ค้นหา
ปิดช่องค้นหานี้

เช็กลิสต์ 10 สัญญาณเตือน ฮอร์โมนไม่สมดุล อาจทำร่างพัง อารมณ์เพี้ยน

ฮอร์โมนไม่สมดุล เพราะไลฟ์สไตล์ของคนรุ่นใหม่นอกจากการมี Work-Life Balance สร้างความสมดุลระหว่างชีวิตการทำงาน และชีวิตส่วนตัว เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงาน ส่งผลต่อการมีสุขภาพดี ครอบครัวมีความสุขมากยิ่งขึ้นแล้ว อีกหนึ่งสิ่งที่ต้องให้ความสำคัญคือ Hormone Balance หรือ การสร้างสมดุลฮอร์โมน

เพราะฮอร์โมนเป็นส่วนสำคัญที่ช่วยการทำงานของร่างกายในระบบที่จำเป็น ให้ทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ และทำงานประสานกันได้อย่างเป็นระบบ ดังนั้น สมดุลของฮอร์โมนเพศจึงมีความสำคัญต่อระบบประสาทในการควบคุมอารมณ์ การนอนหลับ สมรรถภาพทางเพศ รวมถึงระบบการสร้างพลังงานของร่างกาย การตรวจฮอร์โมนเพศชาย และ การตรวจฮอร์โมนเพศหญิง จึงสำคัญในยุคนี้

วันนี้จะพาทุกคนมาเช็ก “ฮอร์โมน” จุดเริ่มต้นและกุญแจไขความลับสู่การดูแล แก้ไข ปรับสมดุลสุขภาพและร่างกาย

ฮอร์โมนไม่สมดุล จุดเริ่มต้นหงุดหงิดง่าย ผิวแห้ง หัวล้าน นอนไม่หลับ

ด้วยไลฟ์สไตล์ของคนรุ่นใหม่ และสภาพอากาศที่เปลี่ยนแปลงไปส่งผลต่อสุขภาพ ประกอบกับเทคโนโลยีทางการแพทย์พัฒนาไปมากทำให้เกิดนวัตกรรมใหม่ๆ ที่ช่วยในการวินิจฉัยโรค การรักษา รวมถึงการดูแลสุขภาพองค์รวมทั้งร่างกายและจิตใจ

โดยมุ่งเน้นที่การป้องกันก่อนการเกิดโรคแบบรายบุคคล ซึ่งได้รับความนิยมมากขึ้นในช่วง 5 ปีมานี้ เนื่องจากทุกคนตระหนักว่า หากปล่อยให้เกิดอาการเจ็บป่วย จะส่งผลต่อการใช้ชีวิต คนรอบข้าง รวมถึงการต้องเสียค่าใช้จ่ายในการรักษาสูง ซึ่งจากสถิติโรคเรื้อรังยอดฮิตของคนไทย ได้แก่ โรคมะเร็ง โรคเบาหวาน โรคหัวใจ โรคไต โรคความดันโลหิตสูง รวมถึงโรคอ้วนซึ่งเป็นต้นเหตุของโรคอื่นๆ อีกมากมาย โดยสาเหตุของการเกิดโรคต่างๆ นี้ มาจากพันธุกรรม และไลฟ์สไตล์ของแต่ละบุคคล

ฮอร์โมนไม่สมดุล

ปัจจัยที่ส่งผลให้ฮอร์โมนเสียสมดุล

ปัจจัยเหล่านี้ส่งผลให้ฮอร์โมนในร่างกายเกิดความไม่สมดุล ซึ่ง “ฮอร์โมน” เปรียบเสมือนผู้ส่งสารภายในร่างกายที่มีมากมายหลายหมื่นหลายแสนตัว เป็นระบบพื้นฐานในตัวเราที่ทำงานต่อเนื่องกันเป็นเครือข่ายและพึ่งพากันและกัน มีความสัมพันธ์กับทุกระบบในร่างกายช่วยส่งเสริมด้านพัฒนาการ จิตใจ อารมณ์ความรู้สึก ซ่อมแซมความเสื่อมทางสุขภาพ ชะลอวัย ชะลอการเจ็บป่วย ช่วยการทำงานระบบย่อยอาหาร และระบบเผาผลาญของร่างกาย

โดยความไม่สมดุลของฮอร์โมนเพียง 1-2 ตัว ที่เกิดจากปัจจัยด้านพันธุกรรม และสิ่งแวดล้อม เช่น อาหาร ภาชนะพลาสติก อาจเป็นต้นตอของภาวะหรืออาการผิดปกติต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับฮอร์โมน เพื่อหลีกเลี่ยงการเกิดโรค การตรวจฮอร์โมนจึงสำคัญ

เช็คลิสต์สัญญาณเตือน “ฮอร์โมนไม่สมดุล”

สำรวจตัวเองหากมีอาการแบบนี้ รีบเช็คสมดุลฮอร์โมนให้ไว อย่าปล่อยไว้

  1. อารมณ์แปรปรวน
  2. นอนไม่ค่อยหลับ หลับไม่ลึก ตื่นไม่สดชื่น
  3. อ่อนเพลีย ไม่มีแรง
  4. ประจำเดือนมาไม่ปกติ
  5. การเผาผลาญลดลง อ้วนง่าย
  6. สมรรถภาพทางเพศลดลง
  7. ผิวแห้งกร้าน เหี่ยวย่น เป็นสิวอักเสบ
  8. กระดูกบางและกระดูกพรุน
  9. ซึมเศร้า ภาวะเครียดสะสม
  10. อาการไม่พึงประสงค์ที่มีสาเหตุไม่แน่ชัด และเป็นๆ หายๆ
ฮอร์โมนไม่สมดุล

ตรวจสมดุลฮอร์โมน ช่วยวางแผนและดูแลฟื้นฟูอย่างถูกต้องตรงจุด

ฮอร์โมนของผู้ชายกับผู้หญิงมีทั้งตัวที่เหมือนกันและตัวที่แตกต่างกัน โดยที่เหมือนกัน เช่น อินซูลิน ไทรอยด์ โกรทฮอร์โมน หรือฮอร์โมนจากต่อมหมวกไต แต่ตัวที่ต่างกัน คือ ฮอร์โมนเพศ ผู้ชายก็จะมี ฮอร์โมนเพศชาย เรียกว่า Testosterone ในขณะที่ผู้หญิงมี ฮอร์โมนเพศหญิง เรียกว่า Estrogen กับ Progesterone ที่กำหนดความแตกต่างทางสรีระ ซึ่งเป็นผลมาจากการทำงานของต่อมในสมองที่เรียกว่า พิทูอิทารี นอกจากนี้ ฮอร์โมนเพศยังมีผลต่อการกำหนดภาวะอารมณ์ของผู้หญิงและผู้ชายให้แตกต่างกันอีกด้วย

ไม่มีใครทราบว่าสุขภาพในอนาคตจะเป็นอย่างไร การตรวจวัดระดับฮอร์โมน เป็นการตรวจที่ทำให้ทราบว่า เราควรวางแผนดูแลสุขภาพ และป้องกันโรคที่อาจเกิดขึ้นในอนาคตอย่างไร เหมือนเป็น Life Navigator เพื่อให้เราทราบว่า ควรใส่ใจสุขภาพเพิ่มขึ้น หรือควรหลีกเลี่ยงอะไร ร่างกายเราขาดวิตามินอะไรบ้างที่ต้องเสริมให้ร่างกายกลับมามีสมดุล สุขภาพดี แข็งแรงได้อย่างยืนยาว

ตรวจฮอร์โมนดีอย่างไร

ข้อดีของการตรวจสมดุลฮอร์โมนช่วยรู้ระดับฮอร์โมนที่สำคัญของร่างกาย หากตรวจพบภาวะไม่สมดุล จะได้วางแผนและดูแลฟื้นฟูอย่างถูกต้องตรงจุด โดยคำแนะนำจากแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านเวชศาสตร์การป้องกัน ที่เหมาะสมกับแต่ละบุคคล ผ่านการผสมผสานทุกศาสตร์แห่งการป้องกัน ดูแล และฟื้นฟูความเสื่อม ทั้งให้ฮอร์โมนทดแทนเพื่อชดเชยส่วนที่ขาดหรือลดน้อยลง ควบคู่กับการปรับเปลี่ยนไลฟสไตล์ให้เหมาะสมกับบุคคลนั้นๆ รวมทั้งหลีกเลี่ยงปัจจัยภายนอกจากสิ่งแวดล้อมที่อาจจะรบกวนความสมดุลของฮอร์โมนในร่างกาย

Share : 

บทความที่เกี่ยวข้อง

โรคเริมกับงูสวัด เป็นโรคที่เกิดจากการติดเชื้อไวรัส กลุ่มที่เรียกว่า ไวรัสเฮอร์ปีส์ (Herpes

มีคนถามเข้ามาเยอะว่า “หายติดเชื้อไวรัสแล้วแต่ยังมีอาการอยู่” หรือบางคนตอนเป็นติดเชื้อไวรัสมีอาการน้อย แต่พอหายแล้วกับมีอาการเยอะขึ้น ไวรัสได้ฝากลอยแผลเป็นอะไรไว้ให้กับเราบ้าง

ฮอร์โมน (Hormones) คือสารเคมีที่ร่างกายใช้สื่อสารกัน เพื่อควบคุมสมดุลร่างกายในทุกระบบ รวมทั้งระบบเผาผลาญด้วย

error: Content is protected !!