ค้นหา
ปิดช่องค้นหานี้
อัลไซเมอร์

อัลไซเมอร์ รู้ก่อน ป้องกันได้

อัลไซเมอร์ เป็นโรคที่เกิดจากความเสื่อมของการทํางาน และโครงสร้าง ของเนื้อเยื่อสมอง ซึ่งมักพบในผู้สูงอายุ แต่เป็นความเสื่อมที่เกิดจากการที่ร่างกายไม่สามารถกําจัดของเสียโปรตีน (Beta-amyloid และ Tau protein) ให้ออกจากสมองได้ตามปกติ จึงเกิด การจับตัวเป็นก้อน (Plaque) และพันกันยุ่งเหยิง (Tangles) ซึ่งจากการสะสม คั่งค้างของเสียในสมองดังกล่าว จะไปรบกวนการสื่อสารในสมอง ทําให้สารสื่อ ประสาทแอซิติลโคลีน (Acetylcholine) ที่มีผลโดยตรงต่อความทรงจําลดลง และหากมีการอักเสบในสมองเรื้อรัง (Chronic brain inflammation) ในระยะยาว จะทําให้เซลล์สมองเสียหาย เนื้อสมองฝ่อ จนถึงจุดที่จะทําให้เกิดอาการ สมองเสื่อม ได้ในที่สุด

“อัลไซเมอร์ ไม่ใช่ความเสื่อมตามธรรมชาติ ผู้สูงอายุไม่จําเป็นต้องเป็นอัลไซเมอร์ทุกคน”

อาการหลัก ของอัลไซเมอร์

อัลไซเมอร์

อาการส่วนใหญ่ก็คือ หลงๆ ลืมๆ นั่นก็เป็นเพราะว่า ความเสื่อม จะค่อยๆ เริ่มต้นจากสมองส่วนฮิปโปแคมปัส ที่มีบทบาทในการจดจําข้อมูล ใหม่ ๆ (ความจําระยะสั้น) จากนั้นจึงจะแพร่กระจายไปยังสมองส่วนอื่น ๆ ส่งผลต่อการเรียนรู้ ความรู้สึกนึกคิด ภาษา และพฤติกรรม โดยระยะเวลาทั้งหมด ตั้งแต่แรกวินิจฉัยจนเสียชีวิตโดยเฉลี่ยจะอยู่ที่ประมาณ 8-10 ปี

ในยุคปัจจุบัน อัตราการเกิดโรคอัลไซเมอร์ มีแนวโน้มเพิ่มขึ้น อย่างต่อเนื่อง  และยังเกิดในคนที่มีอายุเฉลี่ยน้อยลงด้วยครับ ซึ่งผู้ป่วยโรคอัลไซเมอร์ตั้งแต่ โรคในระยะกลางเป็นต้นไป มักจะต้อง “พึ่งพา” สมาชิกในครอบครัวสูงมาก ลองสังเกตดูดีๆ รอบกายเราเริ่มจะมีผู้ที่มีอาการอัลไซเมอร์มากขึ้นเรื่อยๆ อย่างช้าๆ และยิ่งประเทศไทยเรากําลังเดินไปสู่ “สังคมผู้สูงอายุ” โรคนี้จึงนับว่า เป็นอีกหนึ่งปัญหาสังคมที่สําคัญ

ปัจจัยเสี่ยงที่เราควบคุมไม่ได้ ก็คือ อายุ เพศ และกรรมพันธุ์

ปัจจัยเสี่ยงที่เราควบคุมได้ ก็คือ ความเสี่ยงจากโรคเรื้อรังต่างๆ เช่น คนที่มีโรคเบาหวานจะมีความเสี่ยง เป็นอัลไซเมอร์เพิ่มสูงขึ้นถึง 2.5 เท่า คนที่สูบบุหรี่ ดื่มสุราเป็นประจํา จะมี ความเสี่ยงเพิ่มขึ้น 30% และในคนที่เป็นโรคอ้วน ความดันโลหิตสูง โรคซึมเศร้า และกลุ่มคนที่ไม่ออกกําลังกาย (Sedentary) ก็พบว่ามีความเสี่ยงที่จะมี ภาวะอัลไซเมอร์เพิ่มขึ้นได้เช่นกัน

What APOE means for your health

APOE พันธุกรรมทํานาย

จนถึงปัจจุบันนี้ เรายังไม่สามารถสรุปได้ว่ายืน ตัวไหนที่เป็น “ต้นเหตุโดยตรง” ของการเกิดโรคอัลไซเมอร์ แต่… เราพบยีนที่เป็น “ต้นเหตุทางอ้อม” ในการเพิ่มความเสี่ยง ของการเกิด โรคอัลไซเมอร์ที่ชื่อว่าอะโปไลโปโปรตีน อี (Apolipoprotein E: APOE) ซึ่งเจ้า APOE ยืน นี้ มีหน้าที่หลายประการ ในกระบวนการเผาผลาญพลังงาน ระดับเซลล์ สังเคราะห์โปรตีน การขับของเสีย และกระบวนการขนส่งไขมัน และ คลอเลสเตอรอล

“เนื่องจาก APOE ยืน สามารถถ่ายทอดทางพันธุกรรมได้ และปัจจัยทางพันธุกรรม อาจมีผลมากถึง 80%”

การตรวจ ApoE ทำนายความเสี่ยงอัลไซเมอร์

การตรวจพันธุกรรม (Single Nucleotide Polymorphism) จึงมีความสําคัญ มากขึ้น การตรวจ ApoE สามารถใช้ทํานายความเสี่ยงก่อนที่จะมีอาการ4 (Predictive testing) โดยเฉพาะสมาชิกในครอบครัวของผู้ป่วยอัลไซเมอร์ เพื่อใช้ประเมินระดับความเสี่ยง วางแผนการป้องกัน ความถี่ในการตรวจคัดกรอง การเฝ้าระวัง และการแนะนําการปฏิบัติตัวได้ดียิ่งขึ้น

ความเสี่ยงในการเป็นอัลไซเมอร์

  • ApoE 2 | ApoE 2 : โอกาสน้อยลง 40%
  • ApoE 2 | ApoE 3 : โอกาสน้อยลง 40%
  • ApoE 3 | ApoE 3 : มีโอกาสปานกลาง
  • ApoE 2 | ApoE 4 : มีโอกาส 2.6 เท่า
  • ApoE 3 | ApoE 4 : มีโอกาสเพิ่มขึ้น 3.2 เท่า
  • ApoE 4 | ApoE 4 : มีโอกาสเพิ่มขึ้น 14.9 เท่า

การตรวจพันธุกรรม APOE จะทําให้เราทราบว่า เราได้รับมรดก (ความเสี่ยง) มาจากคุณพ่อคุณแม่หรือไม่

โดยยืนตัวนี้ จะมีอยู่ 3 รูปแบบ (Alleles) คือ APOE-2, APOE-3, และ APOE-4 ซึ่งโดยปกติแล้ว คนส่วนใหญ่จะพบ รูปแบบ APOE-3 มากที่สุด

ถ้าใครได้รับมรดก APOE-2 ซึ่งถือว่าเป็นยีนป้องกัน (Protective gene) มาล่ะก็ถือว่าโชคดี แต่พบได้น้อยมากๆ

อัลไซเมอร์

ส่วนเจ้า APOE-4 จะถือว่าเป็นยืนเสี่ยง (Risk-factor gene) ใครมีไว้ ในครอบครองจะมีความเสี่ยงสูงขึ้นหลายเท่าตัว แต่ไม่ได้หมายถึงว่าจะต้อง เป็นโรคนะครับ เพราะบางคนมี APOE-4 แต่ไม่เป็นโรค บางคนเป็นโรค แต่ไม่มี APOE-4 ก็มี

อัลไซเมอร์

ข่าวร้ายที่หมอบายอยากบอก ก็คือ เราพบ APOE-4 ตัวร้ายได้ถึง 25% ของประชากร และถ้าคุณพ่อหรือคุณแม่เรามีเจ้า APOE-4 นี้ เราก็มีสิทธิ์ได้รับมรดกตกทอด สูงถึง 50% เลยทีเดียว ซึ่งคนที่มียืน APOE-4 มักจะป่วยเป็นโรคตอนที่อายุ น้อยกว่าคนที่ไม่มียีน APOE-4 โดยเฉลี่ย 5-10 ปี

อย่างไรก็ตาม หากเรามียืน APOE – 4 ก็ไม่ต้องตกใจนะครับ ยังไงเราก็ ยังมีปัจจัยเหนือพันธุกรรม (Epigenetics) ที่เป็นเหมือนสวิตช์เปิดหรือปิด การแสดงออกของยีนตัวนี้ เรายังมีโอกาสจะปิดผนึก ไม่ให้ยืนร้ายตื่นขึ้นมา ก่อโรคได้

สรุปว่า ถ้ามี APOE-4 แล้วละก็ หมายความว่า เรามีความเสี่ยงมากกว่าคนอื่น ที่ไม่มี หมอบายแนะนําให้ดูแลตัวเองเป็นพิเศษ ทันและป้องกันปัจจัยเสี่ยง ใช้ชีวิต ให้ดีกว่าคนอื่นหน่อย โอกาสเป็นโรคก็น้อยลงได้สบายๆ

นอกจากปัจจัยทางด้านพันธุกรรมแล้ว การสะสมของสารที่เป็นพิษต่อสมอง เช่น ปรอท อลูมิเนียม แอมโมเนีย หรือความผิดปกติในระบบขับของเสียในสมอง (Brain Detoxification) ระดับโฮโมซีสเทอีน (Homocysteine) สูง หรือแม้แต่ภาวะขาดวิตามินบางชนิด เช่น วิตามินบี 12 วิตามินดี ในระยะยาวก็อาจเป็นปัจจัยร่วมในการก่อโรคสมองเสื่อมเช่นกัน

80% ของภาวะสมองเสื่อมยังรักษาไม่หายขาด อีก 20% มีสาเหตุที่สามารถรักษาได้ เช่น ขาดวิตามินบี 12

50% ของกลุ่มที่รักษาไม่หาย เกิดจาก โรคอัลไซเมอร์ อีก 50% เป็นโรคอื่นที่มีลักษณะคล้ายอัลไซเมอร์

ทาง Functional Medicine จึงได้มีการตรวจ สมดุลเชิงลึก ซึ่งสามารถที่จะให้ข้อมูลเพิ่มเติม เกี่ยวกับ ระดับการอักเสบเรื้อรังในสมอง (Chronic Brain Inflammation) ผ่านการตรวจ กรดอินทรีย์ในปัสสาวะ (Organic Acid Testing) และตรวจระดับโลหะหนักสะสม (Toxic Heavy Metals) สําหรับคัดกรองในคนที่สนใจ โดยเฉพาะผู้ที่มีความเสี่ยงสูง หรือมีประวัติ ในครอบครัวใกล้ชิด เพื่อวางแผนการปรับสมดุล เพื่อป้องกันโรค (Prevention) หรือแม้แต่ ช่วยร่วมรักษา (Complementary Treatment) เพื่อลดความรุนแรงของโรคได้

สาขาที่ให้บริการ

  • สาขา โรงพยาบาลพระรามเก้า
    • เบอร์โทรศัพท์: 092-9936922
    • Line: @w9wellness
    • เวลาเปิด-ปิด: 08.00 – 17.00 น.
  • สาขา เพลินจิตเซ็นเตอร์
    • เบอร์โทรศัพท์: 099-4969626
    • Line: @wploenchit
    • เวลาเปิด-ปิด: 10.00 – 19.00 น.

หนังสือ Healthitude สุข(อุดม)คติ
นพ.พิจักษณ์ วงศ์วิศิษฎ์ (หมอบาย)

Share : 

บทความที่เกี่ยวข้อง

ลำไส้กับภูมิคุ้มกัน อวัยวะที่หลายคนมักจะหลงลืม ภูมิตก สิวเรื้อรัง อ้วนง่าย

มีงานวิจัยหลายฉบับ พบว่าความอ้วนกับระดับ วิตามินดี ต่ำมีความสัมพันธ์กัน (Obesity

อ้วนขึ้นโดยไม่มีสาเหตุ น้ำหนักลงเองโดยไม่ตั้งใจ รูปร่างเปลี่ยนไปจนคนต้องเข้ามาทัก! อาจไม่ใช่เรื่องดีสำหรับบางคน เพราะนั่นอาจหมายถึงความผิดปกติของต่อม

error: Content is protected !!