ค้นหา
ปิดช่องค้นหานี้
มีลูกยาก

W9 รุกตลาด มีบุตรยาก เน้นปรับสมดุลสุขภาพผู้หญิงและผู้ชาย

ชี้เทรนด์ตลาดโลกพบตัวเลขผู้มีปัญหาภาวะ มีบุตรยาก และ วางแผนมีบุตรเพิ่มต่อเนื่อง “W9 Wellness Center” แนะดูแลสุขภาพแบบองค์รวม รองรับตลาดท่องเที่ยวผู้มีบุตรยาก หลังไทยรั้งอันดับ 1 ใน 5 ประเทศสุดฮอต

นายแพทย์พิจักษณ์ วงศ์วิศิษฎ์ ผู้อำนวยการ “W9 Wellness Center” ศูนย์ดูแลสุขภาพแบบองค์รวม (Holistic) ในโรงพยาบาลพระรามเก้า เปิดเผยว่า ประเทศไทยกำลังเผชิญปัญหาจำนวนประชากรเกิดใหม่ลดลงอย่างต่อเนื่อง ข้อมูลจากองค์การอนามัยโลก (WHO) รายงาน 17.5% ของประชากรวัยผู้ใหญ่ หรือ 1 ใน 6 ของประชากรทั่วโลกกำลังประสบปัญหาภาวะมีบุตรยาก จากปัจจัยความพร้อมด้านสุขภาพที่สวนทางกับสภาพสังคมและเศรษฐกิจ กระตุ้นคนรุ่นใหม่เลือกใช้เวลาในขณะที่ร่างกายมีความพร้อมทุ่มไปกับการทำงานสร้างฐานะยาวนานขึ้น

มีลูกยาก

ดังนั้นกว่าจะพร้อมมีบุตรอายุก็เพิ่มมากขึ้น พบว่าส่วนใหญ่จะอายุเกิน 30 ปีขึ้นไป ประกอบกับภาวะความเครียดสะสมที่เพิ่มมากขึ้น สิ่งแวดล้อม วิถีชีวิต และภาวะโภชนาการที่แย่ลง ดังนั้น จะเห็นว่าความพร้อมทางเศรษฐกิจของครอบครัวในการมีบุตร กับความพร้อมของสภาพร่างกายหรือทางชีววิทยาสวนทางกันอย่างชัดเจน ส่งผลให้อัตราการเกิดในไทยดิ่งต่ำลง ปี 2565 มีเด็กเกิดใหม่เพียง 5.02 แสนคน อัตราการเกิด เท่ากับ 7.6 ต่อประชากร 1,000 คน ถือเป็นอัตราการเกิดที่ต่ำที่สุดในรอบ 71 ปี

ทั้งนี้ W9 เล็งเห็นดีมานด์ในตลาดดังกล่าวที่มีแนวโน้มสูงขึ้น โดยเฉพาะตลาดท่องเที่ยวกลุ่มผู้มีบุตรยาก “Fertility Tourism” จึงเดินหน้าพัฒนาโปรแกรมวางแผนการมีบุตรในเชิงเวลเนส สอดรับทุกไลฟ์สไตล์ที่แตกต่างอย่างลงตัว เจาะกลุ่มคนไทยและนักท่องเที่ยวต่างชาติที่ต้องการวางแผนมีบุตร หรืออยู่ในภาวะมีบุตรยาก ตั้งแต่ระยะก่อนตั้งครรภ์

ปรับสมดุลสุขภาพเพิ่มความสำเร็จในการตั้งครรภ์

มีบุตรยาก

โดยเน้นการปรับสมดุลสุขภาพ เพิ่มความสำเร็จในการตั้งครรภ์ด้วยวิธีธรรมชาติ และเตรียมความพร้อมก่อนการทำเทคโนโลยีเจริญพันธุ์ ตั้งเป้าเพิ่มมูลค่าตลาดท่องเที่ยวผู้มีบุตรยากเติบโต และช่วยขับเคลื่อน Medical Hub สู่การเป็นศูนย์กลางเชิงเวลเนส การแพทย์ และการท่องเที่ยวในเอเชียในอนาคต สอดรับกับข้อมูล Allied Market Research เผยทิศทางตลาดท่องเที่ยวผู้มีบุตรยากในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก พบประเทศไทยติดอันดับ 1 ใน 5 ประเทศเป้าหมายสำคัญการปรึกษาวางแผนมีบุตร หรือแก้ปัญหามีบุตรยาก

มีบุตรยาก

พื้นฐานสำคัญของการมีบุตรต้องมาจากสุขภาพที่แข็งแรง การมุ่งใช้เทคโนโลยีช่วยการเจริญพันธุ์ ที่มีค่าใช้จ่ายสูง หลายเคสอาจไม่ประสบความสำเร็จ เนื่องจากโครโมโซมผิดปกติ อสุจิไม่แข็งแรง กระตุ้นไข่แล้วก็ยังไม่สมบูรณ์ หรือฝังตัวอ่อนไม่ติดก็ตาม ล้วนแล้วแต่มาจากความไม่สมดุลของร่างกาย ซึ่งในเชิงเวลเนส จะเน้นสร้างความพร้อมทั้งผู้ชายและผู้หญิง โดยการปรับสมดุลสุขภาพ เพื่อเพิ่มความสำเร็จในการตั้งครรภ์ด้วยวิธีธรรมชาติ หรือเพิ่มโอกาสสำเร็จในการทำเทคโนโลยีช่วยการเจริญพันธุ์ และโอกาสเกิดภาวะแทรกซ้อนระหว่างการตั้งครรภ์

อย่างไรก็ดี การปรับสมดุลสุขภาพสำหรับผู้หญิง คือเน้นที่ปรับสมดุลฮอร์โมนที่มีผลต่อการทำงานของระบบสืบพันธุ์ อุปสรรคของผู้หญิงคือ รังไข่ทำงานไม่ปกติ ไข่ด้อยคุณภาพ รังไข่เสื่อมก่อนวัย ประจำเดือนมาไม่ปกติ เป็นต้น รวมถึงการปรับสมดุลสุขภาพสำหรับผู้ชาย เน้นเพิ่มคุณภาพและปริมาณอสุจิ (Sperm) อุปสรรคของผู้ชายคือ เชื้อน้อย อ่อนแอ หรือมีรูปร่างผิดปกติ ความไม่สมบูรณ์ของอสุจิอาจส่งผลเสียทั้งต่อการเคลื่อนไหวและทำให้การเจาะผสมไข่เป็นไปได้ยาก ฯลฯ

ปัจจัยเสี่ยงที่ส่งต่อการตั้งครรภ์ หรือ มีบุตรยาก

ปัจจัยเสี่ยงที่ส่งผลกระทบต่อภาวะการตั้งครรภ์ หรือการมีบุตรยาก ที่ควรให้ความสำคัญ 4 ปัจจัยหลัก คือ

  1. ฮอร์โมน ที่มีผลต่อสมดุลสุขภาพและระบบสืบพันธุ์
  2. ระดับสารพิษ ที่อันตรายต่อระบบการเจริญพันธุ์ กระทบการทำงานของระบบฮอร์โมน
  3. สมดุลวิตามินและแร่ธาตุ ที่มีความสำคัญกับระบบการทำงานหลักของร่างกายทั้งชาย-หญิง และความแข็งแรงสมบูรณ์ของทารกในครรภ์ ซึ่งควรอยู่ภายใต้คำแนะนำโดยแพทย์
  4. ไลฟ์สไตล์ ที่ควรหลีกเลี่ยง เช่น การสูบบุหรี่ การดื่มแอลกอฮอล์ และควรให้ความสำคัญเรื่องอาหาร การรักษาน้ำหนักให้เหมาะสม ควบคู่กับสมดุลของชีวิต คุณภาพการนอน และการจัดการความเครียด เป็นต้น
มีลูกยาก

“การเข้ารับคำปรึกษาจากแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านการดูแลสุขภาพแบบองค์รวม เป็นหนึ่งทางเลือกที่ช่วยเสริมวิธีการข้างต้นมีให้ประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น ถือเป็นเทคนิครักษาร่วมเพื่อช่วยให้ร่างกายกลับมามีสมดุลตามปกติ โดยสามารถเข้ารับคำปรึกษาจากผู้เชี่ยวชาญด้านการดูแลสุขภาพแบบองค์รวมได้โดยตรง เพราะการคืนสมดุลสุขภาพ เพิ่มโอกาสการมีบุตรให้กับคู่สมรสที่กำลังวางแผนในการมีบุตร หรือกำลังประสบภาวะมีบุตรยาก”

Share : 

บทความที่เกี่ยวข้อง

เครียดจนร่างกายแย่ ขาดกาแฟแล้วไม่มีพลัง? “ภาวะต่อมหมวกไตล้า” เชื่อว่าวัยทำงานหลายคนต้องเคยเผชิญกับปัญหาความเครียดสะสมจนร่างกายไม่สามารถรับอะไรได้อีก ไม่มีสมาธิในการทำงาน

เคยสงสัยไหมว่า บางวันรู้สึกสดชื่น กระปรี้กระเปร่า แต่บางวันกลับรู้สึกเหนื่อยล้า อ่อนเพลีย

ผู้คนยุคนี้ใช้เวลาอยู่กับการแข่งขันกันทำงาน เรียนหนังสือ ทำมาหากิน เราเติบโตขึ้นท่ามกลางความวุ่นวายมากมายที่มาพร้อมกับภาระหน้าที่ความรับผิดชอบที่เพิ่มขึ้น เราถูกสังคมหล่อหลอมความคิดมาให้ใช้เวลาให้มี

error: Content is protected !!