ค้นหา
ปิดช่องค้นหานี้

อัลไซเมอร์ รู้ก่อน ป้องกันได้

อัลไซเมอร์ เป็นโรคที่เกิดจากความเสื่อมของการทํางาน และโครงสร้าง ของเนื้อเยื่อสมอง ซึ่งมักพบในผู้สูงอายุ แต่เป็นความเสื่อมที่เกิดจากการที่ร่างกายไม่สามารถกําจัดของเสียโปรตีน (Beta-amyloid และ Tau protein) ให้ออกจากสมองได้ตามปกติ จึงเกิด การจับตัวเป็นก้อน (Plaque) และพันกันยุ่งเหยิง (Tangles) ซึ่งจากการสะสม คั่งค้างของเสียในสมองดังกล่าว จะไปรบกวนการสื่อสารในสมอง ทําให้สารสื่อ ประสาทแอซิติลโคลีน (Acetylcholine) ที่มีผลโดยตรงต่อความทรงจําลดลง และหากมีการอักเสบในสมองเรื้อรัง (Chronic brain inflammation) ในระยะยาว จะทําให้เซลล์สมองเสียหาย เนื้อสมองฝ่อ จนถึงจุดที่จะทําให้เกิดอาการ สมองเสื่อม ได้ในที่สุด

“อัลไซเมอร์ ไม่ใช่ความเสื่อมตามธรรมชาติ ผู้สูงอายุไม่จําเป็นต้องเป็นอัลไซเมอร์ทุกคน”

อาการหลัก ของอัลไซเมอร์

อาการส่วนใหญ่ก็คือ หลงๆ ลืมๆ นั่นก็เป็นเพราะว่า ความเสื่อม จะค่อยๆ เริ่มต้นจากสมองส่วนฮิปโปแคมปัส ที่มีบทบาทในการจดจําข้อมูล ใหม่ ๆ (ความจําระยะสั้น) จากนั้นจึงจะแพร่กระจายไปยังสมองส่วนอื่น ๆ ส่งผลต่อการเรียนรู้ ความรู้สึกนึกคิด ภาษา และพฤติกรรม โดยระยะเวลาทั้งหมด ตั้งแต่แรกวินิจฉัยจนเสียชีวิตโดยเฉลี่ยจะอยู่ที่ประมาณ 8-10 ปี

ในยุคปัจจุบัน อัตราการเกิดโรคอัลไซเมอร์ มีแนวโน้มเพิ่มขึ้น อย่างต่อเนื่อง  และยังเกิดในคนที่มีอายุเฉลี่ยน้อยลงด้วยครับ ซึ่งผู้ป่วยโรคอัลไซเมอร์ตั้งแต่ โรคในระยะกลางเป็นต้นไป มักจะต้อง “พึ่งพา” สมาชิกในครอบครัวสูงมาก ลองสังเกตดูดีๆ รอบกายเราเริ่มจะมีผู้ที่มีอาการอัลไซเมอร์มากขึ้นเรื่อยๆ อย่างช้าๆ และยิ่งประเทศไทยเรากําลังเดินไปสู่ “สังคมผู้สูงอายุ” โรคนี้จึงนับว่า เป็นอีกหนึ่งปัญหาสังคมที่สําคัญ

ปัจจัยเสี่ยงที่เราควบคุมไม่ได้ ก็คือ อายุ เพศ และกรรมพันธุ์

ปัจจัยเสี่ยงที่เราควบคุมได้ ก็คือ ความเสี่ยงจากโรคเรื้อรังต่างๆ เช่น คนที่มีโรคเบาหวานจะมีความเสี่ยง เป็นอัลไซเมอร์เพิ่มสูงขึ้นถึง 2.5 เท่า คนที่สูบบุหรี่ ดื่มสุราเป็นประจํา จะมี ความเสี่ยงเพิ่มขึ้น 30% และในคนที่เป็นโรคอ้วน ความดันโลหิตสูง โรคซึมเศร้า และกลุ่มคนที่ไม่ออกกําลังกาย (Sedentary) ก็พบว่ามีความเสี่ยงที่จะมี ภาวะอัลไซเมอร์เพิ่มขึ้นได้เช่นกัน

 

APOE พันธุกรรมทํานาย

จนถึงปัจจุบันนี้ เรายังไม่สามารถสรุปได้ว่ายืน ตัวไหนที่เป็น “ต้นเหตุโดยตรง” ของการเกิดโรคอัลไซเมอร์ แต่… เราพบยีนที่เป็น “ต้นเหตุทางอ้อม” ในการเพิ่มความเสี่ยง ของการเกิด โรคอัลไซเมอร์ที่ชื่อว่าอะโปไลโปโปรตีน อี (Apolipoprotein E: APOE) ซึ่งเจ้า APOE ยืน นี้ มีหน้าที่หลายประการ ในกระบวนการเผาผลาญพลังงาน ระดับเซลล์ สังเคราะห์โปรตีน การขับของเสีย และกระบวนการขนส่งไขมัน และ คลอเลสเตอรอล

 

“เนื่องจาก APOE ยืน สามารถถ่ายทอดทางพันธุกรรมได้ และปัจจัยทางพันธุกรรม อาจมีผลมากถึง 80%”

การตรวจ AopE ทำนายความเสี่ยงอัลไซเมอร์

การตรวจพันธุกรรม (Single Nucleotide Polymorphism) จึงมีความสําคัญ มากขึ้น การตรวจ AopE สามารถใช้ทํานายความเสี่ยงก่อนที่จะมีอาการ4 (Predictive testing) โดยเฉพาะสมาชิกในครอบครัวของผู้ป่วยอัลไซเมอร์ เพื่อใช้ประเมินระดับความเสี่ยง วางแผนการป้องกัน ความถี่ในการตรวจคัดกรอง การเฝ้าระวัง และการแนะนําการปฏิบัติตัวได้ดียิ่งขึ้น

การตรวจพันธุกรรม APOE จะทําให้เราทราบว่า เราได้รับมรดก (ความเสี่ยง) มาจากคุณพ่อคุณแม่หรือไม่

โดยยืนตัวนี้ จะมีอยู่ 3 รูปแบบ (Alleles) คือ APOE-2, APOE-3, และ APOE-4 ซึ่งโดยปกติแล้ว คนส่วนใหญ่จะพบ รูปแบบ APOE-3 มากที่สุด

ถ้าใครได้รับมรดก APOE-2 ซึ่งถือว่าเป็นยีนป้องกัน (Protective gene) มาล่ะก็ถือว่าโชคดี แต่พบได้น้อยมากๆ

ส่วนเจ้า APOE-4 จะถือว่าเป็นยืนเสี่ยง (Risk-factor gene) ใครมีไว้ ในครอบครองจะมีความเสี่ยงสูงขึ้นหลายเท่าตัว แต่ไม่ได้หมายถึงว่าจะต้อง เป็นโรคนะครับ เพราะบางคนมี APOE-4 แต่ไม่เป็นโรค บางคนเป็นโรค แต่ไม่มี APOE-4 ก็มี

 

ข่าวร้ายที่หมอบายอยากบอก ก็คือ เราพบ APOE-4 ตัวร้ายได้ถึง 25% ของประชากร และถ้าคุณพ่อหรือคุณแม่เรามีเจ้า APOE-4 นี้ เราก็มีสิทธิ์ได้รับมรดกตกทอด สูงถึง 50% เลยทีเดียว ซึ่งคนที่มียืน APOE-4 มักจะป่วยเป็นโรคตอนที่อายุ น้อยกว่าคนที่ไม่มียีน APOE-4 โดยเฉลี่ย 5-10 ปี

อย่างไรก็ตาม หากเรามียืน APOE – 4 ก็ไม่ต้องตกใจนะครับ ยังไงเราก็ ยังมีปัจจัยเหนือพันธุกรรม (Epigenetics) ที่เป็นเหมือนสวิตช์เปิดหรือปิด การแสดงออกของยีนตัวนี้ เรายังมีโอกาสจะปิดผนึก ไม่ให้ยืนร้ายตื่นขึ้นมา ก่อโรคได้

 

 
สรุปว่า ถ้ามี APOE-4 แล้วละก็ หมายความว่า เรามีความเสี่ยงมากกว่าคนอื่น ที่ไม่มี หมอบายแนะนําให้ดูแลตัวเองเป็นพิเศษ ทันและป้องกันปัจจัยเสี่ยง ใช้ชีวิต ให้ดีกว่าคนอื่นหน่อย โอกาสเป็นโรคก็น้อยลงได้สบายๆทาง Functional Medicine จึงได้มีการตรวจ สมดุลเชิงลึก ซึ่งสามารถที่จะให้ข้อมูลเพิ่มเติม เกี่ยวกับ ระดับการอักเสบเรื้อรังในสมอง (Chronic Brain Inflammation) ผ่านการตรวจ กรดอินทรีย์ในปัสสาวะ (Organic Acid Testing) และตรวจระดับโลหะหนักสะสม (Toxic Heavy Metals) สําหรับคัดกรองในคนที่สนใจ โดยเฉพาะผู้ที่มีความเสี่ยงสูง หรือมีประวัติ ในครอบครัวใกล้ชิด เพื่อวางแผนการปรับสมดุล เพื่อป้องกันโรค (Prevention) หรือแม้แต่ ช่วยร่วมรักษา (Complementary Treatment) เพื่อลดความรุนแรงของโรคได้

โปรแกรมแนะนำ

NAD+ช่วยให้กระตุ้นให้ระบบเผาผลาญทำงานได้มีประสิทธิภาพมากขึ้น พร้อมซ่อมแซมเซลล์ต่างๆ ทั่วทั้งร่างกาย

ราคา ฿9,000.00 บาท

โปรแกรมวิเคราะห์ความเสี่ยงอัลไซเมอร์เชิงลึก ระดับ DNA จากการตรวจเลือดและปัสสาวะ ซึ่งครอบคลุมทั้งระดับฮอร์โมน วิตามินและแร่ธาตุจำเป็น ระดับสารอักเสบ การขับสารพิษโลหะหนัก สมดุลสารสื่อประสาท และยีนที่สามารถส่งต่อความเสี่ยงของโรคอัลไซเมอร์

ราคา ฿28,000.00 บาท

โปรแกรมวิเคราะห์ความเสี่ยง 13 โรคมะเร็ง และ 21 โรคที่พบบ่อย จากสารพันธุกรรม (DNA) โดยใช้การตรวจจากน้ำลาย

เหมาะสำหรับ : ผู้ที่มีประวัติคนในครอบครัวป่วยเป็นโรคมะเร็ง, โรคอัลไซเมอร์, โรคความจำเสื่อม และโรคหัวใจและหลอดเลือด

ราคา ฿29,000.00 บาท

ปรึกษาปัญหาสุขภาพและรับสิทธิพิเศษสำหรับคุณได้ที่นี่

บทความที่เกี่ยวข้อง

โรคมะเร็ง เป็นโรคที่พบมากและเป็นสาเหตุการเสียชีวิตอันดับต้นๆ ของคนทั่วโลก และมีแนวโน้มว่าจำนวนเพิ่มขึ้นทุกปี องค์การอนามัยโลกคาดการณ์ว่าในปี ค.ศ.2030 จะมีผู้ป่วยโรคมะเร็งเพิ่มขึ้น 21.4 ล้านคน และคาดว่าจะมีผู้เสียชีวิตราว 13 ล้านคน สำหรับประเทศไทย โรคมะเร็งเป็นสาเหตุการเสียชีวิตอันดับ 1 รองลงมาคือ โรคหลอดเลือดในสมอง เราสามารถลดความเสี่ยงได้ด้วยการ เช็กความเสี่ยงโรคมะเร็ง ทุกปี เอกสารอ้างอิง : วารสารกรมการแพยท์  โรคมะเร็งที่พบมาก 5 อันดับแรกในเพศชาย ได้แก่ มะเร็งตับและท่อน้ำดี มะเร็งปอด มะเร็งลำไส้ใหญ่และทวารหนัก มะเร็งต่อมลูกหมาก และมะเร็งต่อมน้ำเหลือง ส่วนมะเร็งที่พบมาก 5 อันดับแรกในเพศหญิง ได้แก่ มะเร็งเต้านม มะเร็งตับและท่อน้ำดี มะเร็งปากมดลูก มะเร็งลำไส้ใหญ่และทวารหนัก และมะเร็งปอด เช็กความเสี่ยงโรคมะเร็ง สาเหตุของการเกิดมะเร็ง ปัจจุบันยังไม่ทราบสาเหตุที่แน่ชัด แต่พบว่าปัจจัยที่ก่อให้เกิดโรคมะเร็งส่วนใหญ่มาจากปัจจัยภายนอก ไม่ใช่เรื่องของพันธุกรรมในครอบครัวเพียงอย่างเดียว เพราะในปัจจุบันเราพบว่าการใช้ชีวิตของคนเปลี่ยนไป โดยเฉพาะคนในเมืองที่มีความเครียดเพิ่มมากขึ้น พักผ่อนน้อย รับประทานอาหารไขมันสูง ขาดการออกกำลังกาย สูบบุหรี่และดื่มแอลกอฮอล์เป็นประจำ จึงทำให้มีกลุ่มคนที่เป็นโรคมะเร็งเพิ่มจำนวนขึ้นทุกปี สัญญาณอันตรายเสี่ยงมะเร็ง ระบบขับถ่ายที่เปลี่ยนไป […]

ในปัจจุบันด้วยไวรัส มลภาวะและสารพิษที่เราต้องเจอ บวกกับไลฟ์สไตล์เร่งรีบ การรับประทานอาหารแช่แข็งพร้อมทานแทนอาหารปรุงใหม่ หรือไม่มีเวลาดูแลสุขภาพและออกกำลังกาย

ประจำเดือนผิดปกติ นัดกันทุกเดือนแต่ไม่เคยมาตรงกันสักรอบ สิ่งผู้หญิงหลายคนน่าจะพบเจอปัญหานี้กันอยู่บ่อยๆ ที่ประจำเดือนมาบ้าง ไม่มาบ้าง แต่อยากจะบอกว่าอาการเบื้องต้นเหล่านี้เราไม่ควรมองข้าม เพราะอาจเป็นสัญญาณของการเกิดโรคร้าย หรืออาการผิดปกติบางอย่างของร่างกายเราอยู่ในตอนนี้ วันนี้เราเลยมีสัญาณของ ประจำเดือนผิดปกติ มาฝากกันค่ะ 8 สัญญาณเตือนอันตรายของผู้หญิง ประจำเดือนผิดปกติ อาจการที่พบบ่อยในผู้หญิงที่หลายคนไม่ควรมองข้าม หากพบว่ามีอาการดังต่อไปนี้ควรรีบไปพบแพทย์เพื่อทำการรักษาก่อนที่จะอันตรายถึงชีวิต โดยปกติประจำเดือนของคุณผู้หญิงจะมาทุก 21-35 วัน นับจากวันแรกของรอบเดือน ถึงวันแรกของรอบเดือนถัดไป แต่มีคุณผู้หญิงหลายคนที่ประจำเดือนไม่มาตามนัด กลายเป็นประจำสองเดือน ประจำสามเดือน หรือกลายเป็นประจำปีเลยก็มี บางรายมีอาการปวดท้องน้อย ในช่วงเวลา 8-48 ชั่วโมง หลังมีประจำเดือน เนื่องจากการหลั่งสารเคมี ทำให้เกิดการหดรัดตัวของกล้ามเนื้อมดลูก และหลอดเลือดแดงที่ไปเลี้ยงมดลูกมีการหดเกร็งร่วมกับอาการปวดเมื่อยหลัง อ่อนเพลีย เบื่ออาหาร คลื่นไส้ อาเจียน ถ่ายอุจจาระเหลว ปวดศีรษะ เจ็บหน้าอก และยังมีอาการหงุดหงิดง่าย วิตกกังวล ซึ่งอาการดังกล่าวจะหายไปเมื่อประจำเดือนหมด ฮอร์โมนเอสโตรเจน และฮอร์โมนโปรเจสเตอโรน เป็นตัวควบคุมการสร้างและการหลุดลอก นอกจากนี้ฮอร์โมนทั้งสองยังเกี่ยวข้องกับการตกไข่จากรังไข่ในเพศหญิง ฮอร์โมนไม่สมดุลส่งผลต่อประจำเดือนไม่ปกติ ระดับฮอร์โมนเอสโตรเจนและโปรเจสเตอโรนที่สมดุลจะช่วยสร้างเยื่อบุโพรงมดลูกขึ้นมา โดยเยื่อบุโพรงมดลูกจะลอกตัวกลายเป็นเลือดประจำเดือนในกรณีที่ไข่ไม่ได้รับการปฏิสนธิ หากฮอร์โมนในร่างกายไม่สมดุล จะส่งผลให้สร้างเยื่อบุโพรงมดลูกมากเกินไป ซึ่งทำให้มีเลือดประจำเดือนมาก ทั้งนี้ หากร่างกายไม่ตกไข่ตามปกติ […]