มะเร็งบางชนิดมีการถ่ายทอดทางพันธุกรรม โดยปกติแล้วทุกคนมียีนก่อมะเร็งที่ติดตัวมาตั้งแต่กำเนิดเป็นพื้นฐานอยู่แล้ว แต่ไม่ได้ทำให้เป็นมะเร็ง ขึ้นอยู่ที่ว่ายีนนั้นจะกลายพันธุ์จนก่อให้เกิดมะเร็งหรือไม่ ปัจจุบันการตรวจยีนหรือ พันธุกรรมมะเร็ง เพื่อค้นหาความเสี่ยงช่วยให้ทราบถึงสุขภาพส่วนบุคคลในระดับเชิงลึก นำไปวางแผนการใช้ชีวิต การปรับเปลี่ยนพฤติกรรม รวมถึงการเฝ้าระวังก่อนการเกิดโรค หรือแม้กระทั่งป้องกันการกลับมาเป็นซ้ำในกลุ่มผู้ป่วยมะเร็ง
โรคที่มีโอกาสถ่ายทอดทาง พันธุกรรมมะเร็ง
จากข้อมูลในปัจจุบัน โรคมะเร็งเป็นสาเหตุของการเสียชีวิตอันดับหนึ่งของคนไทย หลายคนเคยได้ยินชื่อโรคมะเร็งกันมาบ้างแล้ว แต่ก็มีอีกหลายคนที่ยังไม่ทราบว่ามะเร็ง 5-10 % ถูกพบได้บ่อยจากการถ่ายทอดทางพันธุกรรม แม้เปอร์เซ็นการเกิดมะเร็งจากพันธุกรรมจะไม่สูงมากนัก แต่ก็ไม่ควรละเลยปัจจัยเสี่ยงเหล่านี้
- มะเร็งเต้านม ปัจจัยเสี่ยงเกิดได้จากมีสมาชิกในครอบครัวเป็นมะเร็งเต้านม มีภาวะโรคอ้วน ดื่มแอลกอฮอล์มาก
- มะเร็งรังไข่ สาเหตุเกิดจากพันธุกรรม สุภาพสตรีที่ไม่มีบุตรหรือมีบุตรยาก ปัจจัยที่เพิ่มความเสี่ยงได้แก่สภาพแวดล้อม สารเคมี สารปนเปื้อนในอาหาร
- มะเร็งปอด ปัจจัยเสี่ยงหลักเกิดจากการสูบหรือรับควันบุหรี่ทั้งทางตรงและทางอ้อมที่มากเกินไป พันธุกรรม สัมผัสสารก่อมะเร็งจากการทำงานและสิ่งแวดล้อม
- มะเร็งลำไส้ใหญ่ เกิดจากหลายปัจจัยเสี่ยงร่วมกัน พันธุกรรม ภาวะอ้วนน้ำหนักเกิน สิ่งแวดล้อมและการรับประทานอาหาร
- มะเร็งต่อมลูกหมาก พบในกลุ่มผู้ชาย ปัจจัยเสี่ยงมาจากมีสมาชิกในครอบครัวเคยเป็นมะเร็งต่อมลูกหมาก มักมีปัญหาเกี่ยวกับการปัสสาวะไม่ออก
- มะเร็งไทรอยด์ ปัจจัยเสี่ยงเกิดจากได้รับการฉายรังสีบริเวณลำคอบ่อยครั้ง มีประวัติคนในครอบครัวเป็นมะเร็งไทรอยด์ อายุที่มากขึ้น สารพิษโลหะหนักที่ถูกสะสมเป็นะระยะเวลานาน
ใครบ้างที่ควรตรวจพันธุกรรมมะเร็ง
1. ผู้ที่มีประวัติมะเร็งในครอบครัว ดังต่อไปนี้
- ญาติสายตรงเป็นมะเร็งเต้านม 1 คน ขึ้นไป มีประวัติเป็นมะเร็ง ดังต่อไปนี้
- มะเร็งเต้านม ตอนอายุน้อยกว่าเท่ากับ 50 ปี
- มะเร็งเต้านมในผู้ชาย
- มะเร็งรังไข่
- มะเร็งตับอ่อน
- มะเร็งต่อมลูกหมากระยะแพร่กระจาย หรือชนิดที่มีความเสี่ยงสูง
- ญาติสายตรงเป็นมะเร็งเต้านม 2 คน ขึ้นไป มีประวัติเป็นมะเร็งเต้านมหรือมะเร็งต่อมลูกหมาก
- ญาติสายตรงเป็นมะเร็งเต้านม 3 คน ขึ้นไป มีประวัติเป็นมะเร็งเต้านม
2. ผู้ป่วยมะเร็ง ตรวจติดตามอาการเพื่อลดโอกาสการกลับเป็นซ้ำ เสริมแนวทางการรักษาที่เหมาะสมที่สุด
3. ผู้ที่มีสุขภาพแข็งแรงดี และไม่มีประวัติครอบครัวเป็นโรคมะเร็ง คนที่มาตรวจยังไม่ได้เป็นมะเร็งและอาจจะไม่ได้เป็นมะเร็งก็ได้ แต่ต้องการรู้ว่าตนเองอาจจะเผอิญมีพันธุกรรมก่อมะเร็งซ่อนอยู่ในตัวหรือไม่
“พันธุกรรมและการใชัชีวิตของเราทำให้เราเสี่ยงที่จะเป็นมะเร็งชนิดอะไรนั้น ขึ้นอยู่กับว่าพันธุกรรมพื้นฐานที่ได้รับมรดกตกทอดมา เสี่ยงมะเร็งชนิดไหนเราก็ต้องระวังมากกว่าคนอื่นๆ ถึงแม้โอกาสจะมีแค่ 5 – 10% ก็ตาม ดังนั้นหากเรามีพฤติกรรมเสี่ยงเหล่านี้ที่แฝงอยู่ในชีวิตประจำวัน อาจจะเป็นตัวกระตุ้นให้พันธุกรรมของเราทำงานเร็วขึ้น เปอร์เซนต์ก่อโรคมะเร็งก็จะเพิ่มสูงขึ้น”
เมื่อผลตรวจพันธุกรรมออกมาผิดปกติ จะต้องรับมืออย่างไร
- สิ่งสำคัญที่สุดคือการเฝ้าระวังอย่างใกล้ชิด เพราะอาจจะมีความเสี่ยงต่อการเกิดก้อนเนื้องอกหรือมะเร็ง ควรทำการตรวจวินิจฉัยเพิ่มเติมเพื่อระบุตำแหน่งกลุ่มเซลล์ที่ผิดปกติให้แน่ชัด และควรตรวจติดตามซ้ำอีกครั้งหลังการตรวจครั้งแรก 3 เดือน
- หลีกเลี่ยงการกระตุ้น ลดโอกาสการเป็นมะเร็ง ด้วยการปรับชีวิตประจำวันใส่ใจในการดูแลรักษาสุขภาพเพื่อส่งเสริมการทำของระบบภูมิคุ้มกัน โดยการทานอาหารตามหลักโภชนาการ ออกกำลังกายสม่ำเสมอ พักผ่อนอย่างเพียงพอ งดการบริโภคหรือสัมผัสสารก่อมะเร็ง เช่น การสูบบุหรี่ การดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ รับประทานเนื้อสัตว์แปรรูป นอกจากนี้อาจกระตุ้นหรือสร้างเสริมระบบภูมิคุ้มกันด้วยสารต้านอนุมูลอิสระหรือสมุนไพร
ดังนั้นการตรวจคัดกรองสำหรับโรคมะเร็งต่างๆ (Screening for Specific Cancer) เป็นวิธีที่ได้รับการยอมรับอย่างแพร่หลายและมีประโยชน์อย่างมาก การตรวจหาความผิดปกติจาก พันธุกรรมมะเร็ง สามารถตรวจได้ทุกคน ไม่จำเป็นต้องเป็นผู้ป่วยมะเร็งเท่านั้น เพื่อป้องกันและรู้เท่าทันโรคอนาคตได้ตั้งแต่ระยะเริ่มแรก เราขอเป็นอีกหนึ่งทางเลือกช่วยลดความเจ็บป่วยจากโรคมะเร็ง และลดอัตราการเสียชีวิตที่เพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง
โปรแกรมตรวจคัดกรองมะเร็ง เพื่อป้องกันและรู้เท่าทันโรคอนาคต
W9 Advanced Cancer Screening Test
โปรแกรมตรวจคัดกรองเนื้องอกและมะเร็ง 51 ชนิด
- ไม่ต้องผ่าตัด วินิจฉัยได้ตั้งแต่ระยะ 0
- คัดกรองได้ไวกว่าการตรวจสารบ่งชี้มะเร็ง (Tumor marker)
- ตรวจหาก้อนมะเร็งได้ทุกชนิด ก้อนขนาดเล็กก็สามารถตรวจพบได้
โปรแกรมตรวจวิเคราะห์ความเสี่ยง 13 โรคร้าย และ 21 โรคที่พบบ่อยจากกรรมพันธุ์ (Genetics)
ตรวจง่าย เพียงแค่ใช้น้ำลาย สะดวกและรวดเร็ว