ค้นหา
ปิดช่องค้นหานี้
ตรวจคัดกรองมะเร็ง

ตรวจคัดกรองมะเร็ง รู้ก่อน..ป้องกันได้ ตั้งแต่ระยะศูนย์

มะเร็ง อย่างที่เราทราบกันดีว่าเป็นโรคที่ไม่ติดต่อ แต่เป็นโรคที่ทำให้เกิดอัตราการสูญเสียมากที่สุด และในปัจจุบันเราสามารถ ตรวจคัดกรองมะเร็ง ได้ตั้งแต่ในระยะเริ่มต้น โดยเฉพาะคนที่มีประวัติคนในครอบครัวที่ป่วยเป็นโรคร้าย (มะเร็ง) จะทำให้มีความเสี่ยงมากกว่าคนอื่น รวมถึงการใช้ชีวิตในปัจจุบันก็ส่งผลให้หลายๆ คนเพิ่มความเสี่ยงของการเป็นโรคร้ายได้ง่ายขึ้น

ตรวจคัดกรองมะเร็ง ปัจจัยการเกิดโรคร้ายมีอยู่ 2 ปัจจัย

ตรวจคัดกรองมะเร็ง

ปัจจัยภายใน ส่วนใหญ่เป็นสิ่งที่เราหลีกเลี่ยงไม่ได้ เนื่องจากติดตัวเรามาแต่กำเนิด

  • ปัจจัยทางด้านพันธุกรรม อย่างเช่น ถ้าเรามีพ่อแม่หรือว่าญาติที่เป็นมะเร็ง เราก็จะมีความเสี่ยงมากกว่าคนทั่วไปที่จะเกิดเป็นโรคร้ายได้
  • ปัจจัยทางด้านอายุ เป็นปัจจัยที่เราควบคุมไม่ได้ ถ้าเกิดเรามีอายุที่มากขึ้น โดยเฉพาะคนที่มีอายุ 40 ปีขึ้นไป ก็จะมีความเสี่ยงเป็นโรคร้ายมากขึ้น
  • น้ำหนักตัว คนที่มีน้ำหนักตัวเยอะก็จะมีความเสี่ยงเป็นโรคร้ายได้หลายชนิดมากๆ เช่น มะเร็งลำไส้ มะเร็งเต้านม มะเร็งมดลูก มะเร็งปากมดลูก

ปัจจัยภายนอก หรือเรียกว่า Epigenetic เป็นปัจจัยที่ไม่ได้เป็นพันธุกรรมมาโดยตรง แล้วก็ทำให้ก่อเป็นโรคร้ายได้ในอนาคต

  • อาหาร เช่น การรับประทานอาหารแปรรูป การรับประทานเนื้อแดง การรับประทานอาหารหมักดองเป็นประจำ ก็จะเพิ่มความเสี่ยงของการเป็นมะเร็ง หรือกรรมวิธีในการปรุงอาหาร เช่น การกินปิ้งย่าง เป็นต้น
  • การใช้สารเสพติด โดยเฉพาะในกลุ่มที่เป็นแอลกอฮอล์ หรือบุหรี่ จะเพิ่มความเสี่ยงของโรคร้ายมากขึ้น
  • ปัจจัยด้านอื่นๆ เช่น มลพิษ มลภาวะต่างๆ ฝุ่น PM 2.5 สารโลหะหนักต่างๆ ก็จะเป็นกลุ่มที่ก่อให้เกิดโรคร้ายได้

ซึ่งสิ่งเหล่านี้เป็นสิ่งที่ไม่ได้เป็นปัจจัยทางด้านพันธุกรรม แต่ยังมีปัจจัยทางด้านอื่นๆ ที่ส่งผลให้เราเสี่ยงเกิดเป็นโรคร้ายได้ ดังนั้น การตรวจคัดกรองเนื้อร้ายทุกปี หรือว่าการค้นหาสาเหตุกันในทุกๆ ปี เพื่อที่จะได้รับการรักษา แล้วก็ป้องกันการเกิดโรคร้ายได้

แนวทางในการป้องกันการเกิดโรคร้าย

การค้นหาความเสี่ยง ก็จะทำได้ตั้งแต่การซักประวัติ การตรวจร่างกาย แล้วก็มีการตรวจเพิ่มเติมทางห้องปฏิบัติการ หรือว่าอาจจะส่งตรวจ อย่างเช่น อัลตร้าซาวด์ CT SCAN ต่างๆ แต่เราก็สามารถสังเกตได้ว่า ในปัจจุบันมีนวัตกรรมแล้วก็มีเทคโนโลยีการตรวจที่มากมาย ที่จะทำให้เราทราบตั้งแต่แรกๆ เลยว่าเรามีความเสี่ยงอะไร เช่น การตรวจดีเอ็นเอ หรือการตรวจพันธุกรรม ก็จะเป็นการตรวจที่สามารถทราบความเสี่ยงได้เลยว่าเรามีพันธุกรรมอะไรบ้างที่ทำให้เกิดโรคร้าย เพื่อที่เราจะได้วางแผนแล้วก็จัดการได้อย่างตรงจุด

การลดความเสี่ยง ซึ่งการลดความเสี่ยงในแต่ละคนก็ไม่เหมือนกัน เพราะว่าแต่ละคนก็จะมีปัจจัยที่ทำให้มีความเสี่ยงที่ไม่เหมือนกัน ซึ่งอาจจะมีการวางแผนตั้งแต่ การออกกำลังกาย การปรับอาหาร ไลฟ์สไตล์ ซึ่งก็จะมีการวางแผนเป็นเฉพาะรายไป

การค้นหามะเร็งตั้งแต่ระยะแรกๆ เมื่อก่อนเราก็จะมีการตรวจ เช่น Tumor marker หรือว่าสารบ่งชี้มะเร็ง ต่อมาก็มีการพัฒนาเทคโนโลยีการแพทย์มาเรื่อยๆ จนกระทั่งเราสามารถที่จะตรวจเจอเนื้อร้ายตั้งแต่ในระยะแรกๆ ได้ อย่างเช่น EDIM  Technology (Epitope Detection in Macrophages Technology) เป็นต้น ซึ่งเราก็จะสามารถที่จะตรวจเจอเนื้อร้ายตั้งแต่ในระยะแรกๆ ได้ แล้วเมื่อเราเจอตั้งแต่ระยะแรกๆ ก็จะมีโอกาสที่จะรักษาได้ผลแล้วก็สามารถที่จะรักษาหายได้

ตรวจคัดกรองมะเร็ง

ตรวจหามะเร็ง Cancer Screening (EDIM Technology)

เป็นการตรวจคัดกรองเนื้องอกหรือมะเร็งเพียงการทดสอบเดียว สามารถ ตรวจหามะเร็ง ได้ตั้งแต่ระยะเริ่มแรก ซึ่งตรวจคัดกรองได้เร็วกว่าการตรวจสารบ่งชี้มะเร็ง (Tumor marker) ด้วยเทคโนโลยีการตรวจหาเนื้อร้ายที่ผิดปกติ หรือที่มีโอกาสกลายเป็นเนื้องอกหรือมะเร็งในร่างกาย โดยใช้ตัวบ่งชี้ APO10 และ TKTL1 ในแมคโครฟาจ (เม็ดเลือดขาวชนิดหนึ่งทำหน้าที่จับกินสิ่งแปลกปลอมในร่างกาย รวมถึงเนื้อร้าย เปรียบเสมือนรถขยะของร่างกาย)

  • ตรวจวินิจฉัยได้ตั้งแต่ระยะเเรกจากการเจาะเลือด แทนการตรวจด้วยตัวอย่างชิ้นเนื้อเยื่อ ไม่ต้องเจ็บตัวจากกระบวนการผ่าตัด
  • มีความแม่นยำของการตรวจ มีความจำเพาะและความไวในการตรวจสูง
  • ตรวจหาเนื้องอกหรือมะเร็งที่เป็นก้อนได้ทุกชนิด แม้เนื้องอกขนาดเล็กก็สามารถตรวจพบได้
  • ตรวจติดตามหลังการรักษา หรือตรวจเฝ้าระวังการเกิดซ้ำ

โปรแกรมวิเคราะห์ความเสี่ยง 13 โรคมะเร็ง และ 21 โรคที่พบบ่อยจากสารพันธุกรรม (DNA)

เพราะทุกคนมี “พิมพ์เขียว” หรือ DNA ที่เหมาะกับไลฟ์สไตล์การใช้ชีวิต ประสิทธิภาพการเผาผลาญ ความสามารถการเผาผลาญจากการเล่นกีฬา โอกาสเจ็บป่วย และความเสี่ยงการเกิดโรคแตกต่างกัน

  • ผู้ที่สูบบุหรี่เป็นประจำ
  • ผู้ที่มีโอกาสได้รับสารเคมีในชีวิตประจำวัน
  • ปัจจัยกระตุ้นร่วม เช่น มลภาวะ ฝุ่นควัน
  • ผู้ที่ต้องการตรวจสุขภาพเชิงลึกและป้องกันโรคทางพันธุกกรม

𝐂𝐚𝐫𝐞 𝐒𝐞𝐫𝐢𝐞𝐬 คือ โปรแกรมวิเคราะห์ความเสี่ยง 13 โรคมะเร็ง และ 21 โรคที่พบบ่อยจากสารพันธุกรรม (DNA)

  • มาตรฐานการตรวจที่ได้รับการรับรองระดับโลก
  • วิเคราะห์ระบบต่างๆ ของร่างกายเฉพาะบุคคล
  • วางแผนการดูแลสุขภาพตามพันธุกรรม
  • ตรวจง่ายด้วยการตรวจผ่านน้ำลาย
  • ไม่ต้องผ่าตัด วินิจฉัยได้ตั้งแต่ระยะศูนย์

คนที่แนะนำให้มาตรวจคัดกรอง

  • คนที่มีประวัติคนในครอบครัวเป็นโรคร้าย
  • คนที่มีปัจจัยเสี่ยงที่จะก่อให้เกิดโรคร้าย ตามที่กล่าวไว้ข้างต้น
  • คนที่ป่วยเป็นโรคร้ายแล้วอยากตรวจเพื่อติดตาม เพื่อที่จะได้ปรับแผนการรักษาให้เหมาะสมมากยิ่งขึ้น
  • ผู้ที่รักษาหายแล้ว แต่ว่าอยากที่จะติดตาม เพื่อเช็กดูว่ามีการกลับมาเป็นซ้ำของเนื้อร้ายอีกไหม

ซึ่ง 4 กลุ่มนี้ เป็นกลุ่มที่หมอแนะนำว่าควรมาตรวจเช็กเพิ่มเติม หรือมาตรวจคัดกรองเนื้อร้าย เพราะโรคมะเร็งใกล้ตัวกว่าที่เราคิด ดังนั้น ควรที่จะมาตรวจเช็กเป็นประจำ

“เพราะว่าการรักษามะเร็งที่ดีที่สุด ก็คือการที่เราไม่รอให้มันเกิดขึ้น”

Share : 

บทความที่เกี่ยวข้อง

ปัจจุบันโรคมะเร็งในคนไทยยังมีอัตราเพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง จากทะเบียนสถิติมะเร็งประเทศไทย ปี 2566 โดยสถาบันมะเร็งแห่งชาติรายงานว่าผู้ป่วยมะเร็งรายใหม่พุ่งสูงเฉลี่ยวันละ

อ้วนลงพุง อย่ามองว่าเป็นเรื่องปกติ “อ้วนลงพุง” ผู้หญิงหลายคนคงไม่มีใครชอบ แต่รู้หรือไม่ว่าที่จริงแล้วสาเหตุที่อ้วนลงพุงอยู่นี้อาจเสี่ยงภาวะโรคถุงน้ำรังไข่หลายใบ

error: Content is protected !!