ค้นหา
ปิดช่องค้นหานี้
ประจำเดือนผิดปกติ

ประจำเดือนผิดปกติ สิ่งที่ต้องมาประจำเดือน ทำไมไม่มาประจำ?

ประจำเดือนผิดปกติ

ประจำเดือนผิดปกติ

นัดกันทุกเดือนแต่ไม่เคยมาตรงกันสักรอบ สิ่งผู้หญิงหลายคนน่าจะพบเจอปัญหานี้กันอยู่บ่อยๆ ที่ประจำเดือนมาบ้าง ไม่มาบ้าง แต่อยากจะบอกว่าอาการเบื้องต้นเหล่านี้เราไม่ควรมองข้าม เพราะอาจเป็นสัญญาณของการเกิดโรคร้าย หรืออาการผิดปกติบางอย่างของร่างกายเราอยู่ในตอนนี้ วันนี้เราเลยมีสัญาณของ ประจำเดือนผิดปกติ มาฝากกันค่ะ

8 สัญญาณเตือนอันตรายของผู้หญิง

ประจำเดือนผิดปกติ อาจการที่พบบ่อยในผู้หญิงที่หลายคนไม่ควรมองข้าม หากพบว่ามีอาการดังต่อไปนี้ควรรีบไปพบแพทย์เพื่อทำการรักษาก่อนที่จะอันตรายถึงชีวิต

  1. รอบเดือนมาผิดปกติ
  2. ระบบขับถ่ายผิดปกติ
  3. ปวดท้องประจำเดือนอย่างรุนแรง ร่วมกับอาการปวดหลัง หรือปวดท้องขณะมีเพศสัมพันธ์
  4. ประจำเดือนมามากกว่า 7 วันขึ้นไปอาจเกิดจากความผิดปกติของระบบสืบพันธุ์
  5. ปวดหลังส่วนล่างอย่างรุนแรง
  6. ลิ่มเลือดประจำเดือนมีขนาดใหญ่ผิดปกติ เสี่ยงต่อการเป็นเนื้องอกในมดลูก
  7. มีหยดเลือดออกมาในช่วงที่ไม่มีประจำเดือน
  8. ประจำเดือนมีกลิ่นเหม็นมากกว่าปกติ
ประจำเดือนผิดปกติ

โดยปกติประจำเดือนของคุณผู้หญิงจะมาทุก 21-35 วัน นับจากวันแรกของรอบเดือน ถึงวันแรกของรอบเดือนถัดไป แต่มีคุณผู้หญิงหลายคนที่ประจำเดือนไม่มาตามนัด กลายเป็นประจำสองเดือน ประจำสามเดือน หรือกลายเป็นประจำปีเลยก็มี บางรายมีอาการปวดท้องน้อย ในช่วงเวลา 8-48 ชั่วโมง หลังมีประจำเดือน เนื่องจากการหลั่งสารเคมี ทำให้เกิดการหดรัดตัวของกล้ามเนื้อมดลูก และหลอดเลือดแดงที่ไปเลี้ยงมดลูกมีการหดเกร็งร่วมกับอาการปวดเมื่อยหลัง อ่อนเพลีย เบื่ออาหาร คลื่นไส้ อาเจียน ถ่ายอุจจาระเหลว ปวดศีรษะ เจ็บหน้าอก และยังมีอาการหงุดหงิดง่าย วิตกกังวล ซึ่งอาการดังกล่าวจะหายไปเมื่อประจำเดือนหมด

ฮอร์โมนเอสโตรเจน และฮอร์โมนโปรเจสเตอโรน เป็นตัวควบคุมการสร้างและการหลุดลอก นอกจากนี้ฮอร์โมนทั้งสองยังเกี่ยวข้องกับการตกไข่จากรังไข่ในเพศหญิง

ฮอร์โมนไม่สมดุลส่งผลต่อประจำเดือนไม่ปกติ

ประจำเดือนมาไม่ตรง

ระดับฮอร์โมนเอสโตรเจนและโปรเจสเตอโรนที่สมดุลจะช่วยสร้างเยื่อบุโพรงมดลูกขึ้นมา โดยเยื่อบุโพรงมดลูกจะลอกตัวกลายเป็นเลือดประจำเดือนในกรณีที่ไข่ไม่ได้รับการปฏิสนธิ หากฮอร์โมนในร่างกายไม่สมดุล จะส่งผลให้สร้างเยื่อบุโพรงมดลูกมากเกินไป ซึ่งทำให้มีเลือดประจำเดือนมาก ทั้งนี้ หากร่างกายไม่ตกไข่ตามปกติ ก็ส่งผลให้ระดับฮอร์โมนไม่สมดุล และสร้างเยื่อบุโพรงมดลูกหนาเกินไปจนทำให้ประจำเดือนมามากได้

สาเหตุของประจำเดือนไม่มา หรือมาไม่ตรง

  1. ความเครียด ความวิตกกังวล
  2. อาหาร การอดอาหาร หรือ การเพิ่มน้ำหนักอย่างรวดเร็ว
  3. การรับประทานยาคุม ยิ่งทานไม่สม่ำเสมอยิ่งทำให้ประจำเดือนมาไม่ตรงเวลา
  4. การตั้งครรภ์
  5. มีเนื้องอกในมดลูก
  6. โรคถุงน้ำในรังไข่
  7. อายุเข้าสู่วัยหมดประจำเดือน

อ่านเพิ่มเติม ตรวจฮอร์โมนผู้หญิง ต้องตรวจอะไรบ้าง และควรเริ่มตรวจเมื่อไหร่

ประจำเดือน

ระยะเวลาปกติของประจำเดือนมาทุก 21-35 วัน นับจากวันแรกของรอบเดือนถึงวันแรกของรอบเดือนถัดไป

ประจำเดือนผิดปกติ

การรักษาประจำเดือนมาผิดปกติ

  • กินยาปรับฮอร์โมนให้มีประจำเดือนมาสม่ำเสมอ เพื่อป้องกันมะเร็งเยื่อบุโพรงมดลูก
  • ตรวจหาความความเสี่ยงโรคต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง เช่น โรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง และภาวะไขมันสูง
  • ปรับเปลี่ยนพฤติกรรม ควบคุมน้ำหนัก กินยากระตุ้นการตกไข่หากอยากมีบุตร

นอกจากเรื่องประจำเดือนแล้ว สมดุลฮอร์โมนยังส่งผลต่อสุขภาพในอีกหลายๆด้าน ประจำเดือนมาไม่เป็นปกติเกิดจากสาเหตุของระดับฮอร์โมนที่ไม่สมดุล ถ้าอยากรู้ว่าร่างกายตัวเองสมดุลไหม โปรแกรมตรวจสมดุลฮอร์โมน 15 รายการ ที่จำเป็นต่อประสิทธิภาพการทำงานของร่างกาย จะทำให้คุณรู้ว่าตัวเองขาดสมดุลฮอร์โมนตัวไหน เพื่อที่จะได้ปรับสมดุลฮอร์โมนให้กลับมาทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพอีกครั้ง

Share : 

บทความที่เกี่ยวข้อง

อาหารปนเปื้อน การปนเปื้อนของฮอร์โมน (Hormone) ในอาหาร โดยเฉพาะเนื้อสัตว์

วิตามินดี ไม่ใช่แค่เรื่องกระดูกและฟัน แต่ส่งเสริมระบบภูมิคุ้มกัน (ภูมิต้านทาน) ของร่างกาย

“อดนอน” มีทฤษฎีของความชรา ทฤษฎีหนึ่งกล่าวไว้ว่า คนเราแก่ ก็เพราะฮอร์โมนตก ทำให้การซ่อมแซม ตามไม่ทันความเสื่อม แต่คนสมัยนี้แก่เร็วขึ้น บางคนอายุแค่ 20 ปีกว่าๆ ร่างกายเริ่มเสื่อมลงแล้ว ไหนจะโรคเส้นเลือดหัวใจอุดตัน เมื่อก่อนจะพบกับคนที่อายุมาก แต่ในปัจจุบันเรากลับมาพบว่าคนอายุน้อยๆ เริ่มเป็นโรคดังกล่าวกันมากขึ้นเพราะเหตุผลของการ อดนอน เราชอบคิดเองว่า เดี๋ยวนอนชดเชยเอาทีหลังก็ได้ ยิ่งในช่วงวัยรุ่น เป็นวัยที่ฮอร์โมนยังพลุ่งพล่าน ร่างกายยังสามารถผลิตฮอร์โมนชดเชยความเสียหายในระยะสั้นที่เกิดจากการอดนอน ได้อยู่ทำให้เราไม่ค่อยรู้สึกถึงผลเสียของการอดนอนสักเท่าไหร่ เพราะร่างกายยังสามารถปรับตัวได้ดี แต่ถ้ายังนอนผิดเวลาต่อเนื่องเป็นนระยะเวลานาน จนเป็นนิสัย ไม่นานเกินรอ สุดท้าย ร่างกายก็จะ “พัง” ก่อนเวลาอันควรอยู่ดี 6 ผลเสียของการ “อดนอน” หรือนอนไม่เป็นเวลา นอกจากนี้ การอดนอนยังสัมพันธ์กับการเกิดโรคมะเร็ง ฮอร์โมนเมลาโทนินที่ลดลงจากการเปิดไฟทำงานทั้งคืน มีผลเร่งการกลายพันธุ์ของยีน เพิ่มโอกาสเกิดมะเร็งมากมาย เช่น มะเร็งเต้านม มะเร็งรังไข่ มะเร็งลำไส้ใหญ่ และมะเร็งต่อมลูกหมากในผู้ชาย การอดนอนไม่ใช่เรื่องเล่นๆ เลยนะครับ โกรทฮอร์โมน ฮีโร่ของการนอนเร็ว โกรทฮอร์โมน เป็นฮอร์โมนที่จำเป็นสำหรับทุกเพศ ทุกวัย ในวัยเด็กจำเป็นต่อการพัฒนาการของเด็ก ทั้งร่างกาย ความสูง […]