ค้นหา
ปิดช่องค้นหานี้
อดนอน

รู้หรือไม่? “อดนอน” คือการเร่งความแก่

“อดนอน” มีทฤษฎีของความชรา ทฤษฎีหนึ่งกล่าวไว้ว่า คนเราแก่ ก็เพราะฮอร์โมนตก ทำให้การซ่อมแซม ตามไม่ทันความเสื่อม

แต่คนสมัยนี้แก่เร็วขึ้น บางคนอายุแค่ 20 ปีกว่าๆ ร่างกายเริ่มเสื่อมลงแล้ว ไหนจะโรคเส้นเลือดหัวใจอุดตัน เมื่อก่อนจะพบกับคนที่อายุมาก แต่ในปัจจุบันเรากลับมาพบว่าคนอายุน้อยๆ เริ่มเป็นโรคดังกล่าวกันมากขึ้นเพราะเหตุผลของการ อดนอน

เราชอบคิดเองว่า เดี๋ยวนอนชดเชยเอาทีหลังก็ได้ ยิ่งในช่วงวัยรุ่น เป็นวัยที่ฮอร์โมนยังพลุ่งพล่าน ร่างกายยังสามารถผลิตฮอร์โมนชดเชยความเสียหายในระยะสั้นที่เกิดจากการอดนอน ได้อยู่ทำให้เราไม่ค่อยรู้สึกถึงผลเสียของการอดนอนสักเท่าไหร่ เพราะร่างกายยังสามารถปรับตัวได้ดี แต่ถ้ายังนอนผิดเวลาต่อเนื่องเป็นนระยะเวลานาน จนเป็นนิสัย ไม่นานเกินรอ สุดท้าย ร่างกายก็จะ “พัง” ก่อนเวลาอันควรอยู่ดี

6 ผลเสียของการ “อดนอน” หรือนอนไม่เป็นเวลา

  1. ทำให้แก่เร็ว
  2. อ้วนง่ายขึ้น
  3. เสี่ยงโรคความดันสูง
  4. ติดเชื้อง่าย
  5. เป็นซึมเศร้า
  6. สมองทำงานช้าลง
อดนอน

นอกจากนี้ การอดนอนยังสัมพันธ์กับการเกิดโรคมะเร็ง ฮอร์โมนเมลาโทนินที่ลดลงจากการเปิดไฟทำงานทั้งคืน มีผลเร่งการกลายพันธุ์ของยีน เพิ่มโอกาสเกิดมะเร็งมากมาย เช่น มะเร็งเต้านม มะเร็งรังไข่ มะเร็งลำไส้ใหญ่ และมะเร็งต่อมลูกหมากในผู้ชาย การอดนอนไม่ใช่เรื่องเล่นๆ เลยนะครับ

โกรทฮอร์โมน ฮีโร่ของการนอนเร็ว

อดนอน

โกรทฮอร์โมน เป็นฮอร์โมนที่จำเป็นสำหรับทุกเพศ ทุกวัย ในวัยเด็กจำเป็นต่อการพัฒนาการของเด็ก ทั้งร่างกาย ความสูง สมอง ความคิดและจิตใจ ในผู้สูงอายุ โกรทฮอร์โมนจะทำหน้าที่ซ่อมแซมเนื้อเยื่อ ฟื้นฟูร่างกาย สังเคราะห์โปรตีน คอลลาเจน ทำให้กระดูกและข้อแข็งแรง ผิวเหี่ยวช้าลง และสำหรับคนทั่วไป โกรทฮอร์โมนจะช่วยสังเคราะห์ฮอร์โมน เพิ่มหรือคงมวลกล้ามเนื้อ มวลกระดูก ช่วยให้ร่างกายเผาผลาญไขมันให้เป็นพลังงานมากขึ้น ร่างกายสะสมไขมันน้อยลง คุณจึงไม่อ้วนนั่นเอง

เทคนิคเพิ่มคุณภาพการนอนหลับ ฉบับหมอบาย

  • เพิ่มกิจกรรมทางกายในช่วงบ่ายถึงเย็น
  • เพิ่มเวลาโดนแดดช่วงกลางวัน
  • กินมื้อเย็นหรือของว่างก่อนเวลานอน 3 ชม. ขึ้นไป
  • อาบน้ำอุ่น เพื่อผ่อนคลายขยายหลอดเลือด
  • ปิดหรือหรี่ไฟที่ไม่จำเป็นในเวลากลางคืน
  •  ฝึกเวลาเข้านอน ตื่นนอนให้เป็นปกติ
  • หยุดคิด หรือทำงานก่อนเข้านอนอย่างน้อย 1 ชม.
อดนอน

หมออยากให้ทุกคนตระหนักถึงความสำคัญของการนอน และคอยเตือนตัวเองเสมอว่า “การอดนอนคือการเร่งความแก่เร่งกลไกความเสื่อม เร่งการใช้ฮอร์โมนของชีวิตในอนาคต การอดนอนเปรียบเสมือนการนับเวลาถอยหลัง ซึ่งไม่ต่างอะไรกับการเอาเวลาอนาคตมาใช้แบบฟรีๆ

ไม่มีอะไรบนโลกนี้จะสำคัญกว่าการนอนแล้ว เชื่อหมอเถอะ

หนังสือ Healthitude สุข(อุดม)คติ
นพ.พิจักษณ์ วงศ์วิศิษฎ์ (หมอบาย)

Share : 

บทความที่เกี่ยวข้อง

ปฎิเสธไม่ได้เลยว่า ทุกวันนี้เราใช้ชีวิตอยู่กับฝุ่นและมลภาวะกันมากยิ่งขึ้น ส่งผลให้สุขภาพของใครหลายคนเริ่มมีปัญหา โดยเฉพาะโรคภูมิแพ้ที่ไม่ได้เป็นเฉพาะในคนที่มีพันธุกรรมเท่านั้น แต่สิ่งแวดล้อมที่มีมลพิษเยอะๆ

อยากหายจาก Long Covid คำแนะนำในการฟื้นฟูหลังติดเชื้อไวรัส จริงๆ

โรคมะเร็งเต้านม คือสาเหตุการเสียชีวิตอันดับ 1 ของผู้หญิงไทย โดยในช่วงชีวิตของผู้หญิงไทย 1 ใน 10 คน จะมีโอกาสเป็น “โรคมะเร็งเต้านม” และมีผู้หญิงไทยตายด้วยโรคมะเร็งเต้มนมเฉลี่ยวันละ 12 คน แต่หากได้รับการตรวจเช็กและรักษา แต่หากได้รับการตรวจเช็กและรักษาในช่วงระยะเวลาเริ่มต้นจะมีโอกาสรักษาให้กลับมาปกติได้สูง ซึ่งเราสามารถทำการตรวจคัดกรอง มะเร็งเต้านม ได้ตั้งแต่เนิ่นๆ เพื่อจะได้วินิจฉัยและสามารถรักษาได้ทันท่วงที รู้จักและเข้าใจ มะเร็งเต้านม ขึ้นชื่อว่ามะเร็งพอใครได้ยินก็มีความกลัวกันทั้งนั้น โดยเฉพาะ มะเร็งเต้านม ในผู้หญิงที่ถือเป็นภัยเงียบที่พบได้มากที่สุด โดยมะเร็งเต้านมนั้นเกิดจากเซลล์ของเต้านมที่มีการแบ่งตัวอย่างผิดปกติ เหนือการควบคุมของร่างกายและเปลี่ยนแปลงเป็นเซลล์มะเร็ง ส่วนใหญ่มักเกิดที่ภายในท่อน้ำนม และสามารถกระจายออกจากท่อน้ำนม ไปที่ต่อมน้ำเหลืองที่รักแร้และอวัยวะอื่นๆ ที่ไกลออกไป ฮอร์โมนเพศหญิงมีความสัมพันธ์กับมะเร็งเต้านม แม้ว่าโรคมะเร็งเต้านมยังไม่มีข้อมูลแน่ชัดว่ามีสาเหตุมาจากอะไร แต่ฮอร์โมนเพศหญิงเองก็มีความสัมพันธ์ในการเกิดมะเร็งเต้านมได้เหมือนกัน ผู้หญิงเป็นมะเร็งเต้านมมากกว่าผู้ชายถึง 100 เท่า ช่วงเวลาในการมีประจำเดือน โดยพบว่าผู้ที่มีประจำเดือนครั้งแรกเมื่ออายุน้อย หรือหมดประจำเดือนช้า มีความเสี่ยงมากขึ้นในการเกิดมะเร็งเต้านม ผู้หญิงที่ไม่เคยมีบุตรหรือตั้งครรภ์ครั้งแรก เมื่ออายุมากกว่า 30 ปี มีความเสี่ยงในการเกิดมะเร็งเต้านมมากกว่าคนที่ตั้งครรภ์เมื่ออายุยังน้อย ผู้หญิงที่ใช้ยาคุมกำเนิดมากกว่า 5 ปี หรือได้รับฮอร์โมนเอสโตรเจนทดแทนหลังหมดประจำเดือนเป็นระยะเวลานานกว่า 2 ปี จะเพิ่มความเสี่ยงของมะเร็งเต้านมมากขึ้น ใครมีความเสี่ยงสูงในการเป็นมะเร็งเต้านมมากกว่าผู้หญิงทั่วไป […]