9 Advanced Cancer Screening Test) โปรแกรมตรวจวิเคราะห์ความเสี่ยง 13 โรคร้าย และ 21 โรคที่พบบ่อยจากกรรมพันธุ์ (W9 Care Series) การรักษาด้วยสารสกัดมิสเซิลโท (Mistletoe Therapy) และการสร้างระบบภูมิคุ้มกันสู้ไวรัสแบบ 1:1 โดยไม่ต้องรอให้ใครมาสั่งการ (NK Cell Therapy)

“มะเร็งลำไส้ใหญ่สามารถรักษาให้หายขาดได้ในระยะเริ่มต้น ถ้าสังเกตตนเองว่ามีอาการ มะเร็งลำไส้ใหญ่ ควรรีบ ปรึกษาแพทย์ทันที”

โรคมะเร็งลำไส้ใหญ่เป็นโรคมะเร็งที่พบได้บ่อยเป็นอันดับต้นๆ ของคนไทย ในปัจจุบันการตรวจคัดกรองโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่อย่างสม่ำเสมอ และการตรวจหาความผิดปกติที่ลำไส้ได้ตั้งแต่ในระยะเริ่มแรก พบว่า สามารถลดอัตราการเสียชีวิตจากโรคมะเร็งลำไส้ได้อย่างชัดเจน ดังนั้นบุคคลที่มีอายุมากกว่า 50 ปี และบุคคลที่มี พ่อ แม่ พี่ น้องลูกป่วยด้วยโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่ จึงควรได้รับการตรวจคัดกรองอย่างสม่ำเสมอ

Share : 

บทความที่เกี่ยวข้อง

นับวันปัญหามลพิษทางอากาศส่งผลต่อสุขภาพของคนในยุคนี้ไม่น้อย โดยเฉพาะคนที่อาศัยอยู่ในเมืองที่ต้องเจอทั้งฝุ่น PM2.5 ควันรถจากท่อไอเสีย ไมโครพลาสติก

นอนไม่หลับ นอนไม่ดี นอนไม่พอ ปัญหาสุขภาพของคนในยุคปัจจุบันที่นับวันจะทวีความรุนแรงมากขึ้นเรื่อย ๆ

Zinc หรือ แร่ธาตุสังกะสี ถือเป็นสารอาหารที่เป็น พระเอก

error: Content is protected !!